คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล่าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองโดยราชการชอบด้วยกฎหมาย
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล ที่กำหนดให้ศาลชั้นต้นที่ได้รับคำร้องจากพนักงานอัยการหรือพนักงานสอบสวนให้สืบพยานก่อนฟ้องคดีต่อศาล เมื่อมีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าพยานบุคคลซึ่งจะต้องนำมาสืบในภายหน้าจะเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร ยากแก่การนำมาสืบ ดังนี้การสืบพยานผู้เสียหายดังกล่าวจึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง และก่อนสืบพยานศาลก็ได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ได้ต้องการทนายความ การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบแล้ว
ศาลชั้นต้นสืบพยานผู้เสียหายตาม ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ โจทก์ได้จัด อ. เป็นล่าม ซึ่งก่อนจะแปลคำเบิกความ อ. ได้สาบานตนแล้ว แม้ อ. จะเป็นเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองเป็นล่ามก็ตาม ก็ไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ อีกทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 46 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสืบพยานก่อนฟ้องคดีและการใช้ล่ามที่ไม่ได้รับการรับรองในคดีอาญา
ป.วิ.อ. มาตรา 237 ทวิ เป็นบทบัญญัติในหมวด 2 พยานบุคคล จึงไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง
แม้ ส. จะเป็นเพียงเพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่ามก็ตาม เมื่อไม่มีบทบัญญัติในกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยโดยมี ส. เป็นล่ามจึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 46 วรรคสี่ และ ป.วิ.อ. มาตรา 15

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวิ่งราวทรัพย์ การสืบพยานก่อนฟ้อง และการรับฟังพยานหลักฐานผ่านล่ามที่ไม่ได้รับการรับรอง
การสืบพยานผู้เสียหายไว้ก่อนเพราะจะต้องเดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรอันยากแก่การนำมาสืบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้น ไม่อยู่ภายใต้บังคับมาตรา 172 วรรคสอง เพราะมิใช่การพิจารณาหลังฟ้องคดีต่อศาล ซึ่งศาลชั้นต้นจะต้องอ่านและอธิบายฟ้องให้จำเลยฟังและถามว่าได้กระทำผิดจริงหรือไม่ จะให้การต่อสู้คดีอย่างไรบ้าง ส่วนการสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีแม้จะมีการพิมพ์ข้อความแทรกระหว่างบรรทัดในรายงานกระบวนพิจารณาว่า"ก่อนสืบพยานได้สอบถามผู้ต้องหาแล้วแถลงว่าไม่ต้องการทนายความ"แต่จำเลยก็มิได้ยืนยันว่า ศาลชั้นต้นไม่ได้ถามจำเลยว่ามีทนายความหรือไม่ แต่กลับบอกว่าจำไม่ได้ว่าศาลถามหรือไม่ จึงต้องฟังว่าศาลชั้นต้นได้ถามจำเลยในเรื่องทนายความแล้ว การสืบพยานผู้เสียหายก่อนฟ้องคดีต่อศาลจึงเป็นไปโดยชอบ
การที่โจทก์จัดให้ อ. เพื่อนผู้เสียหายซึ่งอยู่ในที่เกิดเหตุและทางราชการมิได้รับรองการเป็นล่าม ให้เป็นล่ามการสืบพยานผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 237 ทวิ นั้นไม่มีกฎหมายใดห้ามมิให้เป็นล่ามไว้ ทั้งจำเลยก็มิได้คัดค้านล่ามดังกล่าวไว้ในการสืบพยาน การเบิกความของผู้เสียหายซึ่งเป็นชาวต่างประเทศและไม่เข้าใจภาษาไทยจึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 46 วรรคสี่ประกอบประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาที่มีจำเลยเป็นชาวต่างด้าว จำเป็นต้องมีล่ามสาบานตนและลงลายมือชื่อในคำแปลตามกฎหมาย
