คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลาหยุด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2610/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดโดยไม่ได้รับอนุญาตและการละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยมีหน้าที่ทำงานในวันทำงานและเวลาทำงานปกติตามที่จำเลยมอบหมาย แม้โจทก์จะยื่นใบลาต่อจำเลยขออนุญาตหยุดงานในวันที่ 9 ถึง11 ตุลาคม 2543 แต่เมื่อจำเลยไม่อนุญาตโจทก์จึงมีหน้าที่ต้องมาทำงานในวันและเวลาทำงานดังกล่าว เมื่อโจทก์ไม่มาทำงาน แต่กลับเดินทางไปประเทศกัมพูชา เพื่อหาช่องทางทำธุรกิจซึ่งเป็นเหตุส่วนตัวของโจทก์ จึงถือว่าโจทก์ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานพ.ศ. 2541 มาตรา 119(5) จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5192/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากละทิ้งหน้าที่ และการพิจารณาความรับผิดชอบของลูกจ้างในการลาหยุด
โจทก์ทำงานเป็นลูกจ้างจำเลยมานานหลายปีในปีสุดท้ายที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยฝ่ายบริหารซึ่งเป็นตำแหน่งชั้นสูงโจทก์ควรจะมีความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่การที่โจทก์ลากิจโดยไม่มีกำหนดเวลาแสดงให้เห็นถึงการขาดความรับผิดชอบต่องานในหน้าที่ของโจทก์ที่ปฏิบัติอยู่และเมื่อโจทก์ยื่นใบลาแล้วโจทก์หยุดงานทันทีโดยไม่รอฟังว่าจำเลยที่1อนุมัติหรือไม่เป็นการขัดต่อระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานว่าด้วยการลาของจำเลยที่1ในที่สุดเมื่อจำเลยที่1ไม่อนุมัติการลาจึงต้องถือว่าโจทก์ขาดงานและโจทก์ก็ยังคงหยุดงานติดต่อกันมาจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างหากโจทก์มิได้จงใจขาดงานหรือละทิ้งหน้าที่โจทก์สามารถติดต่อแจ้งให้จำเลยที่1ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครทราบได้โดยสะดวกถึงความจำเป็นของโจทก์เพราะโจทก์ไปเฝ้าบุตรที่ป่วยที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครเช่นเดียวกันแต่โจทก์หาได้ปฏิบัติเช่นนั้นไม่ตั้งแต่วันที่โจทก์หยุดงานจนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ไม่เคยติดต่อจำเลยพฤติการณ์ที่โจทก์ขาดงานติดต่อกันดังกล่าวเกิน3วันและเป็นเวลานานเกือบหนึ่งเดือนจนจำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานไปเสียตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา583จำเลยจึงเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าทั้งถือได้ว่าโจทก์จงใจละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา3วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ47(5)และกรณีถือไม่ได้ว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์โดยไม่เป็นธรรมจำเลยจึงไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายและค่าชดเชยแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2576/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบและการเลิกจ้าง: การขาดงานโดยไม่มีเหตุอันสมควรเกิน 7 วัน
โจทก์ขาดงานโดยลาหยุดพักผ่อนไม่ถูกต้องตามระเบียบเพราะไม่ยื่นใบลาต่อผู้บังคับบัญชาผู้มีอำนาจให้ลา และการลาไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชาที่มีอำนาจ แม้ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าสถานที่ที่โจทก์ทำงานจะไม่เคร่งครัดในการลา และโจทก์พูดขอลาทางโทรศัพท์ต่อ ป. พนักงานของจำเลย แล้วข้อเท็จจริงดังกล่าวก็เป็นเพียงข้อที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ลาโดยฝ่าฝืนระเบียบของจำเลยหรือไม่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า โจทก์ยื่นใบลาโดยฝ่าฝืนระเบียบ และไม่ได้รับอนุญาตจากผู้บังคับบัญชามีผลเป็นการขาดงานแล้ว การที่โจทก์ได้พูดโทรศัพท์ขอลาต่อ ป. ก็มิใช่เหตุที่ทำให้โจทก์ขาดงานโดยมีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดของลูกจ้าง: เหตุผลอันสมควร, คำเตือน, และสิทธิในการรับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจ ให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่ นาย จ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) ในอันที่จะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2236/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้าง: เหตุผลความจำเป็น, การลาหยุด, และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
