พบผลลัพธ์ทั้งหมด 34 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3683/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีอากรจากวัตถุดิบและเครื่องจักรนำเข้าที่ไม่ได้ใช้ตามเงื่อนไขบัตรส่งเสริมการลงทุน
จำเลยได้รับบัตรส่งเสริมของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนซึ่งกำหนดเงื่อนไขไว้ในข้อ 3 ว่าวัตถุดิบหรือวัสดุจำเป็นที่คณะกรรมการอนุมัติให้ยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้า และภาษีการค้านั้นจะต้องใช้เฉพาะในกิจการส่วนที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการให้ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าและหรือภาษีการค้าเท่านั้น หากจะจำหน่ายจ่ายโอนหรือนำไปใช้ในการอื่นจะต้องได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการก่อน และในข้อ 13.4 ก็กำหนดให้จำเลยนำผลิตภัณฑ์ที่ผลิตหรือประกอบส่งออกไปจำหน่ายนอกราชอาณาจักรทั้งสิ้น หากจำเลยมิได้ปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมดังกล่าว จำเลยก็ย่อมไม่อาจถือประโยชน์ที่ได้รับตามบัตรส่งเสริมได้ เมื่อจำเลยมีวัตถุดิบและวัสดุจำเป็นที่นำเข้าคงเหลือที่ไม่ได้ใช้ผลิต ผสม หรือประกอบผลิตภัณฑ์เพื่อการส่งออกภายในระยะเวลาหนึ่งปีตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ จึงไม่อยู่ในเงื่อนไขที่จำเลยจะได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนอากรขาเข้าและภาษีการค้าตามบัตรส่งเสริมการลงทุนดังกล่าว
ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 บัญญัติว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจอนุญาตให้ผู้รับการส่งเสริมจำหน่ายเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรได้โดยการอนุญาตจะทำเป็นหนังสือหรือแก้ไขบัตรส่งเสริมโดยระบุเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้ และวรรคสามบัญญัติว่า ห้ามมิให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรานี้ แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยประสงค์จะจำหน่ายเครื่องจักรและได้มีหนังสืออนุญาตให้จำเลยจำหน่ายเครื่องจักรหรือมีการแก้ไขบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งคดีก็ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้จำหน่ายจ่ายโอนเครื่องจักรดังกล่าวไปแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขโดยการจำหน่ายเครื่องจักรแล้วหาได้ไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรขาเข้าและภาษีการค้าในส่วนนี้
ตามมาตรา 41 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ส่งเสริมการลงทุน พ.ศ. 2520 บัญญัติว่า คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนมีอำนาจอนุญาตให้ผู้รับการส่งเสริมจำหน่ายเครื่องจักรที่ได้รับยกเว้นหรือลดหย่อนภาษีอากรได้โดยการอนุญาตจะทำเป็นหนังสือหรือแก้ไขบัตรส่งเสริมโดยระบุเงื่อนไขและรายละเอียดในการอนุญาตไว้ด้วยก็ได้ และวรรคสามบัญญัติว่า ห้ามมิให้นำกฎหมายว่าด้วยพิกัดอัตราศุลกากรมาใช้บังคับแก่ผู้ได้รับการส่งเสริมซึ่งได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการตามมาตรานี้ แต่ตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏหลักฐานว่าจำเลยประสงค์จะจำหน่ายเครื่องจักรและได้มีหนังสืออนุญาตให้จำเลยจำหน่ายเครื่องจักรหรือมีการแก้ไขบัตรส่งเสริมจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ทั้งคดีก็ไม่ได้ความแน่ชัดว่าจำเลยได้จำหน่ายจ่ายโอนเครื่องจักรดังกล่าวไปแล้วหรือไม่ กรณีเช่นนี้จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติผิดเงื่อนไขโดยการจำหน่ายเครื่องจักรแล้วหาได้ไม่ โจทก์ทั้งสองจึงไม่มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าภาษีอากรขาเข้าและภาษีการค้าในส่วนนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อยกเว้นภาษีการค้าสำหรับกาวและวัตถุดิบอุตสาหกรรม: การตีความคำว่า 'อุตสาหกรรม' และขอบเขตการยกเว้น
