คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิกลจริต

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 43 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความสามารถในการต่อสู้คดี: คนวิกลจริต vs. โรคจิตเภท
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า
โรคจิตพวกจิตเภทอันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิตชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรงถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลยมีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็นผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุลได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกตินอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลยสามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 65/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้คดีของจำเลยที่อ้างว่าวิกลจริต ศาลพิจารณาจากพฤติการณ์และหลักฐานเพื่อยืนยันความสามารถในการต่อสู้คดี
จำเลยไม่สามารถต่อสู้คดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 14 จะต้องปรากฏว่า เป็นผู้วิกลจริต หรือมีสติวิปลาสในทำนองเป็นคนบ้า โรคจิตพวกจิตเภท อันเป็นที่รู้กันทั่วไปว่าเป็นแต่เพียงโรคทางจิตชนิดหนึ่งที่ทำให้ความคิดและบุคคลิกภาพผิดปกติ ไปเท่านั้น ซึ่งเป็นคนละอย่างกับคนวิกลจริต หรือโรคทางจิต ชนิดที่มีความผิดปกติของความรู้สึกหรือพฤติกรรมอย่างแรง ถึงขนาดคุมสติไม่อยู่ แต่ปรากฏตามคำฟ้องของโจทก์ว่า จำเลย มีอาชีพค้าขาย ซึ่งปกติของคนมีอาชีพค้าขายจะต้องเป็น ผู้เฉลียวฉลาด รู้จักการแสวงหากำไรประกอบกับตามคำให้การและรายงานกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นก็ปรากฏว่าจำเลยสามารถ ลงลายมือชื่อได้ถูกต้อง และตามคำร้องขอให้ปล่อยชั่วคราว ลงวันที่วันเดียวกันจำเลยสามารถลงลายมือชื่อและนามสกุล ได้เรียบร้อยสวยงาม อีกทั้งยังมีลักษณะเหมือนคนปกติ นอกจากนี้ตามสำเนาทะเบียนบ้านท้ายฎีกาก็ปรากฏอีกว่าจำเลย สามารถเป็นเจ้าบ้านและเปลี่ยนชื่อเป็น ท. โดยเมื่อปี 2533 และ 2538 ก่อนจำเลยถูกฟ้อง จำเลยก็มีบุตรชายได้ตามปกติ ถึง 2 คน จำเลยจึงมิใช่คนวิกลจริตที่ไม่สามารถต่อสู้คดีได้ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4513/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เขตอำนาจศาล: คดีคนไร้ความสามารถ - พิจารณาจากภูมิลำเนาและสถานที่เกิดเหตุวิกลจริต
ซ. ซึ่งป่วยด้วยโรคปัญญาอ่อนมาตั้งแต่กำเนิดเกิดที่กรุงเทพมหานคร มีภูมิลำเนาอยู่แขวงคลองตัน เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร โดยอาการวิกลจริตและความบกพร่องทางสมองและสติปัญญาของ ซ. มีอยู่จนถึงปัจจุบันไม่สามารถจัดทำการงานของตนเองได้ เมื่อ ซ. อยู่ในประเทศไทยและมีภูมิลำเนาอยู่ที่กรุงเทพมหานคร เหตุแห่ง การวิกลจริตซึ่งเป็นมูลคดีนี้เกิดขึ้นในเขตอำนาจศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะรับคำร้องขอให้ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ซ. ไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1816/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา/จำเลยและการต่อสู้คดีตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14
ตาม ป.วิ.อ.มาตรา 14 ในกรณีที่ศาลเห็นว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้ ให้ศาลงดการไต่สวนมูลฟ้องหรือพิจารณาไว้ จนกว่าผู้นั้นหายวิกลจริตหรือสามารถจะต่อสู้คดีได้ ศาลชั้นต้นจึงมีอำนาจตามกฎหมายที่จะชี้ขาดในกรณีมีเหตุควรเชื่อว่า ผู้ต้องหาหรือจำเลยเป็นผู้วิกลจริตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ เมื่อศาลชั้นต้นชี้ขาดว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้ และจำเลยก็มิได้โต้แย้งคัดค้านการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นต่อมาจึงชอบด้วยกฎหมาย
การที่แพทย์เบิกความเป็นพยานในชั้นที่ศาลชั้นต้นจะต้องชี้ขาดว่า สภาพของจำเลยในขณะที่ถูกฟ้องคดีนี้สามารถต่อสู้คดีได้หรือไม่ตามป.วิ.อ.มาตรา 14 โดยแพทย์เบิกความเมื่อวันที่ 22 กันยายน 2536 ว่า จำเลยเข้ารับการรักษาตั้งแต่ปี 2532 ตรวจพบว่าจำเลยเป็นโรคจิตเภท ขณะตรวจพบว่าจำเลยมีอาการวิตกกังวล ไม่สามารถตอบคำถามได้อย่างต่อเนื่อง จากสภาพของจำเลยขณะที่ตรวจ แพทย์วินิจฉัยว่าจำเลยเป็นโรคทางจิตและไม่สามารถต่อสู้คดีได้เมื่อไม่ปรากฏความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยระหว่างเกิดเหตุ และเมื่อศาลชั้นต้นนัดพร้อมกลับปรากฏข้อเท็จจริงต่อหน้าศาลว่า จำเลยสามารถถามตอบต่อศาลได้ ดังนี้ ความเห็นของแพทย์ดังกล่าวจึงยังไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่าขณะกระทำความผิดจำเลยมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือน อันจะทำให้จำเลยไม่ต้องรับโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความวิกลจริตของผู้ทำพินัยกรรมและการบังคับใช้พินัยกรรม
สิทธิและหน้าที่ใด ๆ อันเกิดขึ้นตามพินัยกรรมจะบังคับเรียกร้องกันได้ตั้งแต่ผู้ทำพินัยกรรมตายเป็นต้นไป และกรณีจะพิสูจน์ว่าพินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าเพราะเหตุในเวลาที่ทำพินัยกรรมผู้ทำจริตวิกลอยู่ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704 วรรคสองนั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทกันว่าพินัยกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำขึ้นนั้นเสียเปล่า โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้กล่าวอ้างขึ้นเพื่อให้มีการพิสูจน์เช่นนั้น ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องซึ่งเป็นผู้ทำพินัยกรรมยังมิได้ถึงแก่ความตายจึงยังถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องหรือเป็นกรณีที่ผู้ร้องจะต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อพิสูจน์ว่าขณะที่ผู้ร้องทำพินัยกรรมนั้น ผู้ร้องเป็นคนวิกลจริต

