พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5509-5510/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: ศาลพิจารณาเหตุผลความจำเป็นและผลกระทบต่อลูกจ้างสูงอายุ
จำเลยอุทธรณ์ว่า ศาลแรงงานกลางรับฟังพยานหลักฐานเพียงว่า จำเลยจ่ายเงินเดือนหรือโบนัสให้แก่ลูกจ้างในปีที่ผ่านมา โดยมิได้รับฟังข้อเท็จจริงตามงบการเงินที่แสดงถึงฐานะแห่งกิจการของจำเลยอย่างแท้จริงตามที่ผู้สอบบัญชีแสดงความเห็นเชิงลบอย่างร้ายแรงต่อสถานะของกิจการของจำเลยว่าที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับความสามารถในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่องของกิจการซึ่งถือเป็นความไม่แน่นอนที่สำคัญ หากไม่สามารถดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องแล้ว จำเลยอาจจำเป็นต้องปรับปรุงมูลค่าสินทรัพย์ใหม่ จัดประเภทสินทรัพย์และหนี้สินใหม่ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป แต่ศาลแรงงานกลางกลับให้น้ำหนักพยานหลักฐานประกอบ อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายและไม่เป็นธรรมต่อนายจ้างที่ประสบภาวะขาดทุนเช่นจำเลยนั้น เห็นว่า อุทธรณ์ของจำเลยดังกล่าวประสงค์ที่จะให้ศาลฎีการับฟังว่าจำเลยประสบภาวะขาดทุนจนประกอบกิจการต่อไปไม่ได้นั่นเอง อันเป็นการอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลแรงงานกลาง จึงเป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
การวินิจฉัยว่ากรณีใดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ศาลชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นหลักในการวินิจฉัยและฟังว่า จำเลยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุนจนประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เพราะยังได้จ่ายเงินเพิ่มหรือโบนัสให้ลูกจ้างในปีที่ผ่านมาประกอบกับจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองและลูกจ้างอื่นอีก 5 คน จากลูกจ้างทั้งหมดประมาณ 240 คน โดยที่โจทก์ทั้งสองทำงานมานานและอายุมากแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานในสิ้นปี 2546 ซึ่งประเมินลูกจ้างทุกคนประจำปีไว้ก่อนการเลิกจ้างและถือคะแนนการประเมินเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่ามีการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใด แต่หลักเกณฑ์การเลิกจ้างดังกล่าวจำเลยก็มิได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าจะใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานปี 2546 มาเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า กรณีเช่นนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หาใช่เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยอุทธรณ์มาไม่
การวินิจฉัยว่ากรณีใดเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมหรือไม่นั้น ศาลชอบที่จะพิจารณาถึงสาเหตุแห่งการเลิกจ้างเป็นสำคัญว่ามีเหตุอันจำเป็นหรือสมควรเพียงพอที่จะเลิกจ้างหรือไม่ เมื่อศาลแรงงานกลางนำข้อเท็จจริงที่ฟังมาเป็นหลักในการวินิจฉัยและฟังว่า จำเลยไม่ได้ประสบภาวะขาดทุนจนประกอบกิจการต่อไปไม่ได้ เพราะยังได้จ่ายเงินเพิ่มหรือโบนัสให้ลูกจ้างในปีที่ผ่านมาประกอบกับจำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองและลูกจ้างอื่นอีก 5 คน จากลูกจ้างทั้งหมดประมาณ 240 คน โดยที่โจทก์ทั้งสองทำงานมานานและอายุมากแล้วว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์ทั้งสองเป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แม้จำเลยจะอ้างว่าจำเลยได้ใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานในสิ้นปี 2546 ซึ่งประเมินลูกจ้างทุกคนประจำปีไว้ก่อนการเลิกจ้างและถือคะแนนการประเมินเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง โดยไม่ปรากฏว่ามีการกลั่นแกล้งโจทก์ทั้งสองแต่อย่างใด แต่หลักเกณฑ์การเลิกจ้างดังกล่าวจำเลยก็มิได้ประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทราบว่าจะใช้หลักเกณฑ์ผลการประเมินการปฏิบัติงานปี 2546 มาเป็นเกณฑ์การเลิกจ้าง คำวินิจฉัยของศาลแรงงานกลางจึงเป็นการวินิจฉัยถึงเหตุแห่งการเลิกจ้างว่า กรณีเช่นนี้เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 49 หาใช่เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายดังที่จำเลยอุทธรณ์มาไม่