คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล่าช้า

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 95 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 97/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดในคดีแรงงานและการขอพิจารณาคดีใหม่ การยื่นคำร้องล่าช้าทำให้คำร้องไม่เป็นผล
ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งรับคำฟ้องกำหนดวันนัดพิจารณาและสืบพยานโจทก์ เมื่อจำเลยไม่มาศาล และศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัดและพิจารณาชี้ขาดตัดสินคดีโจทก์ไปฝ่ายเดียว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 40 วรรคสอง การที่จำเลยขอให้เพิกถอนคำสั่งขอศาลแรงงานกลางดังกล่าวและขอให้พิจารณาคดีใหม่ ย่อมไม่อาจนำ ป.วิ.พ. มาตรา 199 จัตวา มาใช้บังคับได้ จำเลยจะต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 ซึ่งบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วในมาตรา 41 จำเลยยื่นคำร้องเพื่อขอพิจารณาคดีใหม่พ้นกำหนด 7 วัน นับแต่วันที่ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งว่าจำเลยขาดนัด จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6353/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มล่าช้าเนื่องจากไม่แจ้งเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีและไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามกำหนด
โจทก์เปิดสถานประกอบการเพิ่มเติมโดยไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อขอรับใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับสาขาจังหวัดระนองตามบทบัญญัติมาตรา 85/7 วรรคหนึ่ง แห่ง ป. รัษฎากร และโจทก์มีสถานประกอบการหลายแห่งจะต้องแยกยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีเป็นรายสถานประกอบการ เว้นแต่จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรขอยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีรวมกัน แต่โจทก์ไม่ได้ยื่นคำร้องขออนุมัติยื่นแบบแสดงรายการภาษีและชำระภาษีของสำนักงานสาขาจังหวัดระนองรวมกับสำนักงานใหญ่จังหวัดสงขลาตามมาตรา 83 วรรคสี่ แห่ง ป. รัษฎากร แต่อย่างใด โจทก์จึงอ้างว่าได้ยื่นเสียภาษีที่สำนักงานใหญ่จังหวัดสงขลาแล้วไม่ได้ อีกทั้งโจทก์ไม่ได้ยื่นชำระภาษีของเดือนภาษีที่ถูกประเมิน ณ ที่ว่าการอำเภอท้องที่ที่สถานประกอบการสาขาจังหวัดระนองตั้งอยู่ จึงเป็นกรณีที่โจทก์ไม่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีตามมาตรา 88/6 (1) (ค) เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินภายในกำหนดเวลา 10 ปี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11394-11547/2547

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิประโยชน์ทดแทนประกันสังคม: เหตุผลอันสมควรล่าช้าการยื่นคำขอ
วันที่มีการคลอดบุตรหรือตายแล้วแต่กรณีตามฟ้องของโจทก์นั้น โจทก์ยังมิได้จ่ายเงินสมทบให้แก่จำเลยครบถ้วนตามกฎหมาย อันจะทำให้มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทน เพราะอยู่ในระหว่างที่มีการโต้แย้งขององค์การค้าของคุรุสภาซึ่งเป็นนายจ้างกับจำเลยว่าจะต้องจ่ายเงินสมทบในกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายเพียงใด ดังนั้น โจทก์จึงยังมิอาจใช้สิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนภายในกำหนด 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายแล้วแต่กรณีตาม พ.ร.