พบผลลัพธ์ทั้งหมด 49 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5993/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดเวลาทำงานและวันหยุดของลูกจ้างงานขนส่งทางบก ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และกฎกระทรวง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์จัดให้ลูกจ้างขับรถขนส่งเป็นกะ กะละ 24 ชั่วโมง แล้วหยุดในวันรุ่งขึ้น 24 ชั่วโมง จำเลยซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานเข้าตรวจสอบแล้วเห็นว่าขัดต่อ พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23 จึงมีคำสั่งให้โจทก์ประกาศเวลาทำงานปกติของลูกจ้างให้ถูกต้อง โจทก์เห็นว่าคำสั่งของจำเลยไม่ถูกต้องเพราะโจทก์ปฏิบัติตามกฎหมายแล้ว จำเลยให้การว่าคำสั่งของจำเลยชอบแล้ว ศาลแรงงานกลางกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่ามีเหตุเพิกถอนคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานหรือไม่ เพียงใด แล้ววินิจฉัยว่างานของโจทก์เป็นงานขนส่งทางบกตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 22 และมาตรา 23 ซึ่งตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ข้อ 2 ระบุให้นายจ้างกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง โจทก์ให้ลูกจ้างขับรถขนส่งทำงานติดต่อกันถึงวันละ 24 ชั่วโมง จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย คำพิพากษาของศาลแรงงานกลางจึงไม่นอกฟ้องนอกประเด็นชอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 52 แล้ว
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้" การที่โจทก์ให้ลูกจ้างทำงานกะละ 24 ชั่วโมง แล้วโจทก์ให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนเพียง 24 ชั่วโมงด้วย แล้วถือเอาว่าการให้หยุดพักผ่อนเพียง 24 ชั่วโมงนี้เท่ากับจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์แล้วไม่น้อยกว่า 1 วัน จึงเป็นการไม่ได้กำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกซึ่งกำหนดวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง และไม่ได้จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง, มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 28 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน โดยวันหยุดประจำสัปดาห์ต้องมีระยะห่างกันไม่เกินหกวัน นายจ้างและลูกจ้างอาจตกลงกันล่วงหน้ากำหนดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์วันใดก็ได้" การที่โจทก์ให้ลูกจ้างทำงานกะละ 24 ชั่วโมง แล้วโจทก์ให้ลูกจ้างได้หยุดพักผ่อนเพียง 24 ชั่วโมงด้วย แล้วถือเอาว่าการให้หยุดพักผ่อนเพียง 24 ชั่วโมงนี้เท่ากับจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์แล้วไม่น้อยกว่า 1 วัน จึงเป็นการไม่ได้กำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดการทำงานปกติของลูกจ้างในงานขนส่งทางบกซึ่งกำหนดวันหนึ่งไม่เกินแปดชั่วโมง และไม่ได้จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ สัปดาห์หนึ่งไม่น้อยกว่าหนึ่งวัน ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 23 วรรคหนึ่ง, มาตรา 28 วรรคหนึ่ง และกฎกระทรวง ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2541) ออกตามความใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 ข้อ 2
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6848/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหากไม่ได้ให้ลูกจ้างหยุดพักตามกฎหมาย
บทบัญญัติในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 28 มาตรา 62 และมาตรา 64 หมายความว่า นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละหนึ่งวัน หากนายจ้างไม่จัดให้ลูกจ้างมีวันหยุดประจำสัปดาห์ นายจ้างต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดหรือค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่านายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดเพิ่มขึ้นอีก 1 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุดและจ่ายในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานสำหรับลูกจ้างที่ไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างในวันหยุด
โจทก์ให้ลูกจ้างของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2)
โจทก์ให้ลูกจ้างของโจทก์ทำงานทุกวันโดยไม่ได้จัดให้มีวันหยุดประจำสัปดาห์ โจทก์จึงต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างเสมือนว่าโจทก์สั่งให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุด โดยลูกจ้างรายวันซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 56 (1) จะต้องจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างดังกล่าวในอัตรา 2 เท่าของค่าจ้างในวันทำงานตามมาตรา 62 (2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4321-4323/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนวันหยุดตามประเพณี นายจ้างต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขกฎกระทรวง หากไม่เข้าข่ายลูกจ้างมีสิทธิหยุดตามเดิม
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 29 วรรคสุดท้าย บัญญัติถึงงานที่มีลักษณะและสภาพของงานประเภทต่าง ๆ ว่า นายจ้างอาจตกลงกับลูกจ้างเพื่อหยุดงานในวันอื่นชดเชยวันหยุดตามประเพณีได้ถ้าเป็นงานประเภทใดประเภทหนึ่งตามที่ระบุไว้ในกฎกระทรวงฉบับที่ 4 การที่ผู้ร้องประกาศให้นำวันหยุดวันเสาร์ที่ 12 เมษายน 2546 แลกกับวันจักรี ซึ่งเป็นวันอาทิตย์ที่ 6 เมษายน 2546 โดยให้ผู้คัดค้านทั้งสามและพนักงานทุกคนมาทำงานในวันหยุดชดเชยวันจักรีในวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 นั้น เมื่องานที่ผู้คัดค้านทั้งสามทำไม่ใช่งานประเภทใดประเภทหนึ่งตามกฎกระทรวงฉบับที่ 4 จึงไม่อาจตกลงเปลี่ยนวันหยุดตามประเพณีได้ มีผลเท่ากับวันจันทร์ที่ 7 เมษายน 2546 ยังเป็นวันหยุดตามประเพณีชดเชยวันจักรี การที่ผู้คัดค้านทั้งสามมาทำงานในวันหยุดดังกล่าวเฉพาะช่วงเวลาตั้งแต่ 8 นาฬิกา ถึง 12 นาฬิกา จะถือว่าในช่วงเวลาตั้งแต่ 13 นาฬิกา ถึง 17 นาฬิกา ที่ผู้คัดค้านทั้งสามไม่เข้าทำงานเป็นการละทิ้งหน้าที่โดยไม่มีเหตุอันสมควรและจงใจทำให้ผู้ร้องได้รับความเสียหายหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2062/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง: การสั่งให้ทำงานวันเสาร์ แม้เคยมีวันหยุดสลับวันเสาร์ ไม่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
โจทก์ออกข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของโจทก์ให้พนักงานทั่วไปทำงานสัปดาห์ละ 6 วัน และมีวันหยุดประจำสัปดาห์ 1 วัน คือวันอาทิตย์ การที่โจทก์ให้พนักงานบางแผนกหยุดสลับกันในวันเสาร์โดยมิได้ประกาศหรือมีคำสั่งว่าวันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดแต่อย่างใดยังถือไม่ได้ว่า โจทก์มีเจตนาเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยให้วันเสาร์เว้นวันเสาร์เป็นวันหยุดสัปดาห์เพิ่มขึ้นอีก 1 วัน ไม่เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง การที่โจทก์ประกาศให้ลูกจ้างมาทำงานทุกวันเสาร์ จึงเป็นการสั่งให้ลูกจ้างปฏิบัติงานในวันทำงานตามปกติ ลูกจ้างย่อมไม่มีสิทธิได้รับค่าทำงานในวันหยุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1676/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขยายเวลาอุทธรณ์และการนับระยะเวลา - วันหยุดราชการ
