คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ลูกหนี้ร่วมกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3778/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด: ลูกหนี้ร่วมกันมีหนี้สินล้นพ้นตัว แม้มีทรัพย์สินแต่ยังไม่เพียงชำระหนี้ได้ทั้งหมด
จำเลยทั้งสองและ ส. ต่างเป็นลูกหนี้โจทก์ร่วมกัน โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้จากลูกหนี้แต่คนใดคนหนึ่ง สิ้นเชิงหรือแต่โดยส่วนก็ได้ตามแต่จะเลือก แต่จำเลยทั้งสองกับ ส. ก็ยังคงต้องผูกพันอยู่จนกว่าหนี้นั้นจะได้ชำระเสร็จสิ้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 291 ดังนั้นการที่โจทก์บังคับคดียึดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 และของ ส. แต่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองของจำเลยที่ 2 เพียงรายเดียว และรับชำระหนี้จาก ส. 7,200,000 บาท แล้วปลดจำนองให้ ส. นั้น จึงเป็นการใช้สิทธิของโจทก์ที่กระทำได้โดยชอบ
การที่ศาลจะพิพากษาให้ผู้ใดล้มละลายเป็นเรื่องที่จะต้องพิจารณาเป็นรายบุคคลเฉพาะบุคคลนั้น ๆ จะนำเหตุ ที่โจทก์ไม่ฟ้อง ส. ให้ล้มละลาย ทั้งที่ ส. เป็นลูกหนี้ร่วมกับจำเลยทั้งสองมาเป็นเหตุยกฟ้องย่อมไม่ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีหลักฐานยืนยันถึงจำนวนเงินรายได้ต่อเดือนมาแสดง ส่วนจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในที่ดินมายืนยัน อีกทั้งทรัพย์สินบางรายการก็ติดจำนองกับเป็นมรดกระหว่างพี่น้อง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยทั้งสองอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดอันจะเป็นเหตุให้ศาลยกฟ้องตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1828/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยปรับปรุงได้ตามสัญญา และภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันในหนี้ที่เกิดจากสินสมรส
หนังสือสัญญากู้เงินและหนังสือสัญญาจำนองได้ระบุดอกเบี้ยไว้ในอัตราร้อยละ 18 ต่อปี หรือดอกเบี้ยอัตราสูงสุดที่โจทก์กำหนดและระบุด้วยว่าจำเลยผู้กู้และผู้จำนองตกลงให้โจทก์ขึ้นหรือปรับปรุง อัตราดอกเบี้ยตามความเหมาะสม โดยไม่เกินกว่าที่กฎหมายอนุญาต ได้ทันทีโดยไม่ต้องแจ้งให้จำเลยทราบ และถือว่าจำเลยได้ยินยอมต่อการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยไว้ล่วงหน้าแล้ว และตามสัญญาต่อท้ายสัญญากู้เงินระบุว่าหากภายหลังวันทำสัญญาธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์เรียกเก็บได้จำเลยยินยอมให้โจทก์เรียกดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ดังนั้นการที่โจทก์ปรับอัตราดอกเบี้ยจากร้อยละ 18 ต่อปีเป็นร้อยละ 19 ต่อปี ตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่โจทก์เรียกเก็บจากลูกค้าในอัตราร้อยละ 19 ต่อปี จึงเป็นการคิดดอกเบี้ยตามสัญญากู้เงินและสัญญาจำนองที่กำหนดให้โจทก์มีสิทธิขึ้นอัตราดอกเบี้ยได้แม้จำเลยจะมิได้ผิดนัดชำระหนี้ก็ตาม ข้อสัญญาดังกล่าวจึงมิใช่เบี้ยปรับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 379 ที่ศาลจะลดลงได้ตามมาตรา 383 การที่โจทก์ปรับดอกเบี้ยตามข้อตกลงขณะจำเลยที่ 1 ผิดสัญญา เป็นแต่เพียงวิธีการหนึ่งในการเรียกเอาชำระหนี้ทั้งหมดจากจำเลยเท่านั้นไม่ทำให้สภาพของดอกเบี้ยตามข้อตกลงระหว่างโจทก์และจำเลยอันมีอยู่แต่เดิมต้องแปรเปลี่ยนเป็นเบี้ยปรับไปไม่ จำเลยที่ 1 ได้ที่ดินที่จำนองมาในระหว่างที่จำเลยที่ 1สมรสกับจำเลยที่ 3 ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นสินสมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1474(1) และเมื่อจำเลยที่ 1 นำที่ดินอันเป็นสินสมรสไปจดทะเบียนจำนองแก่โจทก์โดยจำเลยที่ 3 ให้ความยินยอม หนี้ดังกล่าวจึงเป็นหนี้ที่จำเลยที่ 1 และที่ 3 ซึ่งเป็นภริยาสามีเป็นลูกหนี้ร่วมกันตามมาตรา 1490(2) โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1006/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมกันชำระหนี้: สิทธิเรียกร้องจากผู้ค้ำประกันและการบังคับคดี
ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกันต่อเจ้าหนี้ โจทก์ผู้ค้ำประกันคนหนึ่งชำระหนี้ไปแล้ว โจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 3 ผู้ค้ำประกันร่วมกันใช้ส่วนที่จำเลยที่ 3 ต้องรับผิดได้ ในคดีที่ศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 ใช้หนี้แก่โจทก์ในฐานค้ำประกันร่วมกันนี้ มีผู้ค้ำประกันหนี้ตามคำพิพากษาของจำเลยที่ 3 โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 3 ได้ไม่ใช่กรณีที่จำเลยที่ 3 จะขอให้โจทก์บังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยที่ 1,ที่ 2 ซึ่งเป็นลูกหนี้เดิมก่อน ตาม มาตรา 688,689

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1991/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้เท่าเทียมกัน แม้กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินไม่เท่ากัน
โจทก์และธนาคาร ก. ต่างเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มีสิทธิบังคับชำระหนี้เอาจากที่ดินซึ่งจำเลยที่ 2 และ ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ร่วมกันเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินเพื่อเอาเงินแบ่งส่วนเฉลี่ยให้โจทก์และธนาคารเจ้าหนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีคิดส่วนเฉลี่ยแบ่งให้โจทก์ไม่ถูกต้อง โจทก์ย่อมมีสิทธิร้องคัดค้านการแบ่งส่วนเฉลี่ยนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 320เพราะโจทก์เป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงจากการแบ่งส่วนเฉลี่ยของเจ้าพนักงานบังคับคดี
