พบผลลัพธ์ทั้งหมด 189 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6470/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของห้างหุ้นส่วนจำกัดในหนี้ที่เกิดขึ้นก่อนและหลังจดทะเบียน โดยมีวัตถุประสงค์สอดคล้องกับหนี้
ก่อนจดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วนจำกัดจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการค้าขายเฟอร์นิเจอร์ใช้ชื่อร้านว่า ส.เฟอร์นิเจอร์ และจำเลยที่ 2 ได้สั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ก็ยังคงสั่งซื้อเฟอร์นิเจอร์จากโจทก์ในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ อีก การที่โจทก์ส่งสินค้าตามที่จำเลยที่ 2 สั่งในชื่อ ส.เฟอร์นิเจอร์ก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แต่เมื่อจดทะเบียนเป็นจำเลยที่ 1 แล้วการซื้อสินค้าของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวก็อยู่ภายในขอบวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 1 ก็ได้เข้าไปถือเอาประโยชน์จากสินค้าที่โจทก์ส่งไปให้ดังกล่าว จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมรับผิดในหนี้ที่จำเลยที่ 2 สั่งซื้อสินค้าจากโจทก์ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3693/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายเครื่องจักร: ผู้ซื้อต้องชำระราคาตามสัญญา แม้เครื่องจักรมีข้อบกพร่องที่ไม่กระทบต่อการใช้งานตามวัตถุประสงค์
จำเลยให้การยอมรับว่า จำเลยได้ทำสัญญาซื้อเครื่องจักรพิพาทจากโจทก์และยังค้างชำระราคาเครื่องจักรพิพาทแก่โจทก์จริงตามฟ้อง แต่จำเลยได้ยกข้อต่อสู้ขึ้นใหม่ว่า เครื่องจักรพิพาทที่โจทก์ส่งมอบแก่จำเลยมีความบกพร่องไม่สามารถห่อเทียนไขด้วยฟิล์มหดได้ดีเหมือนกับห่อด้วยแรงงานคนตามที่ตกลงซื้อขายกัน จำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์หรือมีหน้าที่นำสืบก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1400/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณา 'งานแสวงหากำไร' เพื่อบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน ต้องดูวัตถุประสงค์ของนิติบุคคล
การพิจารณาว่างานที่จำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลจ้างโจทก์ทำเป็นงานที่แสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจหรือไม่ ต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของจำเลยประกอบด้วย
จำเลยมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการสถาบันเทคโนโลยี่บนมูลฐานไม่แบ่งสรรกำไร จำเลยมีอำนาจหน้าที่ทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกิจการในการให้เช่าทรัพย์สิน ให้กู้ยืม จำนำ จำนองได้ตามกฎบัตรก็เพื่อให้มีอำนาจบริหารจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของจำเลยที่มีอยู่ เพื่อเป็นทุนดำเนินงานในโครงการตามวัตถุประสงค์ เป็นการช่วยเหลือตนเองโดยไม่จำต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ให้ทุนแต่เพียงอย่างเดียว งานโครงการเฟอร์โรซีเมนต์ที่จำเลยจ้างโจทก์ทำมีรายรับจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ กับจากการจัดทำวารสารและสัมมนาทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปหากมีรายรับเหลือจ่ายจากการดำเนินงานต้องนำไปใช้ในการดำเนินงานของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการอื่นและห้ามนำมาแบ่งปันกัน งานที่จำเลยทำจึงไม่ใช่กิจการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในเรื่องค่าชดเชย
จำเลยมีวัตถุประสงค์ดำเนินกิจการสถาบันเทคโนโลยี่บนมูลฐานไม่แบ่งสรรกำไร จำเลยมีอำนาจหน้าที่ทำนิติกรรมสัญญาและดำเนินกิจการในการให้เช่าทรัพย์สิน ให้กู้ยืม จำนำ จำนองได้ตามกฎบัตรก็เพื่อให้มีอำนาจบริหารจัดการทรัพย์สินและสิทธิประโยชน์ของจำเลยที่มีอยู่ เพื่อเป็นทุนดำเนินงานในโครงการตามวัตถุประสงค์ เป็นการช่วยเหลือตนเองโดยไม่จำต้องพึ่งพาเงินอุดหนุนจากรัฐบาลของประเทศผู้ให้ทุนแต่เพียงอย่างเดียว งานโครงการเฟอร์โรซีเมนต์ที่จำเลยจ้างโจทก์ทำมีรายรับจากเงินอุดหนุนของรัฐบาลไทยและรัฐบาลต่างประเทศ กับจากการจัดทำวารสารและสัมมนาทางวิชาการ มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้แก่สมาชิกและบุคคลทั่วไปหากมีรายรับเหลือจ่ายจากการดำเนินงานต้องนำไปใช้ในการดำเนินงานของโครงการเท่านั้น ไม่สามารถนำไปใช้ในโครงการอื่นและห้ามนำมาแบ่งปันกัน งานที่จำเลยทำจึงไม่ใช่กิจการแสวงหากำไรในทางเศรษฐกิจ ไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ในเรื่องค่าชดเชย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากตลาดกลางสินค้าเกษตรของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คดีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินห้าหมื่นบาทต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 25 ในการวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายตามอุทธรณ์ของจำเลย ศาลฎีกาต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวน ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯ มาตรา 29 ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 238
