พบผลลัพธ์ทั้งหมด 37 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช็ค: เริ่มนับจากวันออกเช็คที่ตกลงกันได้ แม้มีการแก้ไขหรือลงวันออกเช็คภายหลัง
เช็คเป็นตั๋วเงินที่ผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารใช้เพื่อทวงถาม ผู้ทรงเช็คจึงมีสิทธิทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตั้งแต่วันออกเช็คซึ่งหมายถึงวันที่ลงในเช็ค มิใช่หมายถึงวันที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คหรือมิใช่วันที่ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คอันเป็นวันที่ผู้ทรงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/12
โจทก์จำเลยตกลงให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คพิพาทเดิม และยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวันหนึ่งก็ได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้เพราะตราสารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็นเช็ค เมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งหลังเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เพื่อให้สมบูรณ์เป็นเช็คจึงเป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป
โจทก์จำเลยตกลงให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คพิพาทเดิม และยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวันหนึ่งก็ได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารชอบที่จะปฏิเสธการจ่ายเงินได้เพราะตราสารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็นเช็ค เมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งหลังเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เพื่อให้สมบูรณ์เป็นเช็คจึงเป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคม 2541 เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9539/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันฟ้องคดีเช็คเริ่มนับอายุความเมื่อใด: เช็คที่ถูกขีดฆ่าวันออกและลงวันออกใหม่
เช็คเป็นตั๋วเงินประเภทหนึ่งที่ผู้สั่งจ่ายสั่งให้ธนาคารใช้เงินเมื่อทวงถามซึ่งผู้ทรงเช็คมีสิทธิทวงถามให้ธนาคารใช้เงินตั้งแต่วันออกเช็คซึ่งหมายถึงวันที่ลงในเช็ค มิใช่หมายถึงวันที่ผู้สั่งจ่ายเขียนเช็คหรือมิใช่วันที่ผู้ทรงเช็คยื่นเช็คแล้วธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน กำหนดอายุความ 1 ปีที่ผู้ทรงเช็คฟ้องผู้สั่งจ่ายจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ลงในเช็คอันเป็นวันที่ผู้ทรงอาจบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป เมื่อโจทก์และจำเลยตกลงกันให้จำเลยขีดฆ่าวันออกเช็คเดิมออกเช็คพิพาทจึงเป็นเช็คที่มิได้ลงวันออกเช็ค และแสดงให้เห็นเจตนาว่าจำเลยยินยอมให้โจทก์ลงวันออกเช็ควันใดวันหนึ่งก็ได้ตามที่โจทก์เห็นสมควร การที่โจทก์ไม่ลงวันออกเช็คในครั้งแรกที่นำเช็คพิพาทไปยื่น ธนาคารจึงชอบที่จะปฏิเสธการใช้เงินได้เพราะตราสารที่นำไปยื่นนั้นมีรายการขาดตกบกพร่องไม่สมบูรณ์อันจะถือว่าเป็นเช็คและเมื่อโจทก์นำตราสารนั้นมาลงวันออกเช็คในครั้งหลังเพื่อให้สมบูรณ์เป็นเช็คก็เป็นสิทธิที่โจทก์ย่อมกระทำได้ อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่วันที่ออกเช็คหรือลงในเช็คในครั้งหลังเป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้ภายหลังเช็คพิพาทถึงกำหนดแล้วประมาณ 3 เดือนเศษคดีของโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6426/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความถูกต้องของวันออกเช็คและวันปฏิเสธการจ่ายเงินในคดีเช็ค ความผิดพลาดในการบรรยายฟ้องที่ไม่กระทบต่อการดำเนินคดี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2541 จำเลยออกเช็คลงวันที่ 15 พฤษภาคม 2541 มอบให้โจทก์ร่วม แต่วันที่มอบเช็คให้แก่กันมิใช่วันกระทำความผิด จึงมิใช่ข้อสำคัญที่ต้องบรรยายมาในฟ้อง การที่โจทก์บรรยายฟ้องที่เป็นไปไม่ได้เช่นนั้นเนื่องจากโจทก์พิมพ์ฟ้องเกี่ยวกับวันที่จำเลยมอบเช็คให้โจทก์ร่วมผิดพลาด ซึ่งทางพิจารณาได้ความว่า จำเลยมอบเช็คให้โจทก์ร่วมเมื่อเดือนมีนาคม 2541 การที่โจทก์บรรยายฟ้องผิดพลาดในข้อที่มิใช่สาระสำคัญ ทั้งจำเลยมิได้หลงต่อสู้ จึงหาทำให้การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7100/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
วันออกเช็คตามกฎหมายเช็คคือวันที่ลงในเช็ค แม้ทำสัญญากู้ก่อน แต่หากเช็คตรงกับวันครบกำหนดหนี้ก็ถือเป็นวันออกเช็ค
ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 วันออกเช็คย่อมหมายถึงวันที่ลงในเช็ค ส่วนวันที่เขียนเช็คหาใช่วันออกเช็คไม่ แม้จำเลยจะเขียนเช็คพิพาทก่อนที่ได้ทำสัญญากู้เงินแต่เมื่อวันที่ลงในเช็คตรงกับวันครบกำหนดชำระตามสัญญากู้เงิน แสดงว่าขณะเช็คพิพาทถึงกำหนดสั่งจ่ายซึ่งถือว่าเป็นวันออกเช็คนั้นมูลหนี้ตามเช็คพิพาทมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือสามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ตามกฎหมายหาใช่ขณะที่ออกเช็คพิพาทจำเลยเป็นหนี้โจทก์อยู่ แต่หนี้นั้นยังไม่อาจบังคับได้ตามกฎหมายไม่ เมื่อจำเลยออกเช็คโดยมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คจำเลยจึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คผู้ถือ การลงวันออกเช็ค และผลของการสลักหลังในฐานะอาวัล
เช็คเป็นตราสารเปลี่ยนมือที่ต้องการความเชื่อถือในระหว่างผู้สั่งจ่ายและผู้ทรงทั้งหลายว่า เมื่อนำเช็คไปเรียกเก็บเงินแล้วจะมีการจ่ายเงินตามเช็ค ดังนั้นข้อกำหนดเงื่อนไขใด ๆ อันเป็นการห้ามหรือจำกัดการจ่ายเงินจะพึงมีได้ จึงต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย การที่จำเลยออกเช็คพิพาทโดยขีดเส้นสีดำในช่องวันที่ไว้ เมื่อไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้อำนาจไว้ว่ากระทำได้ ข้อความดังกล่าวจึงไม่เป็นผลอย่างหนึ่งอย่างใดแก่เช็คนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 899 กรณีถือว่าจำเลยออกเช็คโดยมิได้ลงวันออกเช็คไว้ เมื่อโจทก์ได้รับเช็คพิพาทมาและนำเข้าบัญชี โจทก์หรือเจ้าหน้าที่ธนาคารย่อมลงวันที่ในเช็คได้ตามมาตรา 910 วรรคท้ายประกอบ มาตรา 989 จำเลยออกเช็คสั่งจ่ายระบุชื่อ บ. เป็นผู้รับเงิน แต่มิได้ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกแม้จำเลยอ้างว่าประสงค์จะออกเช็คระบุชื่อ แต่ด้วยความไม่สันทัดของจำเลยจึงมิได้ ขีดฆ่าคำว่า "หรือผู้ถือ" ออกก็ตาม ก็ต้องถือว่าเช็คพิพาทเป็นเช็คผู้ถือ โจทก์ลงลายมือชื่อสลักหลังเช็คพิพาทซึ่งเป็นเช็คผู้ถือ มีผลเป็นการประกัน หรืออาวัลผู้สั่งจ่าย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 921 ประกอบมาตรา 989ซึ่งเป็นการอาวัลตามผลของกฎหมาย มิใช่การอาวัลตามมาตรา 939 จึงไม่ต้องมีการเขียน ข้อความระบุว่า ใช้ได้เป็นอาวัลอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7250/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ตอนออก เหตุไม่มีวันออกเช็ค ผู้สั่งจ่ายไม่มีความผิดอาญา
