พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องที่ไม่สมบูรณ์: เจตนาที่แท้จริงคือการรับชำระหนี้จากลูกหนี้เดิม ไม่ใช่การโอนสิทธิ
โจทก์อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัด จ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด บ. ได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าปอที่ห้างทั้งสองขายปอให้จำเลยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ และการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสมบูรณ์แล้วเพราะโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังจำเลย แต่เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าหลังจากโจทก์มีหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้วโจทก์ก็ยังปฏิบัติเป็นการรับรู้และรับรองสิทธิในการรับเงินค่าปอของห้างทั้งสองที่มีต่อจำเลยโดยมิได้มีการโต้แย้ง ทั้งยังมิได้ตั้งเอาไว้ในบัญชีของโจทก์ว่า จำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ ยังถือว่าห้างทั้งสองเป็นลูกหนี้ของโจทก์อยู่อย่างเดิม มูลหนี้เดิมมีอยู่เท่าใดก็มิได้ลดลงไปตามจำนวนสิทธิที่อ้างว่าได้รับโอนมา ประกอบกับโจทก์มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ว่าโจทก์อาศัยอำนาจความเป็นเจ้าหนี้ของห้างทั้งสองติดตามรับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3284/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องหนี้ค่าปอที่ไม่สมบูรณ์ แม้มีการแจ้งการโอน แต่เจตนาจริงคือติดตามหนี้จากลูกหนี้เดิม
โจทก์อ้างว่า ห้างหุ้นส่วนจำกัดจ. และห้างหุ้นส่วนจำกัด บ.ได้โอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าปอที่ห้างทั้งสองมีต่อจำเลยให้แก่โจทก์เพื่อชำระหนี้เงินกู้ และการโอนสิทธิเรียกร้องดังกล่าวสมบูรณ์เพราะโจทก์ได้มีหนังสือแจ้งการโอนไปยังจำเลยแล้ว แต่หลังจากโจทก์มีหนังสือแจ้งดังกล่าวแล้ว ห้างทั้งสองก็ยังคงรับเงินค่าปอจากจำเลยโดยโจทก์รับรู้และรับรองสิทธิในการรับเงินค่าปอของห้างทั้งสองโดยมิได้มีการโต้แย้ง ทั้งมิได้ตั้งไว้ในบัญชีของโจทก์ว่าจำเลยเป็นลูกหนี้ของโจทก์ แต่ยังถือว่าห้างทั้งสองเป็นลูกหนี้ของโจทก์อยู่อย่างเดิม มูลหนี้เดิมมีอยู่เท่าใดก็มิได้ลดลงไปตามจำนวนสิทธิที่อ้างว่าได้รับโอนมา ประกอบกับโจทก์มีพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นเจตนาอันแท้จริงของโจทก์ว่า โจทก์อาศัยอำนาจความเป็นเจ้าหนี้ของห้างทั้งสองติดตามรับเงินเพื่อเป็นการชำระหนี้ของโจทก์เท่านั้น กรณีจึงถือไม่ได้ว่าเป็นการโอนสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้จำเลยชำระหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2366/2517
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ใหม่และการรับผิดของลูกหนี้เดิมฐานละเมิด กรณีไม่มีการเปลี่ยนตัวลูกหนี้
จำเลยเป็นหัวหน้าฝ่ายการเงินของโรงเรียนของโจทก์ ร. เป็นเสมียนการเงิน จำเลยได้กระทำละเมิดโดยประมาทเลินเล่อ ทำให้เงินของโจทก์สูญหายไป แล้ว ร. ได้ทำหนังสือรับสภาพหนี้ไว้แก่ผู้จัดการโรงเรียนด้วยความรู้เห็นยินยอมของโจทก์ โดยยินยอมผ่อนใช้เงินให้ ดังนี้จะถือว่าเป็นการแปลงหนี้ใหม่โดยเปลี่ยนตัวลูกหนี้หาได้ไม่ เพราะร. และจำเลยต่างก็เป็นลูกหนี้เดิมฐานละเมิดต่อโจทก์อยู่แล้ว ไม่มีการเปลี่ยนตัวเอาลูกหนี้คนใหม่หรือบุคคลที่สามเข้ามาเป็นลูกหนี้แทนลูกหนี้เดิมแต่อย่างใด มูลหนี้ฐานละเมิดซึ่งเป็นหนี้เดิมของจำเลยจึงหาระงับไปไม่ จำเลยไม่พ้นความรับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 213/2504 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขาย, การแปลงหนี้, และการรับสภาพหนี้: ความรับผิดของลูกหนี้เดิม
จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นข้าราชการบำนาญขอซื้อไม้จากโจทก์โดยมิได้แจ้งว่าเป็นตัวแทนผู้ใด โจทก์เข้าใจว่าจำเลยที่ 1 ซื้อเองจึงลดราคาไม้ให้ สัญญานี้จึงเป็นสัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 โดยตรง ผู้อื่นจะแสดงว่าเป็นตัวการเพื่อเข้ารับสัญญานี้หาทำให้จำเลยต้องหลุดพ้นจากสัญญาไป
การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยและจะต้องมีสัญญาเป็นสามฝ่าย คือ ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เดิม ว่าเจ้าหนี้ยอมรับเอาลูกหนี้ใหม่โดยระงับหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ต่อลูกหนี้เดิม กับมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ว่า ลูกหนี้ใหม่จะเข้ารับชำระหนี้แทนลูกหนี้เก่าด้วย
ถึงแม้อายุความในเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเริ่มนับแล้วก็ตาม ถ้าจำเลยตอบรับใบทวงหนี้ของโจทก์ว่าเป็นหนี้โจทก์และไม่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้รายนั้น เช่นนี้ ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ มีผลให้อายุความสดุดหยุดลง
การแปลงหนี้ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้นั้น จะต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าหนี้ด้วยและจะต้องมีสัญญาเป็นสามฝ่าย คือ ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้เดิม ว่าเจ้าหนี้ยอมรับเอาลูกหนี้ใหม่โดยระงับหนี้ทั้งหมดที่มีอยู่ต่อลูกหนี้เดิม กับมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ว่า ลูกหนี้ใหม่จะเข้ารับชำระหนี้แทนลูกหนี้เก่าด้วย
ถึงแม้อายุความในเรื่องสิทธิเรียกร้องของโจทก์จะเริ่มนับแล้วก็ตาม ถ้าจำเลยตอบรับใบทวงหนี้ของโจทก์ว่าเป็นหนี้โจทก์และไม่ปฏิเสธที่จะชำระหนี้รายนั้น เช่นนี้ ย่อมเป็นการรับสภาพหนี้ มีผลให้อายุความสดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9649/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้: หนังสือรับสภาพชำระหนี้ใหม่ไม่ระงับหนี้เดิม โจทก์มีอำนาจฟ้องลูกหนี้เดิมได้
แม้จำเลยที่ 2 จะทำหนังสือรับสภาพชำระหนี้ต่อโจทก์ภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 ทำหนังสือสัญญาชำระหนี้แทนให้ไว้แก่โจทก์ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับสภาพชำระหนี้ไม่มีข้อความตอนใดที่ระบุว่าโจทก์ตกลงให้หนี้ของจำเลยที่ 1 ระงับไปโดยให้จำเลยที่ 2 ชำระหนี้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 กรณีถือไม่ได้ว่ามีการแปลงหนี้ใหม่โดยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้จากจำเลยที่ 1 มาเป็นจำเลยที่ 2 หนังสือสัญญาชำระหนี้แทนที่จำเลยที่ 1 ทำไว้แก่โจทก์จึงไม่ระงับ โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5496/2550
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกู้ยืมเงินเพื่อชำระหนี้แทนกัน และเจตนาถือเอาประโยชน์จากสัญญา ทำให้ลูกหนี้เดิมไม่ต้องรับผิด
การที่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกลงซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำนองไว้แก่โจทก์และได้ขอกู้ยืมเงินโจทก์จำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์นั้น น่าเชื่อว่าเป็นการกู้ยืมเพื่อนำไปชำระหนี้ให้แก่โจทก์แทนจำเลยที่ 1 และที่ 2 โดยจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ตกลงกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 จะชำระหนี้ให้โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก และตามพฤติการณ์ที่โจทก์อนุมัติให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กู้ยืมเงินจำนวน 398,000 บาท ซึ่งเท่ากับจำนวนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นหนี้โจทก์ทั้งยังยอมให้ผู้รับมอบอำนาจของโจทก์ไปดำเนินการไถ่ถอนจำนองให้แก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 รวมทั้งรับจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างดังกล่าวจากจำเลยที่ 3 และที่ 4 เป็นการแสดงว่าโจทก์มีเจตนาที่จะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 แล้ว ตาม ป.พ.พ. มาตรา 374 วรรคสอง เมื่อฟังได้ว่าโจทก์ได้แสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาดังกล่าวและจำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ทำสัญญากู้ยืมเงินและจดทะเบียนจำนองที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างไว้แก่โจทก์ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 มีส่วนร่วมรู้เห็นในการที่จำเลยที่ 4 นำเงินที่โจทก์มอบให้ไปเป็นประโยชน์ส่วนตน จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีหน้าที่ที่จะต้องชำระหนี้ให้แก่โจทก์อีก