คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลักษณะความผิด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4934/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องสมบูรณ์แม้ไม่อ้างมาตราเฉพาะ หากระบุพระราชบัญญัติและบรรยายลักษณะความผิดชัดเจน
แม้คำขอท้ายฟ้องของโจทก์ระบุอ้างแต่ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้อ้างมาตรา 4 ไว้ กับโจทก์อ้าง ป.อ. มาตรา 91 มาท้ายฟ้องก็ตามแต่โจทก์ก็ระบุไว้ที่หน้าคำฟ้องในช่องข้อหาหรือฐานความผิดว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 แสดงว่าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาหรือฐานความผิดต่อพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 เมื่อพระราชบัญญัติดังกล่าวมีบทบัญญัติไว้เพียง11 มาตรา และมีเพียงมาตรา 4 มาตราเดียว ที่บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ ส่วนมาตราอื่น ๆ ล้วนบัญญัติในเรื่องอื่นไม่ได้บัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิด และในคำฟ้องโจทก์ก็ได้บรรยายถึงการออกเช็คโดยมีลักษณะหรือการกระทำความผิดของจำเลยไว้ชัดแจ้งครบถ้วนตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 มาตรา 4ทั้งจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และไม่หลงต่อสู้ ดังนี้ย่อมมีผลเท่ากับการอ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 (6) แล้ว คำฟ้องโจทก์จึงสมบูรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ.2534 โดยมิได้ยกบทมาตราแห่งกฎหมายขึ้นปรับตาม ป.วิ.อ. มาตรา 186 (7) นั้น เป็นการไม่ชอบ สมควรแก้ไขให้ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3666/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน: อายุผู้กระทำผิดและลักษณะความผิดร้ายแรงเป็นตัวกำหนด
ศาลคดีเด็กและเยาวชนมีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดีที่เด็กหรือเยาวชนถูกฟ้องคดีอาญาทุกประเภท เว้นแต่เยาวชนที่มีอายุเกินกว่าสิบหกปีบริบูรณ์ในขณะกระทำความผิดได้กระทำความผิดอาญาในลักษณะร้ายแรงตามมาตราต่าง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 8(1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ. 2494 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ศาลคดีเด็กและเยาวชนจึงจะไม่มีอำนาจพิจารณาและพิพากษาคดี เมื่อปรากฏว่าขณะกระทำความผิดฐานพยายามชิงทรัพย์ จำเลยอายุไม่เกินกว่า 16 ปีบริบูรณ์ แม้ขณะโจทก์ฟ้องจำเลยมีอายุ 16 ปี 3 เดือนเศษ โจทก์ก็ต้องฟ้องต่อศาลคดีเด็กและเยาวชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1590/2495

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พยายามลักทรัพย์: การกระทำที่แสดงเจตนาและเข้าสู่ลักษณะแห่งการกระทำความผิด
จำเลยปีนขึ้นไปบนม้าแล้วใช้มือโหนประตู จะปีนเข้าไปในบริษัท เผอิญได้ยินเสียงบังโคลนรถจักรยานของตำรวจกระทบกันดังขึ้น จำเลยทำการลักทรัพย์ไม่สำเร็จก็พากันหนีไป ดังนี้ เป็นการกระทำเข้าขั้นพยายามลักทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษกักกันสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยคำนึงถึงลักษณะความผิดและเหตุผลเฉพาะคดี
เมื่อความผิดครั้งก่อนที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วทั้งสองครั้งไม่ใช่หตุร้าย แม้ครั้งหลังนี้ จำเลยได้ทำผิดฐานลักทรัพย์ โดยล้วงกระเป๋าซึ่งเป็นเหตุร้ายก็ตาม ศาลอาจพิเคราะห์ความผิดครั้งก่อนและเหตุผลเฉพาะคดีหลังนี้มาวินิจฉัยว่า จำเลยยังไม่มีสันดานเป็นผู้ร้าย และไม่ลงโทษกักกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2493

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาโทษกักกันสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ โดยคำนึงถึงลักษณะความผิดและความหนักเบาของแต่ละกรณี
เมื่อความผิดครั้งก่อนที่จำเลยเคยต้องโทษจำคุกมาแล้วทั้งสองครั้งไม่ใช่เหตุร้าย แม้ครั้งหลังนี้ จำเลยได้ทำผิดฐานลักทรัพย์ โดยล้วงกระเป๋าซึ่งเป็นเหตุร้ายก็ตาม ศาลอาจพิเคราะห์ความผิดครั้งก่อนๆ และเหตุผลเฉพาะคดีหลังนี้มาวินิจฉัยว่า จำเลยยังไม่มีสันดานเป็นผู้ร้าย และไม่ลงโทษกักกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1699/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายลักษณะความผิดในฟ้องคดีอาญา ไม่จำต้องลอกเลียนตัวบท หากบรรยายครบถ้วนและถูกต้องตามกฎหมาย
การบรรยายฟ้องคดีอาญานั้นไม่จำต้องเขียนข้อความล้อหรือเลียนให้เหมือนถ้อยคำที่บัญญัตไว้ในตัวบทกฎหมาย เมื่อได้กล่าวบรรยายลักษณะของความผิดครบถ้วนและถูกต้องตาม ป.ม.วิ.อาญามาตรา 158 แล้วก็ใช้ได้
การฟ้องคดีหาว่าจำเลยเบิกความเท็จนั้นแม้ในฟ้องจะมิได้ใช้คำว่าถ้อยคำที่จำเลยเบิกความนั้นจำเลยรู้อยู่ว่าเป็น เท็จแต่เมื่อถ้อยคำทั้งหลายในฟ้องแสดงให้เห็นชัดว่าจำเลยเบิกความโดยจงใจนำความเท็จมากล่าวว่าเป็นความ จริง ซึ่งเท่ากับเอาความที่รู้อยู่ว่าเป็นเท็จมาเบิกความนั่นเอง ไม่มีความหมายผิดแผกแตกต่างอะไรกันฉะนั้นเมื่อฟ้องบรรยายลักษณะความผิดครบถ้วนและถูกต้องตามมาตรา 158 แห่ง ป.ม.วิ.อาญาแล้วก็ใช้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 122/2481

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดุลยพินิจศาลในการเพิ่มโทษกักกันสำหรับผู้กระทำผิดซ้ำ: พิจารณาจากพฤติการณ์และลักษณะความผิด
ถึงแม้ว่าจำเลยจะเคยต้องคำพิพากษาให้ลงโทษในความผิดซึ่งเป็นเหตุร้ายมากกว่า 2 ครั้งแล้วก็ตาม ศาลก็มีอำนาจใช้ดุลยพินิจไม่ลงโทษกักกันแก่จำเลยก็ได้