ตามคำให้การจำเลย คำแถลงประกอบคำรับสารภาพของจำเลย ตลอดจนรายงานกระบวนพิจารณาของ ศาลชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ ณ ที่ใดเลยว่า ร. ผู้ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามได้สาบานตนหรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจ ไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปลและก็มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อ ป.วิ.อ. มาตรา 13 วรรคสอง ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นพิจารณาพิพากษาใหม่ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 ประกอบด้วยมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7567/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแปลคำให้การจำเลยต่างด้าวโดยล่ามที่ไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นจะต้องปฏิบัติตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองหรือไม่ เป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยจำเลยหยิบยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ ตามมาตรา 195 วรรคสองประกอบด้วยมาตรา 225
การที่ ร. ซึ่งเป็นทนายจำเลยทำหน้าที่เป็นล่ามให้จำเลยซึ่งไม่สามารถพูดหรือเข้าใจภาษาไทยได้ ไม่ได้สาบานตน หรือปฏิญาณตนว่าจะแปลถ้อยคำของจำเลยให้ถูกต้องและทำหน้าที่โดยสุจริตใจไม่เพิ่มเติมหรือตัดทอนสิ่งที่แปล และ ร. มิได้ลงลายมือชื่อในคำแปลนั้นเลย การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1857/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีอาญาของจำเลยต่างชาติที่ไม่เข้าใจภาษาไทย การใช้ล่าม และการรับสารภาพ
ในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่ของจำเลย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า"ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2540 ก่อนศาลมีคำพิพากษา ศาลได้อ่านและอธิบายฟ้องเป็นภาษาไทยให้จำเลยฟัง ซึ่งจำเลยเข้าใจภาษาไทยเป็นอย่างดี จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลจึงได้มีคำพิพากษาไปในวันนั้นด้วยเหตุนี้จึงไม่มีเหตุที่จะพิจารณาคดีใหม่ตามคำร้อง ให้ยกคำร้อง"แสดงว่าจำเลยเข้าใจคำฟ้องของโจทก์ คำให้การรับสารภาพของจำเลยกับเรื่องที่จำเลยไม่ต้องการทนายความจึงเป็นไปตามความประสงค์อันแท้จริงของจำเลย มิใช่เกิดจากความไม่เข้าใจในภาษาไทย จึงไม่มีเหตุจำเป็นจะต้องใช้ล่ามแปลตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 วรรคหนึ่ง
ความผิดหลายกรรมต่างกันตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91เมื่อจำเลยให้การรับสารภาพตามฟ้องย่อมมีผลเป็นการรับสารภาพทุกข้อหาโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลยอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การชั้นสอบสวนที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยไม่ได้ แต่การสอบสวนไม่ชอบ
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5476/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำให้การที่แปลโดยล่ามไม่สาบาน ไม่ทำให้การสอบสวนไม่ชอบ โจทก์มีอำนาจฟ้อง
การที่ล่ามแปลคำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยโดยมิได้สาบานหรือปฏิญาณตนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 13 วรรคสองนั้น มีผลทำให้คำให้การชั้นสอบสวนของจำเลยไม่อาจใช้เป็นพยานหลักฐานยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนคดีนี้เป็นการไม่ชอบ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 403/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้คำให้การในชั้นสอบสวนที่ล่ามไม่ได้สาบานตัว และการรับฟังพยานหลักฐานในคดีครอบครองยาเสพติด
ล่ามแปลคำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนโดยมิได้สาบานตัวเป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 13 วรรคสอง มีผลทำให้ไม่อาจใช้คำให้การของจำเลยในชั้นสอบสวนมารับฟังเป็นพยานหลักฐานใช้ยันจำเลยในชั้นพิจารณาได้เท่านั้น ไม่ทำให้การสอบสวนเสียไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1760/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบด้วยกฎหมายของคำร้องทุกข์และคำให้การที่มีการใช้ล่ามแปล
แม้คำร้องทุกข์และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้เสียหายคนหนึ่ง จะมีผู้เสียหายอีกคนหนึ่งเป็นล่ามแปล ก็เป็นคำร้องทุกข์และคำให้การที่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะ ไม่มีกฎหมายบัญญัติห้ามมิให้พนักงานสอบสวนให้ผู้เสียหายเป็นล่าม
of 2