พบผลลัพธ์ทั้งหมด 9 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4581/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิอุทธรณ์คำสั่งศาลและการคำนวณดอกเบี้ยผิดนัด: การโต้แย้งคำสั่งศาลต้องไม่เงื่อนไข และดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันผิดนัดจริง
ป.วิ.พ. มาตรา 226 วรรคหนึ่ง ไม่ได้กำหนดให้คู่ความที่โต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาต้องแสดงเหตุผลที่โต้แย้งคำสั่งนั้นไว้ ดังนั้น การที่จำเลยยื่นคำแถลงก่อนศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาโดยระบุใจความว่า จำเลยขอโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยเลื่อนคดีตามคำร้องขอเลื่อนคดีของจำเลยเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกา จึงเป็นการโต้แย้งคำสั่งระหว่างพิจารณาไว้แล้ว ที่ศาลชั้นต้นเกษียณสั่งคำแถลงฉบับนี้ว่ารวมเป็นคำแถลงเท่านั้น ย่อมเป็นการสั่งรับคำแถลงแล้ว ส่วนที่ศาลชั้นต้นเกษียณต่อไปว่า "หากจะโต้แย้งคำสั่งศาลจะต้องมีเหตุผลที่อ้างว่าด้วยเหตุใดหรือเพราะอะไรจึงโต้แย้ง กรณีแถลงมาลอยๆ มิใช่ใช้สิทธิโต้แย้ง" นั้น ก็เป็นเพียงความเห็นของศาลชั้นต้นเท่านั้นจึงต้องถือว่าจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้แล้วตามคำแถลงฉบับดังกล่าว ชอบที่จำเลยจะอุทธรณ์ในปัญหาข้อนี้ได้
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
โจทก์มีหนังสือทวงถามฉบับลงวันที่ 21 กันยายน 2541 โดยให้โอกาสจำเลยชำระหนี้ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยได้รับหนังสือดังกล่าวในวันที่ 22 เดือนเดียวกันครบกำหนดตามหนังสือดังกล่าวในวันที่ 2 ตุลาคม 2541 จำเลยไม่ชำระหนี้ตกเป็นการผิดนัดจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2541 อันเป็นวันผิดนัดเป็นต้นไป ปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยและแก้ไขให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5), 246, 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8749/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตาม พ.ร.บ.การธนาคารพาณิชย์ และการกำหนดวันผิดนัดชำระหนี้
พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 มาตรา 14 กำหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยออกประกาศธนาคารแห่งประเทศไทย กำหนดให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติในเรื่องดอกเบี้ยและส่วนลด การที่โจทก์ซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์กำหนดอัตราดอกเบี้ยเกินกว่าประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยและประกาศของโจทก์เป็นการปฏิบัติฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ. การธนาคารพาณิชย์ พ.ศ. 2505 อันเป็นการต้องห้ามตาม พ.ร.บ.ห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. 2475 มาตรา 3 (ก) จึงเป็นโมฆะ
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว
ตามสัญญากู้ยืมเงินระบุให้จำเลยผ่อนชำระเป็นรายเดือนภายในวันที่ 4 ของทุกเดือน แต่เมื่อจำเลยผ่อนชำระหลังวันที่ 4 ของเดือน โจทก์ก็รับชำระหนี้โดยไม่มีการทักท้วง แสดงว่าโจทก์ไม่ได้ถือเอาระยะเวลาที่กำหนดไว้เป็นสาระสำคัญโจทก์ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้โดยกำหนดระยะเวลาให้ 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือทวงถาม จำเลยรับหนังสือทวงถามวันที่ 27 ตุลาคม 2541 ครบ 7 วัน ในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2541 ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์กำหนดวันผิดนัดในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2541 จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3476/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยค่าชดเชย-ค่าจ้าง กรณีเลิกจ้าง: อัตราดอกเบี้ยตามกฎหมายและวันผิดนัดชำระ
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 31 วรรคหนึ่ง อันเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยในระหว่างผิดนัดกรณีค่าชดเชยและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไว้เป็นพิเศษ ลูกจ้างจึงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในเงินดังกล่าวได้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคแรก
