คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันเกิดเหตุ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1208/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคลาดเคลื่อนวันเกิดเหตุลักทรัพย์ ไม่กระทบคำพิพากษา หากจำเลยรับสารภาพและเข้าใจข้อหา
จำเลยเข้าใจดีว่าเหตุลักทรัพย์เกิดวันที่ 2 มิถุนายน 2540การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าเหตุลักทรัพย์เกิดเมื่อวันที่2 มิถุนายน 2530 เห็นได้ว่าเกิดจากการที่พิมพ์ผิดพลาดซึ่งวันเวลาที่เกิดเหตุเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์จะต้อง กล่าวในฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) เพื่อให้จำเลยเข้าใจข้อหาเท่านั้น มิใช่ข้อสาระสำคัญ โดยวันเวลา ที่เกิดเหตุหมายถึงวัน เดือน ปี มิใช่หมายถึงเฉพาะชั่วโมง นาที ทั้งจำเลยก็มิได้หลงต่อสู้และให้การรับสารภาพ ศาลย่อมพิพากษาลงโทษในความผิดฐานลักทรัพย์ได้ จำเลยให้การรับสารภาพฐานลักทรัพย์ ดังนั้น จะฎีกาโต้เถียงว่ามิได้กระทำผิดฐานลักทรัพย์ไม่ได้ เพราะเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่ให้การรับสารภาพแล้ว ทั้งเป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2480/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความถูกต้องของวันเกิดเหตุในฟ้องคดีอาญา ศาลพิจารณาจากพยานหลักฐานประกอบการพิจารณา แม้ผู้เสียหายเบิกความผิดพลาด
ลำพังคำเบิกความของพนักงานตำรวจผู้จับกุมและพนักงานสอบสวนพยานโจทก์ทั้งสองปากประกอบบันทึกการจับกุมข้อเท็จจริงก็พอฟังได้แล้วว่าเหตุคดีนี้เกิดเมื่อวันที่26ธันวาคม2536ตรงตามวันเวลาที่โจทก์กล่าวในฟ้องการที่ผู้เสียหายเบิกความถึงวันและเดือนที่เกิดเหตุถูกต้องผิดไปแต่เพียงเป็นพ.ศ.2526แทนที่จะเป็นพ.ศ.2536น่าจะเป็นเพราะความพลั้งเผลอหรือหลงลืมคำเบิกความของผู้เสียหายผิดไปเพียงเท่านี้ยังถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้องอันจะเป็นเหตุให้ศาลต้องยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 690/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบรรยายฟ้องวันเกิดเหตุ: เพียงพอต่อการเข้าใจของจำเลย
บรรยายฟ้องว่า เหตุเกิดประมาณต้นเดือนกันยายน 2532 เวลากลางวัน วันใดไม่แน่ชัดนั้น ในชั้นพิจารณาโจทก์ก็นำสืบเกี่ยวกับวันเกิดเหตุเช่นเดียวกับที่กล่าวในฟ้อง จำเลยเองก็นำสืบอ้างฐานที่อยู่แสดงว่าไม่ได้หลงข้อต่อสู้แต่อย่างใด จึงเป็นการบรรยายฟ้องเกี่ยวกับวันกระทำความผิดพอที่จำเลยจะเข้าใจได้แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2058/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสมบูรณ์ของฟ้องคดีเช็ค: วันปฏิเสธการจ่ายเงินเป็นวันเกิดเหตุตามกฎหมาย
ความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2497 มาตรา 3 เกิดขึ้นเมื่อธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินวันที่ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินจึงเป็นวันเกิดเหตุตามคำฟ้องของโจทก์ได้ระบุว่า ธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงินเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2533 แม้จะมิได้ระบุว่าเป็นเวลาใดแต่ก็พอจะเข้าใจได้ว่า โจทก์นำเช็คตามฟ้องไปยื่นให้ธนาคารใช้เงินในเวลากลางวันอันเป็นเวลาทำการงานตามปกติของธนาคารทั่วไปถือได้ว่าฟ้องโจทก์ได้บรรยายรายละเอียดเกี่ยวกับวันเวลาซึ่งเกิดการกระทำผิดชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและ ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคล อื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาท เป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5017/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องค่าเสียหายจากลูกจ้างขับรถประมาท: เริ่มนับแต่วันเกิดเหตุ ไม่ใช่วันจ่ายค่าซ่อม
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเป็นลูกจ้างของโจทก์ในตำแหน่งพนักงานขับรถมีหน้าที่ขับรถยนต์โดยสารประจำทางรับส่งผู้โดยสาร จำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่ในทางการที่จ้างโดยขับรถด้วยความประมาททำให้รถของโจทก์รถของบุคคลอื่นเสียหายและทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บ ขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายที่รถของโจทก์ถูกเฉี่ยวชนและชดใช้เงินที่โจทก์ใช้เป็นค่าเสียหายแก่บุคคลอื่นให้แก่โจทก์ ตามคำฟ้องดังกล่าวนอกจากจะเป็นฟ้องให้จำเลยรับผิดใช้ค่าเสียหายในมูลละเมิดเนื่องจากกระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้รถของโจทก์เสียหายแล้วยังเป็นฟ้องที่อ้างว่าจำเลยซึ่งเป็นลูกจ้างกระทำการอันไม่สมแก่การปฏิบัติหน้าที่ของตนให้ลุล่วงไปโดยถูกต้อง เป็นการทำผิดหน้าที่ที่จำเลยจะต้องกระทำตามสัญญาจ้างแรงงาน อันเป็นฟ้องที่ขอให้จำเลยรับผิดตามสัญญาจ้างแรงงานด้วย ซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องได้ทั้งสองประการแม้โจทก์มีสิทธิเรียกร้องตามสัญญาจ้างแรงงานที่มีอายุความ 10 