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
โจทก์มีวัตถุประสงค์ให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเกษตรหรือดำเนินงานของเกษตรกร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์การเกษตร ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรหรือกลุ่มเกษตรกรสามารถประกอบอาชีพอย่างอื่นที่เกี่ยวเนื่องในการเกษตรเพื่อเพิ่มรายได้แก่ครอบครัว รวมถึงมีอำนาจการกระทำกิจการอย่างอื่นบรรดาที่เกี่ยวกับหรือเนื่องในการจัดให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นได้ดำเนินการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือการดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นกิจการอย่างอื่นที่โจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโจทก์ได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตารา 9 และ 10 (13) แห่ง พ.ร.บ. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์ รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6102/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นรายได้ของธนาคารที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มตามวัตถุประสงค์ของ พรบ.ธนาคารเพื่อการเกษตรฯ
ตลาดกลางสินค้าเกษตรขอนแก่นดำเนินกิจการในทางช่วยเหลือส่งเสริมอาชีพของเกษตรกรหรือดำเนินการของเกษตรกรโดยตรง จึงถือว่าเป็นกิจการอย่างอื่นที่ธนาคารโจทก์กระทำเพื่อให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ของธนาคารได้นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือทางการเงินตามมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร พ.ศ. 2509 และเมื่อกิจการตลาดกลางเกษตรขอนแก่นเป็นกิจการของโจทก์รายได้จากกิจการดังกล่าวจึงถือเป็นรายได้ของโจทก์ ไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4003/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียภาษีโรงเรือนและที่ดินของโรงเรียนเอกชน การพิสูจน์ว่าโรงเรียนไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อการกุศล และการใช้ประโยชน์เพื่อหารายได้
ผู้แทนหรือผู้มีอำนาจกระทำแทนมิซซังตามพระราชบัญญัติว่าด้วยลักษณะฐานะของวัดบาทหลวงโรมันคาทอลิกในกรุงสยามตามกฎหมาย ร.ศ. 128 ข้อ 2 วรรคสองมีอยู่ 2 คน คือ อ. ที่โป๊ปได้แต่งตั้งมา และถ้าไม่มีตัวอยู่คนที่เป็นผู้แทนอีกคนหนึ่งคือผู้บัญชาการของมิซซังมิซซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพมหานครโจทก์มี ค. เป็นมุขนายกซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ในการปกครองดูแลมิซซัง จึงถือว่า ค. เป็นผู้บัญชาการของมิซซังมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์และมีอำนาจมอบอำนาจให้ผู้อื่นดำเนินการแทนต่อไป เมื่อ ค. มอบอำนาจให้ ป. ฟ้องคดีและให้มีอำนาจมอบอำนาจช่วงได้ เมื่อ ป. มอบอำนาจให้ ม. และหรือ ว. ฟ้องคดีแทน ม. และหรือ ว. จึงมีอำนาจฟ้องคดีแทนโจทก์ได้
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
แม้คณะเทศมนตรีไม่ใช่นิติบุคคล แต่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 2 เป็นคณะเทศมนตรี โดย ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะประธานกรรมการผู้มีอำนาจรับคำร้องและวินิจฉัยแจ้งคำชี้ขาดการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินของผู้ร้องอุทธรณ์ตามกฎหมาย ถือได้ว่าโจทก์ฟ้อง ศ. นายกเทศมนตรีในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดคำร้องขอให้พิจารณาการประเมินภาษีโรงเรือนและที่ดินใหม่ เมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยชี้ขาด โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดของคณะเทศมนตรี เพื่อให้ ศ. ในฐานะผู้แจ้งคำชี้ขาดเข้ามาต่อสู้คดีและชี้แจงเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยเพื่อแก้ข้ออ้างของโจทก์
โรงเรียนที่จะได้รับยกเว้นภาษีโรงเรือนและที่ดินตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475 มาตรา 9(3) ต้องมีลักษณะเป็นโรงเรียนสาธารณะ กระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคล และจะต้องใช้ในการศึกษาเท่านั้น โรงเรียนของโจทก์เป็นโรงเรียนเอกชนเก็บค่าธรรมเนียมการเรียนเป็นอัตราแน่นอนและได้รับเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ทั้งมีรายได้แต่ละปีเป็นจำนวนมาก และโจทก์ยังใช้สถานที่ของโรงเรียนหารายได้นอกเหนือจากการศึกษา โดยนำไปให้บุคคลภายนอกใช้และเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจึงมิใช่เป็นการกระทำกิจการอันมิใช่เพื่อเป็นผลกำไรส่วนบุคคลและมิได้ใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น เมื่อโรงเรียนของโจทก์ไม่ใช่ลักษณะของโรงเรียนตามมาตรา 9(3) โจทก์จึงต้องเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1168/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาการเสียภาษีป้ายตามนิยามของ พ.ร.บ.ภาษีป้าย พ.ศ. 2510 โดยพิจารณาจากวัตถุประสงค์การใช้ป้ายและการเชื่อมโยงของป้าย
