คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3366/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจฐานทุจริตหน้าที่ ศาลยืนตามคำสั่งเลิกจ้าง ไม่ถือเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม
ขณะที่ ล. พนักงานทำความสะอาดภายในเครื่องบินจัดกระเป๋าหลังเก้าอี้ที่นั่งผู้โดยสารพบเครื่องเล่นซีดีที่ผู้โดยสารลืมทิ้งไว้ แต่ไม่ได้แจ้งส่งคืนตามระเบียบ แม้ถูกทวงถามก็ไม่ยอมบอกกล่าวแก่ผู้ค้นหา กลับนำเครื่องเล่นซีดีไปซุกซ่อนไว้ในถุงเก็บขยะที่ตนเป็นผู้ครอบครองดูแลอยู่ พฤติการณ์เช่นนี้เป็นการไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่โดยมีเจตนาจะนำเครื่องเล่นซีดีดังกล่าวเก็บซุกซ่อนแล้วนำไปเป็นประโยชน์ส่วนตนต่อไป การกระทำของ ล. จึงเป็นการกระทำทุจริตต่อหน้าที่อันเป็นความผิดวินัยอย่างร้ายแรง มีโทษถึงขั้นไล่ออก การที่โจทก์เลิกจ้าง ล. จึงมิใช่การกระทำอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 37 โจทก์มีอำนาจเลิกจ้าง ล. ได้ตามมาตรา 37 (1) แห่ง พ.ร.บ.แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ
คดีนี้ศาลแรงงานกลางได้มีคำพิพากษาให้เพิกถอนคำสั่งคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ที่ 5/2546 ลงวันที่ 6 สิงหาคม 2546 และให้โจทก์เลิกจ้าง ล. ตามที่โจทก์ได้มีคำสั่งเลิกจ้างไว้แล้ว ผลแห่งคดีคือโจทก์ชนะคดีนี้ เพราะฉะนั้นข้ออุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า ตามคำร้องของ ล. ที่ยื่นต่อจำเลยทั้งสิบห้านั้นไม่เข้าข่ายมาตรา 37 และ ล. ไม่ใช่สมาชิกของสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง ล. จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์จำเลยได้ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ย่อมไม่มีอำนาจรับคำร้องของ ล. ไว้พิจารณา ถึงแม้จะวินิจฉัยไปก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลง จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3060-3064/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเลื่อนขั้นเงินเดือนของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจต้องเป็นไปตามข้อบังคับขององค์กร ไม่สามารถอ้างสิทธิจากหนังสือเวียนของกระทรวงการคลัง
หนังสือกระทรวงการคลัง เรื่อง มาตรการปรับลดอัตราเลื่อนขั้นเงินเดือนและค่าจ้างของรัฐวิสาหกิจประจำปี 2544 เป็นเพียงการผ่อนปรนจำนวนเงินปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดร้อยละ 1 ตามมติคณะรัฐมนตรีให้กับรัฐวิสาหกิจที่มีปัญหาจำนวนวงเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอที่จะเลื่อนขั้นเงินเดือนค่าจ้างแก่พนักงานผู้มีสิทธิเลื่อนขั้นคนละ 1 ขั้น เนื่องจากรัฐวิสาหกิจไม่มีข้อบังคับ/คำสั่งกำหนดความดีความชอบเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขึ้นหรือมีระเบียบแต่จำนวนเงินเลื่อนขั้นเงินเดือนหลังปรับลดไม่เพียงพอเท่านั้น ส่วนการจะปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนให้พนักงานคนใดบ้างเป็นเรื่องที่รัฐวิสาหกิจแต่ละแห่งต้องไปพิจารณาเองตามระเบียบของรัฐวิสาหกิจนั้นๆ หนังสือกระทรวงการคลังดังกล่าวจึงไม่ใช่เป็นการผ่อนปรนให้ปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนครึ่งขั้นไปก่อนแล้วจ่ายเพิ่มหรือปรับให้ภายหลัง จึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิใดแก่โจทก์ สิทธิของโจทก์ที่จะได้รับการปรับเลื่อนขั้นเงินเดือนหรือไม่ เพียงใด ย่อมต้องเป็นไปตามข้อบังคับของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: เหตุผลเพียงพอ, การพักงาน, ค่าชดเชย, และสิทธิลูกจ้าง
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลย โจทก์และจำเลยจึงอยู่ภายใต้บังคับของพระราชบัญญัติพนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ และระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะเกิดเหตุ
