คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกน้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 7 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4086/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางแพ่งของข้าราชการและผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตยักยอกเงินของลูกน้อง, อายุความ
จำเลยที่ 1 มิได้ให้การว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมเพิ่งมายกขึ้นกล่าวอ้างในชั้นอุทธรณ์ ฎีกา จึงเป็นเรื่องนอกคำให้การ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
จำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุมโดยมิได้กล่าวให้ชัดแจ้งว่าเคลือบคลุมอย่างไร จึงเป็นคำให้การที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรคสอง แม้ในชั้นฎีกาจำเลยที่ 2 จะได้ฎีกาโดยกล่าวรายละเอียดมาศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้แล้วว่าพันตำรวจตรีพ.ยักยอกเงินไปในระหว่างวันใดถึงวันใดและกล่าวถึงยอดเงินที่ ยักยอกไปว่ารวมทั้งหมดเท่าใด ทั้งยังส่งรายละเอียดเงินขาดบัญชี ระบุประเภทของเงินที่ขาดบัญชีว่าพันตำรวจตรีพ. รับเงินดังกล่าวไปเมื่อใด เป็นจำนวนเงินเท่าใด แนบมาท้ายฟ้องตามเอกสารหมายเลข 2 ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง ฟ้องโจทก์จึงแจ้งชัดพอเข้าใจได้แล้วไม่จำต้องแสดงหลักฐานการรับเงินแต่อย่างใด เพราะเป็นเรื่องรายละเอียดที่ไม่จำต้องบรรยายในคำฟ้องแต่อาจนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
แม้จำเลยทั้งสามให้การเพียงว่า หนังสือมอบอำนาจไม่สมบูรณ์โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง โดยไม่มีรายละเอียดว่าไม่สมบูรณ์อย่างไรแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของ ประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยให้ตามฎีกาของจำเลยได้
เมื่อไม่มีกฎหมายหรือข้อบังคับไว้ว่า การมอบอำนาจให้ฟ้องคดีของโจทก์จะต้องมีตราประจำตัวอธิบดีกรมตำรวจประทับไว้ด้วยแม้ใบมอบอำนาจจะ ลงชื่ออธิบดีกรมตำรวจโดยไม่มีตราประทับก็เป็นใบมอบอำนาจที่มีผลใช้บังคับได้
คดีนี้โจทก์เป็นกรมในรัฐบาล ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียอากรตามประมวลรัษฎากร มาตรา 121 แม้ใบมอบอำนาจให้ฟ้องคดีจะไม่ปิดอากรแสตมป์ให้บริบูรณ์ใบมอบอำนาจดังกล่าวก็เป็นใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์ ผู้รับมอบอำนาจจากโจทก์มีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาของพันตำรวจตรีพ.มีหน้าที่ต้องตรวจสอบและควบคุมการทำงานของผู้ใต้บังคับบัญชามิให้ บกพร่องหรือเกิดการทุจริตขึ้นหากจำเลยที่ 1 ตรวจสอบ ควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของผู้ใต้บังคับบัญชาอยู่เสมอจำเลยที่ 1 ก็น่าจะทราบว่าพันตำรวจตรีพ. มิได้จัดทำบัญชีตามระเบียบของทางราชการเลขภายในเวลาไม่นานหลังจากเข้ารับตำแหน่งในกองบัญชาการศึกษาจำเลยที่ 1เข้ามารับหน้าที่ในตำแหน่งผู้บัญชาการศึกษาในปี 2517 และเหตุทุจริตเกิดขึ้นในปี 2519 หลังจากจำเลยที่ 1 เข้ามารับงานถึง 2 ปีแสดงว่าในระหว่างระยะเวลาดังกล่าว จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบของพันตำรวจตรีพ.มิได้ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ จึงไม่พบข้อบกพร่องดังกล่าวเป็นเหตุให้พันตำรวจตรีพ. ถือโอกาสนำเงินของราชการไปใช้ประโยชน์ส่วนตัว นับเป็นความประมาทเลินเล่อของผู้บังคับบัญชา เมื่อเกิดความเสียหายจากการกระทำของพันตำรวจตรีพ. จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3ได้ความว่า จำเลยที่ 1 มอบหมายหน้าที่การงานให้รับผิดชอบร่วมกันเกี่ยวกับการเงินที่พันตำรวจตรีพ. ปฏิบัติหน้าที่อยู่ เมื่อไม่ตรวจตราควบคุมให้พันตำรวจตรีพ.ปฏิบัติให้ถูกต้องตามระเบียบก็ต้องรับผิดร่วมกับพันตำรวจตรีพ. ด้วย