มารดาโจทก์เป็นโรคความดันโลหิตสูงซึ่งได้รับการรักษาตามปกติไม่ปรากฏว่ามีอาการรุนแรงและเฉียบพลัน และไม่ได้ป่วยหนักจนเป็นเหตุให้โจทก์ต้องรีบเดินทางไปทันที การที่โจทก์ขาดงานไปเยี่ยมมารดาโดยไม่ลากิจให้ถูกต้อง จึงเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควร การที่นายจ้างมีระเบียบห้ามมิให้ลูกจ้างลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำนั้น มิได้หมายความว่าถ้าลูกจ้างฝ่าฝืนแล้วจะต้องมีความผิด เพราะถ้าลูกจ้างยื่นใบลาโดยไม่มีเหตุสมควรหรือลาหยุดบ่อย นายจ้างก็สามารถจะไม่อนุญาตให้ลาหยุดได้ถ้าลูกจ้างลาหยุดโดยนายจ้างอนุญาตแล้ว แม้เป็นการลาหยุดโดยไม่มีเหตุอันสมควรหรือลาหยุดเป็นประจำ จะถือว่าเป็นความผิดของลูกจ้างไม่ได้ และการลากิจ ลาป่วยบ่อย ๆ ของลูกจ้าง ไม่ใช่การกระทำผิดไม่ต้องด้วยประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 47(3) นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3254/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างมีหน้าที่ปฏิบัติตามข้อบังคับนายจ้าง หากไม่แจ้งลาหยุดงานล่วงหน้า และการละทิ้งหน้าที่ทำให้เกิดความเสียหาย นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้
นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา โดยกรมแรงงานมีคำสั่งอนุมัติแล้ว นายจ้างจึงประกาศกำหนดให้ลูกจ้างปฏิบัติงานตอนกลางคืนเวลา 20 นาฬิกา ถึง 8 นาฬิกาของวันรุ่งขึ้นหากลูกจ้างไม่มาปฏิบัติงานและไม่แจ้งล่วงหน้า ให้ถือว่าลูกจ้างผู้นั้นขาดงานและละทิ้งหน้าที่ ดังนี้ลูกจ้างมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามประกาศ เมื่อลูกจ้างไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาโดยไม่แจ้งให้ผู้บังคับบัญชาทราบล่วงหน้าย่อมผิดข้อบังคับลูกจ้างจะอ้างว่าเป็นสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติงานล่วงเวลาหาได้ไม่ และการละทิ้งหน้าที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายประมาณ 600,000 บาทถือว่าลูกจ้างกระทำผิดเป็นกรณีร้ายแรงและเป็นการจงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4367/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดงานที่ไม่ได้รับอนุญาตและการเลิกจ้าง: กรณีเหตุสมควร vs. ละทิ้งหน้าที่
โจทก์ขอลาหยุดงาน 3 วันต่อจำเลยซึ่งเป็นนายจ้าง จำเลยไม่อนุญาต แต่โจทก์ก็หยุดงานไป 4 วันเพื่อเดินทางไปจัดเตรียมงานสมรสของบุตรสาวที่ต่างจังหวัดตามประเพณีของท้องถิ่น ดังนี้การหยุดงานหรือการละทิ้งหน้าที่ของโจทก์เป็นการละทิ้งหน้าที่โดยมีเหตุอันสมควร กรณีต้องด้วยข้อยกเว้นตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(4) จำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุดังกล่าว จึงต้องจ่ายค่าชดเชย
การละทิ้งการงานของลูกจ้างอันเป็นเหตุให้นายจ้างเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้านั้น ไม่มีข้อจำกัดว่าต้องมีเหตุอันสมควรหรือไม่เมื่อโจทก์ยื่นหนังสือขอลาหยุด และจำเลยไม่อนุญาตให้ลาแต่โจทก์หยุดงานไปจึงเป็นการลาที่ไม่ชอบทั้งเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ถือได้ว่าเป็นการละทิ้งการงานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3130/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดและการเลิกจ้าง: การใช้ดุลพินิจของนายจ้าง และการละทิ้งหน้าที่
โจทก์ยื่นใบลากิจขอลาหยุด 2 วัน แต่หัวหน้าหน่วยอนุญาตให้ลาได้เพียง 1 วันนั้น เป็นเรื่องการใช้ดุลพินิจในการอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ลา มิใช่เป็นการสั่งให้โจทก์กระทำการ หรือมิให้กระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดตามหน้าที่ของลูกจ้าง ฉะนั้นการที่โจทก์หยุดงานเกินกว่าที่ได้รับอนุญาตให้ลาจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของนายจ้าง
การที่ลูกจ้างแสดงกิริยากระด้างกระเดื่องต่อผู้บังคับบัญชา ไม่เป็นข้อยกเว้นที่จะให้นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย
กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเมื่อเลิกจ้างนั้น จะต้องเป็นการละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 73/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลาหยุดงานโดยไม่แจ้งเป็นลายลักษณ์อักษร ไม่ถึงขั้นร้ายแรงที่นายจ้างจะเลิกจ้างโดยไม่ต้องเตือนและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
การหยุดงานโดยมิได้ขอลาเป็นลายลักษณ์อักษรนั้นมิใช่ฝ่าฝืนข้อบังคับ เป็นกรณีร้ายแรงซึ่งจะเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องเตือนก่อน