บ. ประกันสังคมฯ มาตรา 56 วรรคหนึ่ง แต่มาตรา 56 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บัญญัติตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอไว้โดยเด็ดขาด การที่ผู้ยื่นคำขอยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี อันจะทำให้ผู้ยื่นคำขอต้องเสียสิทธินั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่จะต้องใช้สิทธิล่าช้า หากผู้ยื่นคำขอมีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้าก็จะนำระยะเวลาดังกล่าวมาตัดสิทธิผู้ยื่นคำขอเสียทีเดียวหาได้ไม่ เมื่อปรากฏว่า องค์การค้าของคุรุสภาออกประกาศแจ้งให้ลูกจ้างทั้งหมดรวมทั้งโจทก์ทราบเมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ว่าจะต้องหักเงินสมทบส่วนของลูกจ้างเพิ่มเติมในกรณีคลอดบุตรและกรณีตาย โดยจะหักย้อนหลังไปจนถึงเดือนเมษายน 2538 และองค์การค้าของคุรุสภาได้สำรองจ่ายแทนเงินสมทบส่วนของลูกจ้างส่งไปให้จำเลยเมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2543 และหักเงินสมทบจากลูกจ้างทั้งหมดครบถ้วน เมื่อประมาณเดือนสิงหาคม 2544 ดังนั้น การที่โจทก์ยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนสำหรับกรณีคลอดบุตรหรือกรณีตายที่เกิดขึ้นในระหว่างเดือนเมษายน 2538 ถึงเดือนสิงหาคม 2544 เกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันคลอดบุตรหรือวันตายอันเป็นวันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนนั้น เป็นกรณีที่โจทก์มีเหตุผลอันสมควรหรือความจำเป็นที่ต้องใช้สิทธิล่าช้า โจทก์จึงยื่นคำขอเกินกำหนดระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทนได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ต้องมีเหตุผลสมควร การไม่ขอคัดคำพิพากษาถือเป็นเหตุล่าช้าที่ไม่อาจอ้างได้
จำเลยที่ 1 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันที่ 29 มกราคม 2544 เวลา 11.15 นาฬิกา อันเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ข้อความในคำร้องตอนต้นระบุว่าทนายจำเลยที่ 1 ยังไม่ได้ขอคัดคำพิพากษา ส่อแสดงให้เห็นว่าการยื่นอุทธรณ์ไม่ทันภายในกำหนด มิใช่มาจากเหตุที่ทนายจำเลยที่ 1 มีคดีที่จะต้องเขียนอุทธรณ์และทำคำแก้อุทธรณ์อีกหลายคดีดังที่ทนายจำเลยที่ 1 อ้างในคำร้อง จึงถือไม่ได้ว่าตามคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 มีพฤติการณ์พิเศษ
แม้ศาลจะสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ในวันยื่นคำร้อง จำเลยที่ 1 ก็คงไม่สามารถยื่นอุทธรณ์ได้ทันในวันนั้น เพราะวันดังกล่าวเป็นวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์และจำเลยที่ 1 ยังไม่ทราบเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลเนื่องจากยังไม่ได้ขอคัดคำพิพากษา อีกทั้งทนายจำเลยที่ 1 ได้ลงชื่อรับทราบในคำร้องว่าให้มาฟังคำสั่งในวันที่ล่วงเลยกำหนดยื่นอุทธรณ์ แสดงว่าทนายจำเลยที่ 1 ยอมรับผลการสั่งของศาลแล้วว่าหากศาลไม่อนุญาตจำเลยที่ 1 ย่อมเสียสิทธิในการยื่นอุทธรณ์ ดังนั้น จำเลยที่ 1 จะมาโต้แย้งในภายหลังหาชอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 430/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนคดีอาญาที่ล่าช้า: ผลกระทบต่ออำนาจฟ้องและการคุ้มครองสิทธิผู้ต้องหา
แม้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฯ มาตรา 241 วรรคแรก จะบัญญัติให้ผู้ต้องหามีสิทธิได้รับการสอบสวนด้วยความรวดเร็ว ต่อเนื่อง และเป็นธรรม และประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 130 กำหนดให้เริ่มการสอบสวนโดยไม่ชักช้าจะทำการในที่ใด เวลาใด แล้วแต่จะเห็นสมควร โดยผู้ต้องหาไม่จำต้องอยู่ด้วยอันเป็นบทบัญญัติเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของผู้ต้องหาให้ได้รับผลกระทบจากการเป็นผู้ต้องหาน้อยที่สุด แต่ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าถ้าพนักงานสอบสวนมิได้ทำการสอบสวนโดยไม่ชักช้าแล้ว การสอบสวนนั้นจะเป็นการสอบสวนที่ไม่ชอบ ดังนั้น แม้จะปรากฏว่าพนักงานสอบสวนเพิ่งเริ่มสอบสวนเกี่ยวกับความผิดของจำเลยในข้อหามีเฮโรอีนไว้ในครอบครองในระหว่างที่จำเลยต้องโทษอยู่ในเรือนจำกลางคลองเปรมหลังจากที่ได้รับมอบหมายจากผู้บังคับบัญชาถึง 1 ปี 3 เดือน ก็ตาม แต่เมื่อการสอบสวนคดีนี้กระทำโดยเจ้าพนักงานซึ่งกฎหมายให้มีอำนาจและหน้าที่ทำการสอบสวน การสอบสวนคดีนี้จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2679/2544 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์กรณีคำพิพากษาล่าช้า: พฤติการณ์พิเศษที่ศาลควรพิจารณา
การเรียงอุทธรณ์จะต้องตรวจดูข้อความในคำพิพากษาศาลชั้นต้น เพื่อหาข้อโต้แย้งทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ศาลชั้นต้นหยิบยกขึ้นวินิจฉัย มิฉะนั้นอาจไม่เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ผู้อุทธรณ์จึงจำต้องมีสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นไว้ประกอบการเรียงอุทธรณ์ เมื่อคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นในวันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ได้อ้างเหตุที่โจทก์ไม่อาจยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดว่า โจทก์ได้ขอคัดคำพิพากษาไว้แล้ว เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จและได้รับในวันนั้น จึงเป็นเรื่องนอกเหนือการบังคับของโจทก์ การที่โจทก์เพิ่งได้รับสำเนาคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เพิ่งพิมพ์แล้วเสร็จ ถือเป็นกรณีที่มีพฤติการณ์พิเศษ ศาลชอบที่จะขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ให้โจทก์ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8139-8142/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขอพิจารณาใหม่ล่าช้าเกินกำหนดและไม่มีเหตุจำเป็นพิเศษ ศาลฎีกายืนคำสั่งศาลแรงงานกลาง
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยไม่ได้กล่าวอ้างปฏิเสธเลยว่าการส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องรวมทั้งคำบังคับไปให้จำเลยเป็นการส่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย คงกล่าวอ้างเพียงว่า ไม่เคยได้รับหมายเรียกและ สำเนาคำฟ้อง ส่วนคำบังคับก็ได้รับล่าช้ามากเพราะพนักงานของจำเลย ที่รับคำบังคับไว้แทนจำเลยไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบจำเลยมิได้จงใจขาดนัด พฤติการณ์ตามข้ออ้างของจำเลยดังนี้ยังถือไม่ได้ ว่าเป็นพฤติการณ์นอกเหนือ ไม่อาจบังคับได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคหนึ่งประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31
พนักงานของจำเลยได้รับคำบังคับที่ส่งโดยทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไว้แทนจำเลยเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2542 จำเลยจึงต้องยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ภายใน 15 วัน นับแต่วันส่งคำบังคับ กล่าวคือ ต้องยื่นภายในวันที่ 2 ตุลาคม 2542 เมื่อจำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่หลังจากพ้นกำหนดดังกล่าวที่ศาลแรงงานมีคำสั่งยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7703/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ล่าช้า ไม่มีสิทธิขอให้ศาลยกเลิกการล้มละลาย แม้มีเหตุอื่นอ้าง
แม้ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ แต่ผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดเวลาตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 91 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงได้ยกคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง ผู้ร้องจึงมิใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะมีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135 ได้
