พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า ‘DERMACREAM’ เป็นคำที่สื่อถึงลักษณะสินค้าโดยตรง ไม่เป็นเครื่องหมายที่บ่งบอกถึงแหล่งกำเนิด
แม้อักษรโรมันคำว่า DERMACREAM จะไม่ปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับใดและเป็นคำที่โจทก์คิดประดิษฐ์เองก็ตาม แต่คำว่า DERMA โจทก์ยอมรับว่าเป็นคำที่มีปรากฏอยู่ในพจนานุกรมฉบับภาษาอังกฤษ ซึ่งหมายถึงผิวหนัง แม้ภาษาอังกฤษจะมิใช่ภาษาประจำชาติหรือภาษาราชการของประเทศไทย แต่ก็เป็นภาษาที่มีบทบาทต่อชีวิตประจำวันทั้งในแวดวงการศึกษาและธุรกิจ ย่อมทำให้คำว่า DERMA เป็นที่รู้จักและเข้าใจกันได้อย่างแพร่หลาย เพราะบุคคลทั่วไปสามารถศึกษาได้ รวมทั้งตามพจนานุกรมคำว่า DERMA ยังนำไปใช้ในศาสตร์ที่เกี่ยวกับผิวหนังด้วย ส่วนคำว่า DREAM พจนานุกรมก็ให้ความหมายไว้ว่า ของเหลว โจทก์เพียงนำเอาคำว่า DERMA กับคำว่า CREAM ซึ่งมีความหมายตามพจนานุกรมมาเขียนติดกันเท่านั้น ซึ่งรายการสินค้าต่างๆ ที่โจทก์ขอจดทะเบียนจำพวกที่ 3 และที่ 16 ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือครีมซึ่งใช้สำหรับผิวหนังทั้งสิ้น คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรง อันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5140/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: คำว่า DERMACREAM เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะสินค้า จึงจดทะเบียนไม่ได้
พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ที่ว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้เป็นที่สุดนั้น ย่อมหมายถึงคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น หากผู้ขอจดทะเบียนยังไม่เห็นด้วยกับเหตุผลในคำวินิจฉัยว่าลักษณะของเครื่องหมายการค้าของผู้ขอมีลักษณะไม่ต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนและคำวินิจฉัยอุทธรณ์นั้น ไม่ชอบด้วยกฎหมายอย่างไรแล้ว ผู้ขอย่อมนำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อให้ทบทวนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้านั้นว่าเป็นคำวินิจฉัยที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ได้ ซึ่งโจทก์ได้บรรยายฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ของโจทก์ โดยตั้งข้อหาไว้ชัดเจนว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
การพิจารณาคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่ระบุรายการสินค้าในแต่ละคำขอไว้หลายรายการนั้นเป็นลักษณะของการพิจารณาเป็นรายคำขอ มิใช่ต้องพิจารณาสินค้าแต่ละชนิดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนเมื่อนายทะเบียนพบลักษณะที่ต้องห้ามมิให้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นกับสินค้าชนิดใดในรายการสินค้าที่ขอจดทะเบียนนั้นแล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอนั้น หากโจทก์เห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์ไม่ต้องห้ามจดทะเบียนสำหรับสินค้าชนิดใดเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์มิใช่คำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง โจทก์ก็ชอบที่จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับสินค้าชนิดนั้นโดยระบุเฉพาะสินค้าชนิดนั้นในคำขอจดทะเบียนได้
เมื่อพิจารณาจากรายการสินค้าในจำพวกที่ 3 ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า DERMACREAM ซึ่งมีความหมายว่าครีมหรือของเหลวสำหรับผิวหนัง ล้วนเป็นสินค้าที่เป็นของเหลวหรือมีของเหลวอยู่ด้วยซึ่งใช้กับผิวหนังทั้งสิ้น โดยเฉพาะโลชั่นใช้กับเด็กอ่อนเห็นได้ชัดว่าเป็นของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง และสินค้าในจำพวกที่ 16 ก็เป็นสินค้าที่มีส่วนผสมของของเหลวหรือครีมสำหรับผิวหนัง คำว่า DERMACREAM จึงเป็นคำที่มีความหมายเล็งถึงลักษณะของสินค้าในจำพวกที่ 3 และที่ 16 ดังกล่าวโดยตรงอันไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะตามมาตรา 6 (1) และ มาตรา 7 วรรคสอง (2) แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2216/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าภายใต้ พรบ.เครื่องหมายการค้าฯ พิจารณาจากรูปลักษณ์, เสียงเรียกขาน และลักษณะสินค้า
