พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิสัญญาซื้อขายที่ดิน ต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างลูกหนี้ใหม่กับเจ้าหนี้เดิม หากไม่ทำสัญญาใหม่ ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท. ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท.มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลง สัญญาระหว่าง ท.กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท.เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุด ท.สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4501/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิในสัญญาซื้อขายที่ดินต้องมีการทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350
โจทก์รับโอนสิทธิตามสัญญาแบ่งขายที่ดินจาก ท. และโจทก์เข้าครอบครองที่พิพาทด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ เป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 ซึ่งจะต้องมีการทำสัญญาระหว่างเจ้าหนี้คือจำเลยกับลูกหนี้คนใหม่คือโจทก์ เมื่อโจทก์กับจำเลยไม่ได้ทำสัญญากันใหม่ หนี้ก็ไม่เกิดขึ้น โจทก์กับจำเลยจึงไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกัน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยให้ปฏิบัติตามสัญญาโอนสิทธิดังกล่าวและมิอาจอ้างสิทธิเพื่ออยู่ในที่พิพาทต่อไป การที่โจทก์ยังคงอยู่ในที่พิพาทต่อมาจึงเป็นการละเมิด จำเลยย่อมมีอำนาจฟ้อง โจทก์ฟ้องโดยกล่าวอ้างว่าจำเลยตกลงแบ่งขายที่ดินตามฟ้องให้แก่ ท.ท.ชำระราคาที่ดินยังไม่ครบถ้วน และได้ขายสิทธิตามสัญญาดังกล่าวให้แก่โจทก์ ซึ่งโจทก์กับ ท.มีหนังสือบอกกล่าวการโอนไปยังจำเลยแล้ว จำเลยให้การต่อสู้ว่า ท. มิได้ชำระราคาให้เป็นไปตามข้อตกลงสัญญาระหว่าง ท. กับจำเลยจึงสิ้นสุดลง จำเลยมิได้รู้เห็นยินยอมด้วยกับการโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับ ท. ดังนี้ จึงมีประเด็นข้อพิพาทว่า การโอนสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายที่ดินระหว่างโจทก์กับ ท. เป็นการชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า สัญญาจะซื้อขายระหว่าง ท.กับจำเลยยังไม่สิ้นสุดท. สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาให้แก่โจทก์ได้ แต่เมื่อมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามมาตรา 350 คือ มิได้มีการทำสัญญาระหว่างโจทก์และจำเลย โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จึงเป็นการวินิจฉัยไปตามข้อพิพาทแห่งคดี หาได้นอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6187/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุม, สัญญาแปลงหนี้, อากรแสตมป์, การรับสภาพหนี้, ข้อตกลงระหว่างลูกหนี้ใหม่
จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีในประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมไว้ จึงเป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น จำเลยที่ 2จึงไม่มีสิทธิที่จะยกขึ้นมาว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์ การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยในประเด็นข้อนี้รวมถึงจำเลยที่ 2 ด้วยนั้น เป็นการไม่ชอบ ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์สำหรับจำเลยที่ 2 ฎีกาของจำเลยที่ 2 ในประเด็นนี้ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ถึงแม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 ในข้อนี้ไว้ ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัยให้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายสภาพแห่งข้อหาคือจำเลยทั้งสามไม่ชำระหนี้ที่ค้างชำระตามสัญญาขายลดเช็คและกู้เงินอันเป็นมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้ สัญญาค้ำประกันและจำนอง และคำขอบังคับคือให้จำเลยทั้งสามร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นคือ หนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ หนังสือสัญญาค้ำประกัน และหนังสือสัญญาจำนอง ส่วนการขายลดเช็คกี่ครั้ง กู้เงินกี่ครั้ง ครั้งละเท่าใดนั้น เป็นรายละเอียดของมูลหนี้ตามหนังสือรับสภาพหนี้และตกลงชำระหนี้ซึ่งโจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ดังนั้น ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่ ผ.และ น. ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเป็นการกระทำในฐานะผู้แทนบริษัทโจทก์ จึงเป็นการกระทำของบริษัทโจทก์ แม้ต่อมา ผ.และ น.จะพ้นจากการเป็นกรรมการของบริษัทโจทก์เพราะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการบริษัทโจทก์ หนังสือมอบอำนาจฉบับที่ได้ทำโดยกรรมการผู้มีอำนาจในขณะนั้นก็ยังคงมีผลสมบูรณ์อยู่ หาระงับไปไม่
