พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 632/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องภาระจำยอมซ้ำ: ประเด็นต่างกัน, ไม่เป็นฟ้องซ้ำ แม้ใช้เหตุจากลำรางสาธารณะเดียวกัน
คดีเดิมโจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยขอให้เปิดทางภาระจำยอมอ้างว่าได้ภาระจำยอมโดยอายุความเป็นทางรถยนต์กว้างประมาณ 4 เมตร แต่อ้างว่าทางพิพาทเดิมเป็นลำรางสาธารณะและตื้นเขินกลายเป็นทาง ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าเมื่อทางพิพาทเป็นลำรางสาธารณะซึ่งตื้นเขินจึงไม่อาจอ้างว่าได้ภาระจำยอมคดีถึงที่สุด คดีนี้โจทก์ทั้งสี่ฟ้องจำเลยอ้างว่าทางสาธารณะซึ่งเดิมเป็นลำรางนั้นกว้างเพียง 1.8 เมตร แต่โจทก์ทั้งสี่และชาวบ้านได้ใช้รถยนต์ผ่านทางนั้นและรุกล้ำเข้าไปในที่ดินจำเลยอีกประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร โดยความสงบและโดยเปิดเผย ด้วยเจตนาใช้เป็นทางผ่านเข้าออกเป็นเวลากว่า10 ปี ทางกว้าง 2 เมตรจึงเป็นทางภาระจำยอม ดังนี้ประเด็นในคดีก่อนกับประเด็นในคดีนี้จึงต่างกัน คดีนี้มีประเด็นตามคำฟ้องว่า ทางกว้างประมาณ 2 เมตรยาวประมาณ 18 เมตร ในที่ดินจำเลยเป็นทางภาระจำยอมหรือไม่ ส่วนปัญหาว่าคดีก่อนโจทก์ทั้งสี่อ้างว่าลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายเป็นทางกว้างประมาณ4 เมตร จะคลุมถึงทางรถยนต์ที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ว่าอยู่ในที่ดินของจำเลยกว้างประมาณ 2 เมตร ยาวประมาณ 18 เมตร หรือไม่นั้น จำเลยให้การในคดีก่อนว่าทางสาธารณะกว้างเพียง 1 เมตร เท่านั้น และโจทก์ทั้งสี่ใช้รถยนต์ผ่านทางเข้ามาในที่ของจำเลยกว้างประมาณ 1.8 เมตร จำเลยจึงสร้างกำแพงกั้น ดังนั้นประเด็นที่ว่าทางสาธารณะคลุมถึงทางที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้หรือไม่ ศาลยังมิได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อนฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3741/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำที่ดินและละเมิดสิทธิการใช้ลำรางสาธารณะ จำเลยต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างและชดใช้ค่าเสียหาย
จำเลยปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของจำเลย โดยก่อสร้างระเบียงคร่อมลำรางสาธารณะจนติดผนังอาคารของโจทก์ และจำเลยได้สร้างประตูเหล็กยืดปิดกั้นลำรางสาธารณะ และช่องว่างระหว่างอาคารของโจทก์กับลำรางสาธารณะทางด้านหน้าทั้งหมด ลำรางสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินซึ่งใช้เพื่อสาธารณประโยชน์สำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน เมื่อปรากฏว่าก่อนที่จำเลยจะสร้างประตูเหล็กยืดโจทก์ได้ใช้ลำรางสาธารณะเพื่อใช้เป็นทางเข้าออกสำหรับลำเลียงสินค้าเข้าไปในร้าน ซึ่งลำรางสาธารณะนี้ติดกับด้านข้างที่ดินของโจทก์โจทก์ย่อมมีสิทธิใช้เป็นทางเข้าออกได้ การที่จำเลยทำประตูเหล็กยืดปิดกั้น จึงทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้เป็นทางเข้าออกสำหรับลำเลียงสินค้าเข้าไปในร้านได้ย่อมเป็นการละเมิดสิทธิของโจทก์ ทำให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ข้างเคียงได้รับความเสียหายหรือเดือดร้อนรำคาญเกินกว่าที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเกิดขึ้นตามปกติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยซึ่งเป็นผู้ทำประตูเหล็กให้รื้อถอนประตูเหล็กยืดออกไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1189/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินสาธารณประโยชน์ การรุกล้ำลำรางสาธารณะ และอำนาจหน้าที่ของเทศบาลในการดูแลรักษา
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์มีหน้าที่ดูแลรักษาที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล จำเลยได้ปลูกสร้างอาคารเลขที่ 54/8 รุกล้ำเข้าไปในลำรางสาธารณะที่ตื้นเขินกลายสภาพเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ในเขตเทศบาล เนื้อที่ 4.4 ตารางวา ซึ่งอยู่ในความดูแลรักษาของโจทก์ขอให้บังคับจำเลยรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างดังกล่าว เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้วโจทก์ไม่ต้องแสดงโฉนดหรือหลักฐานแห่งที่ดินว่าเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์อย่างไร เพราะการเป็นที่ดินสาธารณประโยชน์หรือไม่เป็นไปตามสภาพของที่ดิน และโจทก์ไม่จำต้องบรรยายมาในฟ้องว่า ที่ดินสาธารณประโยชน์ทั้งหมดมีเนื้อที่เท่าใดจำเลยปลูกสร้างอาคารรุกล้ำตั้งแต่เมื่อใด มีเขตกว้างยาวเท่าใดเพราะเป็นรายละเอียดที่คู่ความอาจนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม ลำรางสาธารณประโยชน์สำหรับระบายน้ำจากภูเขาซึ่งมีมานานแล้วเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินที่ราษฎรใช้ประโยชน์ร่วมกัน แม้ต่อมาจะไม่มีสภาพเป็นทางระบายน้ำต่อไปและไม่มีราษฎรใช้ประโยชน์เมื่อยังไม่มีการตราพระราชกฤษฎีกาเพิกถอนสภาพการเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน ตามมาตรา 8 ประมวลกฎหมายที่ดิน ที่ดินนั้นยังเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินอยู่เช่นเดิม ที่งอกริมตลิ่ง หมายถึงที่ดินที่งอกไปจากตลิ่งตามธรรมชาติซึ่งเกิดจากการที่สายน้ำพัดพาดินจากที่อื่นมาทับถมกันริมตลิ่งจนเกิดที่งอกขึ้น มิใช่งอกจากที่อื่นเข้ามาหาตลิ่ง โจทก์มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาสาธารณสมบัติของแผ่นดินในเขตเทศบาลตามคำสั่งของกระทรวงมหาดไทย จึงมีอำนาจฟ้องให้จำเลยรื้อถอนอาคารส่วนที่รุกล้ำสาธารณสมบัติของแผ่นดินได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5657/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรุกล้ำลำรางสาธารณะและการปฏิบัติตามคำสั่งเจ้าพนักงาน: เหตุอันสมควรและข้อแก้ตัว
ช.ฟ้องจำเลยว่าสร้างรั้วรุกล้ำลำรางสาธารณประโยชน์และเรียกค่าเสียหายจากจำเลย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ยกฟ้อง โดยวินิจฉัยว่า พยานโจทก์ฟังไม่ได้ว่ารั้วที่จำเลยสร้างรุกล้ำ ลำราง สาธารณประโยชน์ระหว่างที่คดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา นายอำเภอมีคำสั่งให้จำเลยรื้อถอนรั้วออกจากลำรางสาธารณประโยชน์ดังกล่าว ดังนี้ มีเหตุอันสมควรให้จำเลยเข้าใจว่าตนมิได้สร้างรั้วรุกล้ำ ลำรางสาธารณประโยชน์ดังที่ถูกกล่าวหาทั้งจำเลยได้ให้ทนายความ มีหนังสือชี้แจงเหตุผลต่อนายอำเภอทันทีที่ทราบคำสั่งถือได้ว่าจำเลย ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของนายอำเภอโดยมีเหตุและข้อแก้ตัวอันสมควรจำเลยจึงไม่มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายลำรางสาธารณะ: ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะการรับเงินค่าขาย ศาลไม่วินิจฉัยเรื่องความรู้แจ้งของโจทก์