ในการพิจารณาความคล้ายกันของเครื่องหมายการค้า นอกจากจะต้องพิจารณาในเรื่องรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานของเครื่องหมายแล้วยังคงต้องพิจารณาสินค้าที่นำมาขอจดทะเบียนเพื่อใช้กับเครื่องหมายด้วยว่าเป็นสินค้าประเภทเดียวกันหรือมีลักษณะอย่างเดียวกันหรือมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงถึงกันหรือไม่ รวมทั้งช่องทางจำหน่ายสินค้าและกลุ่มผู้ใช้สินค้าดังกล่าวว่าเป็นกลุ่มเดียวกันหรือมีความรู้ความชำนาญเฉพาะทางที่สามารถแยกแยะความแตกต่างของสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายกันหรือไม่
เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ที่โจทก์ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของบุคคลอื่นจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวก 1 เช่นเดียวกัน แม้ในส่วนรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานมีความคล้ายกันเนื่องจากมีอักษรตัวท้ายแตกต่างกันเพียงตัวเดียวและมีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ ผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ ส่วนผู้ใช้สินค้าที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นเกษตรกรที่ปลูกต้นยาง เมื่อกลุ่มผู้ใช้สินค้าและวัตถุประสงค์การใช้สินค้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์จะใช้วิธีติดต่อกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมโดยตรงและไม่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และในการจำหน่าย เสนอจำหน่าย และโฆษณาสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้า "" นั้นจะปรากฏชื่อและเครื่องหมายการค้าคำว่า "BIOMERIEUX" อยู่ด้วยเสมอ จึงช่วยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์กับสินค้าของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นคำว่า "" และเครื่องหมายการค้า "" แต่เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสามแล้ว มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนตัวอักษรและตัวอักษรที่ต่างกัน รูปลักษณ์เครื่องหมายการค้าทั้งสามจึงต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงรายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนแม้จะเป็นสินค้าจำพวก 9 เช่นเดียวกันทั้งสามเครื่องหมาย แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอของโจทก์เป็นสินค้าประเภทเครื่องและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์ กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่จึงเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และสินค้าของโจทก์ถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ส่วนสินค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" เป็นหลอดแก้วที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ซึ่งถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยา ซึ่งกลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทางการแพทย์ซึ่งย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นอย่างดี จึงย่อมทราบความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของบุคคลอื่น ใช้กับรายการสินค้าที่เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านการสื่อสารทางเสียง จึงไม่ใช่สินค้าที่มีลักษณะเดียวกับสินค้าโจทก์ ทั้งช่องทางการจำหน่ายของโจทก์เป็นการขายตรงต่อลูกค้าไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป จึงยากที่กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์จะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงไม่ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 และ 16
เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ที่โจทก์ขอจดทะเบียนกับเครื่องหมายการค้าคำว่า ของบุคคลอื่นจดทะเบียนไว้กับสินค้าจำพวก 1 เช่นเดียวกัน แม้ในส่วนรูปลักษณ์และเสียงเรียกขานมีความคล้ายกันเนื่องจากมีอักษรตัวท้ายแตกต่างกันเพียงตัวเดียวและมีเสียงเรียกขานที่คล้ายกัน แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนของโจทก์ ผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบอุตสาหกรรมผลิตสินค้าประเภทต่าง ๆ ส่วนผู้ใช้สินค้าที่เครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นเป็นเกษตรกรที่ปลูกต้นยาง เมื่อกลุ่มผู้ใช้สินค้าและวัตถุประสงค์การใช้สินค้าแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ทั้งในการจำหน่ายสินค้าของโจทก์ โจทก์จะใช้วิธีติดต่อกับผู้ประกอบอุตสาหกรรมโดยตรงและไม่มีการวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป และในการจำหน่าย เสนอจำหน่าย และโฆษณาสินค้าของโจทก์ที่ใช้เครื่องหมายการค้า "" นั้นจะปรากฏชื่อและเครื่องหมายการค้าคำว่า "BIOMERIEUX" อยู่ด้วยเสมอ จึงช่วยสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์กับสินค้าของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวจึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของโจทก์มีเสียงเรียกขานคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นคำว่า "" และเครื่องหมายการค้า "" แต่เมื่อเปรียบเทียบรูปลักษณ์ของเครื่องหมายการค้าทั้งสามแล้ว มีความแตกต่างในเรื่องจำนวนตัวอักษรและตัวอักษรที่ต่างกัน รูปลักษณ์เครื่องหมายการค้าทั้งสามจึงต่างกัน เมื่อพิจารณาถึงรายการสินค้าตามคำขอจดทะเบียนแม้จะเป็นสินค้าจำพวก 9 เช่นเดียวกันทั้งสามเครื่องหมาย แต่เมื่อพิจารณารายการสินค้าตามคำขอของโจทก์เป็นสินค้าประเภทเครื่องและอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ เครื่องและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตรวจวิเคราะห์ที่ไม่ใช้ในทางการแพทย์ กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์ส่วนใหญ่จึงเป็นเจ้าของโรงงานอุตสาหกรรม เจ้าหน้าที่ตรวจสอบหาสารปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ และสินค้าของโจทก์ถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการจุลชีววิทยา ส่วนสินค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" เป็นหลอดแก้วที่ใช้ในการทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือทางการแพทย์ ซึ่งถูกใช้งานในห้องปฏิบัติการทางโลหิตวิทยา ซึ่งกลุ่มผู้ใช้สินค้าเป็นนักวิทยาศาสตร์หรือผู้ประกอบอาชีพเกี่ยวกับทางการแพทย์ซึ่งย่อมต้องมีความรู้ความชำนาญในการเลือกใช้วัสดุอุปกรณ์เป็นอย่างดี จึงย่อมทราบความแตกต่างระหว่างสินค้าของโจทก์และของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้ ส่วนเครื่องหมายการค้าคำว่า "" ของบุคคลอื่น ใช้กับรายการสินค้าที่เป็นอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับด้านการสื่อสารทางเสียง จึงไม่ใช่สินค้าที่มีลักษณะเดียวกับสินค้าโจทก์ ทั้งช่องทางการจำหน่ายของโจทก์เป็นการขายตรงต่อลูกค้าไม่มีวางจำหน่ายในท้องตลาดทั่วไป จึงยากที่กลุ่มผู้ใช้สินค้าของโจทก์จะสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าของโจทก์กับของบุคคลอื่นได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่จดทะเบียนไว้แล้วจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า จึงไม่ต้องห้ามมิให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 13 และ 16
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4676/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า LIVE WITH CHIVALRY ไม่เป็นคำทั่วไปหรือลักษณะสินค้า ไม่ต้องแสดงปฏิเสธสิทธิ
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่จะเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 18 วรรคหนึ่ง จะต้องเป็นคำวินิจฉัยที่ถูกต้องตามกฎหมายหรือชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น มิเช่นนั้นผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องโดยเห็นว่าคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำที่ไม่เล็งถึงลักษณะและคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะอันพึงได้รับการจดทะเบียนของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำฟ้องของโจทก์เท่ากับโต้แย้งว่า คำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว ที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งและคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการโต้แย้งสิทธิโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 26 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 55 โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีนี้ได้
