คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกจ้างโอนย้าย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3614/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิการจ้างและอายุงานต่อเนื่องเมื่อมีการโอนลูกจ้างจากธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังการเคหะแห่งชาติ
ตามประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 316 ข้อ 5 กำหนดให้โอนทรัพย์สิน สิทธิ หนี้ และความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์เฉพาะที่เกี่ยวกับธุรกิจตามมาตรา 27(1) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ. 2496 ให้แก่การเคหะแห่งชาติจำเลยและในส่วนที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน สิทธิ อาคาร และหนี้นั้น ให้ธนาคารอาคารสงเคราะห์และจำเลยทำความตกลงกัน ถ้าตกลงกันไม่ได้ให้คณะรัฐมนตรีชี้ขาดและตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 577 วรรคแรกนายจ้างจะโอนสิทธิของตนให้แก่บุคคลภายนอกก็ได้เมื่อลูกจ้างยินยอมพร้อมใจด้วย การโอนสิทธิการจ้างเช่นนี้ฐานะความเป็นลูกจ้างของลูกจ้างย่อมไม่สิ้นสุดลง เมื่อโจทก์มาทำงานกับจำเลยก็เพราะผลของการโอนตามประกาศของคณะปฏิวัติมิใช่โจทก์มาสมัครเข้าทำงานกับจำเลยใหม่ ฐานะความเป็นลูกจ้างของโจทก์ย่อมไม่สิ้นสุดลง และตามข้อ 5 ของประกาศคณะปฏิวัติระบุชัดว่า ให้โอนความรับผิดชอบของธนาคารอาคารสงเคราะห์มายังจำเลยด้วย ดังนั้น เมื่อมิได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น การนับอายุการทำงานของโจทก์จึงต้องนับต่อเนื่องกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่โอนย้าย - การจ่ายค่าเช่าบ้านหลังบรรจุ - ข้อบังคับ กปภ. - ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
บทบัญญัติมาตรา 52 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 ที่ว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ.ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่าที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลางก่อนจนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้ มีความหมายว่าข้าราชการหรือลูกจ้างที่จะโอนไปเป็นพนักงานของจำเลย จะได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมเมื่อยังไม่ได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลย แต่เมื่อได้รับการบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว คงมีเงื่อนไขว่าจะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย
เดิมโจทก์รับราชการอยู่กองประปา ชนบท กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน แต่ตามคำฟ้องไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าค่าเช่าบ้านดังกล่าวเป็นค่าจ้างจึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นเงินประเภท "สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ" ตามพระราชบัญญัติการประปาส่วนภูมิภาค มาตรา 52 วรรคสาม ดังนั้น เมื่อโจทก์โอนมาเป็นพนักงานของจำเลยและได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องค่าเช่าบ้านที่ได้รับอยู่เดิมจากจำเลยได้
ข้อบังคับการประปาส่วนภูมิภาคว่าด้วยการจ่ายเงินค่าเช่าบ้านของผู้ปฏิบัติงาน พ.ศ. 2523 ข้อ 5(2) กำหนดว่า "ผู้ซึ่ง กปภ.บรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกในท้องที่ใดและยังคงปฏิบัติงานประจำในท้องที่นั้น ไม่มีสิทธิได้รับค่าเช่าบ้าน" ดังนั้น เมื่อโจทก์ได้รับบรรจุและแต่งตั้งให้เริ่มปฏิบัติงานครั้งแรกใน กรุงเทพมหานคร และยังคงปฏิบัติงานประจำอยู่ในกรุงเทพมหานคร โจทก์จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2331/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ของลูกจ้างที่โอนย้าย: การจ่ายค่าเช่าบ้านตามกฎหมายและข้อบังคับ กปภ.
ตาม พ.ร.บ. การประปาส่วนภูมิภาค พ.ศ. 2522 มาตรา 52 วรรคสามบัญญัติว่า "ให้ข้าราชการหรือลูกจ้างที่โอนไปเป็นพนักงานหรือลูกจ้างของ กปภ. ตามวรรคหนึ่ง ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างรวมทั้งสิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่เคยได้รับอยู่เดิมไปพลาง ก่อน จนกว่าผู้ว่าการจะได้บรรจุและแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง แต่จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเงินเดือนหรือค่าจ้างที่ได้รับอยู่เดิมไม่ได้" ตามบทบัญญัตินี้ย่อมมีความหมายว่า เมื่อข้าราชการที่โอนไปเป็นพนักงานของจำเลยได้รับบรรจุแต่งตั้งจากผู้ว่าการแล้ว จะแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือนหรือค่าจ้างต่ำกว่าเดิมไม่ได้ โดยไม่รวมถึงสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ด้วย โจทก์เป็นข้าราชการที่โอนมาและได้รับบรรจุและแต่งตั้งจากผู้ว่าการของจำเลยแล้ว โจทก์จึงไม่อาจเรียกร้องสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เท่ากับที่ได้รับอยู่เดิมก่อนโอนมา เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงในคำฟ้องว่าค่าเช่าบ้านเป็นค่าจ้าง จึงถือว่าเป็นเงินสวัสดิการ จัดเป็นประเภท"สิทธิและประโยชน์ต่าง ๆ" ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องจากจำเลยได้ตามบทบัญญัติกฎหมายข้างต้น.