ป.พ.พ.มาตรา 193/8 บัญญัติว่า "ถ้าวันสุดท้ายของระยะเวลาเป็นวันหยุดทำการตามประกาศเป็นทางการหรือตามประเพณี ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา" หมายถึงว่า หากไม่มีการอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์ตรงกับวันหยุดราชการ จำเลยสามารถยื่นอุทธรณ์ในวันอันเป็นวันแรกของการเปิดทำการปรกติได้เมื่อศาลชั้นต้นอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ครบกำหนดวันที่ครบกำหนดดังกล่าวจึงมิใช่วันสุดท้ายของระยะเวลาอุทธรณ์อีกต่อไป จึงนำ ป.พ.พ.มาตรา 193/8 มาปรับใช้มิได้
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาให้โจทก์และจำเลยฟังเมื่อวันที่ 30ธันวาคม 2541 จำเลยจะต้องอุทธรณ์ภายในวันที่ 30 มกราคม 2542 แต่ทนายจำเลยยื่นคำร้องในวันที่ 28 มกราคม 2542 ขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 10 วันนับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2542 ศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไป10 วัน นับแต่วันครบกำหนด จึงครบกำหนด 10 วัน ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2542ซึ่งเป็นวันทำการปรกติ จำเลยมิได้ยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าว โดยยื่นอุทธรณ์วันที่ 11กุมภาพันธ์ 2542 พ้นกำหนดระยะเวลาอุทธรณ์แล้วถึง 2 วัน ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์จำเลยจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 801/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ต้องมีเหตุพิเศษ การอ้างเหตุผลเรื่องวันหยุดและพนักงานลาพัก ไม่เพียงพอต่อการขยายเวลา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์วันที่5มีนาคม2539โจทก์ยื่นคำร้องขอถ่ายคำเบิกความพยานและคำพิพากษาในวันรุ่งขึ้นศาลชั้นต้นสั่งอนุญาตวันที่15เดือนเดียวกันวันที่4เมษายน2539โจทก์ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์30วันโดยอ้างเหตุว่ายังไม่ได้รับเอกสารที่ขอถ่ายศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ขยายระยะเวลาอุทธรณ์วันที่23เดือนเดียวกันซึ่งเมื่อนับแต่วันพิพากษาถึงวันครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ของระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นขยายให้มีเวลาถึงประมาณ50วันโจทก์มีอาชีพเป็นทนายความสามารถทำอุทธรณ์ได้เองและยังแต่งตั้งทนายความอีกคนหากโจทก์หรือทนายโจทก์ตั้งใจจริงย่อมสามารถยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดทั้งรูปคดีไม่สลับซับซ้อนการที่โจทก์ปล่อยปละละเลยจนกระทั่งถึงวันครบกำหนดอุทธรณ์ที่ขยายให้แล้วจึงมายื่นขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก10วันโดยอ้างเหตุว่านับแต่ต้นเดือนเมษายน2539มีวันหยุดราชการและวันหยุดตามประเพณีหลายวันพนักงานพิมพ์ดีดและพนักงานอื่นในสำนักงานของโจทก์ขอลาหยุดต่อเนื่องกันหลายวันทำให้คดีที่จะต้องเตรียมและจัดพิมพ์ค้างอยู่หลายคดีเป็นเหตุให้โจทก์ไม่สามารถทำอุทธรณ์ยื่นต่อศาลได้ภายในระยะเวลาดังกล่าวเป็นการกล่าวอ้างลอยๆแม้ไม่มีพนักงานพิมพ์ดีดพิมพ์อุทธรณ์ให้โจทก์ก็สามารถเขียนด้วยหมึกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา46วรรคสองกรณีของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่ามีพฤติการณ์พิเศษที่ศาลจะขยายระยะเวลาอุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา23ประกอบกับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา15
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3205/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดิน - ผู้ผิดนัด - วันหยุดราชการ - การจดทะเบียน