แม้จำเลยจะให้การว่าก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินนั้นเป็นลำรางสาธารณะ จำเลยไม่เคยหลอกลวงโจทก์ แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่าจำเลยได้ขายลำรางสาธารณะให้แก่ฝ่ายโจทก์กับ ก. และรับเงินมาแล้ว 30,000 บาท จริงหรือไม่เท่านั้น จำเลยไม่โต้แย้ง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนด ข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายโจทก์รู้มาก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์แล้วว่าเป็นลำรางสาธารณะไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2432/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายลำรางสาธารณะ: ประเด็นข้อพิพาทจำกัดเฉพาะการรับชำระเงิน ทำให้ข้อโต้แย้งเรื่องความรู้ก่อนการซื้อขายไม่เป็นประเด็น
แม้จำเลยจะให้การว่าก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์โจทก์ทราบแล้วว่าที่ดินนั้นเป็นลำรางสาธารณะ จำเลยไม่เคยหลอกลวงโจทก์แต่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้แต่เพียงว่าจำเลยได้ขายลำรางสาธารณะให้แก่ฝ่ายโจทก์กับ ก. และรับเงินมาแล้ว 30,000 บาทจริงหรือไม่เท่านั้น จำเลยไม่โต้แย้ง ประเด็นข้อพิพาทจึงมีเพียงเท่าที่ศาลชั้นต้นกำหนดข้อเท็จจริงที่ว่าฝ่ายโจทก์รู้มาก่อนรับโอนกรรมสิทธิ์แล้วว่าเป็นลำรางสาธารณะไม่มีสิทธิเรียกเงินคืนจึงไม่เป็นประเด็นข้อพิพาท ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 147-148/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ในลำรางสาธารณะ: สิทธิครอบครองเหนือการขุดลอก
แม้ที่พิพาทจะเป็นลำรางสาธารณะเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินชนิดทรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1304(2) แต่เมื่อโจทก์ครอบครองใช้สอยปลูกต้นผลไม้ในที่พิพาทอยู่ก่อนจำเลยและปลูกติดต่อกันหลายปีตลอดมาการที่จำเลยเอาเสาคอนกรีตไปปักลงในที่พิพาท เห็นได้ว่าเป็นการรบกวนสิทธิของโจทก์โจทก์ย่อมได้รับความเสียหายเป็นการละเมิดโจทก์มีสิทธิฟ้องห้ามมิให้จำเลยและบริวารเข้าเกี่ยวข้องรบกวนการครอบครองที่พิพาทได้
กรณีดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าที่เอาเสาคอนกรีตไปปักเพื่อขุดลอกที่พิพาทและได้ขออนุญาตนายอำเภอแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่านายอำเภอยังไม่มีคำสั่งอนุญาตทั้งนายอำเภอก็มิได้ดำเนินการให้โจทก์ออกจากที่พิพาทจึงไม่มีเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยบุกรุกอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปักหลักเขตเสาคอนกรีตในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่ประกอบกับแผนที่ท้ายฟ้องก็แสดงว่าที่ดินที่จำเลยบุกรุกอยู่ภายในเขตที่โจทก์ครอบครองศาลย่อมพิพากษาห้ามจำเลยและบริวารรบกวนการครอบครองที่พิพาทได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น
กรณีดังกล่าว แม้จำเลยอ้างว่าที่เอาเสาคอนกรีตไปปักเพื่อขุดลอกที่พิพาทและได้ขออนุญาตนายอำเภอแล้ว แต่เมื่อปรากฏว่านายอำเภอยังไม่มีคำสั่งอนุญาตทั้งนายอำเภอก็มิได้ดำเนินการให้โจทก์ออกจากที่พิพาทจึงไม่มีเหตุที่ทำให้จำเลยมีสิทธิดีกว่าโจทก์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยบุกรุกที่ดินในเขตโฉนดของโจทก์แต่ทางพิจารณาปรากฏว่าที่ดินที่จำเลยบุกรุกอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์เมื่อโจทก์บรรยายฟ้องไว้ด้วยว่าจำเลยบุกรุกเข้าไปปักหลักเขตเสาคอนกรีตในที่ดินที่โจทก์ครอบครองอยู่ประกอบกับแผนที่ท้ายฟ้องก็แสดงว่าที่ดินที่จำเลยบุกรุกอยู่ภายในเขตที่โจทก์ครอบครองศาลย่อมพิพากษาห้ามจำเลยและบริวารรบกวนการครอบครองที่พิพาทได้ ไม่เป็นการนอกฟ้องนอกประเด็น