หนังสือมอบอำนาจระบุว่า มอบอำนาจให้ ป.หรือ อ.คนใดคนหนึ่งเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทโจทก์อีกคนหนึ่งรวมเป็น 2 คน พร้อมประทับตราสำคัญของโจทก์สามารถกระทำการเกี่ยวกับกิจการต่าง ๆ ของโจทก์ตามที่ระบุไว้รวมทั้งการแต่งตั้งตัวแทนช่วง เช่นนี้ เป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวมีอำนาจกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทมากกว่าครั้งเดียวได้ ซึ่งต้องปิดอากรแสตมป์ 30 บาท ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 7 (2) แห่ง ป.รัษฎากรส่วนที่หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวกำหนดให้มีกรรมการที่มีอำนาจกระทำการแทนบริษัทอีกคนหนึ่งร่วมลงลายมือชื่อด้วยนั้นก็เป็นเพียงการกำหนดวิธีการที่ผู้รับมอบอำนาจคนเดียวนั้นต้องปฏิบัติในการกระทำการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทโจทก์ตามที่ได้รับมอบอำนาจ ดังนี้ การปิดอากรแสตมป์ในหนังสือมอบอำนาจเช่นว่านี้จำนวน 30 บาท จึงชอบแล้ว หาใช่การมอบอำนาจให้กระทำมากกว่าครั้งเดียวโดยให้บุคคลหลายคนต่างกระทำกิจการแยกกันอันจะต้องคิดตามรายตัวบุคคลที่รับมอบคนละ 30 บาท ไม่
สัญญาตกลงชำระหนี้ระบุว่า ตามที่จำเลยที่ 2 บริษัท ธ.และ ท.ได้ขอสินเชื่อจากโจทก์โดยการนำเช็คที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้สั่งจ่ายขายลดไว้แก่โจทก์ และยังมีหนี้ที่ยังมิได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์ 3 จำนวน เป็นเงิน45,920,000 บาท นั้น จำเลยที่ 1 ตกลงชำระหนี้พร้อมด้วยดอกเบี้ยของเงินดังกล่าว และยังค้างชำระเป็นเงิน 10,516,643.83 บาท รวมทั้งสองจำนวนเป็นเงิน 56,436,643.83 บาท ให้แก่โจทก์จนครบถ้วนภายในกำหนด 15 ปีทั้งนี้จำเลยที่ 1 ตกลงผ่อนชำระหนี้ในจำนวนไม่ต่ำกว่าเดือนละ 100,000 บาทหากจำเลยที่ 1 ผิดนัดในเดือนใดและยังฝ่าฝืนไม่ชำระในเมื่อโจทก์มีหนังสือแจ้งเตือนให้ชำระโดยกำหนดเวลาอันสมควรไว้ ให้โจทก์มีสิทธิเรียกชำระหนี้ทั้งหมดได้ทันที ในระหว่างการผ่อนชำระหากโจทก์มอบให้บุคคลใดเข้าตรวจสอบกิจการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ตกลงที่จะให้ความสะดวกและร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวทุกประการนั้นมีลักษณะเป็นข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ ถือได้ว่าเป็นสัญญา 2 ฝ่าย หาใช่จำเลยที่ 1 ตกลงฝ่ายเดียวไม่ และข้อความในสัญญาดังกล่าวก็ถือได้ว่าเป็นสัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ อันเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้กับจำเลยที่ 1 ลูกหนี้คนใหม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้ทำขึ้นโดยขืนใจจำเลยที่ 2 บริษัท ธ. และ ท.ผู้เป็นลูกหนี้เดิมทั้งสามรายแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ฉบับนี้จึงมีผลบังคับกันได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 ก็มิได้บัญญัติให้ต้องทำเป็นหนังสือแต่อย่างใด สัญญาแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้จึงหาจำต้องให้เจ้าหนี้และลูกหนี้คนใหม่ลงลายมือชื่อทั้งสองฝ่ายไม่ และบทบัญญัติมาตราดังกล่าวก็มิได้กำหนดให้เจ้าหนี้ต้องแจ้งการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่ให้ลูกหนี้เดิมทั้งสามรายทราบไม่ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระหนี้ตามสัญญาแปลงหนี้ใหม่นี้ได้
เมื่อคิดดอกเบี้ยนับแต่วันที่ลงในเช็คถึงวันที่นำดอกเบี้ยนั้นมารับสภาพหนี้แล้ว ดอกเบี้ยที่ค้างชำระดังกล่าวยังค้างส่งไม่เกิน 5 ปี สิทธิเรียกร้องเอาดอกเบี้ยค้างส่งยังไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 166 เดิม หนี้ดอกเบี้ยดังกล่าวย่อมนำมารับสภาพหนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5791/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ต้องมีสัญญาชัดเจน หนี้เดิมไม่ระงับหากไม่มีการตกลงเปลี่ยนตัวลูกหนี้ใหม่
