คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาพักร้อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปี และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันลาพักร้อนที่ไม่ได้ใช้
จำเลยที่ 2 กำหนดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าลูกจ้างที่ทำงานครบหนึ่งปีมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้หกวันโดยไม่มีการสะสมในปีถัดไป เมื่อโจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 6 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปี นับแต่เมื่อครบหนึ่งปี นับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้าย คือ ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ในช่วงปีสุดท้ายนี้ โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อปรากฏว่า ในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปีตามอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5979/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้างที่ทำงานเกิน 1 ปี และผลของการไม่โต้แย้งคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 ในเดือนกรกฎาคม 2536 การทำงานในหนึ่งปีแรกจึงครบในเดือนกรกฎาคม 2537 และมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เมื่อครบหนึ่งปีนับแต่เริ่มทำงานและในปีถัดมาทุกปี ปีละหกวันทำงานตลอดมาจนถึงช่วงปีสุดท้ายคือตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2546 ถึงเดือนกรกฎาคม 2547 ซึ่งจำเลยที่ 2 เลิกจ้างโจทก์ ในช่วงปีสุดท้ายนี้โจทก์จึงมิสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีหกวันทำงานตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน แต่เมื่อในปี 2546 โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีและพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2546 ทั้งหกวันแก่โจทก์แล้วโดยไม่มีคู่ความฝ่ายใดไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานส่วนนี้แล้วนำคดีไปสู่ศาลภายในสามสิบวันนับแต่ทราบคำสั่ง คำสั่งในส่วนนี้จึงเป็นที่สุด เมื่อศาลแรงงานกลางเห็นว่า นับแต่ต้นปี 2547 จนถึงเดือนกรกฎาคม 2547 โจทก์จึงมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีอีกเพียงสี่วันทำงาน และโจทก์ได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2547 แล้วสองวัน จึงกำหนดให้จำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี 2547 แก่โจทก์อีกเพียงสองวันตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่โจทก์พึงมีสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 67 จึงชอบแล้ว และกรณีนี้โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยที่ 2 เกินกว่าหนึ่งปี มิใช่กรณีทำงานยังไม่ครบหนึ่งปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนและการจ่ายค่าจ้างเมื่อถูกเลิกจ้างโดยมิชอบตามประกาศกระทรวงมหาดไทย
ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 10 บัญญัติให้ลูกจ้างซึ่งทำงานติดต่อกันมาแล้วครบหนึ่งปี มีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีได้ไม่น้อยกว่าปีละ 6 วันทำงาน โดยนายจ้างเป็นผู้กำหนดล่วงหน้าให้ เมื่อไม่ปรากฏว่านายจ้างได้กำหนดล่วงหน้าให้ลูกจ้างหยุดพักผ่อนประจำปี จึงไม่อาจอ้างได้ว่าลูกจ้างไม่ใช้สิทธิลาหยุดเอง การที่นายจ้างเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 และไม่จ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 เป็นการโต้แย้งสิทธิของลูกจ้างแล้ว ลูกจ้างจึงมีอำนาจฟ้อง
ลูกจ้างย่อมสิ้นสภาพจากการเป็นลูกจ้างตั้งแต่วันที่นายจ้างเลิกจ้างโดยไม่ต้องคำนึงว่านายจ้างได้จ่ายค่าจ้างของเดือนที่เลิกจ้างและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามกฎหมายให้แก่ลูกจ้างหรือไม่
ลูกจ้างยังมิได้ใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปี นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47 จึงต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนให้แก่ลูกจ้างตามข้อ 45

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมและการคำนวณค่าจ้างพักร้อนตามระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7476/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนสะสมของลูกจ้าง การคำนวณค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนตามสัดส่วนระยะเวลาทำงาน
โจทก์เข้าทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2533 ครบ 1 ปี ในวันที่30 มิถุนายน 2534 ซึ่งโจทก์มีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีนับแต่เริ่มทำงานในปีถัดมาทุกปีปีละ 10 วัน ตลอดมาจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2539 รวม 6 ปี แต่โจทก์ไม่ได้ใช้สิทธินั้นดังนั้น โจทก์คงมีสิทธิลาหยุดพักผ่อนประจำปีในปี 2540 โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม2539 เมื่อนับถึงวันสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2540 อันเป็นวันเลิกจ้างมีผลบังคับเป็นเวลา8 เดือน โจทก์ย่อมมีสิทธิได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 45 มีกำหนด6.66 วัน หาใช่มีสิทธิได้เต็ม 10 วัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: นายจ้างต้องพิจารณาสภาพความจำเป็นของผู้ป่วยเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆ นั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507-3509/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลาพักร้อนแทนวันลาป่วย: พิจารณาความจำเป็นจริงเป็นรายกรณี
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างที่มีความว่า ในเดือนเมษายนและเดือนพฤษภาคม ลูกจ้างจะไม่ได้รับอนุญาตให้ลาหยุดพักผ่อน เว้นแต่จะใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยลากิจที่จำเป็นจริง ๆนั้น ไม่อาจแปลได้ว่า เป็นดุลพินิจอันเด็ดขาดของนายจ้างที่จะกำหนดเอาเองว่ากรณีใดร้ายแรงถึงขนาดที่จะถือได้ว่ามีเหตุจำเป็นจริง ๆ หรือไม่ หากแต่จะต้องพิจารณาถึงสภาพความจำเป็นของผู้ลากิจ ลาป่วยเป็นเรื่อง ๆ ไป ดังนี้ เมื่อจำเลยอนุญาตให้โจทก์ลาป่วยได้ตามความเป็นจริงที่โจทก์อ้าง เพราะโจทก์แต่ละคนปวดศีรษะอย่างแรง เป็นไข้ท้องเสียอย่างแรง และเวียนศีรษะ เห็นได้ว่าเป็นความจำเป็นจริง ๆ อันโจทก์แต่ละคนย่อมไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ กรณีจึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อตกลงดังกล่าวที่โจทก์ทุกคนจะพึงใช้สิทธิวันหยุดพักผ่อนแทนวันลาป่วยของโจทก์แต่ละคนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนไม่เป็นไปตามระเบียบ และการละทิ้งหน้าที่ ถือเป็นเหตุเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติ ถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกัน โดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47 (4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1348/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาพักร้อนที่ไม่เป็นไปตามระเบียบ และการเลิกจ้างลูกจ้างที่สมเหตุผล
โจทก์ยื่นใบลาหยุดพักผ่อนประจำปีสืบเนื่องมาจากโจทก์ถูกกล่าวหาว่ารายงานเท็จ โดยมิได้ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการลาหยุดพักผ่อนประจำปีซึ่งกำหนดว่า ลูกจ้างจะต้องยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาล่วงหน้าอย่างน้อย 1 สัปดาห์ โจทก์ลาหยุดพักผ่อนแล้วไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 2 ถึงวันที่ 15 กรกฎาคม 2524 แต่ผู้บังคับบัญชาไม่อนุมัติถือได้ว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 47(4)