เมื่อมีการทราบเรื่องว่าพันตำรวจตรีพ. ยักยอกเงินในปี 2520แต่ไม่ทราบว่ามีผู้อื่นจะต้องรับผิดชอบทางแพ่งร่วมกับพันตำรวจตรีพ.หรือไม่ จึงได้มีการตั้งกรรมการสอบสวนหาตัวผู้รับผิดชอบทางแพ่งเมื่อปี 2522 คณะกรรมการดำเนินการเสร็จแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสามจะต้องรับผิด และเสนอเรื่องต่อผู้บังคับบัญชาไปตามลำดับชั้น ผลที่สุดผู้ช่วยอธิบดีกรมตำรวจปฏิบัติราชการแทนอธิบดีกรมตำรวจ สั่งให้ฟ้องจำเลยทั้งสาม เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม2524 ถือว่าโจทก์ได้ทราบตัวผู้ที่จะต้องร่วมรับผิดกับพันตำรวจตรีพ. ใช้เงินให้โจทก์ในวันดังกล่าว โจทก์ได้ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่25 มิถุนายน 2525 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4437/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของกรมตำรวจต่อการกระทำละเมิดของลูกน้องขณะปฏิบัติหน้าที่
การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายตำรวจใช้จำเลยที่ 1 พนักงานขับรถยนต์ซึ่งอยู่ใต้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 2 นำรถออกนอกพื้นที่โดยมิได้ขออนุมัติก่อน แม้จะเป็นการฝ่าฝืนระเบียบที่วางไว้ก็ตาม เมื่อฟังได้ว่าการที่จำเลยที่ 2 สั่งให้จำเลยที่ 1 นำรถออกนอกพื้นที่เป็นการเดินทางไปปฏิบัติหน้าที่ราชการมิใช่เป็นการไปทำธุระในเรื่องส่วนตัวของจำเลยที่ 2ดังนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 ไปกระทำละเมิด ก็ต้องถือว่าการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการของจำเลยที่ 2 อันเป็นผลให้กรมตำรวจจำเลยที่ 3 ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2467/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการทุจริตของลูกน้อง และการคำนวณค่าเสียหายที่ต้องรับผิดชอบ
คำฟ้องเรียกค่าเสียหายในคดีละเมิดได้บรรยายค่าเสียหายไว้ตามบัญชีที่ 1 กับรายการโฆษณาตามบัญชีที่ 3 ท้ายฟ้อง มีชื่อผู้เช่าและระบุวันเดือนปีที่ออกรายการ รวมทั้งเงินค่าเช่าและจำนวนเงินที่ค้างชำระไว้ด้วย ซึ่งก็ชัดแจ้งเพียงพอที่จำเลยที่ 3 จะเข้าใจและต่อสู้คดีได้แล้ว ส่วนรายละเอียดอื่นกับหลักฐานอันเป็นที่มาของรายการดังกล่าวเป็นเรื่องที่โจทก์จะนำสืบในชั้นพิจารณาคดี คำฟ้องโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เคลือบคลุม
ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ได้กำหนดให้ผู้บังคับบัญชาเข้มงวดกวดขันการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชีให้เป็นไปตามระเบียบแบบแผนของทางราชการ หากละเลยไม่ปฏิบัติตามก็ให้พิจารณาความรับผิดทางแพ่งและพิจารณาโทษทางวินัยด้วย จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นข้าราชการของโจทก์ ในตำแหน่งรับผิดชอบควบคุมบังคับบัญชาการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 แต่ปล่อยปละละเลยไม่เอาใจใส่ควบคุมดูแลและตรวจสอบการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ตามระเบียบของกระทรวงการคลังจนจำเลยที่ 1 ทำละเมิดและก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เข้าลักษณะประมาทเลินเล่อและมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ด้วย จำเลยที่ 2 ที่ 3 จึงต้องร่วมรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงเวลาที่แต่ละคนเป็นผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 1 โดยถือว่าจำเลยทั้งสองก็มีส่วนทำละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1212/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การป้องกันตัวที่สมควรแก่เหตุ: กรณีหัวหน้ายามถูกลูกน้องทำร้ายและป้องกันตนเอง