การแปลงหนี้เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไปเมื่อหนังสือรับสภาพหนี้ไม่มีลักษณะเป็นการแปลงหนี้เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349อีกทั้งไม่มีข้อความตอนใดบ่งไว้เลยว่ามีการแปลงหนี้ และมิได้เป็นการแปลงหนี้ด้วยวิธีเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 เพราะไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ใหม่ได้เข้ามาให้ความยินยอมทำสัญญาแปลงหนี้ด้วย กรณีจึงไม่ใช่เป็นการแปลงหนี้ใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อต้องทำเป็นสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็น สัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัท ท. ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ ซึ่ง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่และจะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมไม่ได้ เมื่อโจทก์และบริษัท ท. ไม่ได้ทำสัญญาต่อกันทั้งจำเลยก็มิได้บอกกล่าวการโอนหนี้เป็นหนังสือให้โจทก์ทราบ และโจทก์มิได้ยินยอมเป็นหนังสือดังนั้นจำเลยจะยกข้อต่อสู้ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัท ท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้ จำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ปัญหาว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้วหรือไม่ จำเลยไม่ได้ให้การเป็นประเด็นไว้ แม้ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวก็เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2496/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนหนี้ในสัญญาเช่าซื้อต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ใหม่ การโอนกิจการไม่ทำให้จำเลยพ้นความรับผิด
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาต่างตอบแทน คู่สัญญามีหน้าที่ต้องชำระหนี้ซึ่งกันและกันหรือต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การที่จำเลยโอนขายกิจการรวมทั้งโอนสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.หาใช่การโอนสิทธิเรียกร้องแต่เพียงอย่างเดียวไม่หากแต่จำเลยได้โอนความเป็นลูกหนี้ตามสัญญาเช่าซื้อให้แก่บริษัทท.ด้วย จึงเป็นการแปลงหนี้ใหม่ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 350 จะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่ แต่โจทก์และบริษัทท.มิได้ทำสัญญาต่อกัน ดังนั้น จำเลยจะยกข้อต่อสู้ที่ว่าจำเลยได้โอนกิจการไปให้บริษัทท.ขึ้นยันโจทก์ไม่ได้จำเลยยังคงจะต้องรับผิดตามสัญญาเช่าซื้อต่อโจทก์ เมื่อจำเลยไม่สามารถส่งมอบทรัพย์ที่เช่าซื้อให้แก่โจทก์ได้ จำเลยจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ในสัญญาประกันภัยต้องทำสัญญาใหม่ระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ใหม่ การยินยอมโดยปริยายใช้ไม่ได้
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้ การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้ แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1603/2527
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิ/หนี้ในสัญญาประกันภัยต้องมีสัญญาระหว่างเจ้าหนี้-ลูกหนี้ใหม่ การรับทราบ/ทวงถามหนี้ไม่ผูกพันจำเลย
สัญญาประกันภัยเป็นสัญญาต่างตอบแทนซึ่งคู่สัญญาต่างก็เป็นทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้. การโอนและรับโอนบรรดากิจการทรัพย์สินและหนี้สินระหว่างโจทก์กับบริษัท ฮ. ซึ่งจำเลยเป็นผู้เอาประกันภัยไว้นั้น เป็นทั้งการโอนสิทธิเรียกร้องและการแปลงหนี้ใหม่ด้วยการเปลี่ยนตัวลูกหนี้ซึ่งจะต้องทำเป็นสัญญาระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้คนใหม่. แต่จะทำโดยขืนใจลูกหนี้เดิมมิได้. แม้จำเลยจะมิได้โต้แย้งเมื่อได้รับทราบถึงการโอนดังกล่าวหรือเมื่อโจทก์ทวงถามให้ชำระเงินค่าเบี้ยประกันภัย. เมื่อมิได้ทำเป็นสัญญากันระหว่างโจทก์และจำเลย. จำเลยก็ไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้ชำระเบี้ยประกันภัยที่ค้างชำระ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3369/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแปลงหนี้ต้องมีสัญญาระงับหนี้เดิมและก่อหนี้ใหม่ การชำระหนี้ด้วยเช็คไม่ใช่การแปลงหนี้
การแปลงหนี้เป็นสัญญาระหว่างคู่กรณีเพื่อระงับหนี้เดิมแล้วก่อให้เกิดหนี้ใหม่ขึ้นผูกพันกันแทน หนี้เดิมเป็นอันระงับไป จำเลยนำเช็คซึ่งผู้อื่นเป็นผู้สั่งจ่ายมาสลักหลังชำระหนี้ให้โจทก์ ไม่มีลักษณะเป็นการแปลงหนี้เพราะไม่มีการตกลงทำสัญญาแปลงหนี้กันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 349 แต่อย่างใดและไม่เป็นการแปลงหนี้ด้วยเปลี่ยนตัวลูกหนี้ตาม มาตรา 350 เพราะผู้สั่งจ่ายเช็คซึ่งเป็นลูกหนี้ใหม่ไม่ได้เข้ามาทำสัญญากับโจทก์ด้วย