ถ้อยคำที่เล็งถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" ซึ่งมีคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE แปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH แปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า "CHIVALRY" แปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว คำว่า LIVE WITH CHIVALRY จึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง และไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำว่า "LIVE WITH" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เนื่องจากคำว่า "LIVE WITH" ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง ถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองแล้ว การที่โจทก์ใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "LIVE WITH" กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย
ถ้อยคำที่เล็งถึงคุณลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอันจะถือว่าไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะและต้องห้ามมิให้นำมาใช้เป็นเครื่องหมายการค้านั้น จะต้องเป็นถ้อยคำที่เกี่ยวข้องหรือสัมพันธ์กับลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าอย่างตรงไปตรงมาจนถึงขนาดที่ว่าทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าทันที หรือหากสาธารณชนใช้วิจารณญาณเพียงเล็กน้อยก็สามารถเข้าใจได้เพราะเป็นคำบรรยายหรือพรรณนาถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง เครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" ซึ่งมีคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" เป็นส่วนประกอบ โดยคำว่า LIVE แปลว่า มีชีวิต ดำเนินชีวิต อยู่ คำว่า WITH แปลว่า รวมถึง เกี่ยวกับ คำว่า "CHIVALRY" แปลว่า คุณสมบัติของอัศวิน รวมกันแล้วสื่อความหมายได้ว่า ดำเนินชีวิตตามวิถีอัศวิน เมื่อนำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าประเภทเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์แล้ว คำว่า LIVE WITH CHIVALRY จึงไม่ใช่คำแปลหรือความหมายของลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ตามที่โจทก์ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยตรง และไม่ทำให้สาธารณชนทราบถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าได้ในทันที ทั้งคำดังกล่าวไม่อาจทำให้สาธารณชนพิจารณาหรือคิดไตร่ตรองไปถึงสินค้าเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ได้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่มีคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านี้โดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 7 วรรคสอง (2) แต่เป็นเครื่องหมายการค้าที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ที่ทำให้ประชาชนหรือผู้ใช้สินค้าทราบและเข้าใจได้ว่าสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวแตกต่างไปจากสินค้าที่ใช้เครื่องหมายการค้าอื่น และเมื่อไม่ปรากฏว่าคำว่า "LIVE WITH" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ อันเป็นสินค้าที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า หรือมีลักษณะไม่บ่งเฉพาะ เนื่องจากคำว่า "LIVE WITH" ไม่ได้เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์โดยตรง ถือเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะในตัวเองแล้ว การที่โจทก์ใช้คำดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องหมายการค้าคำว่า "LIVE WITH CHIVALRY" และเครื่องหมายการค้าคำว่า "CHIVAS LIVE WITH CHIVALRY" สำหรับสินค้าจำพวกที่ 32 และ 33 ซึ่งเป็นสินค้าจำพวกเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ จึงไม่จำต้องแสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "LIVE WITH" กับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204-5205/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า และการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าเล็งถึงลักษณะสินค้าหรือไม่
แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะมีลักษณะเป็นคำสั่งทางราชการแต่เนื่องจากเป็นคดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้าซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศตามมาตรา 7 (3) แห่งพ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศฯ ซึ่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาตรา 9 วรรคสอง (3) บัญญัติให้คดีที่อยู่ในอำนาจของศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง จึงไม่นำเอา พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ มาใช้บังคับและไม่อาจนำมาใช้ในลักษณะของบทกฎหมายใกล้เคียงอย่างยิ่งด้วย เพราะจะเป็นการจำกัดสิทธิของประชาชน ดังนั้น เมื่อไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายในกำหนด 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องได้
