คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันทำงาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8249/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้าง การจ่ายค่าชดเชย และการตีความวันสุดท้ายของการทำงาน เพื่อคำนวณค่าชดเชย
จำเลยกำหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งหมดและลูกจ้างอื่นก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เมื่อจำเลยบอกเลิกจ้างโจทก์ทั้งหมดในวันที่ 30 มิถุนายน 2541 โดยการปิดประกาศให้พนักงานทุกคนทราบที่โรงงานของจำเลย และให้โจทก์ทั้งหมดลงชื่อรับทราบการบอกเลิกจ้างโจทก์แต่ละคนระหว่างวันที่ 1 ถึง 9 กรกฎาคม 2541 เช่นนี้การเลิกจ้างย่อมมีผลตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 เมื่อถึงกำหนดจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างคราวถัดไป คือ วันที่ 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน จึงต้องถือว่าวันดังกล่าวเป็นกำหนดจ่ายสินจ้างตามกฎหมาย ไม่อาจถือหรืออนุมานว่าวันครบกำหนดจ่ายเงินเดือนหรือกำหนดจ่ายสินจ้างเป็นวันสิ้นเดือนของทุกเดือน เมื่อปรากฏว่าจำเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์ทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2541 แล้ว จำเลยจึงต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าในเดือนสิงหาคม 2541 อีก 30 วัน คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึง 30 สิงหาคม 2541 ก่อนวันสิ้นเดือนสิงหาคม 2541 จำนวน 1 วัน แก่โจทก์ทั้งหมดพร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของจำนวนเงินของโจทก์แต่ละคนดังกล่าว นับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 47/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณเงินบำเหน็จ: เกณฑ์การรวมระยะเวลาทำงานนักเรียนอบรม, จำนวนวันทำงานรายวัน, และค่าครองชีพ
ตามข้อบังคับของจำเลยผู้เป็นนายจ้างว่าด้วยกองทุนบำเหน็จกำหนดว่า 'พนักงาน' หมายถึง พนักงานประจำตามอัตรากำลังขององค์การทอผ้า และ 'อายุการทำงาน' หมายความว่า ระยะเวลาตั้งแต่วันที่พนักงานเข้าประจำทำงานจน ถึงวันพ้นตำแหน่ง เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้บรรจุโจทก์เป็นนักเรียนอบรมโดยได้รับเบี้ยเลี้ยงในระหว่างเป็นนักเรียนอบรมตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคม2512 และโจทก์ได้รับการบรรจุเป็นพนักงานประจำรายวันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ดังนั้นโจทก์จึงมีฐานะเป็นพนักงานตามข้อบังคับดังกล่าวตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2517 ก่อนหน้านี้โจทก์ยังมิได้เป็นพนักงานประจำของจำเลย โจทก์จึงไม่มีสิทธินำระยะเวลาระหว่างที่เป็นนักเรียนอบรมมารวมคำนวณเงินบำเหน็จได้
ในการคำนวณเงินบำเหน็จ ข้อบังคับของจำเลยมิได้กำหนดว่าค่าจ้างเดือนสุดท้ายของพนักงานที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวันเป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างกี่วัน เพียงแต่ให้จ่ายเป็นจำนวนเท่ากับเงินเดือน หรือค่าจ้างเดือนสุดท้ายคูณด้วยจำนวนปีของอายุการทำงานเท่านั้น จึงต้องถือจำนวนค่าจ้างที่ได้รับจริง เมื่อปรากฏว่าโจทก์ทำงานเดือนละ 23 วัน แม้ระเบียบใหม่ของจำเลยจะระบุให้คิดเดือนหนึ่ง 26 วัน แต่ก็เป็นเรื่องที่จำเลยออกใช้บังคับสำหรับพนักงานใหม่ที่ได้รับการบรรจุตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2519 โดยเฉพาะโดยจำเลยมีสิทธิที่จะกำหนดเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างสำหรับพนักงานใหม่ได้หาใช่จำเลยตกลงเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างกับโจทก์ไม่โจทก์จึงมีสิทธิคำนวณค่าจ้างรายวันโดยคิดได้เพียงจำนวน 23วันเป็นหนึ่งเดือนเท่านั้น
จำเลยจ่ายค่าครองชีพให้แก่โจทก์เดือนละ 400 บาท เป็นจำนวนแน่นอน ค่าครองชีพจึงเป็นเงินที่จำเลยจ่ายเพื่อตอบแทนการทำงานของพนักงานเช่นเดียวกับค่าจ้างเมื่อข้อบังคับของจำเลยไม่ได้ยกเว้นไว้โดยชัดแจ้งว่าค่าจ้างไม่รวมถึงค่าครองชีพค่าครองชีพจึงเป็นค่าจ้างซึ่งต้องนำมารวมเป็นฐานคำนวณเงินบำเหน็จให้โจทก์ด้วย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2771/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การละทิ้งหน้าที่ของลูกจ้างเกิน 3 วัน ถือเป็นเหตุให้เลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ลูกจ้างไม่มาทำงานตั้งแต่วันที่ 8 ถึงวันที่ 15 ในชั้นแรกหยุดงานไปโดยไม่ได้ลาในวันที่ 8 และวันที่ 10 (วันที่ 9 เป็นวันหยุด) ต่อมาได้โทรศัพท์ขอลากิจในวันที่ 11 ถึงวันที่ 13 และโทรศัพท์ลาป่วยในวันที่ 14 และวันที่ 15 ต่อเนื่องมาอีก ครั้นมาทำงานก็มิได้ส่งใบลาตามระเบียบ ถือได้ว่าลูกจ้างได้ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุอันสมควรนายจ้างจึงเลิกจ้างได้โดยมิต้องจ่ายค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี
นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างประจำเมื่อวันที่ 17 จึงไม่ต้องจ่ายค่าจ้างในวันเลิกจ้าง ส่วนวันที่ 16 แม้เป็นวันหยุด ลูกจ้างก็ยังคงเป็นลูกจ้างอยู่จึงมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันดังกล่าว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม: การกำหนดวันทำงานใหม่ต้องไม่เพิ่มภาระและสอดคล้องกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้าง เดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์ จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิม แต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลย โดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราว เป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ ส่วนสถานที่ทำงาน เมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้น โจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระ จำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกัน แต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์ โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์ จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรม และการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างงาน การกำหนดวันทำงานที่ขัดแย้งกับสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้างเดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยา ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ณ สำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลยโดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ส่วนสถานที่ทำงานเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้นโจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระจำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกันแต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 191/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างไม่เป็นธรรมและการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการทำงาน ศาลฎีกายืนว่าการกำหนดวันทำงานใหม่ขัดต่อสภาพการจ้างเดิม
ศาลแรงงานกลางพิพากษาว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมให้จำเลยรับโจทก์เข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่และอัตราค่าจ้างในขณะที่เลิกจ้างเดิมโจทก์ทำงานตำแหน่งหัวหน้าผู้ควบคุมบัญชีของบริษัทจำเลยที่เมืองพัทยาทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์จำเลยรับโจทก์กลับเข้าทำงานตำแหน่งเดิมแต่ให้ไปปฏิบัติหน้าที่ณสำนักงานที่กรุงเทพมหานครโดยกำหนดให้โจทก์ปฏิบัติงานตามคำสั่งของผู้มีอำนาจหน้าที่ในการบริหารของบริษัทจำเลยโดยให้โจทก์มีหน้าที่เฉพาะตรวจและให้คำแนะนำในทางบัญชีตามที่ได้รับมอบหมายเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่นายจ้างมอบหมายงานที่เห็นสมควรให้ทำจำเลยมีอำนาจทำได้ส่วนสถานที่ทำงานเมื่อโจทก์มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพมหานครย่อมเป็นการสะดวกแก่โจทก์ยิ่งขึ้นโจทก์ก็มิได้อ้างว่าเป็นการเพิ่มภาระจำเลยจึงมีคำสั่งได้เช่นกันแต่การกำหนดให้โจทก์ทำงานในวันศุกร์และวันเสาร์โดยที่ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์โจทก์มีภาระที่อื่นประจำอยู่แล้วจึงไม่ถูกต้องตามสภาพการจ้างเดิมและก่อภาระหน้าที่ให้แก่โจทก์จำเลยต้องให้โจทก์ทำงานเฉพาะวันเสาร์และวันอาทิตย์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 828/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณค่าล่วงเวลาจากค่าครองชีพ: มติคณะรัฐมนตรีให้จ่ายเหมาเดือน ไม่ใช่ตามวันทำงานจริง
เมื่อค่าครองชีพซึ่งรัฐวิสาหกิจจ่ายให้ตามมติของคณะรัฐมนตรีเป็นค่าจ้างประเภทหนึ่งซึ่งจะต้องจ่ายในอัตราเหมาเดือนมิได้จ่ายให้เฉพาะวันที่มาทำงานและไม่มีการหักวันหยุดวันลาต่างๆ อันแตกต่างกับการจ่ายค่าจ้างรายชั่วโมงตามปกติของโจทก์ ดังนั้นการคำนวณค่าล่วงเวลารายชั่วโมงของค่าครองชีพให้แก่โจทก์จึงต้องเอาจำนวนค่าครองชีพหารด้วย 30 คูณด้วย 8 (จำนวนชั่วโมงที่โจทก์ทำงานแต่ละวัน) หาใช่เอา 21.75 อันเป็นวันทำงานโดยเฉลี่ยของโจทก์ในแต่ละเดือนคูณด้วย 8 มาเป็นตัวหารไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2503 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันสิ้นสุดอายุอุทธรณ์ตรงกับวันหยุด ต้องนับวันทำงานใหม่เป็นวันสุดท้าย และผลต่อการได้รับพระราชทานอภัยโทษ
เมื่อวันสิ้นหรือวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์ เป็นวันอาทิตย์หรือวันหยุด ต้องนับวันเริ่มทำงานใหม่เป็นเป็นวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์
นักโทษเด็ดขาด ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ. 2500 ให้หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ราชทัณฑ์ พ.ศ. 2479 ซึ่งหมายแดงแจ้งโทษเด็ดขาดได้ออกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 715/2503

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ วันสุดท้ายอุทธรณ์เป็นวันหยุด-ราชการ ต้องนับวันทำงานใหม่เป็นวันสิ้นสุดอายุอุทธรณ์ การออกหมายแดงชอบแล้ว
เมื่อวันสิ้นหรือวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์ เป็นวันอาทิตย์หรือวันหยุด ต้องนับวันเริ่มทำงานใหม่เป็นวันสุดท้ายแห่งอายุอุทธรณ์
'นักโทษเด็ดขาด'ตามมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาพระราชทานอภัยโทษ พ.ศ.2500 ให้หมายความว่า นักโทษเด็ดขาดตาม พระราชบัญญัติราชทัณฑ์ พ.ศ.2479 ซึ่งหมายแดงแจ้งโทษเด็ดขาดได้ออกก่อนหรือในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