คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วัดร้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1653/2525

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรวมวัดและการถือครองที่ดินสงฆ์: การเพิกถอนโฉนดที่ดินที่ออกให้กับวัดร้าง
เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ได้ให้ยุบรวมวัดใหม่กับวัดภูเขาดินโจทก์เป็นวัดเดียวกัน เมื่อ พ.ศ. 2481 ในขณะที่วัดใหม่ยังมีพระภิกษุอยู่ จึงหาใช่เป็นวัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยไม่
การยุบรวมวัดแม้พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121ซึ่งใช้บังคับอยู่ในขณะนั้นจะไม่ได้บัญญัติไว้ แต่ตามพระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 ยอมรับให้มีการรวมวัดที่ใกล้ชิดติดกัน เป็นวัดเดียวกันเพื่อประโยชน์แก่การบำรุงวัดให้เจริญยิ่งขึ้นหรือเพื่อประโยชน์แก่การปกครองคณะสงฆ์ได้โดยขอรับความเห็นชอบในที่สุดจากฝ่ายปกครองคณะสงฆ์ก่อนและ พระราชบัญญัติลักษณะปกครองคณะสงฆ์ร.ศ.121 ก็ไม่มีบทบัญญัติห้ามไว้ดังนั้นการที่เจ้าคณะจังหวัดเพชรบูรณ์ สั่งรวมวัดใหม่เข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
วัดใหม่ที่ยุบรวมเข้าเป็นวัดเดียวกับวัดโจทก์ จึงไม่มีสภาพที่จะตกเป็นวัดร้างได้ ที่ดินพิพาทเดิมเป็นของวัดใหม่แล้วได้รื้อกุฎิวิหารและสิ่งปลูกสร้างจากที่ดินพิพาทไปไว้ที่วัดโจทก์เมื่อรวมกับวัดโจทก์ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นที่ดินของวัดร้างแต่เป็นที่ธรณีสงฆ์ของวัดโจทก์ด้วยการยุบรวมวัดใหม่กับวัดโจทก์เป็นวัดเดียวดังนี้การดูแลรักษาและจัดการไม่อยู่ในอำนาจหน้าที่ของกรมการศาสนาจำเลย การที่จำเลยไปขอออกโฉนดที่ดินพิพาทเป็นของวัดใหม่ (ร้าง) เป็นการไม่ชอบโจทก์มีสิทธิขอให้เพิกถอนเสียได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027-4030/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัย: กรมการศาสนามีอำนาจดูแลทรัพย์สินและฟ้องร้องได้
วัดร้างสงฆ์ไม่อาศัยกรมการศาสนาย่อมมีอำนาจดูแลรักษาและจัดการทรัพย์สินของวัดนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของวัดร้าง: การยกฐานะวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ทำให้วัดสืบทอดสิทธิเดิมได้
แม้จะยกฐานะวัดโจทก์จากวัดร้างข้นเป็นวันที่มีพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการก็ตาม แต่พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มิได้บัญญัติถึงวัดร้าง ฉะนั้นวัดร้างจึงมิได้เสียสภาพจากการเป็นวัด เพราะยังมิได้มีการยุบเลิกวัดร้าง และยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่เป็นของวัดได้อยู่ โดยให้พนักงานฝ่ายพระราชอาณาจักรเป็นผู้ปกครองรักษาไว้แทน ต่อมาวัดโจทก์ได้รับการยกฐานะจากวัดร้างขั้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และเป็นผู้สืบทอดสิทธิต่าง ๆ ของวัดร้างนั้นมา จึงมีอำนาจเป็นโจทก์และมีสิทธิติดตามเอาคืน ซึ่งทรัพย์สินของวัดร้างนั้นจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การ แต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาลจะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้ เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2954/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในทรัพย์สินของวัดร้าง: การยกฐานะวัดร้างเป็นวัดมีพระสงฆ์ทำให้สิทธิในทรัพย์สินยังคงอยู่และสืบทอดไปยังวัดใหม่
แม้จะยกฐานะวัดโจทก์จากวัดร้างขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518 ตามประกาศของกระทรวงศึกษาธิการก็ตามแต่พระราชบัญญัติปกครองคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มิได้บัญญัติถึงวัดร้าง ฉะนั้นวัดร้างจึงมิได้เสียสภาพจากการเป็นวัดเพราะยังมิได้มีการยุบเลิกวัดร้าง และยังมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินและทรัพย์สินที่เป็นของวัดได้อยู่ โดยให้พนักงานฝ่ายพระราชอาณาจักรเป็น ผู้ปกครองรักษาไว้แทน ต่อมาวัดโจทก์ได้รับการยกฐานะจากวัดร้าง ขึ้นเป็นวัดที่มีพระสงฆ์จึงมีฐานะเป็นนิติบุคคลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 72 และเป็นผู้สืบทอดสิทธิต่างๆ ของวัดร้างนั้นมาจึงมีอำนาจเป็นโจทก์และมีสิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของวัดร้างนั้นจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
จำเลยยกข้อต่อสู้ เรื่องการครอบครองปรปักษ์ไว้ในคำให้การแต่เมื่อศาลชั้นต้นทำการชี้สองสถาน มิได้กำหนดปัญหาดังกล่าวไว้เป็นประเด็นข้อพิพาท โจทก์จำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านแต่ ประการใด จึงถือว่าคู่ความได้สละเกี่ยวกับปัญหาข้อนี้แล้ว ศาล จะหยิบยกขึ้นมาวินิจฉัยอีกไม่ได้เพราะเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทไม่ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1029/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินวัดและภารจำยอม: วัดมิอาจเสียสิทธิในที่ดินโดยอายุความ แม้เป็นวัดร้าง
คดีก่อนโจทก์รับมรดกความจากมารดาซึ่งได้ฟ้องผู้เช่าที่ดินวัดร้างเป็นจำเลยมิได้ฟ้องกรมการศาสนาจำเลยที่ 1 ผู้ให้เช่าด้วย ศาลพิพากษายกฟ้องโดยยังมิได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงที่โจทก์ว่าเดินเข้าออกที่สะพานปลาไม่จำเป็นต้องรับอนุญาตจากใคร ดังนั้น ที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าโจทก์ใช้เป็นทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะและท่าปลามาเป็นเวลา 60 ปีเศษได้ภารจำยอม บัดนี้จำเลยล้อมรั้วคอนกรีตเสริมเหล็กปิดกั้นทางผ่านของโจทก์ จึงเป็นเรื่องโจทก์ฟ้องว่าได้ภารจำยอม โดยทางอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1401 จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ
พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มาตรา 34 ครอบคลุมถึงอายุความได้ภารจำยอมด้วย ผู้ใดจะยกอายุความขึ้นอ้างกับวัดในเรื่องที่ดินของวัดหรือที่ธรณีสงฆ์ไม่ได้
แม้พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.2505 มิได้บัญญัติไว้ถึงเรื่องวัดร้างวัดร้างก็หาได้เสียสภาพจากการเป็นวัดไปไม่ (อ้างฎีกาที่ 44/2464 และฎีกาที่ 966/2474)
จำเลยจะปลูกสร้างอาคารและรั้วผิดเทศบัญญัติหรือไม่ก็ตามเมื่อไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์แล้ว ก็เป็นหน้าที่ของทางฝ่ายพนักงานปกครองและเทศบาลที่จะจัดการกับจำเลย หาใช่หน้าที่ของโจทก์ไม่ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการปลูกสร้างผิดเทศบัญญัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2484

