พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 534/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงโอนสิทธิในที่ดิน: วัตถุแห่งหนี้แตกต่างกัน การบังคับชำระราคาไม่ตรงกับข้อตกลง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยตกลงจะโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยผิดสัญญา ขอให้บังคับตามข้อตกลงนั้น ก็เป็นการตกลงที่จะโอนให้ใช้ทำมาหากินคือการใช้ทำประโยชน์นั่นเอง และการที่โจทก์ขอให้จำเลยร่วมกันชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าเสียหายที่ผิดสัญญา เมื่อการตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ ส่วนการตกลงให้เข้าใช้หรือทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท วัตถุแห่งหนี้มิได้เป็นเรื่องการโอนตัวทรัพย์ หากเพียงแต่ให้มีสิทธิใช้ประโยชน์จากที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเป็นข้อตกลงหรือการกระทำที่มีลักษณะแตกต่างคนละอย่างกัน
เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วแม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 142
เมื่อตกลงโอนสิทธิครอบครองและโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันจะบังคับแต่เพียงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทมิได้ ทำนองเดียวกัน ถ้าตกลงให้เข้าใช้ทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทก็จะบังคับให้โอนที่ดินพิพาทมิได้เช่นเดียวกัน และคำขอบังคับให้ชำระราคาที่ดินพิพาทเป็นค่าทดแทนตัวทรัพย์ ก็เป็นคนละอย่างต่างกันกับการบังคับให้ชำระเงินค่าไถ่ถอนจำนอง ซึ่งกรณีหลังเป็นการคืนเงินที่ได้ชำระไปแล้วแม้จะเป็นการชำระหนี้ด้วยเงินเหมือนกันก็ตาม ดังนั้น การที่ศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 2 ตกลงให้โจทก์มีสิทธิทำประโยชน์ในที่ดินพิพาท แต่จำเลยทั้งสองผิดสัญญา แล้วพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนเงินค่าไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ จึงเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6006/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีต้องมีหนี้ที่หักกลบลบกันได้ วัตถุแห่งหนี้ต้องเหมือนกัน
การที่จำเลยจะมีสิทธิขอให้ศาลมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีต้องเป็นกรณีที่ปรากฏว่าหนี้ที่จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีอื่นในศาลเดียวกันนั้นเป็นหนี้ที่อาจหักกลบลบหนี้กันได้กับหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยขอให้งดการบังคับคดีไว้นั้น เมื่อปรากฏว่าคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์นั้นเป็นการฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระหนี้เป็นเงินแก่จำเลย ส่วนหนี้ที่ศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระให้โจทก์ในคดีนี้เป็นหนี้ให้แบ่งทรัพย์สิน วัตถุแห่งหนี้ในคดีดังกล่าวจึงมิได้มีวัตถุเป็นอย่างเดียวกันกับหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ หนี้ตามตามคำพิพากษาในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์จึงไม่อาจนำไปหักกลบลบหนี้กับหนี้ตามคำพิพากษาคดีนี้ของโจทก์ จึงไม่มีเหตุที่จำเลยจะขอให้งดการบังคับคดีในคดีนี้ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 293
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5785/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: หนี้มีเงื่อนไข & วัตถุแห่งหนี้เป็นที่ดิน
