คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วันเวลาเดียวกัน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 400/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานมีเครื่องกระสุนปืน: การพิจารณาความต่อเนื่องของการกระทำผิดและกรรมเดียว
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกระทำความผิดหลายกรรม จำเลยให้การรับสารภาพ โดยที่ข้อหาที่โจทก์ฟ้องจำเลยตามฟ้องข้อ 1 ก. ก็ดี ตามฟ้องข้อ 2 ก็ดี ล้วนเป็นข้อหาฐานมีเครื่องกระสุนปืนที่นายทะเบียนไม่อาจออกใบอนุญาตให้ผู้ใดมีไว้ในครอบครองได้ ซึ่งเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืน ฯ มาตรา 78 บทมาตราเดียวกัน วันเวลาที่กล่าวหาตามฟ้องข้อ 1 ก. คือวันที่ 18 สิงหาคม 2526 ตามฟ้องข้อ 2 คือวันที่ 17 สิงหาคม 2526 เวลากลางคืนก่อนเที่ยงถึงวันที่ 18 สิงหาคม 2526 เวลากลางวันติดต่อกัน ซึ่งเป็นความผิดต่อเนื่องกันตลอดเวลาที่ยังครอบครองอยู่เรื่อยมา จะถือว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 17 กรรมหนึ่ง และกระทำผิดในวันที่ 18 อีกกรรมหนึ่งหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยกระทำผิดในวันที่ 18 วันเดียวกันนั่นเอง โดยเฉพาะจำเลยถูกจับในคราวเดียวกัน ในคำร้องขอฝากขังครั้งที่ 1 และในฟ้องของโจทก์ก็ได้กล่าวไว้ชัดเจนว่าตำรวจตรวจค้นจับกุมยึดเครื่องกระสุนปืนตามฟ้องข้อ1 ก. และข้อ 2 ได้ในวันที่ 18 สิงหาคม 2526 วันเดียวกัน จึงต้องถือว่าจำเลยกระทำผิดในคราวเดียวกันโดยมีเจตนาให้เกิดผลเป็นกรรมเดียวกัน ลักษณะของการกระทำก็อย่างเดียวกันผิดกฎหมายบทเดียวกัน และในวันเวลาเดียวกันด้วย แม้สถานที่ที่จำเลยซุกซ่อนเครื่องกระสุนปืนเหล่านั้นไว้จะอยู่ต่างตำบลกันบ้างก็หาทำให้มีผลแตกต่างกันไปไม่ในเมื่อจำเลยได้มีเครื่องกระสุนปืนเหล่านั้นไว้ในครอบครองโดยเจตนากระทำผิดกฎหมายบทเดียวกันในคราวเดียวกันนั่นเอง จึงต้องถือว่าเป็นความผิดกรรมเดียวกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 926/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองกันชาสดและแห้งพร้อมกัน ถือเป็นกรรมเดียว แม้ตรวจพบต่างวาระ
มาตรา 7 พระราชบัญญัติกันชา หาได้บัญญัติถึงความผิดฐานมีกันชาไว้ในความครอบครองเพื่อจำหน่าย แยกออกจากการมีกันชาด้วยไม่
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า วันเวลาที่จำเลยมีกันชาแห่งไว้ในความครอบครอง ก็อยู่ในวันเวลาสุดท้ายที่หาว่าจำเลยมีกันชาสดไว้ในความครอบครองนั่นเอง จึงเป็นการครอบครองกันชาทั้งสองชนิดพร้อมกันตลอดมา การกระทำของจำเลยเป็นกรรมเดียวกัน