คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันฟ้อง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4015/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับประกันภัยค้ำจุน: ดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันฟ้อง ไม่ใช่ วันทำละเมิด
จำเลยที่ 3 เป็นผู้รับประกันภัยค้ำจุน มีความผูกพันที่จะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความวินาศภัยอันเกิดขึ้นตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ ไม่ใช่ผู้ทำละเมิดหรือต้องร่วมรับผิดกับผู้ละเมิด เมื่อกรมธรรม์เพียงแต่กำหนดวงเงินความเสียหายที่จำเลยที่ 3 จะต้องรับผิดโดยมิได้ระบุให้จำเลยที่ 3 ร่วมรับผิดเช่นเดียวกับผู้ทำละเมิด จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดในดอกเบี้ยนับแต่วันที่ทำละเมิด ประกอบกับหนี้หรือค่าสินไหมทดแทนตามสัญญาประกันภัยค้ำจุนมิได้กำหนดเวลาชำระหนี้ไว้ตามวันแห่งปฏิทิน และโจทก์ไม่ได้ทวงถามให้จำเลยที่ 3 ชำระหนี้ ยังถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 3 ตกเป็นผู้ผิดนัดมาก่อนที่โจทก์จะนำคดีมาฟ้อง จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดชดใช้ดอกเบี้ยตั้งแต่วันฟ้องเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาใหม่: การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้อง และข้อเท็จจริงที่ต้องแสดงในคำขอ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) ใช้บังคับ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 199 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาบังคับแก่คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินไป อัตราที่เหมาะสมควรจะเป็นอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี โดยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าเหตุใดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นเป็นเบี้ยปรับ รวมทั้งมีเหตุประการใดที่แสดงว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน และมีเหตุสมควรอย่างใดที่จะให้ศาลลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี อันเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะต้องกล่าวคัดค้านมาในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยละเอียดชัดแจ้ง เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2235/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องล้มละลายต้องใช้มูลหนี้ ณ วันฟ้อง เงินเพิ่มที่เกิดขึ้นภายหลังไม่รวมในมูลหนี้เดิม
เงินเพิ่มตามประมวลรัษฎากรฯ มาตรา 27 บัญญัติให้คำนวณในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องเสียหรือนำส่งโดยไม่รวมเบี้ยปรับ และให้เริ่มคำนวณเงินเพิ่มเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นรายการหรือนำส่งภาษีจนถึงวันชำระหรือนำส่งภาษี และในกรณีที่มีการผ่อนชำระภาษีค้าง เงินเพิ่มดังกล่าวจึงลดลงเป็นสัดส่วนกับภาษีอากรที่ค้างชำระ โจทก์นำคดีมาฟ้องมีรายการภาษีค้างชำระ 1,363,492.11 บาท (ยังไม่รวมเงินเพิ่มตามกฎหมาย)ย่อมต้องถือว่า ณ วันฟ้องนั้นเอง โจทก์นำมูลหนี้จำนวน1,363,492.11 บาทมาฟ้องให้จำเลยทั้งสองล้มละลาย โจทก์มิได้คำนวณเงินเพิ่มมาให้ชัดเจน ทั้ง ๆ ที่สามารถคำนวณได้ในวันฟ้อง และแม้ว่าโจทก์จะยื่นคำแถลงถึงเงินเพิ่มที่จำเลยต้องชำระแต่ก็มิได้แก้ไขคำฟ้องให้ปรากฏ ดังนี้ การฟ้องล้มละลายต้องถือมูลหนี้ในวันที่ฟ้องคดี ซึ่งระหว่างสืบพยานจำเลย จำเลยทั้งสองได้ผ่อนชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างดังกล่าวแก่โจทก์ครบถ้วนแล้วเงินเพิ่มที่เกิดขึ้นภายหลังวันฟ้องจำนวน 227,118.54 บาท จึงไม่ใช่มูลหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องให้ล้มละลายเพราะไม่ใช่เป็นการฟ้องขอให้ชำระหนี้ทั้งหมดเช่นคดีแพ่งทั่วไป ลูกหนี้จึงนำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดแล้ว ชอบที่ศาลจะพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีอาญาต้องอาศัยการกระทำผิดก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด