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
ค่าชดเชยเป็นเงินที่จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างต้องจ่ายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างในทันทีที่มีการเลิกจ้าง จึงถือว่าจำเลยผิดนัดจ่ายค่าชดเชยให้แก่โจทก์นับแต่วันที่เลิกจ้างเป็นต้นไป
ส่วนค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีและเงินบำเหน็จสะสมหรือบำเหน็จพิเศษไม่มีกฎหมายบังคับให้จำเลยต้องจ่ายให้แก่โจทก์ในทันทีนับแต่วันเลิกจ้าง เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ดังกล่าว จึงต้องถือว่าจำเลยผิดนัดชำระหนี้นับแต่วันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7378/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยผิดสัญญาและดอกเบี้ยตามกฎหมาย: ศาลฎีกาแก้ไขวันเริ่มดอกเบี้ยให้ถูกต้องตามวันผิดนัด
โจทก์คิดดอกเบี้ยเงินกู้จากจำเลยอัตราร้อยละ 18 ต่อปี เกินอัตราที่กฎหมายกำหนดข้อตกลงเรื่องดอกเบี้ยจึงตกเป็นโมฆะมีผลให้โจทก์หมดสิทธิที่จะเรียกดอกเบี้ยตามสัญญากู้แต่เมื่อเป็นหนี้เงินจำเลยจึงต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันผิดนัดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 224
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยก่อนวันผิดนัดเป็นการให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยชำระดอกเบี้ยก่อนวันผิดนัดเป็นการให้จำเลยชำระดอกเบี้ยมากกว่าที่จำเลยต้องรับผิดตามกฎหมายเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นปรับแก่คดีได้เองตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และ 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2296/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยทบต้นหลังสัญญาเบิกเงินเกินบัญชีครบกำหนด: สิทธิคิดดอกเบี้ยถึงวันที่ทวงถามหนี้
ในระหว่างที่สัญญาบัญชีเดินสะพัดยังดำเนินอยู่ต่อไปหลังจากที่ครบกำหนดอายุสัญญาแล้วนั้น ธนาคารโจทก์ได้มีหนังสือทวงถามให้จำเลยชำระหนี้ตามยอดเงินในบัญชีภายในกำหนด15 วัน นับแต่วันรับหนังสือ เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยได้รับหนังสือทวงถามหรือไม่เมื่อวันใดจึงไม่อาจทราบวันผิดนัดแน่ชัดได้ โจทก์จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นได้จนถึงวันที่ครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้ จากนั้นคงเรียกได้แต่ดอกเบี้ยธรรมดา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 773/2518
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยกู้ยืม: เริ่มนับจากวันกู้ ไม่ใช่วันผิดนัด
การกู้ยืมเงินซึ่งหนังสือกู้มีข้อความว่า 'ผู้กู้ยอมให้ดอกเบี้ยต่อเดือน'ผู้ให้กู้มีสิทธิได้รับดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ต่อปี ตั้งแต่วันกู้ ไม่ใช่ตั้งแต่วันผิดนัด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายผิดสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากราคาตลาด ณ วันผิดนัด ไม่ใช่ ณ วันฟ้อง
กรณีผิดสัญญาซ้อขายนั้น ค่าเสียหายต้องคำนวณจากราคาในตลาดที่ผิดกันกับราคาในสัญญา+วันที่มีการผิดนัด ไม่ใช่คำนวณจากราคาในวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 578/2485
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายผิดสัญญาซื้อขาย: คำนวณจากราคาตลาด ณ วันผิดนัด ไม่ใช่วันฟ้อง
กรณีผิดสัญญาซื้อขายนั้น ค่าเสียหายต้องคำนวณจากราคาในตลาดที่ผิดกันกับราคาในสัญญาในวันที่มีการผิดนัด ไม่ใช่คำนวณจากราคาในวันฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4099/2564
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ การกำหนดค่าเสียหาย และดอกเบี้ยนับแต่วันผิดนัด
เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงเป็นยุติว่า โจทก์มีข้อจำกัดในเรื่องปริมาณงาน ความคับแคบของสถานที่ทำงานของสาขาที่เกิดเหตุ รวมทั้งวิธีปฏิบัติของโจทก์ในการ OVERDRIVE ที่ผู้อนุมัติรายการจำเป็นต้องมาทำรายการที่เครื่องคอมพิวเตอร์ของพนักงานการเงินที่ทำรายการเกินวงเงินนั้น ๆ โดยใช้วิธีพิมพ์รหัสเพียงอย่างเดียว ดังนั้น ข้อจำกัดเรื่องปริมาณงานและสถานที่ทำงาน ประกอบกับระเบียบเกี่ยวกับการรักษารหัสผ่านของโจทก์ที่ไม่สอดคล้องกับสภาพการทำงานภายใต้ข้อจำกัดดังกล่าว จึงมีส่วนทำให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รักษารหัสผ่านให้เป็นความลับได้ไม่สมบูรณ์ และทำให้ ส. กระทำทุจริตได้ง่ายขึ้น อันเป็นกรณีที่การละเมิดนั้นเกิดจากความผิดหรือความบกพร่องของโจทก์ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวม ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดความรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้แก่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้นในการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 โดยจะต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในลักษณะที่อาจแยกพิจารณามาตรา 8 เป็นรายวรรค หรือพิจารณามาตรา 8 ทั้งหมดแล้วนำมาวินิจฉัยรวมกันไปก็ได้ แต่การที่ศาลแรงงานกลางแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 แยกเป็นรายวรรค เมื่อได้ความว่าความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำทุจริตของ ส. มากกว่าความบกพร่องหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้หักส่วนแห่งความรับผิดของโจทก์ออกสูงถึงร้อยละ 90 ของจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดได้เพียงร้อยละ 10 ของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ อีกทั้งยังกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหายหลังจากหักส่วนแห่งความรับผิดข้างต้นออกแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือคิดคำนวณโดยรวมแล้วศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เหลือเพียงร้อยละ 8 ของความเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา และไม่เป็นไปตามสัดส่วนแห่งความรับผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม การใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบไปด้วย คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การกำหนดความรับผิดและจำนวนค่าสินไหมทดแทนที่ผู้กระทำละเมิดต้องชดใช้แก่หน่วยงานของรัฐ ดังนั้นในการพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงต้องคำนึงถึงหลักเกณฑ์ทั้งหมดตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 8 โดยจะต้องกล่าวหรือแสดงข้อเท็จจริงที่ฟังได้โดยสรุปพร้อมด้วยเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยในลักษณะที่อาจแยกพิจารณามาตรา 8 เป็นรายวรรค หรือพิจารณามาตรา 8 ทั้งหมดแล้วนำมาวินิจฉัยรวมกันไปก็ได้ แต่การที่ศาลแรงงานกลางแยกพิจารณาความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 แยกเป็นรายวรรค เมื่อได้ความว่าความประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรงของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการกระทำทุจริตของ ส. มากกว่าความบกพร่องหรือระบบการดำเนินงานส่วนรวมของโจทก์ การที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้หักส่วนแห่งความรับผิดของโจทก์ออกสูงถึงร้อยละ 90 ของจำนวนค่าเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ตามมาตรา 8 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 อันมีผลเท่ากับว่าโจทก์มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนจากการกระทำละเมิดได้เพียงร้อยละ 10 ของความเสียหายที่โจทก์ได้รับ อีกทั้งยังกำหนดให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดในอัตราร้อยละ 20 ของความเสียหายหลังจากหักส่วนแห่งความรับผิดข้างต้นออกแล้ว ตามมาตรา 8 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 หรือคิดคำนวณโดยรวมแล้วศาลแรงงานกลางพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์เหลือเพียงร้อยละ 8 ของความเสียหายทั้งหมดที่โจทก์ได้รับ จึงเป็นการใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ต้องรับผิดต่อโจทก์ที่ไม่ได้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังมา และไม่เป็นไปตามสัดส่วนแห่งความรับผิดที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2539 มาตรา 8 วรรคสอง และวรรคสาม การใช้ดุลพินิจในการกำหนดค่าเสียหายของศาลแรงงานกลางไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีผลให้ความรับผิดของจำเลยที่ 4 ในฐานะผู้ค้ำประกันการทำงานของจำเลยที่ 1 และที่ 2 ไม่ชอบไปด้วย คำพิพากษาศาลแรงงานกลางในส่วนที่กำหนดความรับผิดของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย