พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 155/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความแตกต่างของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากลักษณะการใช้จริงและผลกระทบต่อสาธารณชน
ในคดีเครื่องหมายการค้าเป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องวินิจฉัยไม่เพียงแต่ว่าเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะต้องเหมือนกันทุกอย่าง แต่ต้องวินิจฉัยว่าเครื่องหมายการค้านั้นชวนให้เห็นเป็นลักษณะทำนองเดียวกันด้วย จะชี้ขาดว่าเครื่องหมายการค้าไม่เหมือนกันโดยเอามาเทียบเคียงแล้วมีลักษณะแตกต่างกันบ้างนั้นไม่ได้ จำต้องเอามาเปรียบเทียบให้เห็นถึงลักษณะในเวลาใช้อยู่ตามปกติและใช้กันโดยสุจริตถึงประเภทสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าประจำและถึงสภาพแห่งท้องตลาดคือแยกปริมาณที่ประชาชนจะพึงซื้อ
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ D.ENTAL CAREมีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง จึงไม่มีลักษณะเหมือนคล้ายกันแต่ประการใด
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B กับ DENTAL - Bมีความแตกต่างกันเพียงคำแรกคือ OR กับ DEN ส่วนสองคำหลังเหมือนกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียง ประกอบกับเจตนาของจำเลยทั้งสองซึ่งสามารถใช้อักษรไม่ให้เหมือนกันได้เป็นจำนวนมาก แต่หาได้ใช้ไม่ จึงฟังได้ว่าตัวอักษรที่จำเลยที่ 2 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีลักษณะคล้ายกับอักษรเครื่องหมาย-การค้าของโจทก์ถึงขนาดนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชน จำเลยที่ 2 ไม่มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DENTAL - B
เครื่องหมายการค้าคำว่า ORAL - B ของโจทก์ กับDENTAL - C ของจำเลยที่ 2 มีความแตกต่างกันทั้งตัวอักษรและการอ่านออกเสียงจุดเด่นที่ทั้งสองฝ่ายเน้นคืออักษรโรมันดังกล่าว ผู้ซื้อแปรงสีฟันย่อมจะเรียกขานตามยี่ห้อ หรือหากเลือกสินค้าเองก็คงจะพิจารณาจากชื่อยี่ห้อที่ปรากฏมากกว่าจะไปดูรายละเอียดอักษรบนกล่อง เครื่องหมายการค้าดังกล่าวใช้อักษรโรมันไม่กี่ตัวและอ่านออกเสียงเพียง 3 พยางค์ แปรงสีฟันของโจทก์ติดตลาดแล้วย่อมเป็นที่รู้จักดีอีกทั้งยังมีราคาสูงกว่าแปรงสีฟันของจำเลยที่ 2 นอกจากนี้จำเลยยังได้โฆษณาแปรงสีฟัน DENTAL - C ทางสื่อมวลทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ แสดงว่าจำเลยทั้งสองไม่มีเจตนาที่จะให้สาธารณชนหลงผิดหรือลวงขายเป็นสินค้า ORAL - B
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 145/2495
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้สถานที่เช่าเพื่ออยู่อาศัยและประกอบอาชีพส่วนตัว ไม่ถือเป็นการประกอบการค้า
แม้ตึกเช่าจะอยู่ในทำเลการค้าก็ดีแต่ทางพิจารณาที่ได้ความประกอบกับสถานที่ซึ่งศาลไปตรวจ มิได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยได้ใช้สถานที่นั้นเป็นที่ประกอบการค้า หากใช้เป็นที่อยู่อาศัยและติดป้ายแสดงเพื่อให้คนมาว่าจ้างไปทำไฟฟ้า เป็นการประกอบอาชีพของจำเลยการกระทำเช่นนี้ ไม่เพียงพอที่จะถือว่าเข้าอยู่ในลักษณะประกอบการค้าในห้องเช่าตามนัยฎีกาที่ 1099-1147/2491 จำเลยย่อมได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22783/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและการใช้เพื่อแสดงลักษณะการใช้
ภาพประดิษฐ์ และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อ ดังที่ปรากฏในหนังสือรับรองการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ตรงส่วนด้านล่าง เป็นข้อเท็จจริงที่เข้าใจโดยทั่วไปว่า ภาพดังกล่าวเป็นภาพเครื่องหมายทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ โจทก์มิได้นำสืบหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้เห็นว่า นอกจากผู้ขอจดทะเบียนจะแสดงภาพประดิษฐ์ของตัวเครื่องหมายการค้าในคำขอจดทะเบียนแล้ว ผู้ขอจดทะเบียนยังสามารถแสดงให้เห็นถึงลักษณะการใช้เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียนให้ปรากฏในคำนำขอจดทะเบียนอันเป็นการเพิ่มเติมไปจากการแสดงให้เห็นถึงตัวเครื่องหมายการค้าได้ ข้อเท็จจริงจึงต้องฟังว่า ภาพประดิษฐ์และภาพประดิษฐ์ประกอบคำหรือชื่อของโจทก์เป็นเพียงภาพเครื่องหมายการค้าทั้งเครื่องหมายที่โจทก์ได้ยื่นคำขอและได้รับการจดทะเบียนไว้ มิได้มีความหมายสื่อไปถึงว่าเป็นภาพเครื่องหมายที่ถูกแสดงประกอบวิธีการใช้เครื่องหมายดังกล่าว