พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5470/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าปรับสัญญาจ้าง, การไม่รับสิ่งของ, การให้สัตยาบัน, ขอบเขตวัตถุประสงค์สัญญา
ตามสัญญาจ้าง โจทก์มีสิทธิเรียกค่าปรับรายวันในกรณีที่จำเลยที่ 1 ส่งมอบงานล่าช้า โดยโจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา เมื่อโจทก์บอกเลิกสัญญาแล้ว แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะเคยส่งมอบสิ่งของตามสัญญาจ้างให้โจทก์ แต่ใช้งานไม่ได้โจทก์จึงไม่รับสิ่งของ มีผลเท่ากับจำเลยที่ 1 ไม่เคยส่งมอบสิ่งของให้โจทก์เลยโจทก์จึงเรียกค่าปรับรายวันไม่ได้
การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝาหม้อแบตเตอรี่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก
การว่าจ้างทำแบบพิมพ์เครื่องอัดเปลือกหม้อและฝาหม้อแบตเตอรี่อยู่นอกวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 แต่ก่อนทำสัญญาจ้างฝ่ายจำเลยได้เสนอหนังสือรับรองที่มีรายละเอียดเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์แล้ว โจทก์จึงทราบก่อนทำสัญญาจ้าง เมื่อจำเลยที่ 1 ยอมรับปฏิบัติตามสัญญาจ้างต่อโจทก์ จึงเป็นการให้สัตยาบันในการทำสัญญานั้น จำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งทำสัญญาดังกล่าวแทนจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดเป็นส่วนตัวอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2484/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายบ้าน - วัตถุประสงค์ของสัญญา - การผิดสัญญา - สิทธิเลิกสัญญา - การคืนเงิน
การที่จำเลยนำสืบว่าโจทก์ทั้งสองทำสัญญาจะซื้อขายบ้านพิพาทกับจำเลยแต่ความประสงค์แท้จริงของโจทก์ทั้งสองก็เพื่อจะซื้อบ้านพิพาทให้ อ. บุตรโจทก์ที่ 2 นั้น เป็นเรื่องที่จำเลยนำสืบถึงวัตถุประสงค์ของโจทก์ในการทำสัญญา มิใช่นำสืบว่ามีข้อตกลงเป็นอย่างอื่นแตกต่างจากสัญญาอันจะเป็นการนำสืบแก้ไขเปลี่ยนแปลงเอกสารซึ่งต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94(ข).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5673/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงื่อนไขบังคับก่อนในสัญญา, การบรรลุวัตถุประสงค์สัญญา, สิทธิเรียกร้องค่าบำเหน็จค่านายหน้า
สัญญาร่วมงานขายไม้ซุงสัก ระหว่างบริษัท ก. กับจำเลยทั้งสองระบุว่า ในการแบ่งกำไรการร่วมงานขายไม้ซุงสัก จำเลยที่ 2 จะได้รับส่วนแบ่งเป็นเงินสด 15 ล้านบาท ไม่ว่ากิจการจะขาดทุนหรือไม่และบริษัท ก. จะต้องจ่ายเงินคืนแก่จำเลยที่ 2 ในยอดเงินลงทุนทั้งหมดของจำเลยที่ 2 ส่วนสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับ ส. ในฐานะส่วนตัวและผู้รับสัญญาแทน ล. ระบุว่า ตามสัญญาร่วมงานดังกล่าวส. และ ล. เป็นผู้ชักนำกิจการร่วมงานขายไม้ซุงสัก มาเสนอจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 จึงให้สัญญาว่า ในยอดเงิน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2จะพึงได้รับจากบริษัท ก. จำเลยที่ 2 จะแบ่งจ่ายให้ ส. 2 ล้านบาทและ ล. 1 ล้านบาท ส่วนกำไรอีก 10 เปอร์เซ็นต์ที่จะพึงได้จากสัญญาดังกล่าว จำเลยที่ 2 จะแบ่งให้แก่ ส. และ ล. ตามอัตราส่วนคือของจำเลยที่ 2 จำนวน 12 ส่วน ของ ส. 2 ส่วน และของ ล. 1 ส่วนสัญญาทั้ง 2 ฉบับดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกันซึ่งมีความหมายว่าบริษัท ก. จะต้องชำระเงินให้แก่จำเลยที่ 2 เมื่อได้ร่วมดำเนินงานกับจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศหรือภายในประเทศแล้วและจำเลยที่ 2 ต้องจ่ายเงินบำเหน็จค่านายหน้า 1 ล้านบาทให้แก่ล. ต่อเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงิน 15 ล้านบาทจากบริษัท ก. แล้วการได้รับเงินจำนวน 15 ล้านบาทของจำเลยที่ 2 ดังกล่าวจึงเป็นเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ดังนั้นเงินจำนวน 15 ล้านบาทที่จำเลยที่ 2 จะพึงได้รับจากบริษัท ก.ตามหนังสือให้สัญญาจึงหมายถึงเงินตามสัญญาร่วมงาน เมื่อต่อมาก่อนที่บริษัท ก. และจำเลยที่ 2 ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศได้มีมติคณะรัฐมนตรีห้ามมิให้ส่งไม้ซุงสัก ไปจำหน่ายต่างประเทศทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และบริษัท ก. สามารถจำหน่ายไม้ซุงสักได้ภายในประเทศอันจะถือได้ว่าเป็นการบรรลุวัตถุประสงค์ของสัญญาร่วมงาน จำเลยที่ 2 จึงไม่มีสิทธิได้รับเงินส่วนแบ่งกำไรจำนวน 15 ล้านบาทตามสัญญาร่วมงานจากบริษัท ก. ถือได้ว่าเงื่อนไขบังคับก่อนในการจ่ายบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. ยังไม่สำเร็จจำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องแบ่งเงิน 1 ล้านบาทจ่ายเป็นบำเหน็จค่านายหน้าให้แก่ ล. สามีโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินจำนวนดังกล่าวจากจำเลยทั้งสอง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3061/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมพิเศษสัญญาทำสุรา ไม่ขัด กม. การปรับปรุงสัญญา และการเปลี่ยนแปลงวัตถุประสงค์สัญญา
คำสั่งของกรมสรรพสามิตจำเลยซึ่งกำหนดให้ผู้ประมูลแข่งขันเพื่อรับการแต่งตั้งเป็นผู้รับการทำและขายส่งสุราขาวผสมประเภทเสียภาษีรายเทต้องเสนอจะชำระค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นรายเทโดยผู้เสนอค่าธรรมเนียมพิเศษสูงสุดจะเป็นผู้ประมูลได้นั้น มิใช่การกำหนด อัตราภาษีหรืออัตราค่าธรรมเนียม ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 47 (1) แห่งพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 จึงไม่จำเป็นต้องออกเป็นกฎกระทรวง
อ.เป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอจะชำระค่าธรรมเนียมพิเศษเทละ 429.89 บาท และโจทก์รับโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจาก อ. เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิทำสุราในโรงงานและใช้อุปกรณ์การผลิตของจำเลยได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนอย่างอื่น ทั้งมีสิทธิจำหน่ายสุราแต่ผู้เดียวภายในเขตการจำหน่ายได้ผลประโยชน์ระยะยาวถึง 10 ปี ดังนี้ ค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจึงมิใช่ภาษีหรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสุรา แต่เป็นเงินค่าตอบแทนที่ให้แก่รัฐในการที่รัฐให้สิทธิพิเศษตามนัยที่กล่าวแล้ว ทั้งมิใช่เงินที่จำเลยเรียกเก็บนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 และเป็นความสมัครใจของผู้เข้าประมูลเองที่ยอมให้ค่าตอบแทนแก่รัฐตามจำนวนที่เสนอในการยื่นประมูล จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า ค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นโมฆะจึงมีการออกกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 59 (2518) นำเอาค่าธรรมเนียมพิเศษจำนวนหนึ่งมาเพิ่มเป็นค่าภาษีสุรา เป็นการใช้กฎหมายรับรองสิ่งที่เป็นโมฆะ ภาษีสุราที่เพิ่มขึ้นตกเป็นโมฆะไปด้วย จึงย่อมเป็นอันตกไป เพราะค่าธรรมเนียมพิเศษมิได้เป็นโมฆะดังที่โจทก์อ้าง
