พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3086/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ การนับวันเลิกจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
เมื่อกรรมการของจำเลยถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2543 และสำนักงานของจำเลยถูกปิด ลูกจ้างของจำเลยรวมทั้งโจทก์ไม่สามารถเข้าไปทำงานในสำนักงานได้ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา ทำให้จำเลยซึ่งเป็นนายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้นับตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 เมื่อโจทก์ไม่ได้รับค่าจ้างจากจำเลยด้วยเหตุดังกล่าวจึงถือว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์ตาม พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541มาตรา 118วรรคสอง ตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2543 มิใช่วันที่ 5 กรกฎาคม 2543 ซึ่งเป็นวันที่ถึงกำหนดจ่ายค่าจ้างดังที่โจทก์อ้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวันเลิกจ้าง แต่ฟ้องหลังมีข้อพิพาทแล้ว โจทก์มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2532 ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 2 มกราคม 2533 ซึ่งเป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วโจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1968/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเลิกจ้าง: แม้ฟ้องผิดวัน แต่ฟ้องหลังเกิดเหตุมีอำนาจฟ้องได้
แม้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม2532 และศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยเลิกจ้างโจทก์เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2532 ก็ตาม แต่ โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่2 มกราคม 2533 ซึ่ง เป็นเวลาภายหลังที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ ฉะนั้นขณะฟ้องจึงมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ตาม กฎหมายเรื่องจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 448/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างกรรมการลูกจ้างหลังปิดกิจการ: ศาลแรงงานมีอำนาจอนุญาต แต่ไม่สามารถกำหนดวันเลิกจ้างได้
ผู้ร้องปิดกิจการและเลิกจ้างลูกจ้างทั้งหมดไปแล้ว ผู้ร้องจึงมีเหตุเลิกจ้างผู้คัดค้านซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างได้ศาลแรงงานกลางจึงชอบที่จะสั่งอนุญาตเลิกจ้างผู้คัดค้านได้แต่การที่ผู้ร้องจะเลิกจ้างผู้คัดค้านตั้งแต่เมื่อใดเป็นเรื่องที่ผู้ร้องจะต้องไปดำเนินการออกคำสั่งอีกชั้นหนึ่งศาลแรงงานกลางไม่พึงก้าวล่วงมีคำสั่งเช่นว่านั้น
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)
ในวันนัดไต่สวน ผู้ร้องและผู้คัดค้านส่งเอกสารต่อศาลแรงงานกลาง ศาลแรงงานกลางเห็นว่าข้อเท็จจริงเพียงพอที่จะวินิจฉัยได้ จึงมีคำสั่งงดการไต่สวน คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาเมื่อผู้คัดค้านมีโอกาสเพียงพอที่จะโต้แย้ง แต่มิได้โต้แย้งไว้ จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งงดการไต่สวนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 31.(ที่มา-เนติ)