พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อปลอมในสัญญากู้ยืม และการยึดโฉนดที่ดินโดยไม่สุจริต ศาลฎีกายืนตามศาลอุทธรณ์
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชนะคดีโดยวินิจฉัยว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจากจำเลย เมื่อโจทก์และ พ. ยังไม่ได้ชำระหนี้เงินกู้ยืม จำเลยจึงมีสิทธิยึดหน่วงโฉนดที่ดินพิพาท แต่ศาลชั้นต้นก็ฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่เป็นชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ แต่เป็นลายมือชื่อปลอมซึ่งเป็นอันยุติแล้ว แม้ศาลอุทธรณ์จะยกปัญหาว่าลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้เงินเป็นลายมือปลอมหรือไม่ขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้
ลายมือชื่อผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยแล้วมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยแต่พยานหลักฐานที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจำเลย การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ลายมือชื่อผู้กู้ยืมในหนังสือสัญญากู้ยืมเงินไม่ใช่ของโจทก์ จึงฟังไม่ได้ว่าโจทก์กู้ยืมเงินจำเลยแล้วมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้จำเลยยึดถือไว้เป็นประกันดังที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินพิพาท
ที่จำเลยฎีกาว่า แม้จะฟังไม่ได้ว่าโจทก์ทำสัญญากู้ยืมเงินจากจำเลยแต่พยานหลักฐานที่นำสืบมาฟังได้ว่าโจทก์รู้เห็นและยินยอมให้ พ. นำโฉนดที่ดินพิพาทไปเป็นประกันการกู้ยืมเงินจำเลย การที่โจทก์นำคดีมาฟ้องจึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แต่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ การที่ศาลชั้นต้นยกขึ้นวินิจฉัยจึงเป็นการวินิจฉัยนอกคำให้การเป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7494/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลายมือชื่อปลอมในสัญญากู้ยืม ทำให้จำเลยไม่มีสิทธิยึดโฉนดที่ดิน และการวินิจฉัยนอกคำให้การของศาลชั้นต้น
ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงเกี่ยวกับหนังสือสัญญากู้เงินที่จำเลยอ้างเป็นพยานหลักฐานว่าลายมือชื่อที่เป็นชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้เงินดังกล่าวไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ซึ่งข้อเท็จจริงดังกล่าวไม่มีคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์โต้แย้งแม้จำเลยจะแก้อุทธรณ์แต่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งไม่รับคำแก้อุทธรณ์เนื่องจากจำเลยยื่นเกินกำหนดระยะเวลาข้อเท็จจริงที่ว่าลายมือชื่อโจทก์ในหนังสือสัญญากู้เงินไม่ใช่ของโจทก์แต่เป็นลายมือชื่อปลอม จึงฟังเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 จะยกขึ้นวินิจฉัยก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะฎีกาในปัญหาดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3596/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดต่อความเสียหายจากลายมือชื่อปลอมในใบถอนเงิน หากไม่ใช้ความระมัดระวังตามวิชาชีพ
++ เรื่อง ฝากทรัพย์ ตัวแทน ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า "สุ" ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