โจทก์ทำสัญญาจ้างกับจำเลยหลายฉบับ และโจทก์ลาออกเพื่อรับบรรจุเป็นพนักงาน แต่โจทก์ก็ทำงานกับจำเลยต่อเนื่องมาตลอดโดยมิได้เว้นช่วงระยะเวลาใดตั้งแต่วันที่จำเลยจ้างโจทก์เป็นลูกจ้างในวันแรกของสัญญาจ้างฉบับแรก จนถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ โจทก์จึงเป็นพนักงานซึ่งทำงานติดต่อกันครบสามปีขึ้นไป จำเลยเลิกจ้างโจทก์ จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์เท่ากับค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวันตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจฯ
การพิจารณาว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หรือไม่นั้นโดยทั่วไปต้องพิจารณาถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างนั้นมีเหตุผลเพียงพอหรือไม่เป็นสำคัญ แม้จำเลยระบุในหนังสือเลิกจ้างว่าเลิกจ้างโจทก์ระหว่างทดลองงาน แต่ก็ระบุถึงเหตุผลในการเลิกจ้างไว้ด้วยว่า โจทก์บกพร่องต่อหน้าที่และฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานฯ ซึ่งจำเลยได้ยกข้อเท็จจริงขึ้นอ้างในคำให้การด้วย การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยข้อเท็จจริงตามที่ระบุไว้ในหนังสือเลิกจ้างและตามคำให้การจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ทราบเหตุการณ์ที่ ธ. ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานร่วมกันรื้อค้นกระเป๋าของผู้โดยสารแล้วกลับนิ่งเสียไม่รายงานผู้บังคับบัญชา นับว่าเป็นการบกพร่องต่อหน้าที่และเป็นการฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย การที่จำเลยเลิกจ้างมีเหตุผลเพียงพอ ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม และพฤติกรรมของโจทก์เป็นการกระทำอันไม่สมควรแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้องและสุจริตตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5962/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิค่าชดเชยลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ถูกเลิกจ้างเนื่องจากเกษียณอายุ แม้มีกฎหมายเฉพาะ
พนักงานรัฐวิสาหกิจฟ้องเรียกค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน หลังจาก พ.ร.บ. พนักงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ฯ มีผลใช้บังคับ เป็นคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน จึงอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงาน เลิกจ้างเพราะลูกจ้างมีอายุ 60 ปีบริบูรณ์ หาใช่ลูกจ้างออกจากงานไปเองไม่ เมื่อจำเลยเลิกจ้างโดยโจทก์ไม่ได้กระทำความผิดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงาน โจทก์จึงมีสิทธิได้รับค่าชดเชย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2875/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ขาดคุณสมบัติสัญชาติไทย: ค่าชดเชย, ดอกเบี้ย, และเงินบำเหน็จ
การที่นายจ้างซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจให้ลูกจ้างออกจากงานเพราะเหตุขาดคุณสมบัติเนื่องจากไม่มีสัญชาติไทยนั้นถือว่าเป็นการเลิกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 46 อันนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยแต่นายจ้างไม่จำต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในกรณีดังกล่าว เพราะเป็นการเลิกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยคุณสมบัติ มิได้เกี่ยวกับระยะเวลาการจ้างจะนำประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582มาใช้บังคับไม่ได้ ค่าชดเชยเป็นเงินที่กฎหมายบังคับให้นายจ้างจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง จึงเป็นหนี้เงินที่กฎหมายกำหนดเวลาชำระไว้แน่นอนแล้ว นายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันเลิกจ้างโดยลูกจ้าง มิพักต้องทวงถาม ส่วนเงินบำเหน็จกฎหมายมิได้บังคับให้นายจ้างต้องจ่ายแก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้าง และไม่ปรากฏว่าลูกจ้างได้ทวงถามให้นายจ้างชำระแต่เมื่อใดนายจ้างจึงต้องชำระดอกเบี้ยในอัตราเดียวกันนับแต่วันฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเกษียณอายุ ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน แม้เป็นการขาดคุณสมบัติ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46 วรรคสอง มีความว่า "การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่า การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงาน โดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47 แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ" และวรรคสามมีความว่า "ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น หรือลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่า ให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันและยังอยู่ในระยะเวลานั้น" ดังนี้ จะเห็นได้ว่า ถ้ากฎหมายมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ถือว่าการเลิกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเพราะเหตุอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว ก็ย่อมจะแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ได้ดังตัวอย่างในวรรคสาม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงานฯ ข้อ 2 คำว่า "ค่าชดเชย" หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่การจ่ยเงินบำเหน็จนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แต่การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยนั้นมิได้มีลักษณะที่แสดงว่ามุ่งหมายจะจ่ายให้อย่างค่าชดเชย หากแต่เป็นเงินซึ่งจ่ายให้แก่ลูกจ้างในลักษณะที่เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการที่ได้ทำงานมาโดยไม่มีความผิดทางวินัยจนกระทั่งออกจากงาน หรือลาออกเอง หรือถึงแก่กรรมด้วย และหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก็แตกต่างกับการจ่ายค่าชดเชย เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย จึงเป็นเงินประเภทอื่นที่กล่าวไว้ในบทนิยามคำว่า "ค่าชดเชย" จำเลยจะขอให้ถือการที่จำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3078/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างรัฐวิสาหกิจเนื่องจากอายุครบ 60 ปี ต้องจ่ายค่าชดเชยตามกฎหมายแรงงาน
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 46วรรคสอง มีความว่า 'การเลิกจ้างตามข้อนี้ หมายความว่าการที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงาน ปลดออกจากงาน หรือไล่ออกจากงานโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดตามข้อ 47แห่งประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯลฯ'และวรรคสามมีความว่า 'ความในข้อนี้มิให้ใช้บังคับแก่ลูกจ้างประจำที่มีกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้แน่นอนและเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้นหรือลูกจ้างประจำที่นายจ้างแจ้งให้ทราบเป็นหนังสือแต่แรกว่า ให้ทดลองปฏิบัติงานในระยะเวลาไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันและยังอยู่ในระยะเวลานั้น' ดังนี้ จะเห็นได้ว่าถ้ากฎหมายมีความประสงค์ที่จะไม่ให้ถือว่าการเลิกจ้างพนักงานของรัฐวิสาหกิจซึ่งขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามเพราะเหตุอายุเกิน 60 ปีบริบูรณ์เป็นการเลิกจ้างซึ่งนายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยแล้ว ก็ย่อมจะแก้ไขเพิ่มเติมประกาศกระทรวงมหาดไทยระบุเป็นข้อยกเว้นไว้ได้ดังตัวอย่างในวรรคสาม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ฯ ข้อ 2คำว่า'ค่าชดเชย' หมายความว่า เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเมื่อเลิกจ้างนอกเหนือจากเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้างแต่การจ่ายเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยนั้นมิได้มีลักษณะที่แสดงว่ามุ่งหมายจะจ่ายให้อย่างค่าชดเชย หากแต่เป็นเงินซึ่งจ่ายให้แก่ลูกจ้างในลักษณะที่เป็นเงินสงเคราะห์เพื่อตอบแทนการที่ได้ทำงานมาโดยไม่มีความผิดทางวินัยจนกระทั่งออกจากงาน หรือลาออกเอง หรือถึงแก่กรรมด้วยและหลักเกณฑ์ในการจ่ายเงินก็แตกต่างกับการจ่ายค่าชดเชย เงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลย จึงเป็นเงินประเภทอื่นที่กล่าวไว้ในบทนิยามคำว่า'ค่าชดเชย'จำเลยจะขอให้ถือการที่จำเลยได้จ่ายเงินบำเหน็จให้แก่โจทก์เป็นการจ่ายค่าชดเชยแล้วหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15620/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกานี้วินิจฉัยประเด็นการอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ และอำนาจศาลแรงงานในการพิจารณาคดี
