พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5220/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตระเบียบการลาศึกษาและการชดใช้เงิน กรณีการฝึกอบรมที่ไม่ใช่การศึกษาเพื่อปริญญาที่สูงขึ้น
ระเบียบของโจทก์ที่กำหนดว่าพนักงานที่ลาไปศึกษาเมื่อได้ศึกษาสำเร็จแล้วจะต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าเท่าของเวลาที่ได้ลาไปมิฉะนั้นต้องชดใช้เงินที่โจทก์ได้จ่ายให้และค่าความเสียหายในระหว่างหรือเนื่องจากการลานั้นหมายถึงกรณีที่พนักงานลาไปศึกษาเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้วยการเรียนต่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีเท่านั้นแต่กรณีจำเลยเป็นการไปรับฝึกอบรมในหลักสูตรเทคนิคอลเพาเวอร์ดิสตริบิวชั่นออฟอีเลคทริคเพาเวอร์เนทเวิร์คที่ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน โดยได้รับทุนจากรัฐบาลประเทศดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายบางส่วนและโจทก์จ่ายสมทบให้อีกบางส่วนโดยจำเลยไม่ได้ทำสัญญาผูกพันกับโจทก์ว่าจำเลยจะกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินจำนวนใดๆให้แก่โจทก์การไปฝึกอบรมของจำเลยจึงไม่ใช่เพื่อให้ได้ปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพซึ่งสูงกว่าขั้นปริญญาตรีอันจะเป็นเหตุให้จำเลยมีความผูกพันต้องกลับมาปฏิบัติงานกับโจทก์หรือชดใช้เงินหรือค่าเสียหายให้แก่โจทก์ตามระเบียบดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 367/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาลาศึกษา: ศาลลดเบี้ยปรับได้หากสูงเกินส่วนเมื่อเทียบกับระยะเวลาที่ขาดราชการ
สัญญาว่า ถ้าผู้ที่ลาไปศึกษากลับมารับราชการไม่ครบตามเวลาที่ตกลงกันไว้ ต้องใช้เงิน 3 เท่าของเงินที่ได้รับไปข้อตกลงนี้มีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ศาลลดลงได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1158/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้าราชการลาศึกษาต่างประเทศผิดสัญญาต้องชดใช้เงินคืน แม้ถูกไล่ออก
ข้าราชการไม่กลับมารับราชการจนครบเวลา 2 เท่าของระยะเวลาที่ลาตามที่ทำสัญญาไว้เมื่อลาไปศึกษาต่างประเทศ ต้องรับผิดใช้เงินคืนแม้เป็นเงินที่รัฐบาลไทยรับมาจัดการจากต่างประเทศ โดยรัฐบาลไทยต้องรับผิดชอบ การที่ข้าราชการผู้นั้นถูกไล่ออกเพราะไม่กลับมารับราชการไม่เป็นเหตุให้ผู้นั้นพ้นความรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผิดสัญญาการศึกษาและทำงานชดใช้เงิน - การอนุมัติลาต่อต้องทำสัญญาเป็นหลักฐาน
จำเลยทำหนังสือสัญญาไว้ให้แก่โจทก์ในการที่จำเลยไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกามีกำหนด 2 ปี โดยจำเลยจะได้รับเงินเดือนและเงินเพิ่ม ฯลฯ ตลอดระยะเวลาที่ไปศึกษา เมื่อจำเลยกลับมาจากต่างประเทศแล้ว จำเลยจะทำงานให้โจทก์ไม่ต่ำกว่า 4 ปี. ถ้าหากจำเลยผิดสัญญาจำเลยยินยอมชดใช้เงินที่ได้รับไปจนครบ ต่อมาจำเลยขอลาศึกษาต่ออีก 2 ปี โจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทราบว่าอนุมัติให้ลาต่ออีก 2 ปีต่อจากที่ได้รับอนุมัติครั้งแรก ได้ส่งแบบฟอร์มสัญญากับสัญญาค้ำประกันไปให้จำเลยเพื่อกรอกข้อความและทำสัญญาไว้เป็นหลักฐานให้แก่โจทก์ จำเลยไม่ยอมเซ็นสัญญา ผลจึงมีว่าจำเลยคงได้รับอนุญาตให้ลาไปศึกษามีกำหนด 2 ปีในตอนแรกเท่านั้น ต่อมาปรากฏว่าจำเลยยื่นหนังสือขอลาออกจากตำแหน่งหน้าที่ตั้งแต่หมดกำหนดวันลา และโจทก์มีหนังสือแจ้งให้จำเลยไปพบกับเลขาอนุกรรมการทำการสอบสวนฐานจำเลยขัดคำสั่ง ฯลฯ แต่จำเลยไม่มาตามกำหนด โจทก์จึงมีคำสั่งปลดจำเลยจึงเห็นได้ว่าโจทก์สั่งปลดจำเลยภายหลังที่จำเลยยื่นใบลาออกแล้ว ดังนี้ แม้จำเลยจะไม่ได้รับหนังสือของโจทก์ซึ่งมีความว่า ไม่อนุมัติให้จำเลยลาออก การที่จำเลยขอลาออกเช่นนี้ แสดงให้เห็นว่าจำเลยเองเป็นฝ่ายผิดสัญญา จำเลยจึงต้องรับผิดใช้เงินให้โจทก์ตามสัญญา
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว
ป.พ.พ.มาตรา 165(9) เป็นบทบัญญัติในเรื่องคนงาน ฯลฯ เรียกเอาค่าจ้างและเงินอื่นอันได้ตกลงกันว่าจะจ่ายให้แทนหรือให้เป็นส่วนหนึ่งของเงินจ้าง รวมทั้งค่าที่ได้ออกเงินทดรองไป กับนายจ้างเรียกเอาเงินเช่นว่านั้นอันตนได้จ่ายล่วงหน้าไปแล้วนั้นก็ด้วยเหมือนกัน ส่วนมาตรา166 เป็นเรื่องการเรียกเอาเงินค้างจ่ายคือเงินปีเงินเดือน ฯลฯ โจทก์ฟ้องเรียกเงินจากจำเลยฐานผิดสัญญาที่จำเลยทำให้โจทก์ไว้ซึ่งไม่ใช่เงินเดือนหรือเงินจ้างที่โจทก์ทดรองให้จำเลยไป ฟ้องโจทก์จึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว