พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 848/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาอุทธรณ์และการนับวันหยุดราชการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ศาลชั้นต้นอ่านคำพิพากษาเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2547 คู่ความย่อมยื่นอุทธรณ์ได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันอ่านคำพิพากษาดังกล่าว ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์วันที่ 6 มีนาคม 2547 ต่อมาวันที่ 4 มีนาคม 2547 ทนายจำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ออกไปอีก 30 วัน นับแต่วันที่ครบกำหนดยื่นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาต ระยะเวลาที่ขยายออกไปจึงเริ่มนับแต่วันที่ครบกำหนดอุทธรณ์ คือ วันที่ 6 มีนาคม 2547 โดยเริ่มนับหนึ่งตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2547 แม้วันดังกล่าวจะเป็นวันหยุดราชการตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ดังนั้น จำเลยจึงยื่นอุทธรณ์ได้ภายในวันที่ 5 เมษายน 2547
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6974/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความคดีละเมิดช่วงวันหยุดราชการ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์ฟ้องภายในกำหนด
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 17 กรกฎาคม 2542 เมื่อนับเวลา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือ วันที่ 17 กรกฎาคม 2543 ตรงกับวันเข้าพรรษาเป็นวันหยุดราชการประจำปี และวันที่ 18 กรกฎาคม 2543 เป็นวันหยุดชดเชยวันอาสาฬหบูชาวันหยุดราชการประจำปี ศาลหยุดทำการ ตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์จึงมีสิทธิที่จะยื่นคำฟ้องคดีนี้ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันหยุดทำการได้
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
อายุความเป็นระยะเวลาอย่างหนึ่ง การนับอายุความจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่ง ป.พ.พ. บรรพ 1 ลักษณะ 5 ตั้งแต่มาตรา 193/1 ถึงมาตรา 193/8 ด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าชอบด้วยกฎหมาย
ตามสำเนาภาพถ่ายหนังสือของศาลจังหวัดยะลาที่แนบท้ายคำร้องของจำเลยทั้งสองระบุว่า วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย โดยโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้าน ดังนั้น วันที่ 17 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นปิดทำการ จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้และต้องยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก สอดคล้องกับคำสั่งรับอุทธรณ์ของศาลชั้นต้นที่ระบุว่าวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ศาลชั้นต้นเปิดทำการเป็นวันแรก เมื่อจำเลยทั้งสองยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยทั้งสองจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นอุทธรณ์หลังวันหยุดราชการในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้: ความชอบด้วยกฎหมายของคำสั่งรับอุทธรณ์
วันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรี วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย ศาลจังหวัดยะลาจึงปิดทำการ จำเลยจึงมิอาจยื่นอุทธรณ์ในวันดังกล่าวได้ และมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3631/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ยื่นหลังวันขยายเวลา แต่เป็นวันหยุดราชการในพื้นที่
คดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลจังหวัดยะลาซึ่งมีคำสั่งขยายเวลาให้จำเลยยื่นอุทธรณ์ได้ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2544 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ จำเลยต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 17 ธันวาคม 2544 แต่เนื่องจากวันอาทิตย์ที่ 16 ธันวาคม 2544 เป็นวันรายออิฎิลฟิตรีของผู้นับถือศาสนาอิสลามซึ่งเป็นวันหยุดทำการในสี่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทางราชการจึงประกาศให้วันจันทร์ที่ 17 ธันวาคม 2544 เป็นวันหยุดชดเชย จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นอุทธรณ์ในวันที่ 18 ธันวาคม 2544 ซึ่งเป็นวันเปิดทำการวันแรก เมื่อโจทก์มิได้ยื่นคำแก้ฎีกาคัดค้านข้อเท็จจริงนี้ คำสั่งศาลชั้นต้นที่รับอุทธรณ์ของจำเลยจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8874/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาการยื่นคำให้การและการพิจารณาคดีที่ถูกต้องตามกฎหมาย
เจ้าพนักงานส่งหมายเรียกสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยที่ 1 โดยวิธีปิดหมายวันที่ 15 มีนาคม 2540 ครบกำหนดที่จำเลยที่ 1 ต้องยื่นคำให้การในวันจันทร์ที่14 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ แต่มีประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง กำหนดเวลาทำงานและวันหยุดราชการ (ฉบับที่ 19)พ.ศ. 2540 ให้เลื่อนวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์ จากวันที่ 12,13และ 14 เมษายน เป็นวันที่ 13,14 และ 15 เมษายน และเลขาธิการคณะรัฐมนตรีมีหนังสือแจ้งให้กระทรวง ทบวง กรม ทราบถึงประกาศดังกล่าวโดยในส่วนของวันหยุดชดเชยให้ถือปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2538 เรื่อง วันหยุดชดเชยของทางราชการว่าในกรณีวันหยุดราชการประจำปีวันสงกรานต์วันใดตรงกับวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ ให้เลื่อนไปหยุดในวันทำงานถัดไปด้วย เมื่อวันที่ 13 เมษายน2540 ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดราชการประจำสัปดาห์ วันที่ 14 และ15 ตรงกับวันจันทร์และวันอังคารเป็นเหตุให้ต้องเลื่อนไปหยุดชดเชยในวันที่ 16 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันทำงานถัดไปด้วย จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การต่อศาลชั้นต้นในวันที่ 17 เมษายน 2540 ซึ่งเป็นวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการได้ และข้อเท็จจริงว่าวันใดเป็นวันหยุดราชการหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่รู้กันอยู่ทั่วไป และศาลรู้ได้เองโดยคู่ความไม่ต้องนำสืบ
