คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักษณะการค้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1080/2512 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละเมิดเครื่องหมายการค้า: การเลียนแบบลักษณะการค้าทำให้ผู้บริโภคสับสนถือเป็นการละเมิด แม้เครื่องหมายการค้าจะแตกต่างกัน
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยเป็นเครื่องหมายคำเป็นอักษรโรมัน คือ ของโจทก์ คำว่า COLGATEและ GARDENT ส่วนของจำเลยคำว่า COLDANG เห็นว่ามีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ตัวอักษรที่จำเลยขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้านั้น ไม่มีลักษณะคล้ายเหมือนกับอักษรเครื่องหมายการค้าของโจทก์แต่ประการใด
จำเลยจงใจใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยโดยทำเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง กล่าวคือ จำเลยผลิตและจำหน่ายยาสีฟันบรรจุในสลากกล่องซึ่งมีรูปร่างลักษณะการวางตัวอักษร ตลอดจนสีที่ใช้ก็คล้ายเหมือนกับกล่องเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทุกอย่าง ทำให้คนซื้อหลงเข้าใจผิดไปว่ายาสีฟัน COLDANG ของจำเลยคือยาสีฟัน COLGATE ของโจทก์ แม้จำเลยจะมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนไว้ก็ตาม แต่จำเลยก็ไม่อาจใช้เครื่องหมายนั้นมาประดิษฐ์ดัดแปลงโดยจงใจเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้คนหลงเชื่อว่าเป็นสินค้าของโจทก์ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการใช้สิทธิซึ่งมีแต่จะเกิดความเสียหายแก่โจทก์ นับว่าเป็นการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เมื่ออ่านฟ้องของโจทก์โดยตลอดแล้ว ก็ย่อมเข้าใจได้ว่าค่าเสียหายที่โจทก์ฟ้องนั้นคือ โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่ายสินค้า ไม่เป็นฟ้องเคลือบคลุม
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ขาดประโยชน์ในการจำหน่าย แต่ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ขายสินค้าได้น้อยลง ดังนี้ ไม่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็น เพราะการขายได้น้อยลงก็คือขาดประโยชน์ในการจำหน่าย
เมื่อมีการจดทะเบียนตั้งบริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่งเป็นผู้ผลิตยาสีฟันคอลเกตขึ้นในประเทศไทย โดยบริษัทโจทก์ (บริษัทคอลเกตปาล์มโอลีฟ) เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ จำเลยเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 724/2509 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลักษณะการค้า vs. จ้างทำของ และผลกระทบต่ออายุความ
โจทก์ทำหูปลาฉลามส่งขายตามภัตตาคารทั่วไปเป็นปกติธุระ มิใช่ทำตามคำสั่งของผู้จ้าง ทำเป็นครั้งคราว จึงมิใช่เรื่องจ้างทำของ ถือได้ว่าเป็นการประกอบการค้า โจทก์ย่อมได้ชื่อว่าเป็นพ่อค้า แม้ข้อเท็จจริงจะฟังได้ว่าจำเลยเป็นหนี้ค่าหูปลาฉลามโจทก์อยู่ แต่จำเลยได้รับหูปลาฉลามจากโจทก์ครั้งสุดท้ายจนถึงวันฟ้องเป็นเวลา 4 ปีเศษแล้ว คดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165(1).