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมพิเศษมาเป็นวิธีกำหนดจำนวนน้ำสุราให้โจทก์นำออกขายเพื่อเสียภาษีเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 77,391 บาท เท โดยโจทก์สมัครใจเอง เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้งโรงงานทำสุราเพื่อจำหน่ายและทำการค้าสุราทุกชนิด จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะทำและขายส่งสุราตามวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ ส่วนต่อมาจะทำหรือขายได้ตามจำนวนที่ตกลงกันหรือไม่ เป็นเรื่องขึ้นอยู่กับความสามารถของโจทก์ในการดำเนินการ โจทก์เป็นพ่อค้าสุราย่อมมีความรู้พอที่จะคำนวนเรื่องการทำและขายสุราได้ก่อนที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลย แสดงว่าโจทก์ต้องรู้ข้อเท็จจริงตั้งแต่แรกว่าทำได้ โจทก์จึงมาโต้แย้งวัตถุประสงค์ที่ทำสัญญากับจำเลยเป็นเรื่องพ้นวิสัยหาไม่ได้
โจทก์ถือว่าโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ต้องชำระค่าปรับตามสัญญาจึงไม่ชำระค่าปรับให้จำเลย การโต้แย้งสิทธิอยู่ที่การไม่ชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์มาฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ไม่ต้องชำระหนี้ เท่ากับให้แสดงว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีเมื่อโจทก์ถูกจำเลยฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้น หาใช่เป็นผู้ฟ้องคดีเสียเองไม่ โจทก์ยังมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ในเมื่อเห็นว่าตนไม่รับผิด จึงไม่มีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับฐานทำสุราต่ำกว่ากำหนดและขอคืนค่าปรับที่ชำระไปแล้วนั้นมีข้อโต้เถียงกันว่าสัญญาเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดและมีสิทธิขอคืนเงินส่วนที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงมีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นประเด็นที่ต่างกัน
อ.เป็นผู้ประมูลได้โดยเสนอจะชำระค่าธรรมเนียมพิเศษเทละ 429.89 บาท และโจทก์รับโอนสิทธิหน้าที่ตามสัญญาจาก อ. เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิทำสุราในโรงงานและใช้อุปกรณ์การผลิตของจำเลยได้โดยไม่ต้องเสียค่าตอบแทนอย่างอื่น ทั้งมีสิทธิจำหน่ายสุราแต่ผู้เดียวภายในเขตการจำหน่ายได้ผลประโยชน์ระยะยาวถึง 10 ปี ดังนี้ ค่าธรรมเนียมพิเศษดังกล่าวจึงมิใช่ภาษีหรือค่าธรรมเนียมตามพระราชบัญญัติสุรา แต่เป็นเงินค่าตอบแทนที่ให้แก่รัฐในการที่รัฐให้สิทธิพิเศษตามนัยที่กล่าวแล้ว ทั้งมิใช่เงินที่จำเลยเรียกเก็บนอกเหนือไปจากที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติสุรา พ.ศ. 2493 และเป็นความสมัครใจของผู้เข้าประมูลเองที่ยอมให้ค่าตอบแทนแก่รัฐตามจำนวนที่เสนอในการยื่นประมูล จึงไม่ขัดต่อกฎหมายหรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ไม่เป็นโมฆะ ฉะนั้น ข้ออ้างของโจทก์ที่ว่า ค่าธรรมเนียมพิเศษเป็นโมฆะจึงมีการออกกฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 59 (2518) นำเอาค่าธรรมเนียมพิเศษจำนวนหนึ่งมาเพิ่มเป็นค่าภาษีสุรา เป็นการใช้กฎหมายรับรองสิ่งที่เป็นโมฆะ ภาษีสุราที่เพิ่มขึ้นตกเป็นโมฆะไปด้วย จึงย่อมเป็นอันตกไป เพราะค่าธรรมเนียมพิเศษมิได้เป็นโมฆะดังที่โจทก์อ้าง
โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาเปลี่ยนแปลงค่าธรรมเนียมพิเศษมาเป็นวิธีกำหนดจำนวนน้ำสุราให้โจทก์นำออกขายเพื่อเสียภาษีเดือนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 77,391 บาท เท โดยโจทก์สมัครใจเอง เมื่อโจทก์เป็นนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์ประกอบกิจการตั้งโรงงานทำสุราเพื่อจำหน่ายและทำการค้าสุราทุกชนิด จึงอยู่ในวิสัยที่โจทก์จะทำและขายส่งสุราตามวัตถุประสงค์ของสัญญาได้ ส่วนต่อมาจะทำหรือขายได้ตามจำนวนที่ตกลงกันหรือไม่ เป็นเรื่องขึ้นอยู่กับความสามารถของโจทก์ในการดำเนินการ โจทก์เป็นพ่อค้าสุราย่อมมีความรู้พอที่จะคำนวนเรื่องการทำและขายสุราได้ก่อนที่จะเข้าทำสัญญากับจำเลย แสดงว่าโจทก์ต้องรู้ข้อเท็จจริงตั้งแต่แรกว่าทำได้ โจทก์จึงมาโต้แย้งวัตถุประสงค์ที่ทำสัญญากับจำเลยเป็นเรื่องพ้นวิสัยหาไม่ได้
โจทก์ถือว่าโจทก์มีสิทธิที่จะไม่ต้องชำระค่าปรับตามสัญญาจึงไม่ชำระค่าปรับให้จำเลย การโต้แย้งสิทธิอยู่ที่การไม่ชำระหนี้ตามสัญญา โจทก์มาฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าโจทก์ไม่ต้องชำระหนี้ เท่ากับให้แสดงว่าโจทก์ไม่ได้เป็นหนี้ซึ่งเป็นเรื่องที่โจทก์ชอบจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีเมื่อโจทก์ถูกจำเลยฟ้องให้ชำระหนี้ดังกล่าวเท่านั้น หาใช่เป็นผู้ฟ้องคดีเสียเองไม่ โจทก์ยังมีสิทธิที่จะไม่ชำระหนี้ในเมื่อเห็นว่าตนไม่รับผิด จึงไม่มีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ศาลย่อมไม่รับวินิจฉัยให้ส่วนในเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลสั่งแสดงว่าโจทก์ไม่ต้องเสียเงินค่าปรับฐานทำสุราต่ำกว่ากำหนดและขอคืนค่าปรับที่ชำระไปแล้วนั้นมีข้อโต้เถียงกันว่าสัญญาเป็นโมฆะโจทก์จึงไม่ต้องรับผิดและมีสิทธิขอคืนเงินส่วนที่ชำระให้แก่จำเลยไปแล้วแต่จำเลยไม่ยอมคืนให้ จึงมีการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ของโจทก์ซึ่งเป็นประเด็นที่ต่างกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 245/2506 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าสวนและการปฏิบัติตามสัญญา: หน้าที่ของผู้เช่าในการปลูกทุเรียนตามวัตถุประสงค์ของสัญญา
จำเลยทำสัญญาเช่าสวนส้มของโจทก์มีกำหนด 12 ปี ค่าเช่าปีละ 10 บาท โดยมีข้อสัญญาว่าจำเลยจะต้องปลูกทุเรียนจนเต็มเนื้อที่โดยออกค่าใช้จ่ายเอง และในระหว่างอายุสัญญาเช่า ดอกผลที่ได้จากทุเรียนจะต้องแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างโจทก์กับจำเลย โจทก์สงวนสิทธิเก็บดอกผลของต้นไม้บางต้น นอกนั้นยอมให้จำเลยเก็บได้ทั้งสิ้น แม้ตามสัญญาจะมิได้กำหนดว่าจะต้องเริ่มปลูกทุเรียนเมื่อใด แต่เมื่อพิเคราะห์ถึงความประสงค์ของคู่สัญญาประกอบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 368 แล้ว จำเลยจะต้องปลูกทุเรียนโดยเร็ว ในระยะแรกที่พอปลูกได้