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2รับผิดชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกันหากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2จะขาดนัดยื่นคำให้การ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จะชอบก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดแทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือไม่เพียงใด ต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบให้ปรากฏก่อนเพราะจำเลยที่ 2อาจมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยผิดหลง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบจึงไม่ปรากฏไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยที่ 2 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเพียงจำเลยที่ 1 เห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 รับผิดชำระหนี้ในฐานะผู้กู้ จำเลยที่ 2รับผิดชำระหนี้แทนในฐานะผู้ค้ำประกันหากจำเลยที่ 1 ไม่ยอมชำระมูลความแห่งคดีเป็นการชำระหนี้ซึ่งแบ่งแยกจากกันมิได้ แม้จำเลยที่ 2จะขาดนัดยื่นคำให้การ มีสิทธิเพียงสาบานตนให้การเป็นพยานเองและถามค้านพยานโจทก์ ซึ่งการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 2 จะชอบก็ตาม แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยที่ 2รับผิดแทนจำเลยที่ 1 หากจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหรือไม่เพียงใด ต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยที่ 1 นำสืบให้ปรากฏก่อนเพราะจำเลยที่ 2อาจมีสิทธิเกี่ยงให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนตน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นคำให้การของจำเลยที่ 1 และสั่งให้จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยผิดหลง พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 จะนำสืบจึงไม่ปรากฏไม่ชอบที่ศาลฎีกาจะพิจารณาพิพากษาฎีกาของจำเลยที่ 2 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 1 ก่อน แต่เมื่อศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเพียงจำเลยที่ 1 เห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะจำเลยที่ 1 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความละเมิด: วันหยุดราชการและวันเริ่มทำการของศาล
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการ จึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีละเมิด: การนับอายุความเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ
เหตุละเมิดเกิดวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 วันครบกำหนด1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิดฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3228/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนับอายุความในคดีละเมิดเมื่อวันครบกำหนดตรงกับวันหยุดราชการ ศาลพิจารณาว่าวันเริ่มต้นทำการใหม่เป็นวันสุดท้ายของอายุความ
เหตุละเมิดเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2538 เมื่อนับเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/3 วรรคสอง ประกอบมาตรา 193/5 วันครบกำหนด 1 ปี นับแต่วันละเมิดคือวันที่ 24 พฤศจิกายน2539 ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์เป็นวันหยุดราชการ ศาลหยุดทำการ ซึ่งตามมาตรา 193/8 ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 25 พฤศจิกายน 2539 ซึ่งเป็นวันที่ศาลเริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการจึงเป็นการฟ้องภายในระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันทำละเมิด ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8701/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนัดหมายจดทะเบียนโอนที่ดินตรงกับวันหยุดราชการ มิอาจถือเป็นเหตุผิดสัญญาได้
วันที่ 17 เมษายน 2537 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์และจำเลยได้ตกลงนัดจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินตามสัญญาซื้อขายกัน เป็นวันอาทิตย์อันเป็นวันหยุดราชการไม่อาจจดทะเบียนโอนสิทธิในที่ดินกันได้ในวันนั้น และกรณีดังกล่าวไม่ได้อยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/8 ที่บัญญัติให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยต้องไปโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันที่ 18 เมษายน 2537 การที่จำเลยไม่ได้จดทะเบียนโอนที่ดินให้แก่โจทก์ในวันดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาไม่โอนที่ดินให้โจทก์ โจทก์จึงไม่อาจอ้างเหตุดังกล่าวมาบอกเลิกสัญญาเรียกเบี้ยปรับและขอคืนเงินมัดจำจากจำเลยได้