ปีแต่เงินค่าซ่อมรถของโจทก์ที่โจทก์เสียไปถือได้ว่าเป็นค่าเสียหายเนื่องจากจำเลยกระทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน โจทก์อาจเรียกร้องให้จำเลยรับผิดชดใช้ได้นับแต่วันเกิดเหตุ ซึ่งเป็นวันที่ก่อให้เกิดความเสียหายอันเป็นขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้อายุความจึงเริ่มนับตั้งแต่นั้น ไม่ใช่นับแต่วันที่โจทก์จ่ายค่าซ่อมรถให้แก่ผู้รับจ้างซ่อม เมื่อนับแต่วันเกิดเหตุถึงวันฟ้องเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี คดีโจทก์จึงขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องภายหลังจำเลยให้การปฏิเสธลอย และผลต่อการหลงต่อสู้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเดือนที่จำเลยกระทำผิดจากเดือนกรกฎาคม 2530 เป็นเดือนพฤษภาคม 2530 ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุจริงตามที่พยานโจทก์เบิกความ เมื่อปรากฏว่าในตอนที่จำเลยให้การจำเลยเพียงแต่ให้การปฏิเสธลอย แม้จำเลยจะนำสืบว่าเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำก็เป็นการถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2215/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำฟ้องและการหลงต่อสู้: ศาลอนุญาตแก้ไขได้หากไม่ทำให้จำเลยหลงต่อสู้
ในวันนัดสืบพยานโจทก์นัดสุดท้าย โจทก์ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องเกี่ยวกับเดือนที่จำเลยกระทำผิดจากเดือนกรกฎาคม 2530เป็นเดือนพฤษภาคม 2530 ซึ่งเป็นเดือนที่เกิดเหตุจริงตามที่พยานโจทก์เบิกความ เมื่อปรากฏว่าจำเลยให้การปฏิเสธลอย แม้จำเลยจะนำสืบว่าเดือนกรกฎาคม 2530 จำเลยถูกขังอยู่ในเรือนจำก็เป็นการถูกขังระหว่างสอบสวนในคดีนี้ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีที่จำเลยหลงต่อสู้ ชอบที่ศาลจะอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5515/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อแตกต่างของวันเกิดเหตุในฟ้อง ไม่ถึงขั้นต้องยกฟ้อง และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงานสุขาภิบาล
แม้ข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาจะได้ความว่าเหตุตามฟ้องเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2525 และวันที่ 11 มีนาคม 2525 แต่โจทก์ดังกล่าวในฟ้องว่าเกิดเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2526 และวันที่ 11 มีนาคม 2526 เป็นข้อแตกต่างเกี่ยวกับเวลาที่กระทำความผิดซึ่งเป็นเพียงรายละเอียดถือไม่ได้ว่าต่างกันในสาระสำคัญและเมื่อจำเลยไม่ได้หลงต่อสู้ จึงไม่ใช่เหตุที่ศาลจะพิพากษายกฟ้องโจทก์
จำเลยรับราชการในตำแหน่งเสมียนตราอำเภอ ได้รับแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีของสุขาภิบาลอีกตำแหน่งหนึ่ง จำเลยจึงเป็นพนักงานสุขาภิบาลอีกในฐานะหนึ่ง ดังนั้ ในการปฏิบัติหน้าที่สมุห์บัญชีสุขาภิบาล จำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามพระราชบัญญัติสุขาภิบาล พ.ศ.2495 มาตรา 22 เมื่อความผิดที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอาญาต่อแผ่นดิน มิใช่ความผิดต่อส่วนตัวแม้สุขาภิบาลผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์พนักงานสอบสวนก็มีอำนาจสอบสวนตามประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 121 วรรคแรก และโจทก์ซึ่งเป็นพนักงานอัยการก็มีอำนาจฟ้องคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 120
เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าพยานหลักฐานโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง แม้จะเป็นปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษายกฟ้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3239/2525 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขัดขวางการจับกุม – วันเกิดเหตุคลาดเคลื่อน – คำสั่งไม่ฟ้องไม่กระทบความผิด
พยานโจทก์ปากหนึ่งเบิกความถึงวันเกิดเหตุแตกต่างไปจากคำเบิกความของพยานโจทก์อีกสองปากที่เบิกความถึงวันเกิดเหตุตรงตามฟ้อง ซึ่งน่าเชื่อว่าเป็นกรณีที่พยานโจทก์ปากนั้นจำวันเกิดเหตุคลาดเคลื่อนไป เมื่อศาลใช้ดุลพินิจวินิจฉัยคำพยานดังกล่าวประกอบพยานหลักฐานอื่นฟังข้อเท็จจริงว่าวันเวลาเกิดเหตุตรงตามที่โจทก์บรรยายในคำฟ้องจึงถือไม่ได้ว่าข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในการพิจารณาแตกต่างกับข้อเท็จจริงดังที่กล่าวในฟ้อง
การที่จำเลยขัดขวางเจ้าพนักงานตำรวจในการเข้าจับกุม ก. ในข้อหาเล่นการพนัน ซึ่งเป็นการปฏิบัติการตามหน้าที่ โดยไม่ปรากฏว่าการเข้าจับกุมดังกล่าวฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ย่อมเป็นความผิดสำเร็จตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138 แล้ว แม้ต่อมาพนักงานอัยการจะมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้อง ก. ก็จะถือว่าไม่มีการเล่นการพนัน หรือการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานตำรวจฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหาได้ไม่
of 6