ตามบัญชีที่ 1 หมวด 5 เครื่องมือ เครื่องใช้ ของใช้ (26)แห่งบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 บัญญัติว่า "กาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกัน นอกจากที่ใช้ในการอุตสาหกรรม" ดังนั้นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกันดังกล่าวจึงหมายถึงสิ่งของที่เป็นเครื่องมือ เครื่องใช้ และของใช้ ดังที่ระบุไว้ในตอนต้นของหมวด 5 เมื่อสินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ เป็นกาวหรือสินค้าอันมีลักษณะทำนองเดียวกับกาว หากโจทก์ขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าวเพื่อใช้ในกิจการอย่างอื่นที่มิใช่การอุตสาหกรรม โจทก์ย่อมต้องเสียภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับการยกเว้นภาษีการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.ฎ. ดังกล่าวข้างต้น ส่วนโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ที่โจทก์ผลิตและได้นำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการอุตสาหกรรมนั้นเป็นสินค้าที่มิได้ระบุไว้ในบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ดังกล่าว และเป็นสินค้าที่ผลิตในราชอาณาจักรทั้งเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก)ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ2 แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ตามมาตรา 5 (8) แห่ง พ.ร.ฎ. ดังกล่าว
ตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่า"อุตสาหกรรม" ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่าการทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร,การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมากอุตสาหกรรมตามความหมายแรกนั้นจึงไม่จำต้องเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมหรือได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมาย นอกจากนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง ก็อยู่ในความหมายของคำว่าอุตสาหกรรมด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตด ลาเท็กซ์ ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ในการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าว
ตามบัญชีท้าย พ.ร.ฎ.ออกตามความใน ป.รัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ.2517 มิได้ให้ความหมายของคำว่า"อุตสาหกรรม" ไว้ จึงต้องถือตามความหมายทั่วไปของคำดังกล่าว ซึ่งตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 ให้ความหมายของคำว่า "อุตสาหกรรม" ไว้ว่าการทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร,การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมากอุตสาหกรรมตามความหมายแรกนั้นจึงไม่จำต้องเป็นกิจการที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมหรือได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตามกฎหมาย นอกจากนี้อุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง ก็อยู่ในความหมายของคำว่าอุตสาหกรรมด้วย เมื่อปรากฏว่าโจทก์ได้ขายสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตด ลาเท็กซ์ ให้แก่ลูกค้าที่ซื้อไปใช้ในการอุตสาหกรรมทั้งสิ้น โจทก์จึงได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1509/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อ: พิจารณาภาษีการค้าฐานะผู้ผลิตหรือผู้รับจ้างทำของ โดยพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและการงาน
เมื่อคุณภาพและส่วนผสมของสบู่และเนยที่โจทก์ผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้ากับที่โจทก์ผลิตและจำหน่ายเองเหมือนกัน สัมภาระหรือวัตถุที่นำมาใช้ในการผลิตตามคำสั่งเฉพาะรายดังกล่าวจึงมีความสำคัญยิ่งกว่าการงานกรณีเป็นการผลิตและขายให้ลูกค้าผู้สั่ง มิใช่การรับจ้างทำของ ดังนั้นโจทก์ต้องเสียภาษีการค้าในฐานะผู้ผลิต.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4340/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความการเรียกร้องราคาสินค้าที่เป็นวัตถุดิบเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม
จำเลยสั่งซื้อยางวัตถุดิบและท่อยางซึ่งเป็นสินค้าสำเร็จรูปเพื่อนำไปใช้ในโรงงานที่มีการผลิตสินค้าจำหน่าย ถือได้ว่าเป็นการที่ได้ทำเพื่ออุตสาหกรรมของลูกหนี้ โจทก์ฟ้องเรียกราคาค่าสินค้าได้ภายในอายุความ 5 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 165 วรรคท้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้า: วัตถุดิบอุตสาหกรรม vs. สินค้าสำเร็จรูปที่เข้าลักษณะกาว การคืนเงินภาษี
โจทก์ผลิตสินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ที่ใช้ในการอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายอีกด้วย เมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตขายแม้จะไม่ใช่กาวแต่มีลักษณะทำนองเดียวกับกาว สินค้าโพลีไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ของโจทก์ที่ทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมาย เพราะไม่ได้รับยกเว้นภาษีตามบัญชี 1 หมวด 5 (26) แห่งบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ส่วนสินค้าโพลิไวนิล อาซิเตด ลาเท็กซ์ ที่โจทก์ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอุตสาหกรรมเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1 (ก) ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร โจทก์ย่อมได้รับการยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 (8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4221/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาษีการค้า P.V.A. Latex: การจำแนกสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบเพื่อการยกเว้นภาษี
โจทก์ผลิตสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ที่ใช้ในการอุตสาหกรรมรวมทั้งผลิตเป็นสินค้าสำเร็จรูปจำหน่ายอีกด้วยเมื่อโจทก์ยอมรับข้อเท็จจริงว่าสินค้าที่โจทก์ผลิตขายแม้จะไม่ใช่กาวแต่มีลักษณะทำนองเดียวกับกาว สินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ของโจทก์ที่ทำเป็นสินค้าสำเร็จรูป จึงต้องเสียภาษีการค้าตามกฎหมายเพราะไม่ได้รับยกเว้นตามบัญชี 1 หมวด 5(26) แห่งบัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517 ส่วนสินค้าโพลีไวนิลอาซิเตดลาเท็กซ์ ที่โจทก์ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบในการประกอบอุตสาหกรรมเป็นสินค้าตามประเภทการค้า 1 ชนิด 1(ก)ของบัญชีอัตราภาษีการค้าท้ายหมวด 4 ลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์ย่อมได้รับยกเว้นภาษีการค้าสำหรับการขายสินค้าของโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5(8) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตราและยกเว้นภาษีการค้า(ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2517
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3338/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดประเภทกระดาษคราฟท์เพื่อเสียภาษี: พิจารณาจากคุณลักษณะและวัตถุดิบการผลิต ไม่ใช่แค่มาตรฐานอุตสาหกรรม
กระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกก็คือ กระดาษสีน้ำตาลที่มีความเหนียวมากกว่ากระดาษธรรมดาที่ใช้พิมพ์หนังสือหรือใช้ทำสมุดทั้งนี้เพราะกระดาษคราฟทเป็นกระดาษที่ผลิตขึ้นเพื่อใช้ทำกล่อง ผิวกล่อง ถุงหลายชั้นหรือชั้นเดียวหรือใช้เป็นกระดาษสำหรับห่อสิ่งของหรือสินค้า ผลการตรวจสอบกระดาษตัวอย่างที่โจทก์ผลิตระบุว่า กระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษสำหรับทำผิวกล่อง (คือกระดาษคราฟทหรือกระดาษเหนียว)ตามที่กล่าวไว้ในมาตรฐานเลขที่มอก.170-2519 แต่มีคุณภาพด้านความเหนียวของกระดาษตัวอย่างต่ำกว่าที่กำหนดไว้ในมาตรฐานเท่านั้น มิได้ปฏิเสธว่ามิใช่กระดาษคราฟท ดังนี้ต้องถือว่ากระดาษที่โจทก์ผลิตเป็นกระดาษคราฟทหรือกระดาษคราฟทที่ทำเป็นลูกฟูกดังที่กำหนดไว้ในบัญชีที่ 3 หมวด 5 สินค้าอื่น ๆ (1) ท้ายพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 54)พ.ศ.2517 โจทก์จึงได้ลดภาษีการค้าลงเหลือร้อยละ 1.5 ของรายรับ.