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำนาม 2 คำ นำมาวางต่อกันอย่างไม่เป็นไปตามไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ สำหรับคำว่า "MONSTER" แปลว่า อสุรกาย สัตว์ประหลาด มหึมา มโหฬาร ส่วนคำว่า "POWER" แปลว่า อำนาจ กำลัง พลัง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจแปลว่า พลังอสุรกาย และไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขอจดทะเบียน แต่ถึงจะแปลความหมายว่า กำลังมหาศาล ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของเครื่องควบคุมพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง เพราะคำว่า "POWER" แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานรูปหนึ่งแต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วจะนึกถึงสินค้าของโจทก์หรือทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์ได้ในทันที เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
เครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นคำนาม 2 คำ นำมาวางต่อกันอย่างไม่เป็นไปตามไวยากรณ์ในภาษาอังกฤษ สำหรับคำว่า "MONSTER" แปลว่า อสุรกาย สัตว์ประหลาด มหึมา มโหฬาร ส่วนคำว่า "POWER" แปลว่า อำนาจ กำลัง พลัง เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงอาจแปลว่า พลังอสุรกาย และไม่ได้มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าที่ขอจดทะเบียน แต่ถึงจะแปลความหมายว่า กำลังมหาศาล ก็ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของเครื่องควบคุมพลังงานไฟฟ้าซึ่งเป็นสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง เพราะคำว่า "POWER" แม้จะมีความเกี่ยวข้องกับไฟฟ้า เนื่องจากไฟฟ้าถือเป็นพลังงานรูปหนึ่งแต่ยังไม่ถึงขนาดที่จะทำให้สาธารณชนที่ได้เห็นหรือได้ยินเครื่องหมายการค้าของโจทก์แล้วจะนึกถึงสินค้าของโจทก์หรือทราบถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์ได้ในทันที เครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงไม่เป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2041/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า หลักสำคัญอยู่ที่การบ่งบอกแหล่งที่มาและลักษณะสินค้า
หน้าที่หลักของเครื่องหมายการค้า คือหน้าที่บอกแหล่งที่มาของสินค้าและความแตกต่างระหว่างสินค้า หมายความว่า เครื่องหมายการค้าจะต้องบ่งบอกได้ว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้ามีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใดและสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่ง
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด
เสียงเรียกขานบางคำในเครื่องหมายการค้าซ้ำกันมิใช่เหตุให้เครื่องหมายการค้าเหมือนหรือคล้ายกันจนไม่อาจรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าให้ได้ เพราะการเรียกขานสินค้าย่อมจะขึ้นอยู่กับผู้บริโภคว่าจะเรียกขานเช่นใด ทั้งการเรียกขานก็ไม่ใช่สาระสำคัญประการเดียวที่จะใช้ในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์สามารถทำหน้าที่บ่งบอกว่า สินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด และสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้นแตกต่างจากสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าอีกเครื่องหมายหนึ่งเช่นใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1786/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า "TIMEWALKER" ไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะสื่อถึงลักษณะสินค้าโดยตรง
คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยของพนักงานเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร แม้ว่าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๑๘ วรรคหนึ่ง จะบัญญัติให้คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการดังกล่าวเป็นที่สุด ก็มีความหมายเพียงว่า ผู้อุทธรณ์จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าต่อเจ้าพนักงานอื่นของฝ่ายบริหารต่อไปอีกไม่ได้เท่านั้น หากคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้อุทธรณ์ย่อมมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวได้ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องกล่าวอ้างว่า เครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย การที่นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำสั่งปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยยืนย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเป็นการบรรยายฟ้องว่ามีการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. ๒๕๓๙ มาตรา ๒๖ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา ๕๕ แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้คำว่า "TIMEWALKER" จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบว่า คำว่า "TIMEWALKER" เป็นการนำเอาคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ โจทก์แปลคำดังกล่าวว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ซึ่งเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำนั้นสามารถแปลความหรือสื่อความหมายได้ หาใช่เป็นคำประดิษฐ์หรือคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย และการแปลความของโจทก์ก็เป็นการแปลจากคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" นั่นเอง เมื่อพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "TIME" ว่าหมายถึง เวลา และคำว่า "WALKER" หมายถึง การเดิน ผู้เดิน หรือผู้ชอบเดิน คำว่า "TIMEWALKER" จึงอาจสื่อถึงความหมายได้หลายประการ การที่โจทก์แปลความว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ก็อาจเป็นไปได้ตามความมุ่งหมายของโจทก์ และขณะเดียวกันคำว่า "TIMEWALKER" ก็สื่อถึงความหมายว่า ผู้เดินเวลา หรือเครื่องมือที่เดินตามเวลา ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาได้เช่นกัน เมื่อโจทก์นำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๔ รายการสินค้า นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และนาฬิกาแขวน จึงถือได้ว่าคำว่า "TIMEWALKER" เป็นคำที่บรรยายลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกนาฬิกาของโจทก์อันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสอง (๒) คำดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันจะพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖
แม้คำว่า "TIMEWALKER" จะเป็นคำที่ไม่มีความหมายในพจนานุกรม แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องและนำสืบว่า คำว่า "TIMEWALKER" เป็นการนำเอาคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" มาเรียงต่อกันเกิดเป็นคำใหม่ โจทก์แปลคำดังกล่าวว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ซึ่งเป็นการแสดงอยู่ในตัวว่าคำนั้นสามารถแปลความหรือสื่อความหมายได้ หาใช่เป็นคำประดิษฐ์หรือคำใหม่ที่ไม่มีความหมาย และการแปลความของโจทก์ก็เป็นการแปลจากคำว่า "TIME" และคำว่า "WALKER" นั่นเอง เมื่อพจนานุกรมให้ความหมายคำว่า "TIME" ว่าหมายถึง เวลา และคำว่า "WALKER" หมายถึง การเดิน ผู้เดิน หรือผู้ชอบเดิน คำว่า "TIMEWALKER" จึงอาจสื่อถึงความหมายได้หลายประการ การที่โจทก์แปลความว่า "ผู้เดินเวลาที่มีชีวิต" ก็อาจเป็นไปได้ตามความมุ่งหมายของโจทก์ และขณะเดียวกันคำว่า "TIMEWALKER" ก็สื่อถึงความหมายว่า ผู้เดินเวลา หรือเครื่องมือที่เดินตามเวลา ทำให้ประชาชนทั่วไปเข้าใจถึงนาฬิกาซึ่งเป็นเครื่องบอกเวลาได้เช่นกัน เมื่อโจทก์นำมาใช้กับสินค้าจำพวกที่ ๑๔ รายการสินค้า นาฬิกาข้อมือ นาฬิกาพก และนาฬิกาแขวน จึงถือได้ว่าคำว่า "TIMEWALKER" เป็นคำที่บรรยายลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าจำพวกนาฬิกาของโจทก์อันเป็นการเล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าโดยตรงตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. ๒๕๓๔ มาตรา ๗ วรรคสอง (๒) คำดังกล่าวจึงไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ อันจะพึงรับจดทะเบียนได้ตามมาตรา ๖
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1783/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า 'Global Sources' ไม่สามารถจดทะเบียนได้ เพราะเป็นคำที่บ่งบอกลักษณะสินค้า/บริการโดยตรง
เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ประกอบด้วยรูปประดิษฐ์กับอักษรโรมันคำว่า "Global Sources" หากพิจารณาทั้งเครื่องหมายแล้ว อักษโรมันคำว่า "Global Sources" ย่อมเป็นภาคส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ ในขณะที่รูปโลกประดิษฐ์นั้น แม้จะมีลักษณะเป็นภาพที่ประดิษฐ์ขึ้นและมีเจตนาจะใช้เครื่องหมายการค้า/บริการ แต่โดยขนาดตำแหน่งและสภาพที่ใช้ร่วมกับอักษรโรมันคำว่า "Global Sources" แล้ว รูปโลกประดิษฐ์ดังกล่าวไม่อาจถือว่าเป็นภาพส่วนสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ได้ กล่าวคือหากพิจารณาว่า อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว ลำพังรูปโลกประดิษฐ์ดังกล่าวยังไม่อาจทำให้เครื่องหมายการค้า/บริการได้รับการจดทะเบียน
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่โดยโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการ จำนวน 5 คำขอ เพื่อใช้กับสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า/บริการตามคำขอใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรงหรือไม่นั้น มิจำต้องพิจารณาสินค้าและบริการแต่ละชนิดในรายการสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ดังนั้น หากตรวจสอบพบสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการในคำขอใดแล้วก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนสำหรับคำขอนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้รับจดทะเบียนเป็นรายสินค้าหรือบริการตามที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด สำหรับคำว่า "Global" นั้น แปลว่า "โลก, ทั่วโลก, เกี่ยวกับโลก" ส่วนคำว่า "Sources" นั้นแปลว่า "แหล่ง, ข้อมูล, แหล่งข้อมูล" เมื่อออกเสียงรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า "แหล่งข้อมูลของโลก" เมื่อใช้คำดังกล่าวกับคำขอเลขที่ 456095 ถึง 456099 ซึ่งต่างมีสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรง เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ทั้งคำขอจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2)
ประเด็นที่ต้องพิจารณาต่อไปคือ อักษรโรมันคำว่า "Global Sources" มีลักษณะบ่งเฉพาะหรือไม่โดยโจทก์ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการ จำนวน 5 คำขอ เพื่อใช้กับสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ซึ่งในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้า/บริการตามคำขอใดเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรงหรือไม่นั้น มิจำต้องพิจารณาสินค้าและบริการแต่ละชนิดในรายการสินค้าและบริการที่ขอจดทะเบียน ดังนั้น หากตรวจสอบพบสินค้าหรือบริการที่มีลักษณะต้องห้ามมิให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า/บริการในคำขอใดแล้วก็ชอบที่จะปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนสำหรับคำขอนั้นได้ ไม่จำเป็นต้องพิจารณาให้รับจดทะเบียนเป็นรายสินค้าหรือบริการตามที่โจทก์อุทธรณ์แต่อย่างใด สำหรับคำว่า "Global" นั้น แปลว่า "โลก, ทั่วโลก, เกี่ยวกับโลก" ส่วนคำว่า "Sources" นั้นแปลว่า "แหล่ง, ข้อมูล, แหล่งข้อมูล" เมื่อออกเสียงรวมกันแล้ว จึงมีความหมายว่า "แหล่งข้อมูลของโลก" เมื่อใช้คำดังกล่าวกับคำขอเลขที่ 456095 ถึง 456099 ซึ่งต่างมีสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลข่าวสาร ย่อมเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าและบริการโดยตรง เครื่องหมายการค้า/บริการของโจทก์ทั้งคำขอจึงไม่อาจรับจดทะเบียนได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2534 มาตรา 16 ประกอบมาตรา 6 (1) และมาตรา 7 วรรคสอง (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2828/2561
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้า "DULUX INSPIRE": คำว่า "INSPIRE" ไม่ใช่คำที่เล็งถึงลักษณะสินค้าโดยตรง จึงจดทะเบียนได้