แม้ป้ายข้อความยินดีรับบัตร SYNERGY โลโก้ESSOและเครื่องหมายลูกศรบอกทางเข้าซึ่งติดตั้งอยู่บริเวณทางเข้าสถานีบริการน้ำมันของโจทก์จะอยู่ในกรอบพลาสติกนูนแยกขอบเขตของแต่ละป้ายได้ แต่ก็อยู่ในโครงเหล็กแผ่นเดียวกันถือว่าเป็นป้ายแผ่นเดียวกัน โจทก์ทำขึ้นเพื่อเชิญชวนลูกค้าซึ่งเป็นสมาชิกบัตร SYNERGY เข้าใช้บริการของโจทก์ จึงเป็นการใช้ป้ายโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อโฆษณาและหารายได้ ถือว่าเป็นป้ายตามคำนิยามศัพท์ มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติภาษีป้าย พ.ศ. 2510 ต้องเสียภาษีป้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4487/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลผูกพันสัญญาซื้อขายและการบังคับชำระหนี้ตามสกุลเงินที่ตกลงกัน
เมื่อโจทก์ได้กระทำการไปภายในวัตถุที่ประสงค์ของโจทก์ตามที่ปรากฏตามหนังสือรับรองการเป็นนิติบุคคล สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงมีผลผูกพันคู่สัญญา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาโดยโจทก์มิได้มีคำขอมาจึงเป็นการไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้เป็นเงินดอลลาร์สหรัฐ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตามฟ้องแก่โจทก์โดยให้คิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินดอลลาร์สหรัฐเป็นเงินไทยในวันที่มีคำพิพากษาโดยโจทก์มิได้มีคำขอมาจึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1422/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าและการปรับบทกฎหมาย แม้ไม่มีคำขอเพิกถอนโดยตรง ศาลสามารถพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของฟ้องแย้งได้
ฟ้องแย้งของจำเลยไม่ได้ขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ แต่จำเลยมีคำขอให้โจทก์โอนสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ให้แก่จำเลย กับห้ามโจทก์ใช้หรือขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้เพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้เกิดผลให้โจทก์สิ้นสิทธิในเครื่องหมายการค้าที่โจทก์จดทะเบียนไว้ตามวัตถุประสงค์ในคำขอของจำเลยดังกล่าวตามที่จำเลยมีสิทธิที่จะขอให้ศาลบังคับได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67จึงเป็นการพิพากษาปรับบทกฎหมายให้ถูกต้องและตรงตามวัตถุประสงค์ที่เข้าใจได้จากรายละเอียดของฟ้องแย้งไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอในฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่งประกอบพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
จำเลยเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียนสำหรับใช้กับสินค้าจำพวกตามที่โจทก์จดทะเบียนไว้ จำเลยจึงไม่มีสิทธิฟ้องเพื่อป้องกันการละเมิดสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยสำหรับสินค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนนั้นได้ ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 46 วรรคหนึ่งเพราะสิทธิดังกล่าวเป็นสิทธิแต่ผู้เดียวของบุคคลซึ่งได้จดทะเบียนเป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าที่ได้จดทะเบียนไว้ตามมาตรา 44 เท่านั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาห้ามโจทก์ใช้เครื่องหมายการค้าพิพาทจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 921/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจ้างว่าความที่มีวัตถุประสงค์ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนเป็นโมฆะ
โจทก์ไม่ได้มีส่วนได้เสียในที่ดินที่จำเลยกับบุคคลอื่นพิพาทกัน การที่โจทก์ได้ค่าจ้างว่าความเป็นที่ดิน200 ตารางวา อันเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่จำเลยพิพาทกับบุคคลอื่นทำให้โจทก์เข้าไปมีส่วนได้เสียในที่ดิน ดังกล่าวโดยตรง เพราะหากจำเลยแพ้คดีโจทก์จะไม่ได้ค่าจ้างว่าความ ซึ่งแสดงว่าสัญญาจ้างว่าความมีลักษณะเป็นการรับโอนสิทธิ ในการดำเนินคดีของจำเลยมาจัดการให้ โดยขอรับส่วนแบ่ง จากที่ดินเป็นค่าตอบแทนเมื่อจำเลยชนะคดี อันเป็นการ ช่วยเหลือยุยงส่งเสริมให้บุคคลอื่นเป็นความกัน วัตถุประสงค์ ของสัญญาจ้างว่าความจึงขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดี ของประชาชนย่อมตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 150 โจทก์จึงฟ้องให้จำเลยชำระหนี้ตามสัญญาจ้างว่าความไม่ได้