พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8324/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้างที่ลาออก และการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนในกรณีเลิกจ้าง
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 67 บัญญัติให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามส่วนเฉพาะกรณีที่ลูกจ้างมิได้มีความผิดตามมาตรา 119 การที่กฎหมายกำหนดให้นำความผิดตามมาตรา 119 มาประกอบการพิจารณาการได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีของลูกจ้าง เพราะความผิดดังกล่าวเป็นข้อเท็จจริงที่จะชี้ว่านายจ้างเลิกจ้างด้วยเจตนากลั่นแกล้งไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปจนครบ 1 ปีหรือไม่ ถ้าลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119 แต่ถูกเลิกจ้าง ถือว่าเป็นการเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุอันสมควรและเป็นการกลั่นแกล้งลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างไม่อาจทำงานต่อไปได้และต้องเสียสิทธิที่จะได้หยุดพักผ่อนประจำปีตามมาตรา 30 ดังนั้น ในปีที่เลิกจ้างแม้ลูกจ้างจะทำงานยังไม่ครบ 1 ปี นายจ้างจะต้องชดใช้สิทธิที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการกระทำโดยไม่ชอบของนายจ้างด้วยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนของวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างพึงมีสิทธิ การจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างตามส่วนดังกล่าวจะพึงมีได้เฉพาะกรณีที่ลูกจ้างถูกเลิกจ้าง และลูกจ้างไม่มีความผิดตามมาตรา 119เท่านั้น หาได้นำมาใช้บังคับแก่กรณีลูกจ้างลาออกจากงานโดยความสมัครใจด้วยไม่ เพราะการลาออกโดยความสมัครใจของลูกจ้างย่อมไม่เป็นการกลั่นแกล้งของนายจ้าง นายจ้างจึงไม่ต้องชดใช้สิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีที่ลูกจ้างต้องเสียไปจากการลาออกโดยการจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกตามส่วนตามมาตรา 67
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.
ลูกจ้างที่ลาออกจะมีสิทธิหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่เลิกจ้างรวมทั้งในปีก่อนและจะได้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีหรือไม่เพียงใด ต้องเป็นไปตามมาตรา 30 และมาตรา 56 ในปีที่ จ. ลาออก โจทก์ในฐานะนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่ลูกจ้าง 13 วัน และก่อนลาออกโจทก์อนุญาตให้ จ. ลาหยุดพักผ่อนประจำปี 8 วัน การหยุดพักผ่อนประจำปีดังกล่าว เป็นการหยุดตามที่โจทก์และ จ. ตกลงกันโดยสุจริต จึงเป็นวันหยุดพักผ่อนประจำปีโดยชอบของลูกจ้าง แต่ถ้าขณะลาออก จ. ยังไม่ได้หยุดพักผ่อนประจำปีหรือหยุดแล้วแต่ยังไม่ครบ 13 วัน ซึ่งเป็นกรณีนายจ้างกำหนดวันหยุดพักผ่อนประจำปีทั้ง 13 วันหรือบางส่วนไว้ล่วงหน้าและเป็นวันหลังจากที่ จ. ลาออก จ. ก็จะไม่ได้รับค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและไม่มีสิทธิให้นายจ้างนำวันหยุดพักผ่อนประจำปีที่ยังไม่ได้หยุดมาเฉลี่ยเพื่อจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีในปีที่ลาออกได้ แต่เมื่อ จ. หยุดพักผ่อนประจำปีตามสิทธิและตามวันที่ได้ตกลงกับโจทก์ไปแล้วก่อนลาออก โจทก์ต้องจ่ายค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเต็มจำนวน 8 วันให้แก่ จ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1147/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนหลักทรัพย์ค้ำประกันเมื่อลูกจ้างลาออก สัญญาเดิมเป็นเกณฑ์ แม้มีการยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติม
โจทก์ทั้งสองทำสัญญาค้ำประกันการทำงานของ ค. กับจำเลย และนำโฉนดที่ดินมอบให้แก่จำเลยยึดถือไว้เป็นหลักประกัน ตามหนังสือสัญญาค้ำประกันระบุว่า ในการขอคืนหลักประกันจะกระทำได้ต่อเมื่อ ค. สิ้นสภาพจากการเป็นพนักงาน โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหาย เมื่อ ค. ลาออกจากการเป็นลูกจ้างจำเลย จึงเป็นการสิ้นสภาพการเป็นพนักงาน สัญญาค้ำประกันของโจทก์ทั้งสองย่อมระงับสิ้นไป แม้ ค. ทำหนังสือยินยอมเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ในการขอคืนหลักทรัพย์ใหม่ ก็หามีผลผูกพันโจทก์ทั้งสองไม่ และข้อความในสัญญาค้ำประกันฉบับหลังหาใช่เป็นการขยายข้อความที่ว่า โดยไม่ได้กระทำการใดให้นายจ้างเสียหายตามสัญญาค้ำประกันเดิม ดังนั้นจำเลยจึงต้องคืนโฉนดที่ดินหลักทรัพย์ค้ำประกันแก่โจทก์ทั้งสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13579/2556
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการปรับขึ้นค่าจ้างตามมติคณะรัฐมนตรีสำหรับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจ: กรณีลูกจ้างลาออกก่อนวันประกาศใช้ข้อบังคับ
จำเลยเป็นรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์มีมติเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2547 เห็นชอบให้ปรับค่าจ้างของลูกจ้างรัฐวิสาหกิจโดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 3 กลุ่ม จำเลยอยู่ในกลุ่มที่ 3 คือรัฐวิสาหกิจที่ใช้บัญชีโครงสร้างเงินเดือนค่าจ้างของพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 2) ตามประกาศคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ลงวันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2537 การปรับอัตราค่าจ้างให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป วันที่ 3 พฤศจิกายน 2547 สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือระบุว่าคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ปรับค่าจ้างตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป วันที่ 1 ธันวาคม 2547 โจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยออกข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2548 จำเลยออกคำสั่งปรับเงินเดือนพนักงานและลูกจ้างตามข้อบังคับดังกล่าว
ข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 ข้อ 2 ระบุว่า "ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับนี้แทน" และบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ระบุว่าเป็น "บัญชีอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างประจำองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย" หมายความว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่) ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ข้อบังคับและบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าวประกาศใช้ ส่วนที่มีข้อความระบุในข้อ 3 ว่า "ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป" นั้น มีความหมายว่าผู้ที่ยังคงเป็นพนักงานและลูกจ้างของจำเลยได้รับตัวเงินตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่นับย้อนไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ไม่มีข้อความให้จำเลยจ่ายเงินเดือนในอัตราตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานของจำเลยแล้วย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ด้วย
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ไม่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) นับแต่วันพ้นจากการเป็นพนักงาน จึงไม่ใช่พนักงานผู้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 แล้ว ไม่ใช่ผู้เป็นพนักงานของจำเลย ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่บัญชีอัตราเงินเดือนเดิมถูกยกเลิกไปตามข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่)
ข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 ข้อ 2 ระบุว่า "ให้ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 และให้ใช้บัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับนี้แทน" และบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ระบุว่าเป็น "บัญชีอัตราเงินเดือนของพนักงานและลูกจ้างประจำองค์การตลาด กระทรวงมหาดไทย" หมายความว่าผู้ที่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนท้ายข้อบังคับฉบับนี้ (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่) ต้องเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของจำเลยอยู่ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่ข้อบังคับและบัญชีอัตราเงินเดือนดังกล่าวประกาศใช้ ส่วนที่มีข้อความระบุในข้อ 3 ว่า "ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2547 เป็นต้นไป" นั้น มีความหมายว่าผู้ที่ยังคงเป็นพนักงานและลูกจ้างของจำเลยได้รับตัวเงินตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่นับย้อนไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ไม่มีข้อความให้จำเลยจ่ายเงินเดือนในอัตราตามบัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่ให้ผู้ที่ไม่ได้เป็นพนักงานของจำเลยแล้วย้อนหลังไปถึงวันที่ 1 เมษายน 2547 ด้วย
โจทก์พ้นจากการเป็นพนักงานของจำเลยในวันที่ 1 ธันวาคม 2547 ไม่ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) นับแต่วันพ้นจากการเป็นพนักงาน จึงไม่ใช่พนักงานผู้ได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือนพนักงาน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 (บัญชีอัตราเงินเดือนเดิม) ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2547 แล้ว ไม่ใช่ผู้เป็นพนักงานของจำเลย ณ วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2548 ที่บัญชีอัตราเงินเดือนเดิมถูกยกเลิกไปตามข้อบังคับว่าด้วยการจัดระเบียบบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 โจทก์จึงไม่อยู่ในฐานะที่จะได้รับเงินเดือนตามบัญชีอัตราเงินเดือน (บัญชีหมายเลข 1) ท้ายข้อบังคับองค์การตลาดว่าด้วยการจัดระเบียบริหารงาน พ.ศ.2544 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2548 (บัญชีอัตราเงินเดือนที่ปรับใหม่)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 285/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีเงินได้ที่ทดรองจ่ายแทนลูกจ้างที่ลาออก และสิทธิในการเรียกคืนจากลูกจ้าง
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 45 วรรคหนึ่ง ให้อำนาจศาลแรงงานไว้โดยเฉพาะที่จะเรียกพยานหลักฐานใด ๆ มาสืบและรับฟังพยานหลักฐานใด ๆ ที่เห็นว่าจะทำให้ได้ความชัดแจ้งในข้อเท็จจริงแห่งคดี เพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมแก่คู่ความ แม้โจทก์จะส่งสัญญาจ้างซึ่งเป็นเอกสารสำคัญแห่งคดีประกอบคำเบิกความพยานบุคคลของโจทก์โดยไม่ยื่นต่อศาลและไม่ส่งสำเนาให้จำเลยก่อนวันสืบพยาน เพิ่งส่งประกอบคำเบิกความของพยานบุคคลของโจทก์ในวันสืบพยาน ศาลแรงงานภาค 9 ก็มีอำนาจสั่งรับสัญญาจ้างไว้ และรับฟังเป็นพยานหลักฐานของโจทก์ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
โจทก์เป็นผู้จ่ายเงินได้ให้แก่จำเลยซึ่งเป็นผู้มีเงินได้ โจทก์มิได้หักและนำเงินส่งหรือได้หักและนำเงินส่งแล้วแต่ไม่ครบจำนวนที่ถูกต้องซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดร่วมกับจำเลยในการเสียภาษีที่ต้องชำระตามจำนวนที่มิได้หักและนำส่งหรือตามจำนวนที่ขาดไปแล้ว การที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาดไปเพื่อปลดเปลื้องความรับผิดของโจทก์ที่ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยด้วยจึงมิได้เป็นการกระทำไปโดยปราศจากอำนาจ แม้ในขณะที่โจทก์ชำระภาษีเงินได้ส่วนที่ขาด จำเลยจะลาออกจากงานแล้ว แต่ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้เกิดขึ้นตั้งแต่ขณะที่จำเลยยังมิได้ลาออกจากงาน การที่จำเลยลาออกจากงานและมิได้เป็นลูกจ้างของโจทก์แล้วจึงไม่ทำให้ความรับผิดในการเสียภาษีเงินได้ของจำเลยที่ยังขาดจำนวนอยู่ระงับไปด้วย โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าภาษีเงินได้ที่โจทก์จ่ายแทนจำเลยไปจากจำเลยได้