การลงโทษจำเลยในคดีที่จำเลยให้การรับสารภาพนั้นต้องอาศัยคำฟ้องและการฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใดตามกฎหมายต้องเป็นเรื่องที่ผู้นั้นได้กระทำผิดมาแล้วก่อนวันที่โจทก์ฟ้อง จะฟ้องล่วงหน้าว่าจำเลยกระทำผิดหาได้ไม่ แม้จำเลยจะให้การรับสารภาพก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 กล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 23 ธันวาคม 2541 เป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ฟ้อง วันเวลาซึ่งเกิดการกระทำที่โจทก์กล่าวหาว่าเป็นความผิดเป็นสาระสำคัญของข้อเท็จจริงที่โจทก์จะต้องบรรยายในคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) โจทก์จะเลยเสียมิได้ โจทก์จึงไม่อาจจะอ้างว่าเกิดจากความผิดหลง ฟ้องโจทก์ไม่ชอบ ไม่อาจลงโทษจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6907/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การคำนวณดอกเบี้ย: นับแต่วันรุ่งขึ้นจากวันฟ้องตามหลักประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่จำเป็นต้องระบุเจาะจง
การคำนวณนับระยะเวลาในการคิดดอกเบี้ยนั้นอยู่ในบังคับของหลักทั่วไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ซึ่งกำหนดมิให้นับวันแรกแห่งระยะเวลารวมคำนวณเข้าด้วย จึงเริ่มนับหนึ่งในวันรุ่งขึ้นโดยไม่นับวันฟ้องรวมคำนวณเข้าด้วยอยู่แล้ว ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ถ้อยคำเจาะจงว่าให้คิดดอกเบี้ยนับแต่วันถัดจากวันฟ้องแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2005/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิพากษาชดใช้ค่าเสียหายจากความรับผิดในสัญญาและการคิดดอกเบี้ยนับแต่วันฟ้อง
การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 2 รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทของโจทก์ไปจริงโดยเชื่อพยานหลักฐานของโจทก์ที่โจทก์นำสืบว่าจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทจากโจทก์เพื่อนำไปแสดงยังสำนักงานใหญ่ของจำเลยที่ 1ในประเทศญี่ปุ่น และจำเลยที่ 1 ได้รับผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์แล้ว ซึ่งตรงกับประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยทั้งสองยืมผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทไปจากโจทก์จริงหรือไม่ ศาลอุทธรณ์จึงมิได้วินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน225,000 บาท นับแต่วันที่โจทก์ได้ชำระเงินค่าสินค้าให้แก่เจ้าของสินค้าที่สูญหายไปคือ ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม 2535ถึงวันฟ้องเป็นเงิน 32,250 บาท รวมกับต้นเงินเป็นยอดเงินที่โจทก์เรียกร้องเอาแก่จำเลยทั้งสองถึงวันฟ้องจำนวน257,250 บาท และโจทก์ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาท อัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับตั้งแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์อีกด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองร่วมกันคืนผ้าปูโต๊ะวัตถุโบราณพิพาทให้แก่โจทก์ หากคืนไม่ได้ขอให้จำเลยทั้งสองชดใช้เงิน 50,000 ฟรังก์ฝรั่งเศส หรือเงินไทย257,250 บาท แก่โจทก์ แสดงว่าโจทก์อุทธรณ์รวมเอาเงินดอกเบี้ยจำนวน 32,250 บาท อันเป็นดอกเบี้ยนับตั้งแต่วันที่10 มกราคม 2535 ถึงวันฟ้องเข้ากับต้นเงินจำนวน 225,000 บาทมาในฟ้องอุทธรณ์ด้วยแล้ว ดังนั้น แม้ฟ้องอุทธรณ์ของโจทก์จะมิได้ขอให้จำเลยทั้งสองชำระดอกเบี้ยในต้นเงิน 