การที่โจทก์ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารทั่วไป มีหน้าที่จัดทำคำสั่งลงโทษทางวินัยบุคคลเสนอต่ออธิบดีกรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ได้จัดทำคำสั่งสำนักงานธนานุเคราะห์ ที่ 68/2550 เรื่อง ลงโทษตัดเงินเดือน สั่ง ณ วันที่ 9 พฤษภาคม 2550 อันเป็นคำสั่งลงโทษโจทก์และลงนามรับรองสำเนาถูกต้องนั้น เป็นการรับทราบในฐานะที่ตนมีหน้าที่จัดทำเอกสารดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเพียงการดำเนินการภายในของฝ่ายปกครองที่มิได้มีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ในขณะนั้น โจทก์จึงยังมิใช่พนักงานผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายจากการถูกผู้บังคับบัญชาสั่งลงโทษ กระทั่งวันที่ 21 พฤษภาคม 2550 โจทก์จึงได้รับคำสั่งลงโทษทางวินัยดังกล่าวและได้ลงลายมือชื่อรับทราบคำสั่งลงโทษทางวินัยในวันเดียวกัน โจทก์จึงมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งลงโทษทางวินัยได้ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับทราบคำสั่งตามระเบียบสำนักงานธนานุเคราะห์ ว่าด้วยการแบ่งส่วนงานและการบริหารงานบุคคล พ.ศ.2543 ข้อ 69 โดยนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 22 พฤษภาคม 2550 ดังนั้น เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องทุกข์ต่อประธานกรรมการอำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ในวันที่ 4 มิถุนายน 2550 จึงอยู่ในระยะเวลา 15 วัน ที่มีสิทธิอุทธรณ์ได้
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งลงโทษโจทก์และคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ตามหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ พม 0202/24546 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 เรื่อง แจ้งผลการพิจารณาอุทธรณ์คำสั่งลงโทษตัดเงินเดือน กับขอให้บังคับจำเลยที่ 2 มีคำสั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องคืนเงินเดือนที่ถูกตัดแก่โจทก์ หากไม่ดำเนินการให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้เป็นเงินพร้อมดอกเบี้ย และให้พิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปีงบประมาณ 2551 พร้อมคืนสิทธิประโยชน์ต่างๆ แก่โจทก์ จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่าโจทก์ร่วมกระทำความผิดกับ ช. และโจทก์ไม่รีบดำเนินการตามคำสั่งของผู้อำนวยการสำนักงานธนานุเคราะห์ เป็นการไม่ปฏิบัติตามคำสั่งและปฏิบัติงานล่าช้า จึงลงโทษตามคำสั่งพิพาท คดีจึงมีประเด็นแห่งคดีว่า โจทก์กระทำความผิดตามข้อต่อสู้ในคำให้การของจำเลยทั้งสอง คำสั่งลงโทษโจทก์ของจำเลยทั้งสองที่พิพาทชอบด้วยกฎหมาย มีเหตุเพิกถอนและต้องคืนเงินและสิทธิตามฟ้องแก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับเอาแก่จำเลยทั้งสองโดยอาศัยสิทธิในทางแพ่ง เมื่อคู่ความทั้งสองฝ่ายไม่ได้โต้แย้งเกี่ยวกับอำนาจในการนำคดีมาสู่ศาลของโจทก์หรืออำนาจในการออกคำสั่งของจำเลยที่ 1 และอำนาจในการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 จึงเหลือปัญหาที่โต้แย้งกันเฉพาะเนื้อหาของการกระทำความผิดของโจทก์เท่านั้น คำพิพากษาศาลแรงงานกลางที่วินิจฉัยโดยยกเหตุเฉพาะที่จำเลยที่ 2 ยกคำร้องทุกข์ในการอุทธรณ์ว่าโจทก์อุทธรณ์เกิน 15 วัน ตามระเบียบ เป็นการไม่ชอบด้วยระเบียบ แล้วพิพากษาให้เพิกถอนหนังสือสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ที่ พม 0202/24546 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2550 แล้วให้จำเลยที่ 2 รับอุทธรณ์ของโจทก์ไว้พิจารณาต่อไปโดยยังมิได้วินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีจึงเป็นคำพิพากษาที่ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 51 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9395-9492/2552

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทค่าจ้างหลังปรับโครงสร้างเงินเดือน: ศาลฎีกาให้ฟังข้อเท็จจริงเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาข้อตกลงโดยปริยาย