พิเคราะห์แล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า จำเลยที่ 4สาขาบางนา มีจำเลยที่ 1 เป็นผู้ช่วยสมุห์บัญชี จำเลยที่ 2 เป็นสมุห์บัญชีจำเลยที่ 3 เป็นผู้จัดการ โจทก์เป็นลูกค้าจำเลยที่ 4 สาขาบางนาโดยเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์บัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ต่อมาวันที่ 20เมษายน 2538 มีการถอนเงินจากบัญชีเงินฝากของโจทก์ดังกล่าว 2 ครั้งรวมเป็นเงิน 350,000 บาท
มีปัญหาที่ต้องวินิจฉัยตามฎีกาจำเลยที่ 1 และที่ 4 ข้อแรกว่าลายมือชื่อในใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์หรือไม่เมื่อพิเคราะห์ใบถอนเงินเอกสารหมาย จ.20 และ จ.21 แล้ว ปรากฏว่าลงวันที่ 20 เมษายน 2538 แต่ตามเอกสารหมาย จ.20 ตีตราประทับของจำเลยที่ 4 สาขาบางนาว่า วันที่ 20 มีนาคม 2538 ซึ่งไม่ตรงกับความเป็นจริง และเลขที่บัญชีออมทรัพย์ของโจทก์ก็ไม่ถูกต้องโดยระบุบัญชีเลขที่058-2-0477-9 ที่ถูกต้องบัญชีเลขที่ 058-2-04775-9 ในช่องผู้จ่ายและอนุมัติไม่มีลายมือชื่อผู้จ่ายเงินและผู้อนุมัติ ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและช่องลายมือชื่อผู้รับเงินแต่ละช่องมีการลงลายมือชื่อถึงสองลายมือ เมื่อนำลายมือชื่อดังกล่าวเปรียบเทียบกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 ตามเอกสารหมาย จ.1 เห็นได้ว่า ลายมือแรกไม่มีลักษณะรูปแบบใกล้เคียงหรือคล้ายคลึงกันแต่ประการใด ส่วนลายมือชื่อที่สองดูผิวเผินเห็นว่ามีคำว่า "สุ" ซึ่งเป็นชื่อคำแรกของโจทก์ แต่เมื่อตรวจพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ชัดว่าลีลาในการเขียนและคุณสมบัติรูปร่างตัวอักษรแตกต่างกันอย่างชัดเจน ส่วนใบถอนเงินตามเอกสารหมาย จ.21 ในช่องลายมือชื่อเจ้าของบัญชีมีถึง 4 ลายมือชื่อ เป็นหมึกสีดำกับสีน้ำเงิน ลายมือชื่อในช่องลายมือชื่อผู้รับเงินมีลายมือชื่อเดียวเป็นสีน้ำเงิน ซึ่งลายมือชื่อทั้งห้าลายมือชื่อในช่องเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัดและไม่คล้ายคลึงกันแต่ประการใดเลย ซึ่งศาลสามารถตรวจพิเคราะห์และมีความเห็นได้เองโดยไม่จำต้องอาศัยความเห็นของผู้เชี่ยวชาญแต่ประการใดและไม่มีกฎหมายบังคับให้ต้องฟังความเห็นของผู้เชี่ยวชาญประกอบการพิจารณาตามที่จำเลยที่ 1และที่ 4 ฎีกาแต่อย่างใด เมื่อปรากฏว่าลายมือชื่อเจ้าของบัญชีและผู้รับเงินแตกต่างกับตัวอย่างลายมือชื่อโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 เช่นนี้แล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ได้ขอตรวจดูบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มาถอนเงินตามใบถอนเงินทั้งสองฉบับ ซึ่งมีข้อพิรุธ ทั้ง ๆ ที่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ตรวจสอบความถูกต้องของลายมือชื่อผู้ถอนเงินและผู้รับเงิน จำเลยที่ 1 จะต้องใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่โดยความละเอียดรอบคอบเพิ่มขึ้นเพื่อไม่ให้เกิดความเสียหาย หากจำเลยที่ 1 ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอแล้วย่อมจะทราบว่าไม่คล้ายคลึงกับตัวอย่างลายมือชื่อของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยที่ 4 แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นตัวแทนของจำเลยที่ 4 ในธุรกิจธนาคารหาได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจธนาคารไม่ เป็นการกระทำผิดหน้าที่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 659 วรรคสาม ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นจำเลยที่ 4 ซึ่งเป็นคู่สัญญาฝากทรัพย์กับโจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ความเสียหายให้แก่โจทก์ เมื่อจำเลยที่ 4 ตัวการต้องรับผิดต่อโจทก์แล้ว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนและกระทำการแทนจำเลยที่ 4 ในกิจการนี้ จึงไม่ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ จึงไม่ต้องวินิจฉัยฎีกาข้ออื่นของจำเลยที่ 1 อีกต่อไป คงเหลือปัญหาตามฎีกาของจำเลยที่ 4 ข้อสุดท้ายที่ฎีกาว่า โจทก์มีส่วนประมาทเลินเล่อร่วมด้วย เพราะโจทก์ต้องเก็บรักษาสมุดคู่ฝากไว้เป็นอย่างดีมิใช่นำไปเก็บไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และโจทก์ทราบว่าสมุดคู่ฝากหายหลังจากเกิดเหตุหลายเดือน อันจะเป็นเหตุให้จำเลยที่ 4 ไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ เห็นว่า การที่โจทก์นำสมุดคู่ฝากไว้ในกระเป๋าหนังใส่ไว้ในช่องเก็บของหน้ารถยนต์ของโจทก์และเพิ่งทราบว่าสมุดคู่ฝากหายไปแล้วหลายเดือน ไม่ใช่กรณีผิดปกติวิสัย แต่เป็นกรณีที่อาจเกิดขึ้นได้ และพยานหลักฐานที่จำเลยที่ 4 นำสืบยังฟังไม่ได้ว่า ที่สมุดคู่ฝากหายไปนั้นเกิดจากความจงใจของโจทก์ เหตุที่เกิดขึ้นในคดีนี้เพราะมีผู้ปลอมลายมือชื่อของโจทก์ในใบถอนเงินและนำไปถอนเงินจากจำเลยที่ 4ซึ่งจำเลยที่ 4 โดยจำเลยที่ 1 ตัวแทนของจำเลยที่ 4 ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเท่าที่เป็นธรรมดาจะต้องใช้และสมควรจะต้องใช้ในธุรกิจ ธนาคารได้จ่ายเงินให้แก่ผู้ปลอมไปดังที่วินิจฉัยข้างต้น โดยโจทก์ไม่มีส่วนรู้เห็นด้วย เหตุที่สมุดคู่ฝากของโจทก์หายไปไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้เกิดเหตุคดีนี้ ที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 4 รับผิดต่อโจทก์นั้นชอบแล้ว สรุปแล้วฎีกาของจำเลยที่ 1 ฟังขึ้น ส่วนฎีกาของจำเลยที่ 4 ฟังไม่ขึ้น
พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 1 ด้วยค่าฤชาธรรมเนียมทั้งสามศาลระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้เป็นพับนอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้จำเลยที่ 4 ใช้ค่าทนายความชั้นฎีกา 2,000 บาท แทนโจทก์.(ธีรศักดิ์ เตียวัฒนานนท์ - มงคล คุปต์กาญจนากุล - สุวัฒน์ วรรธนะหทัย)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 840/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยร่วมกันทำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมที่มีลายมือชื่อปลอม
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสี่ในข้อหาร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม โดยได้บรรยายฟ้องว่า "...จำเลยทั้งสี่ได้บังอาจร่วมกันทำปลอมหนังสือสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมของห้างหุ้นส่วนจำกัดกิจ พ. ซึ่งมี ส.ผู้เสียหาย จำเลยที่ 1 และที่ 4 เป็นหุ้นส่วนของห้างดังกล่าว โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันลงลายมือชื่อปลอมของผู้เสียหายในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมซึ่งมีข้อความว่าให้ผู้เสียหายออกจากการเป็นหุ้นส่วน โดยโอนเงินลงหุ้นจำนวน200,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 1 โอนเงินลงหุ้นจำนวน 50,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 2 และโอนเงินลงหุ้นจำนวน 150,000 บาท ให้แก่จำเลยที่ 3...ทั้งนี้เพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่า เอกสารที่จำเลยทั้งสี่ทำปลอมขึ้นทั้งฉบับนั้นเป็นเอกสารที่แท้จริง..." ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้ระบุชัดแล้วว่า จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันปลอมลายมือชื่อของโจทก์ร่วมในเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมพร้อมทั้งระบุข้อความที่ปลอมนั้นด้วย จึงเป็นฟ้องที่สมบูรณ์ชอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 158 (5) แม้โจทก์จะไม่ได้บรรยายฟ้องให้ละเอียดว่าจำเลยคนใดร่วมกันปลอมเอกสารดังกล่าวอย่างไรก็เป็นเพียงรายละเอียดที่จะนำสืบในชั้นพิจารณาได้