ลูกหนี้เอาที่ดินของเจ้าหนี้ซึ่งใส่ชื่อลูกหนี้ไว้แทนไปจำนองและรับจะไถ่ถอนจำนองและโอนคืนให้เจ้าหนี้ภายใน 1 ปี แต่ก็ไม่ไถ่ถอนและโอนคืนตามที่รับรองไว้ ต่อมาลูกหนี้ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดดังนี้มูลหนี้ที่ลูกหนี้ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้เกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะไถ่ถอนจำนองด้วยตนเองย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ ทรัพย์มูลแห่งหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองที่จะเรียกเอาจากลูกหนี้ที่ 1 จึงเกิดขึ้นแล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ยังมิได้ไถ่ถอนจำนองซึ่งถ้าเจ้าหนี้ได้ไถ่ถอนจำนองแล้วเมื่อใด ก็ย่อมเรียกให้ลูกหนี้ชดใช้เงินค่าไถ่ถอนจำนองได้เมื่อนั้นแต่โดยที่ขณะขอรับชำระหนี้เจ้าหนี้ยังไม่ได้ไถ่ถอน จำนองและไม่แน่ว่าเจ้าหนี้จะใช้สิทธิขอไถ่ถอนจำนองนั้นเมื่อใด เจ้าหนี้จึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ชดใช้ค่าไถ่ถอนจำนองได้ทันที แต่ถือได้ว่าหนี้ค่าไถ่ถอนจำนองรายนี้เป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้จึงย่อมขอรับชำระหนี้ได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 94
หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
หนี้ที่จะขอรับชำระได้ในคดีล้มละลายจะต้องเป็นหนี้เงินเท่านั้นซึ่งถ้ามี ดอกเบี้ย รวมอยู่ด้วยก็คิดดอกเบี้ยได้ถึงวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เท่านั้น การที่เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้โดยขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินเป็นคำขอที่มีที่ดินเป็นวัตถุแห่งหนี้ ไม่ใช่หนี้เงินแม้จะมีคำขอว่า หรือให้ใช้ราคาที่ดิน กำกับอยู่ด้วยก็เป็นเพียงคำขอสำรองสำหรับใช้เป็นสภาพบังคับในกรณีที่ไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่เจ้าหนี้ได้เท่านั้นจึงไม่มีสิทธิที่จะทำได้ เจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพื่อบังคับตามสิทธิของตนเป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการงดการบังคับคดี: คดีมีวัตถุแห่งหนี้ต่างกัน ไม่อาจหักกลบลบหนี้ได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินตามฟ้องและให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์ และออกคำบังคับให้ตาม คำขอของโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ปฏิบัติตาม คำพิพากษาด้วย การออกไปจากที่ดินและใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้โจทก์กับพวกขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยตามข้อตกลงในสัญญาเช่านั้น หากจำเลยชนะคดีจำเลยก็มีสิทธิเพียงบังคับให้โจทก์กับพวกขายที่ดินให้จำเลย คดีทั้งสองจึงมีวัตถุแห่งหนี้เป็นคนละอย่างต่าง กัน โดยสภาพไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้ ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๓
การออกคำสั่งอนุญาตตาม คำขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๓ หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้อง ทำการไต่สวนเสียก่อน แต่ ตาม มาตรา ๒๑(๔)ศาลก็มีอำนาจทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ เมื่อกรณีตาม คำร้อง ของ จำเลย ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน.
การออกคำสั่งอนุญาตตาม คำขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา ๒๙๓ หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้อง ทำการไต่สวนเสียก่อน แต่ ตาม มาตรา ๒๑(๔)ศาลก็มีอำนาจทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ เมื่อกรณีตาม คำร้อง ของ จำเลย ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 607/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการงดการบังคับคดี: คดีต่างวัตถุประสงค์ ไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้ขับไล่จำเลยกับบริวารออกจากที่ดินตามฟ้องและให้จำเลยใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์ และออกคำบังคับให้ตาม คำขอของโจทก์ จำเลยจึงมีหน้าที่ปฏิบัติตาม คำพิพากษาด้วย การออกไปจากที่ดินและใช้ ค่าเสียหายแก่โจทก์ การที่จำเลยยื่นฟ้องโจทก์เป็นอีกคดีหนึ่ง ขอให้โจทก์กับพวกขายที่ดินดังกล่าวแก่จำเลยตามข้อตกลงในสัญญาเช่านั้น หากจำเลยชนะคดีจำเลยก็มีสิทธิเพียงบังคับให้โจทก์กับพวกขายที่ดินให้จำเลย คดีทั้งสองจึงมีวัตถุแห่งหนี้เป็นคนละอย่างต่าง กัน โดยสภาพไม่อาจหักกลบลบหนี้กันได้ ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 การออกคำสั่งอนุญาตตาม คำขอให้งดการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 หรือไม่ ไม่มีกฎหมายบัญญัติให้ศาลจะต้อง ทำการไต่สวนเสียก่อน แต่ ตาม มาตรา 21(4)ศาลก็มีอำนาจทำการไต่สวนตาม ที่เห็นสมควรก่อนมีคำสั่งได้ เมื่อกรณีตาม คำร้อง ของ จำเลย ไม่มีเหตุที่ศาลจะมีคำสั่งให้งดการบังคับคดีจึงไม่มีเหตุสมควรที่ศาลจะทำการไต่สวน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1285/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ที่มีข้อโต้แย้งไม่สามารถหักกลบลบหนี้กันได้ แม้มีวัตถุแห่งหนี้เดียวกัน
แม้หนี้ที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาซื้อขายกับหนี้ค่าปรับที่โจทก์ต้องชำระให้จำเลยอันเกิดจากการที่โจทก์ผิดสัญญาซื้อขายในคราวก่อนจะมีวัตถุแห่งหนี้เป็นการชำระเงินเหมือนกัน แต่เมื่อโจทก์ยังมีข้อโต้แย้งอยู่ว่าโจทก์ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและได้ชำระหนี้ให้แก่จำเลยครบถ้วนแล้วเช่นนี้ จึงเป็นหนี้ที่ยังมีข้อต่อสู้ไม่อาจนำมาหักกลบลบหนี้กันได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 344
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 515/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เรือนหลังเดิมถูกรื้อสร้างใหม่ สัญญาขายฝากไม่ครอบคลุมเรือนหลังใหม่ โจทก์ไม่มีสิทธิขับไล่
จำเลยขายฝากเรือนเลขที่ 126 แก่โจทก์ ต่อมาระหว่างอายุสัญญาจำเลยรื้อเรือน แล้วสร้างเป็นเรือนหลังใหม่ในที่เดิม โดยใช้ไม้ของเรือนหลังเดิมบางส่วนและใช้บ้านเลขที่ 126 ตามเดิม ดังนี้ ถือได้ว่าเรือนหลังเดิมซึ่งตกเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์ตามสัญญาขายฝากและเป็นวัตถุแห่งหนี้นั้นได้สิ้นสภาพไปแล้ว เรือนหลังใหม่คือเรือนพิพาทย่อมไม่ตกอยู่ในบังคับของสัญญาขายฝาก โจทก์ไม่มีกรรมสิทธิ์ในเรือนพิพาท ไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากเรือนพิพาท คงมีอำนาจที่จะว่ากล่าวแก่จำเลยในกรณีที่จำเลยรื้อเรือนหลังเดิม อันเป็นวัตถุแห่งหนี้ตามสัญญาขายฝากเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 227/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ต่างวัตถุ หักกลบลบกันไม่ได้ ศาลไม่งดบังคับคดี
จำเลยเป็นหนี้ต้องชำระเงินโจทก์ตามคำพิพากษา จำเลยกลับฟ้องโจทก์ขอให้ขายห้องพิพาทแก่จำเลย วัตถุแห่งหนี้ต่างกัน หักกลบลบกันไม่ได้ จึงงดการบังคับคดีตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 293 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2410-2411/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาโอนหุ้นต่อเนื่องจากซื้อขายกิจการ ไม่เป็นนิติกรรมอำพราง วัตถุแห่งหนี้เป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม
จำเลยเบิกความยอมรับว่าการทำสัญญาโอนหุ้นตามเอกสารหมาย จ.7 เป็นการดำเนินการต่อเนื่อง มาจากการที่ ส. ซื้อกิจการบริษัท ป. และบริษัท พ. จากโจทก์ทั้งสองและจำเลย และ พ. กับ อ. พยานจำเลยก็เบิกความได้ความว่า การทำสัญญาเอกสารหมาย จ.7 นำข้อมูลมาจากรายงานการเคลียร์หนี้ตามเอกสารหมาย ล.28 การดำเนินการตามเอกสารหมาย จ.7 นั้น พ. ได้รับมอบหมายจาก ส. ให้ไปดำเนินการเป็นการชำระหนี้ตามสัญญาซื้อขายกิจการ โดยให้ อ. ลงนามแทนฝ่าย ส. ซึ่งเป็นไปตามคำสั่งของ ส. ดังนี้ฟังข้อเท็จจริงได้ว่า สัญญาโอนหุ้นตามเอกสารหมาย จ.7 เป็นสัญญาที่ทำขึ้นโดยมีเจตนาที่จะบังคับกันอย่างแท้จริงตามที่โจทก์ทั้งสองและจำเลยตกลงกับ ส. ไม่ใช่นิติกรรมอำพราง ที่จำเลยฎีกาว่าวัตถุแห่งหนี้ตามเอกสารหมาย จ.7 คือหุ้นในบริษัท พ. แตกต่างจากทรัพย์สินตามเอกสารหมาย ล.6 และ ล.15 ที่วัตถุแห่งหนี้คือกิจการและทรัพย์สินของบริษัท ป. และบริษัท พ. นั้น เห็นว่าวัตถุแห่งหนี้ตามเอกสารหมาย จ.7 ก็เป็นส่วนหนึ่งของวัตถุแห่งหนี้ตามเอกสารหมาย ล.6 และ ล.15 นั่นเอง เพราะเป็นการตกลงที่ต่อเนื่องกันมาไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เป็นสาระสำคัญแต่อย่างใด