พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องรับของโจรต้องเกิดหลังการลักทรัพย์ การบรรยายฟ้องไม่สอดคล้องกันทำให้คำฟ้องไม่ชอบ
ความผิดฐานรับของโจรเป็นความผิดที่เกิดจากการกระทำอันเป็นการอุปการะความผิดฐานลักทรัพย์หรือความผิดอื่นดังที่บัญญัติไว้ใน ป.อ. มาตรา 357 เช่น ช่วย ซื้อ จำหน่าย หรือรับไว้โดยประการอื่นใด ความผิดฐานรับของโจรจึงต้องเกิดหลังจากมีการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์ เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องว่า การกระทำความผิดฐานรับของโจรเกิดขึ้นก่อนย่อมเป็นคำฟ้องที่ขัดต่อสภาพและลักษณะของการกระทำความผิดอย่างชัดเจน จึงเป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1675/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาและผลของกฎหมายที่ใช้บังคับตามลำดับเวลาในคดีแพ่ง
โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 18 เมษายน 2543 ซึ่งตามบทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 ซึ่งเป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรมที่ใช้บังคับในขณะนั้น มาตรา 22 กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวกันมีอำนาจเกี่ยวแก่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลนั้นดังต่อไปนี้... (6) พิจารณาคดีแพ่งซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องเกิน 40,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท... และวรรคท้าย กำหนดให้ ในคดีที่ผู้พิพากษาคนเดียวมีแต่เพียงอำนาจพิจารณา ไม่มีอำนาจพิพากษา ตาม ...(6) เมื่อจะพิพากษาคดีจะต้องมีผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษา เป็นองค์คณะด้วย คดีนี้มีจำนวนเงินที่ฟ้อง 98,825 บาท ในขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องผู้พิพากษาคนเดียวจึงมีเพียงอำนาจพิจารณา แต่ไม่มีอำนาจพิพากษา แม้ต่อมาได้มี พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 19 พฤษภาคม 2543 ยกเลิก พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2477 และพระธรรมนูญศาลยุติธรรมซึ่งได้ใช้บังคับโดยพระราชบัญญัติดังกล่าว และให้ใช้บทบัญญัติแห่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้าย พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 เป็นพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งพระธรรมนูญศาลยุติธรรมตาม พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 25(4) กำหนดให้ในศาลชั้นต้น ผู้พิพากษาคนเดียวเป็นองค์คณะมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีแพ่ง ซึ่งราคาทรัพย์สินที่พิพาทหรือจำนวนเงินที่ฟ้องไม่เกิน 300,000 บาท ก็ตาม แต่พ.ร.บ. ให้ใช้พระธรรมนูญศาลยุติธรรม พ.ศ. 2543 มาตรา 5 วรรคสอง บัญญัติว่า บรรดาคดีที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ให้บังคับตามกฎหมายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระธรรมนูญศาลยุติธรรมท้ายพระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับจนกว่าจะถึงที่สุด คดีนี้จึงต้องบังคับตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรมเดิมจนกว่าคดีจะถึงที่สุด คือ จะต้องให้ผู้พิพากษาอีกอย่างน้อยคนหนึ่งตรวจสำนวนและลงลายมือชื่อในคำพิพากษาเป็นองค์คณะด้วย การที่คดีนี้ในศาลชั้นต้นมีผู้พิพากษาเพียงคนเดียวลงลายมือชื่อในคำพิพากษา จึงเป็นการไม่ปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม (เดิม) มาตรา 22 (6) และวรรคท้าย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มิได้พิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง ศาลฎีกาจึงให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้อง โดยให้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ ซึ่งปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และ มาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6395/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานรับของโจรต้องเกิดขึ้นหลังการยักยอก การบรรยายฟ้องไม่ถูกต้องทำให้ไม่ครบองค์ประกอบความผิด