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
จำเลยทั้งสี่ได้ร่วมกันมอบหมายให้ ส.นำเอกสารสัญญาหุ้นส่วนแก้ไขเพิ่มเติมไปยื่นต่อนายทะเบียน ณ สำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัทจังหวัดเพื่อจดทะเบียนแก้ไขเพิ่มเติมจนเป็นเหตุให้นายทะเบียนรับจดทะเบียนให้ โดยจำเลยทั้งสี่ร่วมกันทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งมีข้อความอันเป็นเท็จและลงลายมือชื่อของโจทก์ร่วมปลอมในเอกสารนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสี่ดังกล่าวเป็นการร่วมกันทำเอกสารปลอมเพื่อให้ผู้หนึ่งผู้ใดหลงเชื่อว่าเอกสารนั้นทั้งฉบับเป็นเอกสารที่แท้จริงและจำเลยทั้งสี่ได้ใช้เอกสารปลอมดังกล่าวนี้ซึ่งเป็นเอกสารสิทธิในประการที่น่าจะเกิดความเสียหายแก่ผู้อื่นหรือประชาชน จำเลยทั้งสี่จึงมีความผิดฐานร่วมกันปลอมและใช้เอกสารสิทธิปลอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6280/2538 เวอร์ชัน 5 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของธนาคารและการดูแลรักษาเช็คของผู้สั่งจ่าย กรณีลายมือชื่อปลอม
ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาทปลอมมิใช่ลายมือของโจทก์ ดังนั้นจำเลยจึงไม่อาจบังคับการใช้เงินจากโจทก์ซึ่งเป็นคู่สัญญาได้ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคหนึ่ง
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท 2 ฉบับ โดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัย และถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายหาได้ไม่
จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน
จำเลยประกอบธุรกิจการธนาคารเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนการรับฝากเงินเป็นธุรกิจอย่างหนึ่งของจำเลย และการจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้มาขอเบิกเงินจากธนาคารเป็นงานส่วนหนึ่งของจำเลยซึ่งจะต้องปฏิบัติอยู่เป็นประจำ จำเลยย่อมมีความชำนาญในการตรวจสอบลายมือชื่อในเช็คยิ่งกว่าบุคคลธรรมดา ทั้งต้องมีความระมัดระวังในการจ่ายเงินตามเช็คยิ่งกว่าวิญญูชนทั่วไป การที่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาท 2 ฉบับ โดยที่ลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม จึงเป็นการขาดความระมัดระวังเป็นการกระทำละเมิดและผิดสัญญาฝากทรัพย์ต่อโจทก์ จำเลยจะอ้างข้อตกลงตามคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันที่ว่าจำเลยต้องเก็บรักษาสมุดในที่ปลอดภัย และถ้าสมุดเช็คหายต้องแจ้งให้โจทก์ทราบทันที เป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามมาตรา 1008 วรรคหนึ่ง ตอนท้ายหาได้ไม่
จำเลยมอบสมุดเช็คไว้ให้แก่โจทก์เพื่อสั่งจ่ายเงินตามเช็คก่อนหน้านั้นเช็คพิพาท 2 ฉบับ รวมอยู่ในสมุดเช็คที่อยู่ในความครอบครองของโจทก์ข้อเท็จจริงที่ว่าเช็คพิพาทตกไปอยู่ในความครอบครองของบุคคลอื่นจนกระทั่งสามารถนำแบบพิมพ์เช็คทั้งสองฉบับมาปลอมลายมือชื่อโจทก์ได้นั้นเป็นการแสดงให้เห็นว่าโจทก์ละเลยไม่ระมัดระวังในการดูแลรักษาแบบพิมพ์เช็คดังกล่าวอันถือได้ว่าโจทก์มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วย การกำหนดค่าเสียหายแก่โจทก์เพียงใด ต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ ศาลกำหนดให้จำเลยใช้เงินตามเช็คพิพาทเพียงบางส่วน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4978/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำพิพากษาคดีอาญาต่อการพิจารณาคดีแพ่ง: ลายมือชื่อปลอมในหนังสือมอบอำนาจ