225,000 บาทอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จมาด้วย แต่โดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(3) ประกอบด้วยมาตรา 246 เมื่อศาลอุทธรณ์เห็นสมควรศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจพิพากษาให้จำเลยที่ 1 ผู้แพ้คดีชำระดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ในต้นเงิน 225,000 บาทนับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่จำเลยที่ 1 ได้ชำระเสร็จตามคำพิพากษาให้แก่โจทก์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6529/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ดอกเบี้ยค่าสินไหมทดแทน: สิทธิเรียกร้องเกิดขึ้นเมื่อใด และคิดดอกเบี้ยได้เมื่อใด
รถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เพิ่งซ่อมเสร็จหลังจากโจทก์ที่ 1ฟ้องคดีแล้ว แต่สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่โจทก์ที่ 1 ในฐานะผู้เอาประกันภัยรถยนต์คันดังกล่าวมีต่อจำเลยในฐานะผู้รับประกันภัยบังเกิดขึ้นแล้วตั้งแต่วันเกิดเหตุดังนั้น โดยนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 224 วรรคหนึ่ง โจทก์ที่ 1 จึงชอบที่จะฟ้องเรียกดอกเบี้ยร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีของต้นเงินค่าสินไหมทดแทนเอาแก่จำเลยนับแต่วันฟ้องซึ่งเป็นวันในระหว่างเวลาที่จำเลยผิดนัดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเสียหายหลังวันฟ้อง ไม่นำมาคำนวณทุนทรัพย์ – คดีเกินสองแสนบาทต้องห้ามฎีกา
คดีฟ้องขับไล่ปรากฏว่าจำเลยออกไปจากที่พิพาทหลังจากวันฟ้องแล้ว โจทก์ฎีกาในเรื่องค่าเสียหาย คดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียว เมื่อข้อพิพาทในชั้นฎีกาที่โจทก์เรียกร้องเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้อง จึงเป็นค่าเสียหายในอนาคต จะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ไม่ได้ จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาจึงไม่เกินสองแสนบาทคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา248 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 330/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดเรื่องทุนทรัพย์ในการฎีกา: ค่าเสียหายหลังวันฟ้องถือเป็นค่าเสียหายในอนาคต ไม่อาจนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ได้
ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยและบริวารออกจากโกดังพิพาทไปแล้วเมื่อวันที่15มีนาคม2533จึงให้จำเลยใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์คิดถึงวันที่14มีนาคม2535โจทก์ฎีกาว่าจำเลยและบริวารเพิ่งออกไปเมื่อวันที่19พฤษภาคม2535ขอให้จำเลยใช้ค่าเสียหายระหว่างวันที่15มีนาคม2533ถึงวันที่14พฤษภาคม2535ด้วยคดีจึงไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาคงมีปัญหาเฉพาะเรื่องค่าเสียหายเพียงอย่างเดียวเมื่อค่าเสียหายดังกล่าวเป็นค่าเสียหายหลังวันฟ้องจึงเป็นค่าเสียหายในอนาคตจะนำมาใช้คำนวณเป็นทุนทรัพย์ด้วยไม่ได้ต้องถือว่าจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องต้องอ้างผิดที่เกิดก่อนวันฟ้อง การรับสารภาพภายหลังไม่ถือเป็นความผิด
การฟ้องขอให้ลงโทษผู้ใด ต้องเป็นกรณีที่ผู้นั้นได้กระทำผิดมาแล้วก่อนวันเวลาที่โจทก์ยื่นฟ้อง การที่โจทก์ยื่นฟ้องวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยกระทำผิดเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ซึ่งเป็นการกล่าวหาว่าจำเลยกระทำผิดภายหลังวันที่โจทก์ยื่นฟ้อง แม้จำเลยจะมิได้ยกความข้อนี้ขึ้นต่อสู้ศาลก็ยกขึ้นพิจารณาวินิจฉัยได้ อีกทั้งการที่จำเลยรับสารภาพ ก็เป็นการรับสารภาพตามฟ้องที่ไม่เป็นความผิด จึงพิพากษาลงโทษจำเลยไม่ได้
of 4