คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลำดับชั้น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7601/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คู่สัญญาสัญญาประกัน และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาล การดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้น
ตามสัญญาประกัน ว. ผู้ประกันเป็นผู้ทำสัญญาประกันไว้ต่อศาล ผู้ประกันจึงเป็นคู่สัญญากับศาล หากมีการผิดสัญญาประกันดังกล่าวผู้ประกันก็เป็นฝ่ายที่อาจถูกบังคับตามสัญญาประกันแต่เพียงผู้เดียวจำเลยมิใช่คู่สัญญาประกันกับศาล จึงหาต้องรับผิดตามสัญญาประกันหรืออาจถูกบังคับตามสัญญาประกันไม่การที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นของดหรือลดค่าปรับจึงไม่มีผลอันจะก่อให้เกิดสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลอุทธรณ์ของผู้ประกันได้ อุทธรณ์ของผู้ประกันจึงเป็นอุทธรณ์ที่มิชอบเนื่องจากมิได้เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาตามลำดับชั้นศาล ที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของผู้ประกัน ซึ่งอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องของดหรือลดค่าปรับของจำเลย และพิพากษายกอุทธรณ์ของผู้ประกันจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3650/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลงชื่อในคำฟ้องอุทธรณ์และการปฏิบัติหน้าที่ของศาลตามลำดับชั้น
ป.วิ.อ.มาตรา 198 วรรคสอง บัญญัติให้เป็นหน้าที่ศาลชั้นต้นตรวจอุทธรณ์ว่าควรจะรับส่งขึ้นไปยังศาลอุทธรณ์หรือไม่ ถ้าเห็นว่าไม่ควรรับให้จดเหตุผลไว้ในคำสั่งของศาลนั้นโดยชัดเจน และมาตรา 158 บัญญัติให้ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือและมี... (7) ลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียนหรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อปรากฏว่าคำฟ้องอุทธรณ์ของจำเลยมี ค.ทนายจำเลยเป็นผู้ลงลายมือชื่อเป็นผู้อุทธรณ์และผู้เรียง/พิมพ์ โดยที่ ค.มิได้ยื่นใบแต่งทนายความไว้ต่อศาล ดังนี้ การที่ศาลชั้นต้นก็มีคำสั่งรับอุทธรณ์ของจำเลย โดยมิได้มีคำสั่งให้จำเลยยื่นใบแต่งทนายความเข้ามาในคดีให้ถูกต้องเสียก่อน จึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณา กรนณีเช่นว่านี้ ศาลอุทธรณ์จะถือว่าจำเลยมิได้ลงชื่อเป็นผู้อุทธรณ์ และถือว่าคำฟ้องอุทธรณ์ที่ ค.ยื่นต่อศาลเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบ และไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยหาได้ไม่ เมื่อคดีขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการตามที่กล่าว ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225 แห่ง ป.วิ.อ. เพราะยังมิได้ล่วงเลยเวลาที่ควรปฏิบัติ แต่เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ตั้งแต่งให้ ค.เป็นทนายความของตนโดยให้มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาได้ในชั้นฎีกานี้แล้ว ศาลฎีกาจึงไม่จำต้องดำเนินการในเรื่องนี้อีก และให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาคดีนี้ใหม่เพื่อเป็นไปตามลำดับชั้นศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3577/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาเป็นเรื่องต้องดำเนินการตามลำดับชั้นศาล การฎีกาในประเด็นนี้จึงไม่ชอบ
ปัญหาที่จำเลยฎีกาขึ้นมาว่า ศาลชั้นต้นออกหมายจำคุกระหว่างอุทธรณ์ฎีกาโดยคิดหักวันที่จำเลยถูกคุมขังมาแล้วให้ไม่ถูกต้องนั้นเป็นปัญหาในชั้นบังคับคดี เมื่อมิใช่เป็นการฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองที่พิพากษาว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ว่าไม่ถูกต้องแต่ประการใดจึงเป็นเรื่องที่จำเลยต้องดำเนินการให้เป็นไปตามลำดับชั้นศาล หากจำเลยเห็นว่าศาลชั้นต้นหักวันที่ถูกคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุกตามคำพิพากษาไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 22 แล้วก็ชอบที่จะยื่นคำร้องคัดค้านโดยขอให้ศาลชั้นต้นแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน หากศาลชั้นต้นมีคำสั่งเป็นประการใดแล้วจำเลยจึงจะใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อมาได้เป็นลำดับ การที่จำเลยยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาฎีกาและศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกามานั้นเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับชั้นการอุทธรณ์คำสั่งศาล: คำสั่งเกี่ยวกับบังคับคดีต้องอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ก่อน
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้งดการบังคับคดีไว้ก่อนเป็นคำสั่งเกี่ยวกับการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 292 (2) ซึ่งมิได้บัญญัติให้คู่ความอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาได้เลย ดังนั้นโจทก์ชอบที่จะอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ตามลำดับชั้นศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 โจทก์จะอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นไปยังศาลฎีกาโดยตรงไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2124/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์: ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่จำเลยอุทธรณ์ตามลำดับชั้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจรไก่ของกลาง ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานลักทรัพย์ส่วนข้อหาฐานรับของโจรให้ยกจำเลยอุทธรณ์ขอให้ยกฟ้องในความผิดฐานลักทรัพย์ศาลอุทธรณ์ตั้งประเด็นวินิจฉัยว่าจำเลยรับของโจรไก่ของกลางหรือไม่แล้วพิพากษากลับให้ยกฟ้องหาได้วินิจฉัยถึงความผิดฐานลักทรัพย์ตามอุทธรณ์ของจำเลยไม่ดังนี้เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องอุทธรณ์จำเป็นที่จะต้องย้อนสำนวนเนื่องจากศาลอุทธรณ์มิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเพื่อให้การวินิจฉัยความผิดของจำเลยเป็นไปตามลำดับศาลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 208(2),225 ศาลฎีกาพิพากษาให้ยกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 950/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลำดับการอุทธรณ์คำสั่งศาล: ต้องยื่นฎีกาต่อศาลฎีกาเท่านั้น หากศาลชั้นต้นไม่รับอุทธรณ์
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาของจำเลยแล้ว จำเลยจะต้องยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งต่อศาลฎีกาจะยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ไม่ได้ ตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 252

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1479/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นทายาทโดยใช้ทะเบียนบ้าน และสิทธิในการจัดการมรดกตามลำดับชั้น
ตามสำเนาทะเบียนบ้านทั้งสองฉบับระบุว่า ผู้ตายเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดของผู้คัดค้าน เอกสารดังกล่าวเป็นสำเนาอันรับรองถูกต้องแห่งเอกสารมหาชนซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ทำขึ้นหรือรับรอง จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นของแท้จริงและถูกต้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 127 ผู้คัดค้านเป็นฝ่ายอ้างเอกสารย่อมไม่มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานอื่นมาสืบถึงความบริสุทธิ์หรือความถูกต้องแห่งเอกสารนั้น แต่ผู้ร้องเป็นฝ่ายที่ถูกอ้างเอกสารนั้นมายัน กลับมีหน้าที่ต้องนำสืบความไม่บริสุทธิ์หรือความไม่ถูกต้องแห่งเอกสารนั้น ผู้ร้องมีเพียงพยานบุคคลมาเบิกความลอยๆ ว่าผู้คัดค้านเป็นบุตรคนจีนที่ผู้ตายขอมาเลี้ยง โดยพยานผู้ร้องทุกปากล้วนเป็นพยานบอกเล่าไม่มีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้ว่าสำเนาทะเบียนบ้านทั้งสองฉบับของผู้คัดค้านไม่บริสุทธิ์หรือไม่ถูกต้อง จึงต้องฟังว่าเอกสารดังกล่าวถูกต้องแล้วเมื่อผู้ตายเป็นมารดาผู้ให้กำเนิดผู้คัดค้านตามที่ระบุไว้ในเอกสารดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงเป็นผู้สืบสันดานที่เป็นทายาทผู้มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในลำดับที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 มีผลให้ผู้ร้องที่อ้างว่าเป็นผู้รับมรดกแทนที่บิดาซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ตายโดยเป็นทายาทในลำดับที่ 3 ไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลยตามมาตรา 1630 วรรคหนึ่ง แห่ง ป.พ.พ. ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกของผู้ตายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6157/2552 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ให้พิจารณาใหม่ตามลำดับชั้น
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ให้สัญญาว่าเมื่อ อ. หรือพวกนำเงิน 127,000 บาท ไปคืนแก่จำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 1 ก็จะโอนที่ดินพิพาทและบ้านคืนให้ จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าโจทก์ตกลงซื้อที่ดินพิพาทคืนในราคาเท่าที่จำเลยที่ 1 มีภาระผูกพันอยู่กับจำเลยที่ 2 ซึ่งโจทก์วางมัดจำให้แก่จำเลยที่ 1 ไว้ 127,000 บาท ส่วนที่เหลือโจทก์จะไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เท่ากับจำเลยที่ 1 รับว่าจะขายที่ดินพิพาทคืนโจทก์ แต่ตกลงไว้ในราคาอื่น การตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยที่ 1 เข้าลักษณะสัญญาจะซื้อจะขาย โจทก์มีคำขอบังคับให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทพร้อมบ้านคืนโจทก์ เป็นการฟ้องบังคับตามสัญญาจะซื้อจะขายเป็นประเด็นหลัก ส่วนที่ขอให้เพิกถอนนิติกรรมการขายระหว่าง อ. กับจำเลยที่ 1 เป็นประเด็นรอง และการที่จำเลยที่ 1 ไม่โอนที่ดินพิพาทให้โจทก์เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทและบ้านให้โจทก์จึงใช่เรื่องนอกฟ้องนอกประเด็น
ป.วิ.พ. มาตรา 142 เป็นบทบัญญัติในภาค 1 บททั่วไปสำหรับทุกชั้นศาล ศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจยกปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนขึ้นวินิจฉัยตามมาตรา 142 (5) ได้โดยตรง แต่เนื่องจากศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 2 และตามปัญหาของจำเลยที่ 1 ว่าสัญญาที่โจทก์และจำเลยที่ 1 ทำกันไว้เป็นสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทหรือไม่ แม้คู่ความจะสืบพยานจนเสร็จสิ้นเพียงพอที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยปัญหาข้อเท็จจริงไปเสียเองก็ได้ก็ตาม แต่เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ทั้งผลการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ภาค 3 อาจนำไปสู่การจำกัดสิทธิฎีกาของคู่ความ จึงเห็นควรย้อนสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาปัญหาตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยที่ 1 ในประเด็นที่ยังมิได้วินิจฉัยต่อไป