ช. เป็นผู้กรอกข้อความลงในเช็คพิพาท และลงวันที่ในเช็คหลังจากจำเลยที่ 2ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คแล้ว โดยจำเลยที่ 2 ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทโดยไม่ได้ลงวันที่ในเช็ค เช็คพิพาทจึงไม่มีรายการวันออกเช็ค หรือวันจ่ายเงินอันเป็นวันกระทำความผิดหรือวันเกิดเหตุ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 988(6)บังคับให้ต้องมีรายการนี้ เมื่อไม่มีรายการนี้ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค จึงเป็นเช็คที่ไม่สมบูรณ์ตามมาตรา 910 วรรคหนึ่ง,989 วรรคหนึ่ง แม้ผู้ทรงเช็คสามารถลงวันที่ได้เองลับหลังผู้สั่งจ่ายตามมาตรา 910 วรรคท้าย,989 วรรคหนึ่ง ก็เป็นเพียงวิธีการในทางแพ่งเพื่อให้เช็คเรียกเก็บเงินได้ เมื่อเช็คพิพาทไม่สมบูรณ์ตั้งแต่ขณะที่ออกเช็ค ผู้ออกเช็คก็ย่อมไม่มีความผิดทางอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5116/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็ค: วันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินคือวันที่ความผิดสำเร็จ โจทก์ต้องพิสูจน์ว่าจำเลยไม่มีเงินในบัญชี ณ วันออกเช็ค
สาระสำคัญของความผิดฐานออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) นั้น ถือว่าวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำผิดและความผิดสำเร็จครบองค์ประกอบความผิดในวันที่ ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค
โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5116/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานออกเช็คต้องพิสูจน์เจตนาหรือเงินในบัญชีวันออกเช็ค ไม่ใช่แค่วันปฏิเสธการจ่ายเงิน
สาระสำคัญของความผิดฐานออกเช็คตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 3(1)(2) นั้น ถือว่าวันที่ออกเช็คเป็นวันที่ผู้ออกเช็คมีเจตนากระทำผิดและความผิดสำเร็จครบองค์ประกอบความผิดในวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค โจทก์นำสืบแต่เพียงวันที่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินเท่านั้นซึ่งเป็นวันหลังออกเช็คหลายเดือน โดยธนาคารให้เหตุผลว่ายังไม่มีการตกลงกับธนาคาร เนื่องจากขณะนั้นจำเลยเป็นหนี้ธนาคารอยู่เต็มวงเงินเบิกเกินบัญชี มิได้นำสืบว่าในวันออกเช็คจำเลยมีเงินอยู่ในบัญชีไม่พอจะใช้เงินได้ตามเช็ค และหรือหากผู้เสียหายนำเช็คตามฟ้องไปเบิกเงินธนาคารจะปฏิเสธการจ่ายเงิน จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2825/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิสูจน์ความผิดฐานออกเช็คโดยบัญชีไม่มีเงิน ต้องพิสูจน์ ณ วันออกเช็ค หรือวันเช็คถึงกำหนด
ปัญหามีว่าวันออกเช็คหรือวันที่เช็คพิพาทถึงกำหนด ผู้ออกเช็คมีเงินในบัญชีที่ธนาคารพอจ่ายตามเช็คหรือไม่ เป็นข้อสำคัญแห่งคดีเพราะเป็นเหตุที่ทำให้การกระทำเป็นความผิดโจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบว่าวันดังกล่าวจำเลยมีเงินในบัญชีที่ธนาคารไม่พอจ่ายตามเช็คพิพาทคดีจึงจะลงโทษจำเลยได้การที่โจทก์กับจำเลยตกลงเลื่อนกำหนดวันนำเช็คไปยื่นขอรับเงินจากธนาคารเป็นวันอื่น ซึ่งไม่ใช่วันออกเช็คโดยมิได้เปลี่ยนแปลงแก้ไขวันออกเช็คใหม่ ไม่ทำให้หน้าที่นำสืบของโจทก์เปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2829/2531 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจ่ายเช็คในวันออกเช็คแสดงว่าไม่มีเงินในบัญชี คดีเช็คมีมูล
ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินในวันเดียวกันกับวันสั่งจ่ายว่าโปรดติดต่อผู้สั่งจ่าย จึงฟังได้แล้วว่า ในวันที่จำเลยออกเช็ค เงินในบัญชีของจำเลยไม่มีหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค คดีโจทก์จึงมีมูล มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์นำเช็คไปเรียกเก็บเงินในภายหลังจากวันที่สั่งจ่ายในเช็ค ซึ่งโจทก์จึงจะมีหน้าที่ต้องนำสืบให้เห็นว่าในวันที่สั่งจ่ายนั้น บัญชีของจำเลยไม่มีเงินหรือมีไม่พอจ่ายตามเช็ค.