โจทก์จำเลยทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินโดยตกลงไปทำการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทกันภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2533 แต่ปรากฏว่า วันที่ 31ธันวาคม 2533 เป็นวันหยุดราชการ ก่อนถึงวันนัดโจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอนัดจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ วันที่ 26 ธันวาคม 2533 โดยจำเลยไม่ได้ตกลงด้วย การที่จำเลยไม่ไปจดทะเบียนโอนสิทธิที่ดินพิพาทให้โจทก์ในวันที่ 26 ธันวาคม 2533 จะถือว่าจำเลยตกเป็นผู้ผิดนัดหาได้ไม่ ข้อเท็จจริงยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 128-129/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับระยะเวลาขยายอุทธรณ์: เริ่มนับจากวันสุดท้ายเดิม แม้มีวันหยุดราชการ
วันสุดท้ายที่จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ได้คือวันที่ 12 เมษายน2533 เมื่อศาลอนุญาตให้ขยายระยะเวลาไป 15 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดจึงต้องนับต่อจากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาเดิมคือเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 13 เมษายน 2533 มิใช่วันที่ 17 เมษายน 2533 แม้ว่าวันที่12 ถึง 15 เมษายน 2533 เป็นวันหยุดราชการ และก่อนที่ศาลมีคำสั่งขยายระยะเวลาอุทธรณ์ จำเลยมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 16 เมษายน2533 ซึ่งเป็นวันเริ่มทำงานใหม่ได้ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 28/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการได้รับค่าทำงานในวันหยุดและดอกเบี้ย กรณีนายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามกฎหมายแรงงาน
เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าจำเลยนายจ้างได้ประกาศกำหนดวันหยุดตามประเพณีและวันหยุดพักผ่อนประจำปีให้แก่โจทก์ทราบล่วงหน้าซึ่งมีความหมายอยู่ในตัวว่าโจทก์ไม่ได้หยุดงานในวันดังกล่าวส่วนวันหยุดประจำสัปดาห์จำเลยมิได้ปฏิเสธไว้ต้องถือว่าจำเลยสั่งให้โจทก์ทำงานในวันอาทิตย์ซึ่งเป็นวันหยุดประจำสัปดาห์โจทก์จึงมิต้องนำสืบในข้อนี้อีกจำเลยจึงต้องจ่ายเงินสำหรับวันหยุดทั้ง3ประเภทดังกล่าวแก่โจทก์ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องการคุ้มครองแรงงานหมวด4ข้อ31วรรคแรกถ้านายจ้างผิดนัดในการจ่ายค่าจ้างค่าล่วงเวลาและค่าทำงานในวันหยุดต้องจ่ายดอกเบี้ยแก่ลูกจ้างระหว่างผิดนัดร้อยละ15ต่อปีแม้ประกาศกระทรวงมหาดไทยดังกล่าวจะมิได้กำหนดให้ลูกจ้างต้องทวงถามเสียก่อนจึงจะมีสิทธิได้ดอกเบี้ยซึ่งมีความหมายว่านายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ยทันทีที่ผิดนัดก็ตามแต่เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าจำเลยผิดนัดในเรื่องดอกเบี้ยของแต่ละรายการตั้งแต่เมื่อใดและอย่างไรทั้งยังเบิกความว่าขอเรียกดอกเบี้ยนับจากวันฟ้องเป็นต้นไปที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยจ่ายดอกเบี้ยแก่โจทก์นับแต่วันฟ้องจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4431/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ทางไกล: การนับวันสุดท้ายของอายุความเมื่อตรงกับวันหยุดราชการ
ค่าธรรมเนียมที่ผู้ใช้เครื่องโทรศัพท์พูดวิทยุโทรศัพท์ไปยังต่างประเทศโดยผ่านเครื่องวิทยุของโจทก์ มีลักษณะเป็นสินจ้าง โจทก์จึงเป็นผู้ค้าในการรับทำการงานต่าง ๆ ตามความหมายของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 165 (7) สิทธิเรียกร้องหนี้ค่าใช้บริการโทรศัพท์ทางไกลของโจทก์ จึงมีอายุความฟ้องร้อง 2 ปี
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการการนับระยะเวลาสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องคือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย
เมื่อสิทธิเรียกร้องของโจทก์มีอายุความกำหนดตรงกับวันเสาร์หยุดราชการการนับระยะเวลาสุดท้ายของการฟ้องร้อง ก็ต้องคือหลักตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 161 คือให้นับวันจันทร์อันเป็นวันที่เริ่มทำงานใหม่เข้าด้วยเป็นวันสุดท้าย