ประเด็นในคดีอาญามีว่าลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 4 เป็นลายมือชื่อปลอมหรือไม่ ซึ่งจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกับคดีนี้ หากศาลในคดีอาญาวินิจฉัยว่า ลายมือชื่อของจำเลยที่ 4 ในหนังสือมอบอำนาจเป็นลายมือชื่อปลอม อาจทำให้การตัดสินคดีนี้เปลี่ยนแปลงไป จึงสมควรงดการพิจารณาคดีนี้ไว้รอฟังข้อเท็จจริงที่จะปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาก่อน
การจะรอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
การจะรอฟังข้อเท็จจริงในคดีอาญาหรือไม่เป็นดุลพินิจของศาล
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2511/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารประมาทเลินเล่อตรวจลายมือชื่อปลอมจ่ายเช็ค ทำให้ผู้เสียหายได้รับความเสียหาย
มีผู้ลักเช็คของโจทก์ไปปลอมลายมือชื่อโจทก์2ฉบับสั่งจ่ายเงิน54,000บาทและ240,000บาทตามลำดับแล้วนำไปเบิกเงินจากธนาคารจำเลยสาขา กาญจนบุรี ซึ่งโจทก์มีบัญชีกระแสรายวันอยู่ ช. เป็นผู้ช่วยผู้จัดการสาขาและ ป. เป็นสมุห์บัญชีของธนาคารจำเลยมีหน้าที่เกี่ยวกับการตรวจลายมือชื่อของลูกค้าโดยตรงอยู่ตลอดเวลาย่อมมีความชำนาญในการตรวจพิสูจน์ลายมือชื่อของลูกค้ามากกว่าคนธรรมดาหากได้ใช้ความระมัดระวังในการปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยละเอียดรอบคอบจะต้องทราบว่าลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือปลอมแต่ ช. และ ป. ไม่ได้ใช้ความระมัดระวังให้เพียงพอจึงเป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงทำให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์จำเลยจึงต้องรับผิดต่อโจทก์ แม้โจทก์กับจำเลยมีข้อตกลงกันไว้ตามข้อความในคำขอเปิดบัญชีกระแสรายวันในข้อ20ว่าหากผู้ฝากละเลยหรือประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้บุคคลอื่นได้เช็คไปปลอมลายมือชื่อของผู้สั่งจ่ายและธนาคารหลงเชื่อจ่ายเงินตามเช็คปลอมนั้นๆไปธนาคารไม่ต้องรับผิดชอบต่อผู้ฝากสำหรับเงินจำนวนที่จ่ายไปนั้นก็ตามแต่ข้อตกลงดังกล่าวจำเลยจะยกขึ้นอ้างได้ก็ต่อเมื่อจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือของผู้สั่งจ่ายโดยสุจริตและใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้วจำเลยจะอ้างเอาข้อตกลงดังกล่าวมาเป็นข้อยกเว้นว่าโจทก์ตกอยู่ในฐานะเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1008วรรคแรกตอนท้ายหาได้ไม่ หนี้อันเกิดจากการละเมิดที่จะต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ฝ่ายผู้เสียหายมากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณโดยถือความเสียหายที่เกิดขึ้นว่าฝ่ายใดเป็นผู้ก่อยิ่งหย่อนกว่ากันเพียงไรแม้จำเลยจะมิได้ให้การต่อสู้ไว้ว่าโจทก์จะต้องร่วมรับผิดด้วยก็ตามเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์และจำเลยต่างประมาทเลินเล่อด้วยกันศาลย่อมกำหนดให้จำเลยรับผิดต่อโจทก์ลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3776/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อในการเก็บรักษาเช็ค และผลกระทบต่อการยกเว้นความรับผิดชอบจากลายมือชื่อปลอม
ธนาคารจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คพิพาทซึ่งลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายปลอม เหตุแห่งความเสียหายในเรื่องนี้บังเกิดจากการปลอมลายมือชื่อโจทก์ผู้สั่งจ่ายเช็คและจำเลยได้จ่ายเงินตามเช็คปลอมฉบับนั้น แม้การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดีผู้ร้ายจะหาโอกาสลักเช็คไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ยากก็ตาม แต่เมื่อความเสียหายเกิดจากการกระทำของผู้อื่นที่ปลอมเช็ค การเก็บรักษาสมุดเช็คไว้อย่างดี จึงไม่ให้ผลโดยตรงที่จะให้บังเกิดการปลอมเช็คและนำไปขึ้นเงินได้สำเร็จ
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
โจทก์เก็บสมุดเช็คพิพาทไว้ในกระป๋องขนมปังบนโต๊ะทำงานของโจทก์ซึ่งโจทก์และพนักงานใช้เป็นที่ทำงานของห้างหุ้นส่วน มีคนเข้าออกภายในห้องหลายคน ส่วนใหญ่พนักงานทุกคนทราบว่าโจทก์เก็บเช็คไว้ในกระป๋องดังกล่าวการกระทำของโจทก์เพียงแต่ขาดความรอบคอบในการเก็บรักษาสมุดเช็คเท่านั้นถือไม่ได้ว่าโจทก์กระทำโดยประมาทอันจะถือว่าโจทก์เป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกข้อลายมือชื่อปลอมขึ้นต่อสู้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1008 และแม้โจทก์มิได้แจ้งให้จำเลยทราบเมื่อเช็คพิพาทเกิดสูญหายและมีผู้ไม่สุจริตนำไปปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายก็ตาม แต่เมื่อโจทก์มิได้กระทำโดยประมาทจำเลยจึงยังต้องรับผิดชำระเงินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4637/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ธนาคารต้องรับผิดชอบการจ่ายเช็คที่มีลายมือชื่อปลอม แม้จะอ้างว่าผู้เสียหายประมาทในการเก็บรักษาเช็ค
เช็คที่โจทก์เก็บรักษาไว้ที่บ้านก็ดี ที่นำติดตัวไปด้วยโดยเก็บไว้ในกระเป๋าในรถยนต์ก็ดีเป็นการเก็บเช็คและนำเช็คติดตัวไปเพื่อใช้ดังเช่นที่วิญญูชนจะพึงปฏิบัติตามปกติธรรมดา มิได้มีความบกพร่องไม่เก็บเช็คไว้ในที่มั่นคงและปลอดภัยแต่อย่างใด ถือไม่ได้ว่าโจทก์ประมาทเลินเล่อการที่เจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยจ่ายเงินตามเช็คพิพาทไป แม้จะอ้างว่าปราศจากความประมาทเลินเล่อแต่เมื่อลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายในเช็คเป็นลายมือชื่อปลอม ไม่ใช่ลายมือชื่อโจทก์ จำเลยจึงหาหลุดพ้นความรับผิดไปไม่ ดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1008 โจทก์ฟ้องว่าจำเลยผิดสัญญาฝากเงินประเภทเงินฝากกระแสรายวันซึ่งมีข้อตกลงว่าในการใช้เช็คสั่งจ่ายเงินจากบัญชีของโจทก์จะต้องลงลายมือชื่อโจทก์เป็นผู้สั่งจ่าย แต่จำเลยจ่ายเงินตามเช็คที่มีผู้ปลอมลายมือชื่อโจทก์ จึงขอให้จำเลยคืนเงินที่จำเลยหักไปจากบัญชีของโจทก์เป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิม(มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2272/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทของผู้ฝากในการดูแลสมุดเช็ค ทำให้เกิดการปลอมลายมือชื่อ และตัดสิทธิในการอ้างลายมือชื่อปลอม
โจทก์มอบสมุดเช็คไว้กับ ค. ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีของโจทก์ และให้ ค.เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คก่อนที่จะนำมาให้ส.ผู้จัดการโจทก์เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย การที่ ค. ปลอมลายมือชื่อ ส. ผู้สั่งจ่ายเช็คพิพาท กับทั้งเมื่อจำเลยส่งการ์ดบัญชีมาให้โจทก์ โจทก์มิได้ตรวจสอบดูรายการถอนเงินว่าถูกต้องหรือไม่ จึงเป็นความประมาทของโจทก์ที่ทำให้ ค. ปลอมลายมือชื่อผู้สั่งจ่ายได้ โจทก์จึงเป็นผู้ต้องตัดบทมิให้ยกลายมือชื่อปลอมขึ้นเป็นข้อต่อสู้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1008 วรรคแรก.