คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ล้มละลาย

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,913 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลายโดยเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และการเข้าเป็นคู่ความของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์ตกเป็นบุคคลล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ย่อมมีอำนาจหน้าที่รวบรวมและจำหน่ายทรัพย์สินของโจทก์ตามวิธีการที่บัญญัติไว้ในหมวด 4 ส่วนที่ 4 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ซึ่งมาตรา 123 บัญญัติให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะขายทรัพย์สินที่รวบรวมได้มาตามวิธีที่สะดวกและเป็นผลดีที่สุด โดยมีเงื่อนไขว่าการขายโดยวิธีอื่นนอกจากการขายทอดตลาดต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ประกาศขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์โดยวิธีอื่นตามมติของที่ประชุมเจ้าหนี้เป็นการดำเนินการตามบทกฎหมายดังกล่าว สิทธิของผู้ซื้อทรัพย์สินที่ได้มาจากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายจึงควรได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตาม กรณีหาใช่เป็นเรื่องซื้อขายความหรือแสวงหาประโยชน์จากการที่ผู้อื่นเป็นความกันโดยมิชอบอันจะเป็นการขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนไม่ ดังนั้น หากผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลย ซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายดังกล่าว ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดีเพื่อยังให้ได้รับความคุ้มครองและบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8444/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการรับชำระหนี้เงินเพิ่มภาษีอากรในคดีล้มละลายของสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินงาน
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 100 เจ้าหนี้มีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่กรณีของเจ้าหนี้ที่ขอรับชำระหนี้เงินเพิ่มภาษีอากรจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ซึ่งเป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการนั้น เป็นกรณีที่ต้องพิจารณาตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงิน (ฉบับที่ 2)ฯ ประกอบด้วย ซึ่งมาตรา 5 บัญญัติว่า "นับแต่วันที่พระราชกำหนดนี้ใช้บังคับ ดอกเบี้ยหรือเงินค่าป่วยการอื่นแทนดอกเบี้ยอันเกิดจากหนี้ที่บริษัทที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตามมาตรา 30 ได้ก่อขึ้นมิให้ถือว่าเป็นหนี้ที่จะขอรับชำระได้" เมื่อลูกหนี้เป็นสถาบันการเงินที่ถูกระงับการดำเนินกิจการตาม พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ มาตรา 30 แม้มูลหนี้ค่าภาษีอากรพร้อมเงินเพิ่มที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้จะมิใช่หนี้ที่เกิดจากการประกอบธุรกิจตามปกติของลูกหนี้ แต่ก็เป็นหนี้อันเนื่องมาจากลูกหนี้มิได้ปฏิบัติตามกฎหมาย คือจ่ายเงินได้พึงประเมินโดยมิได้หักภาษีเงินได้ไว้ ณ ที่จ่าย และนำส่งให้ถูกต้องครบถ้วนตาม ป.รัษฎากรฯ ถือได้ว่าเป็นหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นตามความในมาตรา 5 ดังกล่าว แต่บทบัญญัติมาตรา 5 นี้คงมีผลใช้บังคับแก่บรรดาเจ้าหนี้ที่ใช้สิทธิยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการที่คณะกรรมการ ปรส. ได้ตั้งขึ้นตามมาตรา 30 แห่ง พ.ร.ก.การปฏิรูประบบสถาบันการเงินฯ เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏข้อเท็จจริงว่าเจ้าหนี้ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้น บทบัญญัติมาตรา 5 ข้างต้นจึงไม่มีผลบังคับแก่เจ้าหนี้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิได้รับชำระหนี้เงินเพิ่มจนถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7660/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อสิทธิเรียกร้องจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย และสิทธิในการบังคับคดี
แม้ผู้ร้องมิได้ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกามาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องก็ได้ยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อนออกหมายนัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองแก้ พออนุโลมได้ว่า ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ศาลชั้นต้นจะยังมิได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่า ศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วเช่นกัน