ความผิดฐานรับของโจรทรัพย์ที่ถูกยักยอกจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อจำเลยกระทำหลังจากความผิดฐานยักยอกได้เกิดขึ้นแล้วโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2528 โดยรถยนต์กระบะดังกล่าวเป็นทรัพย์ที่ ย. ยักยอกจากโจทก์ร่วมเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2530เป็นการฟ้องกล่าวหาว่า จำเลยได้กระทำความผิดฐานรับของโจรรถยนต์กระบะของโจทก์ร่วมก่อนที่รถยนต์กระบะนั้นถูก ย. ยักยอกไปการกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องจึงไม่ครบองค์ประกอบความผิดฐานรับของโจร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2511 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับเวลาพินัยกรรมและผลต่อการเพิกถอนพินัยกรรมเดิม การแก้ไขพินัยกรรมโดยเจ้ามรดก
พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้นผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 อันเป็นวันภายหลังจากพินัยกรรมจำเลย พินัยกรรมของโจทก์จึงเป็นพินัยกรรมฉบับหลังซึ่งมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้ เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1624/2511
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลำดับเวลาพินัยกรรมสำคัญ: พินัยกรรมที่ลงวันเดือนปีเดียวกัน แต่มีการแก้ไขภายหลัง ทำให้พินัยกรรมฉบับหลังมีผลเพิกถอนพินัยกรรมเดิม
พินัยกรรมทั้งฉบับของโจทก์และจำเลยต่างลงวันเดือนปีที่ทำตรงกันคือ วันที่ 12 มกราคม 2502 ของจำเลยนั้น.ผู้ทำพินัยกรรมเขียนชื่อผู้รับไว้เรียบร้อยครบถ้วนแล้วแต่วันที่ลงในพินัยกรรม. จึงถือเป็นอันสมบูรณ์แต่วันนั้นส่วนพินัยกรรมของโจทก์ปรากฏว่าชื่อผู้รับพินัยกรรมเว้นว่างไว้. เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506. จึงถือได้ว่าพินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้ทำเสร็จเป็นพินัยกรรมเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2506 อันเป็นวันภายหลังจากพินัยกรรมจำเลย. พินัยกรรมของโจทก์จึงเป็นพินัยกรรมฉบับหลังซึ่งมีผลเพิกถอนพินัยกรรมฉบับของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1697.
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้. เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง. กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม. จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่.
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย. ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก.
พินัยกรรมฉบับของโจทก์ได้เว้นชื่อผู้รับพินัยกรรมว่างไว้. เจ้ามรดกเพิ่งกรอกชื่อโจทก์เป็นผู้รับภายหลัง. กรณีเช่นนี้ไม่ใช่เป็นการขูดลบตกเติมหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงพินัยกรรม. จึงหาจำเป็นต้องเซ็นชื่อกำกับไว้ไม่.
เพียงแต่ผู้เชี่ยวชาญฝ่ายจำเลยแสดงความเห็นไม่สมตามความประสงค์ของจำเลย. ไม่เป็นเหตุพอที่จะให้ผู้อื่นตรวจเอกสารหรือเรียกตัวผู้เชี่ยวชาญของจำเลยมาเบิกความในข้อที่ได้แสดงความเห็นไว้ชัดเจนแล้วนั้นอีก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2501
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบวกโทษที่รอการลงโทษ: โทษที่รอการลงโทษจะบวกกับโทษในคดีหลังไม่ได้ หากการกระทำผิดในคดีหลังเกิดขึ้นก่อนมีคำพิพากษาคดีแรก
จำเลยถูกฟ้อง 2 คดี คดีที่ศาลพิพากษาเสร็จก่อนนั้นศาลรอการลงโทษไว้ ส่วนอีกคดีหนึ่งตัดสินภายหลังศาลลงโทษจำเลย เช่นนี้ศาลจะเอาโทษที่รอไว้ในคดีที่ตัดสินก่อน มาบวกกับโทษในคดีที่ตัดสินภายหลังไม่ได้ เพราะการกระทำผิดในคดีที่ตัดสินภายหลังนี้เกิดขึ้นก่อนศาลพิพากษาคดีที่เสร็จก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 95/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ผู้บุกรุกก่อนย่อมได้สิทธิเหนือผู้ได้ใบเหยียบย่ำภายหลัง แม้ไม่ได้ขออนุญาตตามกฎหมาย
การเข้าถางที่รกร้างว่างเปล่า ครอบครองมานั้น แม้จะมิได้ขออนุญาตให้ถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินฉบับที่ 6 ก็ยังได้สิทธิครอบครองในที่ดินนั้นตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 1367
ผู้ถือใบเหยียบย่ำ ซึ่งออกทับที่ ที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อนร้องขอใบเหยียบย่ำ จะใช้สิทธิในใบเหยียบย่ำยันผู้ครอบครองอยู่ก่อนนั้นมิได้ แม้ผู้ครอบครองจะเข้าครอบครองโดยมิได้ขออนุญาตให้ดถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินฉบับที่ 6 ก็ดี
ผู้ถือใบเหยียบย่ำ ซึ่งออกทับที่ ที่มีผู้ครอบครองอยู่ก่อนร้องขอใบเหยียบย่ำ จะใช้สิทธิในใบเหยียบย่ำยันผู้ครอบครองอยู่ก่อนนั้นมิได้ แม้ผู้ครอบครองจะเข้าครอบครองโดยมิได้ขออนุญาตให้ดถูกต้องตาม พ.ร.บ.ออกโฉนดที่ดินฉบับที่ 6 ก็ดี