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างได้ทำข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างกับสหภาพแรงงานองค์การค้าของคุรุสภาว่า การพิจารณาความดีความชอบในขณะใดๆ ให้องค์การค้าคุรุสภาพิจารณาโดยถือหลักเกณฑ์การพิจารณาตามมติคณะรัฐมนตรีหรือระเบียบของทางราชการที่กำหนดสำหรับเจ้าหน้าที่รัฐวิสาหกิจในขณะนั้นๆ ต่อมาคณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติให้ปรับอัตราค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ จำเลยที่ 2 ได้พิจารณาความดีความชอบของโจทก์ในรอบปีบัญชี 2546 ถึงปี 2547 แล้วยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าว โจทก์จึงยื่นคำร้องต่อจำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานขอให้บังคับจำเลยที่ 2 จ่ายค่าจ้างส่วนที่ยังไม่ได้ปรับขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรี จำเลยที่ 1 และที่ 3 มีคำสั่งว่าเป็นกรณีที่นายจ้างไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง มิใช่การค้างจ่ายค่าจ้าง โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้าง ดังนี้ เมื่อฝ่ายโจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกลาว จึงเป็นการกล่าวอ้างว่าจำเลยที่ 2 ไปฏิบัติตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 12 และเมื่อจำเลยที่ 2 ยังไม่ได้ปรับอัตราค่าจ้างขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีฯ จึงยังไม่มีค่าจ้างที่ค้างจ่ายจากการปรับอัตราค่าจ้างขึ้นแก่ฝ่ายโจทก์ ตาม พ.รงบ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 70 คำสั่งของจำเลยที่ 1 และที่ 3 ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6037-6065/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจ่ายค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจที่ไม่ใช่ผู้ทำหน้าที่ขนส่งโดยตรง
โจทก์ที่ 1 ถึง 5 และที่ 7 เป็นพนักงานปากเรือ มีหน้าที่ขับเรือยนต์ โจทก์ที่ 6 เป็นพนักงานปากเรือมีหน้าที่เป็นคนงานลูกเรือประจำเรือยนต์ โดยเรือยนต์ที่โจทก์ที่ 1 ถึงที่ 7 ทำหน้าที่พนักงานปากเรือมีหน้าที่ชี้ตำแหน่งเรือสินค้าและรับเชือกเพื่อให้เรือสินค้าผ่านร่องน้ำเจ้าพระยาเข้าเทียบท่าเรือ โจทก์ที่ 8 ถึงที่ 11 ที่ 13 ถึงที่ 15 ที่ 17 ที่ 19 ที่ 24 ที่ 26 ที่ 27 ที่ 36 และที่ 37 มีหน้าที่เคลื่อนย้ายสินค้าด้วยยานพาหนะหรืออุปกรณ์เคลื่อนย้ายสินค้าซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น แต่เมื่อเป็นการเคลื่อนย้ายสินค้าอยู่ในบริเวณของท่าเรือ ไม่ได้ส่งสินค้าพ้นจากบริเวณของท่าเรือเพื่อให้ถึงผู้รับหรือเจ้าของสินค้าจึงไม่ใช่การขนส่ง โจทก์ที่ 18 มีหน้าที่จัดเก็บสินค้า โจทก์ที่ 20 มีหน้าที่ตรวจสอบบัตรค่าภาระและค่ายานพาหนะบรรทุกสินค้าและตู้สินค้า โจทก์ที่ 25 มีหน้าที่ตรวจสอบค่าภาระตู้สินค้าและตรวจสอบสินค้า เป็นการปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับการขนถ่ายสินค้า ไม่ได้ทำงานเกี่ยวกับการเคลื่อนย้ายและส่งสินค้า จึงไม่ใช่การขนส่งสินค้าเช่นกัน โจทก์ที่ 30 ถึงที่ 33 และที่ 35 ทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยและความสงบเรียบร้อยในบริเวณท่าเรือ ไม่ใช่การทำงานขนส่ง ดังนั้น งานที่โจทก์ร่วม 29 คน ทำจึงไม่ใช่งานขนส่งตามระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 28 (2) โจทก์รวม 29 คน จึงมีสิทธิได้รับค่าล่วงเวลาตามข้อ 25, 26
ระเบียบคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ เรื่อง มาตรฐานของสิทธิประโยชน์ของพนักงานรัฐวิสาหกิจ พ.ศ.2534 ข้อ 30 (1) ระบุว่า รัฐวิสาหกิจที่ให้พนักงานซึ่งมีสิทธิได้รับเงินเดือนค่าจ้างเป็นรายชั่วโมงหรือเป็นระยะเวลาอย่างอื่นทำงานในวันหยุด ให้รัฐวิสาหกิจนั้นจ่ายค่าทำงานในวันหยุดแก่พนักงานเพิ่มขึ้นอีกไม่น้อยกว่า 1 เท่า ของเงินเดือนค่าจ้างในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงทำงานในวันหยุด เมื่อโจทก์รวม 29 คน ทำงานในวันหยุดจึงมีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุดตามข้อ 30
of 2