คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิกฤตการณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 2 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1966-2406/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิของนายจ้างในการหยุดกิจการชั่วคราวตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และขอบเขตการจ่ายค่าจ้าง
พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 75 ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจให้สามารถหยุดการดำเนินกิจการทั้งหมดหรือบางส่วนไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤติการณ์ดังกล่าวให้หมดสิ้นหรือบรรเทาลงได้ เมื่อได้ความว่าลูกค้าของจำเลยที่ 1 ยกเลิกคำสั่งซื้อสินค้าจากจำเลยที่ 1 เป็นจำนวนมาก หากจำเลยที่ 1 ยังผลิตสินค้าต่อไปก็ไม่แน่นอนว่าจำเลยที่ 1 จะจำหน่ายสินค้าได้หรือไม่ การผลิตต้องมีเงินลงทุนย่อมเสี่ยงต่อการ ขาดทุนอันจะส่งผลกระทบอย่างมากต่อสถานะทางการเงินและความคงอยู่ของกิจการจำเลยที่ 1 ซึ่งอยู่ในระหว่าง ฟื้นฟูกิจการ กรณีย่อมถือได้ว่าเป็นความจำเป็นตามความหมายของมาตรา 75 แล้ว การที่จำเลยที่ 1 ประกาศให้ลูกจ้างรวมทั้งโจทก์หยุดงานรวม 4 ครั้ง เป็นเวลา 109 วัน เพื่อรอคำสั่งซื้อสินค้าของลูกค้าหรือหาลูกค้ารายใหม่ทดแทนโดยจำเลยที่ 1 จ่ายค่าจ้างในอัตราร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานแก่โจทก์ทั้งหมดแล้ว การประกาศหยุดงานจึงชอบด้วยมาตรา 75 จำเลยที่ 1 ไม่มีหน้าที่ต้องจ่ายค่าจ้างตามปกติเต็มจำนวนแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5949/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการหยุดกิจการชั่วคราวของนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน และการจ่ายค่าจ้างร้อยละ 50
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานฯ มาตรา 75 วรรคหนึ่ง ให้สิทธิแก่นายจ้างที่ประสบวิกฤตการณ์ทางเศรษกิจสามารถหยุดดำเนินกิจการไว้ชั่วคราวเพื่อให้โอกาสแก้ไขวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นให้หมดสิ้นไปหรือบรรเทาลงได้ ปรากฏข้อเท็จจริงตามที่คู่ความแถลงรับกันว่า ในระหว่างหยุดกิจการชั่วคราวโจทก์ผลิตสินค้าบางส่วนเพราะมีวัตถุดิบเหลืออยู่ เมื่อวัตถุดิบหมดก็หยุดผลิต และปรากฏตามงบการเงินของโจทก์และหมายเหตุประกอบงบการเงิน ที่ศาลแรงงานกลางนำมาประกอบการวินิจฉัย และคู่ความไม่โต้แย้งว่าโจทก์มีทุนตจดทะเบียน 100,000,000 บาท มีวัตถุดิบคงเหลือ 30,800,000 บาท งานระหว่างทำ 16,700,000 บาท โจทก์เจรจากับเจ้าหนี้เงินกู้ระยะยาวเพื่อหาแนวทางการขายกิจการและจ่ายคืนเงินกู้ แสดงว่าแม้โจทก์จะมีการผลิตระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2546 ถึงวันที่ 15 ธันวาคม 2546 แล้ว โจทก์ก็ยังคงมีวัตถุดิบคงเหลือและงานระหว่างทำ (สินค้าที่อยู่ระหว่างการผลิด) เหลืออยู่อีก การผลิตของโจทก์ในช่วงที่หยุดกิจการชั่วคราวจึงเป็นไปเพื่อไม่ให้วัตถุดิบและงานระหว่างทำเสียเปล่าทั้งยังมีรายรับเข้าสู่กิจการ เป็นการบรรเทาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจทางหนึ่ง ส่วนที่โจทก์สั่งสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายนั้น ปรากฏตามคำสั่งของจำเลยว่าโจทก์ประกอบกิจการผลิตลวดเหล็ก ลวดผูกเหล็ก ลวดชุบสังกะสี ตะแกรงเหล็กเสริมคอนกรีต ลวดตาข่ายทุกชนิด ไม่ได้ประกอบกิจการประเภทซื้อมา-ขายไป การที่โจทก์สั่งสินค้าจากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนมาจำหน่ายก็เพราะมีราคาต่ำกว่าต้นทุนการผลิตของโจทก์ เป็นวิธีการแก้ไขปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ใช่โจทก์เปลี่ยนประเภทกิจการ การพิจารณาว่าโจทก์จำเป็นต้องหยุดกิจการหรือไม่ต้องพิจารณาจากการประกอบกิจการผลิตของโจทก์ เมื่อปรากฎว่าโจทก์ขาดทุนสะสมถึง 114,000,000 บาท เกินกว่าทุนจดทะเบียนที่มีเพียง 100,000,000 บาท ไม่มีคำสั่งซื้อและสินค้าที่ผลิตจำหน่ายไม่ได้จนโจทก์ต้องหาทางขายกิจการเพื่อนำมาจ่ายคืนให้เจ้าหนี้ จึงเป็นกรณีโจทก์มีความจำเป็นต้องหยุดกิจการผลิตทั้งหมดหรือบางส่วนเป็นการชั่วคราวโดยเหตุที่มิใช่เหตุสุดวิสัยตามมาตรา 75 วรรคหนึ่ง โจทก์จึงชอบที่จะจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้างร้อยละ 50 ของค่าจ้างในวันทำงานที่ลูกจ้างได้รับก่อนโจทก์หยุดกิจการตลอดระยะเวลาที่โจทก์ไม่ได้ให้ลูกจ้างทำงานได้
ที่จำเลยอุทธรณ์ว่า พยานจำเลยเบิกความว่าโจทก์สั่งซื้อวัตถุดิบมาผลิตสินค้าอย่างต่อเนื่อง ที่โจทก์อ้างว่าไม่มีรายการสั่งซื้อจากลูกค้าและสินค้าที่ผลิตขายไม่ได้ไม่อาจรับฟังได้ เป็นอุทธรณ์โต้แย้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางรับฟังตามคำแถลงรับของคู่ความที่ว่าโจทก์ดำเนินการผลิตจนวัตถุดิบที่เหลืออยู่หมดก็หยุดผลิตต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานมาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย