คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักษณะคล้ายคลึง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7739/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนังสือมอบอำนาจสมบูรณ์ แม้ตราประทับไม่ตรงกับที่จดทะเบียน หากมีลักษณะคล้ายคลึงและกรรมการลงชื่อถูกต้อง
แม้ตราที่ประทับของบริษัทโจทก์ในหนังสือมอบอำนาจจะมิใช่ตราประทับอันเดียวกับตราที่ได้จดทะเบียนไว้ แต่ก็มีรูปลักษณ์ ขนาดและตัวอักษรชื่อบริษัทโจทก์เช่นเดียวกับที่จดทะเบียนไว้ ทำให้สามารถเข้าใจได้ว่าเป็นตราของโจทก์ เมื่อกรรมการ 2 ใน 5 คน ลงชื่อกระทำการแทนบริษัทโจทก์ตามข้อบังคับถูกต้อง หนังสือมอบอำนาจจึงสมบูรณ์ใช้บังคับผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7376/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้เครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกันจนทำให้สาธารณชนสับสน และการใช้เครื่องหมายการค้าในสินค้าประเภทเดียวกันกับที่จดทะเบียน
เครื่องหมายการค้าของจำเลยซึ่งใช้คำว่า "Sunferrox"นั้น มีอักษรโรมันเหมือนหรือคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ใช้คำว่า"BAYFERROX" และ "Bayferrox" อยู่ถึง 6 ตัว คือคำว่า "ferrox" ซึ่งอ่านออกเสียงเหมือนกันว่า "เฟอร์รอกซ์" ต่างกันเพียงอักษร 3 ตัวแรกเท่านั้น โดยคำว่า "ferrox" ตามที่ปรากฏบนกระสอบบรรจุสินค้าของโจทก์และจำเลยพิมพ์ด้วยตัวพิมพ์เล็กเหมือนกัน ทั้งเครื่องหมายการค้าคำว่า "SUNROX" ของจำเลยก็วางตัวอักษรอยู่ในลักษณะไขว้กันเป็นกากบาทอยู่ภายในวงกลมเช่นเดียวกับเครื่อง-หมายการค้าของโจทก์ซึ่งใช้คำว่า "BAYER" โดยมีการจัดวางตัวอักษรในลักษณะเดียวกันกับของโจทก์ทุกประการ กระสอบบรรจุสินค้าของจำเลยใช้รหัสสินค้าคำว่า"12ON" ควบคู่กันไปเช่นเดียวกับรหัสสินค้าคำว่า "12ON" ซึ่งปรากฏอยู่ที่กระสอบบรรจุสินค้าของโจทก์ จำเลยได้ระบุไว้ที่กระสอบบรรจุสินค้าของจำเลยว่าเป็นไอออนออกไซค์ (Iron Oxide) เช่นเดียวกันกับที่ปรากฏบนกระสอบสินค้าของโจทก์ สินค้าของโจทก์และจำเลยบรรจุอยู่ในกระสอบซึ่งมีสีสันและขนาดใกล้เคียงกัน ทั้งระบุไว้ที่กระสอบบรรจุสินค้าว่า สินค้ามีน้ำหนัก 25 กิโลกรัม เหมือนกัน ซึ่งหากไม่พิจารณาให้รอบคอบหรือได้เห็นต่างเวลากัน ผู้ซื้อก็อาจจะไม่ทันสังเกตถึงข้อแตกต่างได้ ดังนี้เครื่องหมายการค้าของจำเลยตามคำขอจดทะเบียนและที่ใช้กับสินค้าของจำเลยจึงเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วและที่ใช้กับสินค้าของโจทก์จนถึงนับได้ว่าเป็นการลวงสาธารณชนให้สับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าแล้ว
แม้จำเลยจะยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 1 โดยอ้างว่าเป็นสีและบรรดาสินค้าอื่น ๆ ทั้งมวลซึ่งอยู่ในจำพวกนี้ก็ตามแต่เวลาจำเลยนำเครื่องหมายการค้าดังกล่าวมาใช้กับสินค้าที่จำเลยผลิตออกจำหน่ายกลับปรากฏว่าจำเลยนำเครื่องหมายการค้าของจำเลยมาใช้กับสินค้าไอออนออกไซด์อันเป็นสินค้าชนิดเดียวกันกับสินค้าของโจทก์ซึ่งจัดอยู่ในจำพวกที่ 4 เมื่อโจทก์เป็นเจ้า-ของเครื่องหมายการค้าที่ได้รับการจดทะเบียนไว้ในสินค้าจำพวกดังกล่าว โจทก์ย่อมมีสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้เครื่องหมายการค้านี้สำหรับสินค้าจำพวกดังกล่าว และมีสิทธิห้ามมิให้จำเลยใช้เครื่องหมายการค้าที่จำเลยยื่นขอจดทะเบียน ให้จำเลยถอนคำขอจดทะเบียนดังกล่าว และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินต้องเทียบเคียงกับทรัพย์สินที่มีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกัน ไม่สามารถใช้มูลค่าหรือกำไรขาดทุนเป็นเกณฑ์