แม้เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านี้จะแบ่งออกได้เป็น 2 ภาคส่วน สำหรับภาคส่วนคำว่า "DULUX" นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าไม่มีข้อโต้แย้งเรื่องการมีลักษณะบ่งเฉพาะในตนเองแล้วของคำดังกล่าว ส่วนภาคส่วนคำว่า "INSPIRE" นั้นแม้จะเป็นคำภาษาต่างประเทศแต่ก็เป็นคำธรรมดาทั่วไปที่ปรากฏความหมายของคำตามพจนานุกรมว่าคำว่า "INSPIRE" มีความหมายหนึ่งว่า กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม แต่คำภาษาต่างประเทศที่มีความหมายตามพจนานุกรมจะเป็นคำที่ไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะเพราะเป็นคำที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาว่าความหมายของคำที่ประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีหรือไม่ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด หากเป็นเครื่องหมายซึ่งเป็นคำที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะของสินค้าซึ่งทำให้ผู้ใช้สินค้าสามารถทราบได้ทันทีว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด จึงจะถือว่าเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นโดยตรง ในขณะที่เครื่องหมายที่มีความหมายเป็นการบรรยายถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้านั้นทางอ้อม ผู้ใช้สินค้าต้องใช้ความคิดและจินตนาการหรือแปลความหมายที่ซ้ำซ้อนกันนั้นอีกชั้นหนึ่งก่อนจึงจะรู้ว่าเป็นเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับสินค้าใด แม้อาจเป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าก็เป็นไปโดยทางอ้อม หาใช่เป็นเครื่องหมายที่เล็งถึงลักษณะหรือคุณสมบัติของสินค้าที่ขอจดทะเบียนโดยตรงไม่ เมื่อพิจารณาความหมายของคำว่า "INSPIRE" ที่ปรากฏตามที่จำเลยทั้งสองนำสืบกล่าวอ้างดังกล่าว คือ กระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยม ประกอบกับรายการสินค้าที่โจทก์นำคำว่า "INSPIRE" ไปใช้ คือ สีทา สีทาด้วยลูกกลิ้ง สีพ่น น้ำมันชักเงา แลกเกอร์ สารทำให้แห้ง ทินเนอร์ และสารทำให้เกิดสี ซึ่งทั้งหมดใช้เป็นสารเติมใส่แลกเกอร์ สารกันสนิม สารป้องกันการเสื่อมสภาพของไม้ สารที่เตรียมขึ้นใช้ทารองพื้นในลักษณะของสี สีแต้ม/ย้อมไม้ ยางเรซินธรรมชาติ(ยางมัสติก) สีโป๊ว สี น้ำมันชักเงา หรือแลกเกอร์ในลักษณะแผ่นปะติดที่สามารถย้ายตำแหน่งใหม่ได้ คำว่า "INSPIRE" ดังกล่าวไม่ได้มีความหมายที่บ่งบอกถึงคุณสมบัติของสินค้าของโจทก์โดยตรงว่าเป็นสินค้าที่เมื่อผู้บริโภคใช้แล้วจะเกิดการกระตุ้นหรือส่งอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้แต่อย่างใด ที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า คำว่า "INSPIRE" เมื่อนำมาใช้กับรายการสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนดังกล่าวแล้วจะทำให้เข้าใจได้ว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านี้เป็นสินค้าที่ยอดเยี่ยมนั้น เป็นการใช้จินตนาการเกินเลยไปกว่าความหมายที่ปรากฏของคำดังกล่าว และแม้คำดังกล่าวจะเป็นคำที่โน้มน้าวจูงใจให้สาธารณชนทั่วไปเข้าใจ ใช้ความคิดจินตนาการต่อเนื่องกันไปได้ว่า สินค้าที่โจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะเป็นสินค้าที่กระตุ้นหรือมีอิทธิพลให้สามารถทำสิ่งที่ยอดเยี่ยมได้ ก็เป็นการใช้จินตนาการตีความหมายถ้อยคำที่ซับซ้อนให้โยงเกี่ยวข้องถึงสินค้าในทางอ้อม มิได้เป็นคำที่เล็งถึงคุณสมบัติของสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนโดยตรง คำว่า "INSPIRE" จึงเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว เมื่อนำคำว่า "INSPIRE" มาใช้ประกอบกับคำว่า "DULUX" เป็นเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ในลักษณะที่ไม่มีคำใดเป็นจุดเด่นกว่าคำใด ทั้งสองคำจึงเป็นภาคส่วนที่เป็นสาระสำคัญของเครื่องหมาย แม้คำว่า "INSPIRE" จะเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าด้วย แต่เมื่อวินิจฉัยแล้วว่าคำดังกล่าวเป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะเครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" จึงมิใช่เครื่องหมายการค้าที่มีเครื่องหมายส่วนหนึ่งส่วนใดอันเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายที่ไม่มีลักษณะอันพึงรับจดทะเบียน และเมื่อคำว่า "INSPIRE" เป็นคำที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ ประกอบกับไม่ปรากฏว่าคำว่า "INSPIRE" เป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายสำหรับสินค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงไม่จำต้องให้โจทก์แสดงปฏิเสธว่าไม่ขอถือเป็นสิทธิของตนแต่ผู้เดียวในอันที่จะใช้คำว่า "INSPIRE" ของเครื่องหมายการค้าของโจทก์ กรณีไม่จำต้องวินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองที่ว่า เครื่องหมายการค้าคำว่า "DULUX INSPIRE" ตามคำขอจดทะเบียนคำขอนี้ของโจทก์มีลักษณะบ่งเฉพาะจากการใช้หรือไม่อีกต่อไป