เหตุต่าง ๆ ที่ผู้ร้องยกขึ้นอ้างในคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของลูกหนี้ล้วนแต่เป็นเหตุที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ซึ่งเป็นข้อที่ศาลชั้นต้นจะพึงหยิบยกขึ้นวินิจฉัยก่อนที่จะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 คือถ้ามีเหตุดังกล่าวที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลายศาลก็จะพิพากษายกฟ้องแต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดและถึงที่สุดแล้ว ผู้ร้องก็ไม่มีสิทธิที่จะหยิบยกเอาเหตุดังกล่าวมาขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายตามมาตรา 135(2) ได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นบัญชีระบุพยานล่าช้า: ศาลไม่รับพยาน เนื่องจากความประมาทเลินเล่อของทนายจำเลย และการไม่ปฏิบัติตามกำหนดเวลา
จำเลยเพิ่งมายื่นคำร้องขอยื่นบัญชีระบุพยานในวันนัดสืบพยานจำเลยนัดที่สอง ซึ่งหลังวันสืบพยานครั้งแรกเดือนเศษ โดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเพิ่งมายื่นคำร้องทั้งที่ควรจะยื่นคำร้องในโอกาสแรกที่พึงกระทำได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง เพื่อป้องกันมิให้เกิดความได้เปรียบเสียเปรียบในคดี จำเลยจะยกเรื่องทนายความของตนละทิ้งหน้าที่มาเป็นเหตุที่ทำให้ไม่สามารถยื่นบัญชีระบุพยานตามกำหนดเวลาไม่ได้ และจำเลยไม่อาจอ้างเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมอันเกิดจากความผิดพลาดของจำเลยเอง ทำให้อีกฝ่ายหนึ่งต้องเสียเปรียบเพราะการดำเนินคดีต้องล่าช้าไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8107/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดี: การยื่นคำร้องขัดแย้งที่ล่าช้าเกินกำหนดตามกฎหมาย
คำร้องของโจทก์ที่ยื่นต่อศาลชั้นต้น ขอให้เพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีที่สั่งโดยผิดระเบียบ อ้างว่าคู่ความและศาลตกลงกันให้ยกเลิกวันนัดวันที่ 29กรกฎาคม 2540 แล้ว ข้อความตกเติมในรายงานกระบวนพิจารณาของศาลที่ให้นัดวันที่ 29 กรกฎาคม 2540 ได้กระทำขึ้นภายหลังหลังจากที่คู่ความและศาลได้ลงชื่อในรายงานกระบวนพิจารณา ต่อมาโจทก์และจำเลยมาศาลในวันนัดวันที่ 24 พฤศจิกายน2540 จึงทราบเรื่องศาลมีคำสั่งจำหน่ายคดี คำร้องของโจทก์ดังกล่าวต้องด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 27 ซึ่งโจทก์ต้องยกขึ้นกล่าวไม่ช้ากว่า 8 วัน นับแต่ทราบพฤติการณ์อันเป็นมูลแห่งข้ออ้างตาม ป.วิ.พ.มาตรา 27 วรรคสอง โจทก์ทราบว่าถูกศาลสั่งจำหน่ายคดีโดยผิดระเบียบเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 แต่โจทก์ยื่นคำร้องดังกล่าวเมื่อวันที่ 12ธันวาคม 2540 ช้ากว่ากำหนดตามกฎหมาย โจทก์จึงหมดสิทธิยื่น และศาลไม่มีอำนาจรับวินิจฉัยให้โจทก์
ข้อที่โจทก์กล่าวอ้างเหตุล่าช้าตาม ป.วิ.พ.มาตรา 208 วรรคท้ายในฎีกาว่า ต้องเสียเวลาหลายวันในการขอดูสำนวน จนกระทั่งวันที่ 4 ธันวาคม 2540โจทก์จึงได้ดูสำนวน นั้น โจทก์ไม่ได้อ้างเหตุล่าช้าดังกล่าวนี้ไว้ในคำร้องที่ยื่นต่อศาลชั้นต้นและในศาลอุทธรณ์ จึงไม่เป็นประเด็นในชั้นฎีกา ทั้งโจทก์สามารถที่จะเรียงคำร้องได้เมื่อโจทก์ทราบว่าถูกจำหน่ายคดีผิดระเบียบโดยโจทก์ไม่จำต้องขอดูสำนวนหรือหากโจทก์มีความจำเป็นจะต้องดูสำนวน โจทก์ก็ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอขยายเวลาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 23 ได้ แต่โจทก์ก็หาได้กระทำไม่ จึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะเพิกถอนคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้น
of 10