จำเลยเป็นหัวหน้ายาม เป็นผู้บังคับบัญชาของผู้ตาย ผู้ตายไม่ได้อยู่ยามตามหน้าที่ จำเลยสอบถามดูแต่โดยดีผู้ตายกลับพูดทำนองไม่ยำเกรงจำเลยซึ่งเป็นหัวหน้า และตรงเข้าต่อยเตะจำเลยทันที การที่จำเลยชกต่อยตอบโต้ไปบ้างย่อมเป็นสิทธิของจำเลยที่จะป้องกันได้ หาจำต้องให้ผู้ตายทำร้ายแต่ฝ่ายเดียวไม่ ไม่ใช่เป็นเรื่องสมัครใจเข้าวิวาททำร้ายร่างกายซึ่งกันและกัน และเมื่อผู้ตายเตะต่อยจำเลยล้มลงไปแล้วยังยืนรอจะทำร้ายจำเลยอีก พอจำเลยลุกขึ้นผู้ตายได้แทงจำเลยอีก 2 ครั้ง ครั้งที่สองถูกหน้าท้องถึงไส้ไหลจำเลยจึงใช้อาวุธปืนยิงไป 1 นัด ในระยะห่าง 1 วา ขณะที่ผู้ตายขยับจะแทงเอาอีก หากจำเลยไม่ยิงผู้ตายก็อาจเข้าทำร้ายจำเลยถึงตายได้ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกันพอสมควรแก่เหตุ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 681/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ว่าราชการจังหวัดต่อความเสียหายจากการทุจริตของลูกน้อง และการฟ้องร่วมสำหรับความเสียหาย
คำบรรยายฟ้องที่ถือว่าไม่เคลือบคลุมและฟ้องไม่ขาดอายุความ
คณะรัฐมนตรีมีมติให้ส่งข้าวไปจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร และมอบให้กระทรวงเศรษฐการกับกระทรวงมหาดไทยดำเนินการ กระทรวงเศรษฐการจัดส่งข้าวไปที่คลังข้าวจังหวัดชุมพร แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองเป็นผู้ไปรับข้าวจากคลังจังหวัดชุมพร ไปยังจังหวัดระนองและจัดการจำหน่ายแก่ประชาชน ในการขนข้าวจากชุมพรไปยังระนองนั้น กระทรวงมหาดไทยจ้างให้ผู้อื่นเป็นผู้ขน แล้วผู้ว่าราชการจังหวัดระนองก็มอบให้จ่าจังหวัดระนองเป็นผู้รับข้าวและจำหน่ายข้าว เงินที่จำหน่ายข้าวได้จะต้องส่งไปใช้ค่าข้าวแก่กระทรวงเศรษฐการ และใช้ค่าจ้างขนส่งข้าวแก่กระทรวงมหาดไทย การดำเนินการของกระทรวงทั้งสองนี้เป็นการปฏิบัติราชการตามมติคณะรัฐมนตรี เป็นเรื่องดำเนินการในทางปกครอง มิใช่เรื่องประกอบการค้าขาย เมื่อกระทรวงทั้งสองเป็นโจทก์ฟ้องผู้ว่าราชการจังหวัดกัาบจ่าจังหวัดเรียกเงินที่ค้างชำระ จำเลยจะต่อสู้ว่าการค้าข้าวที่กระทรวงทั้งสองทำไปเป็นการนอกเหนืออำนาจหน้าที่เพราะโจทก์ไม่มีวัตถุประสงค์จะทำการค้า จำเลยจึงไม่มีหน้าที่ทางราชการที่จะต้องรับผิดต่อโจทก์หาได้ไม่
การที่กระทรวงทั้งสองนั้นเป็นโจทก์ฟ้องคดีรวมกันมา โดยกระทรวงเศรษฐการเรียกร้องให้ร่วมกันใช้เงินค่าข้าว และกระทรวงมหาดไทยเรียกร้องให้ใช้ค่าขนข้าว เมื่อศาลชั้นต้นรับฟ้องไว้ดำเนินกระบวนพิจารณาจนเสร็จการ พิจารณาพิพากษาแล้ว ก็ไม่มีเหตุที่จะถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย และไม่มีเหตุควรยกฟ้องหรือให้โจทก์ไปฟ้องร้องใหม่ และเมื่อมูลกรณีเกิดในเขตศาลจังหวัดระนอง มูลความแห่งคดีไม่อาจแบ่งอยกจากกันได้ และจำเลยบางคนมีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ โจทก์ย่อมฟ้องจำเลยทั้งหมดต่อศาลนี้ได้ รวมทั้งจำลยที่ไม่มีภูมิลำเนาในเขตศาลนี้ด้วย
กระทรวงเศรษฐการส่งข้าวมาให้เจ้าหน้าที่จังหวัดระนองเป็นผู้จัดจำหน่ายเพื่อบรรเทาความขาดแคลนของราษฎร ไม่ใช่เป็นเรื่องจังหวัดระนองซื้อข้าวมาจำหน่าย ข้าวสารที่ส่งมาจำหน่ายและเงินที่จำหน่ายได้จึงเป็นของกระทรวงเศรษฐการ กระทรวงเศรษฐการมีอำนาจฟ้องเรียกเงินค่าข้าวได้
จ่าจังหวัดได้รับมอบให้เป็นผู้ดำเนินการจำหน่ายข้าว และรู้ระเบียบดีแล้วว่าจะต้องรีบเก็บเงินที่ขายข้าวได้ส่งไปให้กระทรวงเศรษฐการ เงินนี้มิใช่เงินในงบประมาณของจังหวัด ไม่มีเหตุที่จะเข้าใจผิดว่าทางจังหวัดจะเอาเงินนี้ไปใช้ในราชการของจังหวัดได้โดยชอบ ถ้านำเงินนี้จ่ายไปในราชการของจังหวัด แม้จะจ่ายไปตามคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด ตนก็ไม่พ้นความรับผิด เพราะมิใช่คำสั่งตามคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดปฏิบัติงานในหน้าที่โดยอาการที่เสี่ยงต่อความรับผิดชอบในเขตจังหวัดที่ตนมอบหมายเอง เมื่อจ่าจังหวัดทำละเมิดก็ไม่พ้นความรับผิด
ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบในการรับจะจำหน่ายข้าว ตามระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการนี้ขอมอบหมายให้จ่ายจังหวัดทำหน้าที่นี้ ก็ย่อมเป็นการมอบหมายการงานในหน้าที่ของตนให้ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาดำเนินการ ถ้าผู้ว่าราชการจังหวัดละเลยไม่ควบคุมจนเป็นเหตุให้จ่าจังหวัดกระทำมิชอบ กระทรวงเศรษฐการและกระทรวงมหาดไทยเสียหาย ผู้ว่าราชการจังหวัดก็ต้องรับผิดในความเสียหายด้วย จะอ้างว่าจ่าจังหวัดมิใช่ลูกจ้างของตนและไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติต่อตัวการต่อตัวแทนหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการละเมิดของลูกน้อง และอายุความคดีละเมิด
เมื่อโจทก์คือกรมไปรษณีย์โทรเลขยังมีหน้าที่เก็บค่าเช่าโทรศัพท์แทนองค์การโทรศัพท์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ หากเงินถูกยักยอกไปโดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทำละเมิด โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้เงินให้แก่องค์การโทรศัพท์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โดยไม่คำนึงถึงว่า โจทก์จะได้ใช้เงินนั้นให้แก่องค์การโทรศัพท์แล้วหรือยัง
โจทก์แจ้งบความเรื่องยักยอก เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2499 อันถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดแล้ว แต่โจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนเมื่อ 19 เมษายน 2499 แล้วโจทก์ฟ้องคดีเรื่องละเมิดเมื่อ 9 เมษายน 2500 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
การปฏิบัติที่ผิดระเบียบของทางราชการวางไว้ แม้จะปฏิบัติกันมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้เป็นการปฏิบัติที่ชอบขึ้นมาได้ การปล่อยปละละเลยให้มีการปฏิบัติผิดระเบียบเช่นนี้ ถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ
ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่ง หากปรากฏว่าโจทก์ได้รับชดใช้จากผู้ร่วมละเมิดคนอื่นไปบ้างแล้ว จำเลยก็ย่อมจะคิดหักกับโจทก์ได้ในชั้นบังคบคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 271/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้บังคับบัญชาต่อการละเมิดของลูกน้อง และอายุความคดีละเมิด
เมื่อโจทก์คือกรมไปรษณีย์โทรเลข ยังมีหน้าที่เก็บค่าเช่าโทรศัพท์แทนองค์การโทรศัพท์ซึ่งเป็นนิติบุคคลอยู่ หากเงินถูกยักยอกไปโดยเจ้าหน้าที่ของโจทก์ทำละเมิด โจทก์ก็ต้องรับผิดใช้เงินให้แก่องค์การโทรศัพท์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลย โดยไม่คำนึงถึงว่า โจทก์จะได้ใช้เงินนั้นให้แก่องค์การโทรศัพท์แล้วหรือยัง
โจทก์แจ้งความเรื่องยักยอก เมื่อ 9 กุมภาพันธ์ 2499 อันถือว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดแล้ว แต่โจทก์เพิ่งรู้ว่าจำเลยต้องรับผิดใช้ค่าทดแทนเมื่อ 19 เมษายน 2499 แล้วโจทก์ฟ้องคดีเรื่องละเมิดเมื่อ 9 เมษายน 2500 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ
การปฏิบัติที่ผิดระเบียบของทางราชการวางไว้ แม้จะปฏิบัติกันมานานเท่าใดก็ไม่ทำให้เป็นการปฏิบัติที่ชอบขึ้นมาได้ การปล่อยปละละเลยให้มีการปฏิบัติผิดระเบียบเช่นนี้ถือว่าเป็นการประมาทเลินเล่อ ผู้บังคับบัญชาต้องรับผิดชอบ
ศาลพิพากษาให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายฐานละเมิดให้โจทก์เป็นเงินจำนวนหนึ่ง หากปรากฏว่าโจทก์ได้รับชดใช้จากผู้ร่วมละเมิดคนอื่นไปบ้างแล้ว จำเลยก็ย่อมจะคิดหักกับโจทก์ได้ในชั้นบังคับคดี