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การผลิตอิฐทนไฟตามสั่งพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกิริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่แต่ความสำคัญอยู่ที่จะต้องพิจารณาว่าสัมภาระกับงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้า การงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นการรับจ้างทำของ แต่ถ้า ไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตตามแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะรายของโจทก์นั้น วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ในการทำอิฐ ทน ไฟ ได้แก่ บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดิน ทนไฟ นำมาผสมกันเติม ด้วยสารเคมี แล้วนำไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ อิฐทนไฟที่ผลิตได้หาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงหาใช่เป็นการรับจ้างทำของไม่ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกันอิฐทนไฟแบบมาตรฐานรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะรายจึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน จะนำมาแยกเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า4. การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2 หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 258/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขาย vs. รับจ้างทำของ: การพิจารณาจากความสำคัญของวัตถุดิบและผลงานสำเร็จ
ข้อแตกต่างระหว่างการซื้อขายและการรับจ้างทำของนั้นหาได้อยู่ที่เจตนาและกริยาของคู่กรณีที่ประพฤติต่อกันแต่ประการเดียวไม่ แต่ความสำคัญอยู่ที่ว่า สัมภาระกับการงานที่รับทำจนสำเร็จนั้นสิ่งไหนสำคัญกว่ากัน ถ้าการงานที่รับทำจนสำเร็จสำคัญกว่าสัมภาระก็เป็นรับจ้างทำของ แต่ถ้าไม่สำคัญกว่าก็เป็นการซื้อขาย
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
การผลิตอิฐทนไฟไม่ว่าจะเป็นการผลิตแบบมาตรฐานหรือผลิตตามคำสั่งเป็นการเฉพาะราย วัตถุดิบหรือสัมภาระที่ใช้ได้แก่บล๊อกไซด์ชามอสอลูมิน่า ดินทนไฟ นำมาผสมกัน เติมด้วยสารเคมีแล้วนาไปอัดเป็นรูปแบบต่าง ๆ จากนั้นจึงนำไปเผาไฟ จึงเห็นได้ว่าอิฐทนไฟที่ผลิตหาได้มีความสำคัญไปกว่าสัมภาระหรือวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตไม่ การผลิตอิฐทนไฟตามคำสั่งเฉพาะรายของลูกค้าจึงมิใช่เป็นการรับจ้างทำของ แต่เป็นการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟเช่นเดียวกับอิฐทนไฟแบบมาตรฐานนั่นเองดังนั้นรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟตามคำสั่งของลูกค้าเป็นการเฉพาะราย จึงต้องเสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 1.การขายของ ชนิด 1(ก) ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าในอัตราร้อยละ 7 เช่นเดียวกับรายรับที่ได้จากการผลิตและจำหน่ายอิฐทนไฟแบบมาตรฐาน มิใช่เสียภาษีการค้าในประเภทการค้า 4.การรับจ้างทำของ ชนิด 1(ฉ) ในอัตราร้อยละ 2.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1207/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความพิกัดอัตราศุลกากร กรณีซิลิโคนใช้ได้ทั้งวัตถุดิบและสินค้าสำเร็จรูป ต้องจัดเข้าประเภทอัตราอากรสูงที่สุด
ซิลิโคนบริสุทธิ์ที่โจทก์นำเข้ามาใช้ประโยชน์ทั้งสองทางพร้อมกันคือใช้ได้ทั้งเป็นวัตถุดิบและวัตถุสำเร็จรูป
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)
การพิจารณาว่าซิลิโคนที่นำเข้าใช้เป็นวัตถุดิบหรือไม่ให้ดู 'ชนิด' ของซิลิโคน หาใช่ดูการใช้ซิลิโคนจำนวนนั้นจริง ๆ ไม่ เมื่อซิลิโคนที่โจทก์นำเข้าเป็นได้ทั้งชนิดที่ใช้เป็นวัตถุดิบตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ก. และวัตถุสำเร็จรูปอันเป็นชนิดอื่น ๆ ตามพิกัดประเภทที่ 39.01 ข. จึงเป็นกรณีของชนิดหนึ่งอาจจัดเข้าได้ 2 ประเภทหรือมากกว่านั้น ต้องอาศัยหลักเกณฑ์การตีความพิกัดอัตราศุลกากร ตามภาค 1 ท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 บังคับ กรณีนี้มิใช่ประเภทหนึ่งระบุลักษณะของของไว้ชัดแจ้ง และอีกประเภทหนึ่งระบุไว้อย่างกว้าง ๆ ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ก) ทั้งมิใช่กรณีของซึ่งผสมหรือประกอบด้วยวัตถุต่างชนิดกันตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ข) จึงต้องเข้าประเภทซึ่งมีอัตราอากรสูงที่สุด คือประเภทที่ 39.01ข. ตามหลักเกณฑ์ข้อ 3 (ค)