ผู้ร้องมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดร่วมกับจำเลยที่ 2อยู่ 1 ใน 3 ส่วน และจำเลยที่ 2 มี 2 ใน 3 ส่วน แต่ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ร่วมกันทำสัญญาค้ำประกันการเบิกเงินเกินบัญชีของบุคคลอื่นต่อธนาคาร โดยมิได้แบ่งส่วนความรับผิดไว้ ต่อมาได้จำนองที่ดินที่ขายทอดตลาดนั้นให้เป็นประกันแก่ธนาคารด้วย เมื่อธนาคารฟ้องผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ให้รับผิดตามสัญญาค้ำประกัน ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ยังได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมร่วมกันชำระหนี้ตามสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีให้แก่ธนาคาร จึงถือได้ว่าผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 เป็นลูกหนี้ร่วมกันซึ่งจะต้องรับผิดต่อเจ้าหนี้เท่า ๆ กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296 เจ้าพนักงานบังคับคดีจะคิดส่วนเฉลี่ยให้ผู้ร้องรับผิดเพียง 1 ใน 3 ตามส่วนแห่งกรรมสิทธิ์ในที่ดินหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ร่วมกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดทั้งหมด ไม่สามารถแบ่งความรับผิดตามส่วนของลูกหนี้ได้
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทนในกรณีละเมิดให้โจทก์ จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่ เมื่อความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษาเช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเอง มิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้นผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรค 3 นี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 436/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ค้ำประกันลูกหนี้ร่วมกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดชอบหนี้ทั้งหมด ไม่สามารถแบ่งรับผิดเฉพาะส่วน
ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าสินไหมทดแทน ในกรณีละเมิดให้โจทก์จำเลยทั้งสองจึงเป็นลูกหนี้ร่วมกัน มีหน้าที่ต้อง ชำระหนี้ให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิง จำเลยจะแบ่งชำระให้โจทก์เป็นส่วน ๆ เฉพาะของจำเลยแต่ละคนหาได้ไม่เมื่อความรับผิดร่วมกันของ จำเลยทั้งสอง ต่อโจทก์มีอย่างนี้ ผู้ร้องกับ บ. ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ก็ต้องรับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์เสร็จสิ้นเชิงตามคำพิพากษา เช่นเดียวกัน จะให้ผู้ร้องกับ บ. รับผิดใช้ค่าสินไหมให้โจทก์เฉพาะส่วน ของจำเลยที่ 1 โดยแบ่งคนละครึ่งกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสาม เป็นบทบัญญัติว่าด้วยส่วนแบ่งความรับผิดในเมื่อมีการเรียกร้องในระหว่างผู้ที่ต้องรับผิดร่วมกัน คือ จำเลยทั้งสองด้วยกันเองมิใช่บทบัญญัติให้จำเลยทั้งสองซึ่งต้องรับผิดร่วมกัน แบ่งแยกกันใช้ค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์รับไปตามส่วนของจำเลยแต่ละคน ดังนั้น ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 จะอาศัยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 432 วรรคสามนี้มาอ้างว่าผู้ร้องมีความรับผิดเฉพาะส่วนของจำเลยที่ 1 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 850/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนเท่ากัน แม้จะมีการชำระหนี้บางส่วนไปแล้ว
ลูกหนี้ร่วมกันต้องรับผิดต่อกันเป็นส่วนเท่ากัน วิธีพิจารณาแพ่ง ฎีกาอุทธรณ์ศาลเดิมให้จำเลยใช้เงินแก่โจทก์ 1500 บาท ศาลอุทธรณ์แก้ข้อเท็จจริงอันเป็นประเด็นสำคัญแลให้จำเลยใช้เพียง 250 บาทดังนี้เป็นแก้มากคู่ความฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6237/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ตกเป็นพ้นวิสัยจากเหตุเวนคืนที่ดิน โจทก์มีสิทธิเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ร่วมกัน
ในขณะทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินและสัญญาจ้างพัฒนาที่ดินและก่อสร้างบ้าน โจทก์และจำเลยทั้งสี่ต่างทราบดีอยู่แล้วว่าที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่จะถูกเวนคืนเพื่อทำถนนเพียงแต่ยังไม่มีการสำรวจแนวเขตถนนที่แน่นอน เมื่อภายหลังมีการประกาศพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงผ่านที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสี่จึงไม่สามารถส่งมอบที่ดินพร้อมบ้านแก่โจทก์เพื่อได้ใช้ประโยชน์ตามสัญญา การชำระหนี้ย่อมตกเป็นพ้นวิสัยเพราะเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดอันจะโทษฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมิได้ จำเลยทั้งสี่ซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกันย่อมไม่มีสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้ตอบแทนตาม ป.พ.พ. มาตา 372 วรรคแรก โจทก์มีสิทธิเรียกเงินที่ชำระคืนจากจำเลยทั้งสี่