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปกครองวัดร้าง: การก่อสร้างโดยไม่ได้รับอนุญาต
คณะกรมการอำเภอมีหน้าที่ปกครองรักษาวัดร้างที่ไม่มีสุงฆ์อาศัยรวมทั้งธรณีสงฆ์ที่ขึ้นแก่วัดนั้นด้วย ถ้าผู้ใดเข้าปลูกสร้างวัดย่อมมีอำนาจสั่งห้ามได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 995/2475

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขุดวัดร้างเพื่อค้นหาสมบัติ ไม่เข้าข่ายทำลายศาสนสถาน ลักทรัพย์ หรือทำให้ทรัพย์เสียหาย
อย่างไรเรียกว่าทำลาย สถานเคารพในทางศาสนา พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์อย่างไรเรียกว่าสถานที่บูชาการกระทำอย่างไรจึงจะเข้าลักษณพยายามลัก ทรัพย์แลทำให้ทรัพย์เสียหาย ขุดฐานวัดร้างโดยเดาเอาว่าจะมีพระยังไม่มีผิดสถานใด ที่ดิน วัดร้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 966/2474

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่วัดร้าง อัยยการมีอำนาจฟ้องผู้บุกรุก และการครอบครองนานไม่ทำให้ได้กรรมสิทธิ
ที่วัดผู้ใดปกครองมานาน เท่าใดก็ไม่ได้กรรมสิทธิ
อัยยการมีอำนาจฟ้องผู้บุกรุกที่วัดร้างได้