พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3691/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: การเฉลี่ยชำระตามสัดส่วนและลำดับความสำคัญของหนี้
กรณีไม่อาจนำคำสั่งของกรมสรรพากรที่ ป. 65/2539 เรื่อง การชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับบางส่วน ตามข้อ 1 (3) ที่กำหนดให้การชำระภาษีและเงินเพิ่มต้องมีการเฉลี่ยตามสัดส่วนของจำนวนภาษี เงินเพิ่ม และเบี้ยปรับนั้นมาใช้ได้ เพราะมิใช่กฎหมายที่ใช้บังคับแก่บุคคลทั่วไป แต่เป็นเพียงคำสั่งภายในของโจทก์แจ้งให้เจ้าพนักงานสรรพากรถือเป็นแนวทางปฏิบัติในกรณีผู้มีหน้าที่เสียภาษีมาชำระภาษี เงินเพิ่ม และหรือเบี้ยปรับ ตามประมวลรัษฎากรบางส่วนโดยมิได้ชำระให้ครบถ้วนตามแบบแจ้งการประเมินภาษีเท่านั้น จึงไม่อาจใช้บังคับแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกให้ต้องดำเนินการตาม
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรก การนำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นการกระทำเพื่อให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 นั่นเอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวมีหลายจำนวน และกรณีมีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ลูกหนี้ ผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
ภาษีมูลค่าเพิ่มและเบี้ยปรับต่างก็เป็นภาษีอากรค้างตามความหมายของประมวลรัษฎากร มาตรา 12 วรรคแรก การนำเงินฝากในธนาคารอันเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้ไปหักออกจากหนี้ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นการกระทำเพื่อให้กรมสรรพากรซึ่งเป็นเจ้าหนี้ได้รับภาษีอากรค้าง ตามมาตรา 12 นั่นเอง แต่เมื่อหนี้ภาษีอากรค้างดังกล่าวมีหลายจำนวน และกรณีมีข้อสงสัยว่าจะต้องนำเงินตามบัญชีเงินฝากไปชำระหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มหรือเบี้ยปรับ กรณีจึงตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่ลูกหนี้ ผู้ซึ่งเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 11 ด้วยการนำเงินฝากดังกล่าวไปหักหนี้ค่าภาษีมูลค่าเพิ่มก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1825/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้จากการบังคับจำนองหลังศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: ดอกเบี้ยก่อนหนี้และข้อยกเว้น
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด ผู้ร้องขอรับชำระหนี้ในฐานะเจ้าหนี้มีประกัน ศาลมีคำสั่งอนุญาตภายในเงื่อนไขว่าหากผู้ร้องได้รับชำระหนี้จากการบังคับจำนองไปแล้วเพียงใดก็ให้สิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยลดลงไปเพียงนั้น ดังนี้การที่ ฉ.จำนองทรัพย์สินของตนไว้เป็นประกันหนี้ของจำเลยต่อผู้ร้อง ทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์อันได้แก่ดอกเบี้ยตามสัญญาจำนองด้วย เมื่อผู้ร้องฟ้อง ฉ.เพื่อบังคับจำนองและเงินได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองไม่เพียงพอปลดเปลื้องหนี้สินได้ทั้งหมด การจัดลำดับในการชำระหนี้ก่อนหลังจึงต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 คือ จัดใช้เป็นค่าฤชาธรรมเนียมเสียก่อนแล้วจึงใช้ดอกเบี้ย และในที่สุดจึงให้ใช้ในการชำระหนี้อันเป็นประธานสำหรับดอกเบี้ยนั้นต้องใช้ถึงวันขายทอดตลาด กรณีนี้จะนำความในมาตรา 100แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 มาใช้บังคับ ซึ่งจะมีผลให้ไม่ต้องนำเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์จำนองมาหักชำระค่าดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยแล้วไม่ได้ เพราะ ฉ.ผู้จำนองไม่ใช่ลูกหนี้ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ จึงยังต้องรับผิดในดอกเบี้ยที่เกิดหลังจากวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 698/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการรับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่นจากการบังคับคดี
ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 289 วรรคสองเฉพาะเจ้าหนี้ผู้รับจำนองอสังหาริมทรัพย์ หรือเจ้าหนี้ผู้ทรงบุริมสิทธิเหนืออสังหาริมทรัพย์อันได้จดทะเบียนไว้เท่านั้นที่ต้องร้องขอรับชำระหนี้เข้ามา ก่อนที่จะมีการขายทอดตลาดทรัพย์สินส่วนในกรณีอื่น ๆ ให้ยื่นคำร้องขอเสียก่อนเจ้าพนักงานบังคับคดีส่งคำบอกกล่าวตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 319 เมื่อไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการตามบทบัญญัติมาตรา 319 ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ผู้รับจำนองสังหาริมทรัพย์ จึงยังมีสิทธิยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับความสำคัญการชำระหนี้หลังมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์: เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องเสนอคำขอต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ให้โจทก์และธนาคารส่งเงินของจำเลยมาให้ตามหมายอายัดของศาลแล้ว ต่อมาจำเลยถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดในคดีล้มละลายซึ่งผู้คัดค้านเป็นโจทก์ ดังนี้ผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยในอีกคดีหนึ่ง จะขอรับเงินดังกล่าวส่วนที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้หาได้ไม่ผู้ร้องได้แต่ขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามวิธีการและกำหนดเวลาที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 27 และ 28 เท่านั้น และผู้คัดค้านจะขอให้ศาลส่งเงินที่เหลือจากชำระหนี้ให้โจทก์ในคดีนี้ไปรวมไว้ในกองทรัพย์สินของจำเลยในคดีล้มละลายก็ไม่ได้ เพราะเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยแล้ว ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22(2)เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจเก็บรวบรวม และรับเงินหรือทรัพย์สินที่จะตกได้แก่จำเลยหรือซึ่งจำเลยมีสิทธิจะได้รับจากผู้อื่น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 473/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับความสำคัญจำนอง: การบังคับจำนองรายแรกย่อมระงับสิทธิจำนองรายหลัง หากราคาขายไม่พอชำระหนี้ทั้งหมด
ที่ดินที่ตกอยู่ในภาระจำนองหลายราย. เมื่อมีการบังคับจำนองตามภาระจำนองรายแรกแล้ว ย่อมหยุดจากภาระจำนองรายหลังๆไปทั้งหมด. เมื่อราคาที่ดินที่ขายได้ พอแก่การชำระหนี้จำนองรายแรกเท่านั้น. และไม่เหลือเงินอีกผู้รับจำนองรายหลังย่อมไม่มีโอกาสได้รับชำระหนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 969/2472
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับชำระหนี้: ค่าปรับก่อนสินบนนำจับฝิ่น เนื่องจากค่าปรับมีผลต่อการจำไถ่โทษ
เงินสินบนนำจับฝิ่นเถื่อนเมื่อจำเลยมีทรัพย์ต้องชำระค่าปรับจนเต็มก่อนแล้วจึงจ่ายเป็นสินบนนำจับ ประมวลแพ่ง ม.328 หนี้ที่ถึงกำหนดพร้อมกันรายใดที่ตกหนักที่สุดแก่ลูกหนี้ การชำระหนี้ต้องเปลื้องรายนั้นก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 799/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเจ้าหนี้จำนองในการได้รับชำระหนี้จากเงินขายทอดตลาดก่อนเจ้าหนี้อื่น แม้มีการพิทักษ์ทรัพย์
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำนองตามคำพิพากษาของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีแพ่งซึ่งเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินจำนองพร้อมสิ่งปลูกสร้างของลูกหนี้ที่ 1 ออกขายทอดตลาดแล้วแต่ผู้ซื้อผิดสัญญาไม่ชำระค่าที่ดินส่วนที่เหลือ เจ้าพนักงานบังคับคดีจึงมีคำสั่งริบมัดจำจำนวน 47,651 บาท ของผู้ซื้อและจ่ายชำระหนี้ให้แก่ผู้ร้องแล้ว เงินมัดจำที่ถูกริบดังกล่าวย่อมเป็นเงินที่ได้จากการเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดเพื่อใช้หนี้จำนองนั้น ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 732 บัญญัติให้จัดใช้เงินจำนวนสุทธิดังกล่าวแก่ผู้รับจำนองเรียงตามลำดับและถ้ายังมีเงินเหลืออยู่อีกก็ให้ส่งมอบแก่ผู้จำนองต่อมาเมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดและผู้คัดค้านโดยเจ้าพนักงานบังคับคดีได้นำที่ดินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใหม่แล้วปรากฏว่าเงินสุทธิที่ได้จากการขายทอดตลาดใหม่รวมกับเงินมัดจำที่ริบดังกล่าวไม่เพียงพอชำระหนี้จำนองแก่ผู้ร้อง จึงไม่มีเงินเหลือที่จะให้ส่งมอบแก่ลูกหนี้ที่ 1 ผู้จำนองอีก การที่ผู้คัดค้านมีคำสั่งให้ผู้ร้องคืนเงินมัดจำดังกล่าวเพื่อนำเข้าสู่กองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1 ย่อมกระทบถึงสิทธิของผู้ร้องในฐานะเจ้าหนี้มีประกันซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดที่ดินจำนองดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 96 (3)