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์สินและได้มาซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์รวมถึงสิทธิที่จะได้รับชำระหนี้จากจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษาในคดีนี้จากการขายสิทธิเรียกร้องของโจทก์ซึ่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดำเนินการโดยอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 123 ย่อมถือได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิเรียกร้องเกี่ยวเนื่องด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งในอันที่จะร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี เพื่อยังให้ได้รับความรับรอง คุ้มครอง และบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57 (1) ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7660/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเรียกร้องในคดีล้มละลาย: สิทธิของผู้ซื้อสิทธิเรียกร้องในการเข้าเป็นคู่ความในชั้นบังคับคดี
ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมาย ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ของผู้ร้อง ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แม้คำร้องดังกล่าวมิได้ยื่นมาพร้อมคำฟ้องอุทธรณ์ แต่ผู้ร้องยื่นต่อศาลชั้นต้นก่อนออกหมายนัดส่งสำเนาอุทธรณ์ให้จำเลยทั้งสองแก้ พออนุโลมได้ว่าผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวถูกต้องตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้ว และแม้ว่าศาลชั้นต้นจะยังมิได้สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่การที่จำเลยทั้งสองได้รับสำเนาคำร้องแล้วมิได้คัดค้านภายในกำหนดเวลายื่นคำแก้อุทธรณ์ และศาลชั้นต้นสั่งให้ส่งสำนวนไปยังศาลฎีกา ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้ผู้ร้องอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ วรรคหนึ่ง แล้วเช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 653-655/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ล้มละลาย: การอุทธรณ์คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด - เหตุหนี้สินล้นพ้นตัว - อำนาจฟ้อง - อายุความ - การส่งหมายเรียก
จำเลยโต้แย้งว่า ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม, 33 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 8 (4) (9) ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ ขอให้ศาลล้มละลายกลางส่งคำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 การที่ศาลล้มละลายกลางสั่งในคำร้องของจำเลยเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี แม้เป็นคำสั่งเกี่ยวกับคำร้องขอตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ฯ มาตรา 264 ก็เป็นคำสั่งในขั้นตอนการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลยุติธรรม จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งดังกล่าวไว้ อุทธรณ์ของจำเลยจึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226, 247 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28
จำเลยยื่นอุทธรณ์คำสั่งไม่รับคำร้องขอแก้ไขคำให้การภายหลังมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมแล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามกฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มาใช้บังคับ อุทธรณ์ของจำเลยเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลาย ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งจะอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่จำเลยอุทธรณ์ไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ทั้งไม่มีกรณีจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตามมาตรา 26 วรรคสี่ จึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา
ปัญหาที่ว่าหนี้ตามฟ้องเป็นหนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 หรือไม่ เป็นปัญหาเรื่องอำนาจฟ้องซึ่งเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้น จำเลยก็มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นนี้ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 28 จำเลยอุทธรณ์การประเมินภาษีของเจ้าพนักงานประเมิน โจทก์ส่งคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้จำเลยโดยวิธีปิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2539 ซึ่งถือว่าจำเลยได้รับแล้วในวันปิดนั้นเองตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม จำเลยมิได้ฟ้องคดีต่อศาลเพื่อโต้แย้งคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ หนี้ภาษีอากรตามคำวินิจฉัยดังกล่าวจึงเด็ดขาดและเป็นหนี้ภาษีอากรค้างตามกฎหมาย ระยะเวลาที่โจทก์มีอำนาจใช้วิธีการยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยผู้ค้างชำระหนี้ภาษีอากรตาม ป.รัษฎากร มาตรา 12 วรรคสี่ ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 271 และ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ.2542 มาตรา 14 เริ่มตั้งแต่วันถัดจากวันที่จำเลยได้รับคำวินิจฉัยอุทธรณ์คือวันที่ 23 มีนาคม 2539 นับถึงวันฟ้องคดีนี้คือวันที่ 21 มีนาคม 2546 ยังไม่พ้น 10 ปี หนี้ตามฟ้องไม่ใช่หนี้ที่โจทก์หมดสิทธิบังคับคดี