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรียนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 8 บัญญัติว่า ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆแต่อาคารของโจทก์ โจทก์ใช้ประโยชน์เองโดยมิได้ให้ผู้อื่นเช่า การที่จะทราบถึงจำนวนเงินซึ่งอาคารของโจทก์สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่งอันถือเป็นค่ารายปีนั้นจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับทรัพย์สินอื่นที่มีผู้เช่าอยู่ และอยู่ใกล้เคียงกัน และทรัพย์สินนั้นจะต้องมีสภาพและลักษณะคล้ายคลึงกันด้วย โรงเรือนที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1นำมาเทียบเพื่อประเมินกำหนดค่ารายปีโรงเรือนพิพาทประกอบกิจการค้าคนละประเภทกับกิจการค้าของโจทก์และเป็นโรงเรือนคนละประเภทกับโรงเรือนพิพาทอีกด้วย ค่าเช่าของโรงเรือนทั้งสองแห่งจึงนำมาเทียบกับโรงเรือนพิพาทไม่ได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 นำมาใช้เปรียบเทียบแล้วประเมินเป็นค่ารายปีของโรงเรือนพิพาท จึงเป็นการประเมินเรียกเก็บภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ค่ารายปีหมายถึงจำนวนเงินที่ทรัพย์สินนั้น ๆ สมควรจะให้เช่าได้ในปีหนึ่ง ๆ มิได้กำหนดจากมูลค่าของโรงเรือนหรืองบกำไรขาดทุน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1651/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำเข้าและจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น แต่ไม่มีการใช้เครื่องหมายการค้าอย่างชัดเจน ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา
สินค้าของกลางที่จำเลยนำเข้ามาในราชอาณาจักรและจำหน่าย หรือเสนอจำหน่าย มีคำว่า MITA ซึ่งเป็นชื่อใช้กับสินค้า ของโจทก์ร่วม และที่ กล่องสินค้ามีข้อความว่า DC-211,213RE,313Z และ 313ZD ตรงกับที่กล่องสินค้าของโจทก์ร่วม แต่ผู้ผลิตสินค้าของกลางมิได้เอาคำว่า MITAมาใช้อย่างเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าแต่อย่างใด กล่าวคือ สินค้าของกลางบางส่วนไม่มีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้คงมีแต่คำว่า MITA ปะปนอยู่กับคำภาษาอังกฤษอื่นที่สลากสินค้าเท่านั้น และสินค้าของกลางอื่นมีเครื่องหมายการค้าหรือชื่อในการประกอบการค้าระบุไว้ว่าKTN อยู่ในกรอบสามเหลี่ยมต่างกับคำว่า MITA ซึ่งเป็นเครื่องหมายการค้า หรือชื่อในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วมอย่างชัดแจ้ง สินค้าของกลางจึงไม่เป็นสินค้าที่มีชื่อ หรือข้อความในการประกอบการค้าของโจทก์ร่วม การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 275 ประกอบด้วยมาตรา 272(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2551 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การทำสำเนาธนบัตรที่เห็นได้ชัดว่าเป็นของปลอม ไม่ถือเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 249
สำเนาธนบัตรของกลางเห็นได้ชัดว่าเกิดจากการถ่ายสำเนาธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดาแล้วตัดกระดาษให้มีขนาดเท่าของจริงสีสันปรากฏออกมาจึงแตกต่างกับของจริงอย่างเห็นได้ชัด แม้ว่าขนาดของกระดาษและรูปลวดลายที่ปรากฏออกมาจากการถ่ายสำเนาจะเท่าของจริงก็ตาม แต่เมื่อรวมความกับสีสันที่ปรากฏออกมาแล้วบุคคลทั่วไปสามารถรู้ได้ทันทีว่าเกิดจากการถ่ายเอกสาร แตกต่างกับของจริงโดยชัดเจนและไม่น่าจะทำให้บุคคลหลงเข้าใจผิดได้ว่าเป็นของจริง อีกทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่า ก. พยานโจทก์ได้หลงเข้าใจผิดว่าสำเนาธนบัตรของกลางเป็นของจริงแต่อย่างใด แม้ตาม ป.อ. มาตรา 249 จะมิได้บัญญัติไว้ด้วยว่า การทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา จะต้องกระทำเพื่อให้ผู้อื่นเชื่อว่าเป็นธนบัตรที่แท้จริง แต่คำว่าคล้ายคลึง แสดงว่าเกือบเหมือนหรือไม่ต้องเหมือนทีเดียว เพียงแต่มีลักษณะสีสันรูปร่างและขนาดคล้ายเงินตราที่แท้จริงก็เป็นความผิดตามมาตรานี้ เมื่อสำเนาธนบัตรของกลางเห็นได้ชัดเจนว่าเกิดจากการถ่ายสำเนาธนบัตรฉบับละ 1,000 บาท ของจริงลงในกระดาษธรรมดา สีสันในส่วนสำเนาธนบัตรก็เป็นเพียงสีขาว มิได้มีสีสันเหมือนธนบัตรฉบับจริง แม้ว่าขนาดของกระดาษจะเท่าของจริง เมื่อวิญญูชนทั่วไปดูแล้วย่อมทราบได้ทันทีว่าไม่ใช่ธนบัตรที่แท้จริง กรณีจึงถือไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสามร่วมกันทำบัตรให้มีลักษณะและขนาดคล้ายคลึงกับเงินตรา