ป.รัษฎากร มาตรา 63 ไม่ประสงค์จะให้ผู้มีเงินได้พิพาทหรือโต้แย้งกับผู้จ่ายเงินได้ที่หักภาษีเงินได้ไว้และนำส่งแล้วอันอาจเกิดอุปสรรคในการจัดเก็บภาษีเงินได้ แม้โจทก์จะตรวจสอบพบในภายหลังว่า โจทก์มิได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายไว้หรือหักไว้ไม่ครบถ้วนตามวิธีที่ ป.รัษฎากรกำหนด และโจทก์ทดรองเงินของตนนำส่งให้กรมสรรพากรแทนจำเลยไป หากจำเลยเห็นว่าจำนวนเงินที่นำส่งเกินกว่าจำนวนภาษีเงินได้ที่จำเลยควรต้องเสีย จำเลยก็ชอบที่จะดำเนินการขอคืนจากกรมสรรพากรตามมาตรา 63 เช่นกัน จะอ้างว่าโจทก์มิได้หักไว้ก่อนและโจทก์จ่ายเกินจำนวนไปเอง จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ในจำนวนที่โจทก์ทดรองจ่ายแทนไปไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 719/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และการจ่ายเงินสมทบเมื่อลูกจ้างลาออก
เมื่อจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพกลุ่มบริษัท อ. ซึ่งจดทะเบียนแล้วคือจำเลยที่ 2 ขึ้น จำเลยที่ 2 จึงเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยที่ 1 ตาม พ.ร.บ.กองทุนสำรองเลี้ยงชีพฯ มาตรา 7 คณะกรรมการกองทุนจำเลยที่ 2 หรือผู้จัดการกองทุนมีหน้าที่จ่ายเงินให้ลูกจ้างเมื่อลูกจ้างสิ้นสมาชิกภาพตามมาตรา 23 โดยจำเลยที่ 1 ไม่มีอำนาจและหน้าที่ในการจัดการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยที่ 1 จ่ายเงินจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจำเลยที่ 2 ให้แก่โจทก์ ปัญหานี้แม้จำเลยจะมิได้ยกมาอุทธรณ์ แต่อำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) และมาตรา 246 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31
แม้จำเลยที่ 2 จะมีข้อบังคับฯ ข้อ 9.15 ระบุว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าระหว่างนายจ้างกับบริษัทจัดการ หรือบริษัทจัดการกับสมาชิก ทายาท ตัวแทนของสมาชิก หรือผู้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกผู้นั้น ในเรื่องเกี่ยวกับกองทุนหรือการบริหารกองทุนหรือสิทธิหรือผลประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากกองทุนนี้ คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากตามที่ได้ระบุไว้ในวรรคแรกของข้อ 4.2.9" ก็ตาม แต่แนวทางระงับข้อพิพาทตามข้อบังคับฯ ดังกล่าวมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำข้อพิพาทให้คณะกรรมการกองทุนตัดสินก่อนก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 2 มีข้อบังคับฯ ระบุข้อยกเว้นที่สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบเพียง 6 ประการ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างลาออกหรือการตกลงเลิกสัญญาจ้างแรงงานด้วย เมื่อโจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำผิดประการใดใน 6 ประการที่กำหนดไว้ จำเลยที่ 2 จึงต้องจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบให้แก่โจทก์
แม้จำเลยที่ 2 จะมีข้อบังคับฯ ข้อ 9.15 ระบุว่า "ข้อพิพาทใดๆ ที่เกิดขึ้นไม่ว่าระหว่างนายจ้างกับบริษัทจัดการ หรือบริษัทจัดการกับสมาชิก ทายาท ตัวแทนของสมาชิก หรือผู้รับสิทธิประโยชน์ของสมาชิกผู้นั้น ในเรื่องเกี่ยวกับกองทุนหรือการบริหารกองทุนหรือสิทธิหรือผลประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากกองทุนนี้ คณะกรรมการกองทุนจะเป็นผู้ตัดสินข้อพิพาทนั้นโดยคะแนนเสียงข้างมากตามที่ได้ระบุไว้ในวรรคแรกของข้อ 4.2.9" ก็ตาม แต่แนวทางระงับข้อพิพาทตามข้อบังคับฯ ดังกล่าวมิใช่ขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติก่อนจึงจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 8 วรรคสอง แต่อย่างใด ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้นำข้อพิพาทให้คณะกรรมการกองทุนตัดสินก่อนก็มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
จำเลยที่ 2 มีข้อบังคับฯ ระบุข้อยกเว้นที่สมาชิกไม่มีสิทธิได้รับเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบเพียง 6 ประการ ซึ่งข้อยกเว้นดังกล่าวไม่รวมถึงกรณีลูกจ้างลาออกหรือการตกลงเลิกสัญญาจ้างแรงงานด้วย เมื่อโจทก์ลาออกจากการเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 โดยมิได้กระทำผิดประการใดใน 6 ประการที่กำหนดไว้ จำเลยที่ 2 จึงต้องจ่ายเงินสมทบและผลประโยชน์จากเงินสมทบให้แก่โจทก์