เจ้าพนักงานของโจทก์ได้ปิดหมายเรียก ณ ที่อยู่หรือสำนักงานของจำเลยตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสอง และถือว่าจำเลยได้รับหมายโดยชอบแล้วตาม ป.รัษฎากร มาตรา 8 วรรคสาม ซึ่งเป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงไม่นำหลักการนับระยะเวลาปิดหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 79 วรรคสอง มาใช้บังคับ เจ้าพนักงานของโจทก์ปิดหมายเรียกวันที่ 16 พฤษภาคม 2538 หมายเรียกกำหนดให้จำเลยไปพบคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วันที่ 6 มิถุนายน 2538 เป็นการให้เวลาจำเลยล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ชอบด้วย ป.รัษฎากร มาตรา 32 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6435/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประมูลทอดตลาดในคดีล้มละลาย สิทธิของผู้ประมูลซื้อ vs. การครอบครองปรปักษ์ & เหตุสุดวิสัย
ผู้คัดค้านยื่นอุทธรณ์ภายหลังมีการประกาศใช้บังคับ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 3 แล้ว จึงต้องนำบทบัญญัติตามกฎหมายทีแก้ไขใหม่นี้มาใช้บังคับ เมื่ออุทธรณ์ของผู้คัดค้านเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลล้มละลายกลางตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 วรรคหนึ่ง ซึ่งอุทธรณ์ได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 วรรคสอง (1) ถึง (5) แต่คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ผู้ร้องเป็นคู่สัญญาตามสัญญาซื้อขายที่ดิน และให้ขยายระยะเวลาให้ผู้ร้องชำระราคาที่ดินส่วนที่เหลือไม่ต้องด้วยบทบัญญัติดังกล่าว จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านมานั้นเป็นการมิชอบ
แม้คดีจะต้องห้ามอุทธรณ์แต่ศาลฎีกามีอำนาจรับอุทธรณ์ของผู้คัดค้านไว้พิจารณาพิพากษาได้หากพิจารณาแล้วเห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรมจำเป็นต้องแก้ไขข้อผิดพลาดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย (ฉบับที่ 2)ฯ มาตรา 4
การที่มีผู้ยื่นคำร้องขออ้างว่าได้ที่ดินดังกล่าวมาโดยการครอบครองปรปักษ์อันเป็นการได้มาซึ่งทรัพยสิทธิอันเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์โดยทางอื่นนอกจากนิติกรรม แต่สิทธิอันยังมิได้จดทะเบียนดังกล่าวนี้ห้ามมิให้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองที่ดินซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้ได้สิทธิมาโดยเสียค่าตอบแทนและโดยสุจริต และได้จดทะเบียนสิทธิโดยสุจริตแล้วตาม ป.พ.พ. มาตรา 1299 วรรคสอง แม้จะมีผู้ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดโดยการครอบครองปรปักษ์ก็ตาม สิทธิดังกล่าวก็ไม่อาจยกขึ้นต่อสู้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองซึ่งย่อมได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวในอันที่จะได้รับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้
ผู้ร้องเป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายโดยสุจริต สิทธิของผู้ร้องจึงมิเสียไปแม้ภายหลังจะพิสูจน์ได้ว่าทรัพย์นั้นมิใช่ของผู้ล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330 แม้ผู้ร้องจะยังมิได้มีการชำระราคาทรัพย์ครบถ้วนหรือยังมิได้มีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ผู้ร้องก็ยังได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตราดังกล่าว ผู้อื่นจะอ้างเหตุว่าเป็นผู้ครอบครองปรปักษ์ที่ดินดังกล่าวขึ้นต่อสู้สิทธิของผู้ร้องมิได้ การที่มีผู้ยื่นคำร้องขอครอบครองปรปักษ์ที่ดินที่ผู้ร้องประมูลซื้อได้จากการขายทอดตลาดจึงมิได้มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิของผู้ร้องแต่อย่างใด
แม้มีผู้ยื่นคำร้องขอเพิกถอนการขายทอดตลาดแต่ศาลล้มละลายกลางได้มีคำสั่งยกคำร้องดังกล่าวไปแล้ว ดังนั้น เมื่อศาลล้มละลายกลางยกคำร้องดังกล่าวไปแล้วและศาลอุทธรณ์ยังมิได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด ผู้ร้องจึงยังคงได้รับความคุ้มครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1330

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ที่มีดอกเบี้ยเกินกฎหมายทำให้จำนวนหนี้ไม่แน่นอน ฟ้องล้มละลายไม่ได้
เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ยอดหนี้ตามฟ้องโจทก์มีดอกเบี้ยที่เป็นโมฆะอันเป็นมูลหนี้ที่ผิดกฎหมายรวมอยู่ด้วย กรณีถือได้ว่าหนี้ของโจทก์ยังไม่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยให้ล้มละลายตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 9 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6017/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดร่วมกันของหุ้นส่วนผู้จัดการในหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด และการล้มละลาย
คดีนี้แม้โจทก์จะฟ้องว่าจำเลยทั้งสี่เป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาตามยอมของศาลแพ่งกรุงเทพใต้ก็ตาม แต่ตามหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องหมายเลข 2 ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด มีจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โดยจำเลยที่ 2 มิได้ให้การโต้แย้งว่าหนังสือรับรองเอกสารท้ายคำฟ้องดังกล่าวไม่ถูกต้องแต่อย่างใด ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องร่วมรับผิดในบรรดาหนี้สินของห้างจำเลยที่ 1 โดยไม่จำกัดจำนวนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1070, 1077 (2), 1080 และมาตรา 1087 เมื่อศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 1 เด็ดขาด คดีถึงที่สุดแล้วตามคำสั่งของศาลล้มละลายกลาง จำเลยที่ 2 ซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ตามฟ้องกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ด้วย จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์โต้เถียงว่าตนเองมิใช่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวอีกได้ เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 จะต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์มีจำนวน 5,813,980.32 บาท และจำเลยที่ 2 เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ทั้งกรณีไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยที่ 2 ล้มละลาย คดีย่อมมีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 14 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6013/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: การโอนภายใน 3 ปี, เจตนาทุจริต, ราคาต่ำกว่าประเมิน
ในวันนัดไต่สวนคำร้องนัดแรกศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่าได้ตรวจคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดิน ข้อคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสองแล้ว เห็นว่าพอวินิจฉัยได้ให้งดไต่สวนพยานทั้งสองฝ่าย นัดฟังคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี เช่นนี้เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ปรากฏตามคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินของผู้ร้องและคำคัดค้านของผู้คัดค้านทั้งสอง มิได้มีการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นปัญหาข้อกฎหมายแต่อย่างใด กรณีจึงไม่ต้องด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 24 และคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านทั้งสองมิได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 153 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6012/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในการสอบสวนคดีอาญาตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย: ดุลพินิจและสิทธิโจทก์
ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำการสอบสวนและทำความเห็นคดีอาญาในฐานะพนักงานสอบสวนได้นั้นจะต้องปรากฏว่ามีเหตุอันควรเชื่อได้ว่ามีการกระทำผิดในทางอาญาเกิดขึ้นในระหว่างดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย แต่ทั้งนี้ไม่ตัดอำนาจพนักงานสอบสวนตาม ป.วิ.อ. ที่จะสอบสวนกรณีเดียวกันนี้ได้ การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตรวจรายงานการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกและบันทึกการไต่สวนลูกหนี้โดยเปิดเผยในสำนวนแล้วมีคำสั่งไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยและกรรมการบริษัทจำเลยตามคำร้องของโจทก์ ถือได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ตรวจสอบเบื้องต้นแล้วเห็นว่าไม่มีเหตุอันควรเชื่อได้ว่าจำเลยหรือผู้หนึ่งผู้ใดกระทำผิดในทางอาญาเกี่ยวกับการล้มละลายจึงมิได้ทำการสอบสวนผู้ใด ซึ่งเป็นดุลพินิจและอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยเฉพาะตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย ฯ มาตรา 160 วรรคหนึ่ง แต่ทั้งนี้ไม่ตัดสิทธิของโจทก์ที่จะร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนหรือฟ้องร้องดำเนินคดีต่อผู้กระทำผิดได้ด้วยตนเองตาม ป.วิ.อ. มาตรา 2 (7), 2 (8) ประกอบมาตรา 28 (2)
of 192