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6417/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์พินัยกรรมเป็นโมฆะเนื่องจากวิกลจริต ต้องมีข้อพิพาทเกิดขึ้นจากผู้มีส่วนได้เสีย
กรณีจะพิสูจน์ว่า พินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1704 วรรคสอง จะต้องเป็นกรณีที่มีข้อพิพาทว่า พินัยกรรมที่บุคคลวิกลจริตทำขึ้นนั้นเสียเปล่า โดยบุคคลผู้มีส่วนได้เสียได้กล่าวอ้างขึ้นเพื่อให้มีการพิสูจน์เช่นนั้น คำร้องขอของผู้ร้องให้พิสูจน์ว่าพินัยกรรมเป็นอันเสียเปล่าต่างจากการร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติรับรองให้ใช้สิทธิทางศาลได้ กรณีของผู้ร้องยังถือไม่ได้ว่ามีการโต้แย้งสิทธิหรือจะต้องใช้สิทธิทางศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ (บุคคลวิกลจริต) และสิทธิในฐานะบุตรบุญธรรม
คำว่าบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจ. ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถนั้นไม่รู้สึกตัวเอง และพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่าจ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว และผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของ จ. ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้อนุบาล จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการกำหนดนัดพิจารณาคดีและการรับฟังความเห็นแพทย์เรื่องวิกลจริต
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า เมื่อแพทย์ผู้รักษาอาการของจำเลยแถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้ว จึงให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป โดยโจทก์มิได้ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปนั้น เป็นอำนาจศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 35 ซึ่งบัญญัติให้อำนาจศาลที่จะกำหนดนั่งพิจารณาคดีที่ยื่นไว้ต่อศาลในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้และตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15 ให้อำนาจศาลนำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ คำสั่งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
ความเห็นของแพทย์ทั้งหลายที่ตรวจอาการของจำเลยว่า จำเลยมีอาการทางจิตนั้น ต่างเป็นความเห็นของแพทย์ผู้ตรวจอาการจำเลยระหว่างพิจารณาคดีนี้ทั้งสิ้น ไม่ปรากฎความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยมาก่อนเกิดเหตุคดีนี้หรือระหว่างเกิดเหตุคดีนี้ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนความเห็นของแพทย์ดังกล่าวไม่สามารถรับฟังเป็นยุติได้ว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้ผิดชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 496/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดการพิจารณาคดีเพื่อรักษาพยาบาล และการพิสูจน์ภาวะวิกลจริตของผู้ต้องหา
ศาลชั้นต้นให้งดการพิจารณาคดี ส่งตัวจำเลยไปรักษาที่โรงพยาบาลจนกว่าอาการจะดีขึ้น โดยให้จำหน่ายคดีออกจากสารบบความชั่วคราว เมื่อจำเลยสามารถต่อสู้คดีแล้วให้โจทก์ร้องขอให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไป ต่อมาศาลมีคำสั่งให้ยกคดีขึ้นพิจารณาต่อไปเนื่องจากแพทย์แถลงว่าจำเลยสามารถต่อสู้คดีได้แล้วคำสั่งดังกล่าวชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 35 ที่บัญญัติให้อำนาจศาลที่จะนั่งพิจารณาคดีในวันที่ศาลเปิดทำการและเวลาทำงานได้ ซึ่งตาม ป.วิ.อ. มาตรา 15ให้นำบทบัญญัติดังกล่าวมาใช้บังคับได้ เมื่อไม่มีความเห็นของแพทย์ที่ตรวจอาการของจำเลยก่อนหรือระหว่างเกิดเหตุ ทั้งไม่ปรากฎประวัติการเป็นโรคจิตของจำเลยมาก่อนการที่แพทย์ตรวจอาการของจำเลยในระหว่างพิจารณาคดีแล้วมีความเห็นว่าจำเลยมีอาการทางจิตนั้น ยังไม่อาจรับฟังว่า ขณะกระทำความผิดจำเลยเป็นบุคคลวิกลจริตไม่รู้สึกผิดชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 537/2535

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฉ้อฉลทำสัญญาประนีประนอมยอมความ: สัญญาเป็นโมฆะเมื่อคู่สัญญาถูกฉ้อฉลขณะวิกลจริต
คดีปรากฏตามฟ้องของโจทก์เองว่า จำเลยล้มป่วยเป็นโรคผิดปกติทางประสาทและจิต และแพทย์ลงความเห็นว่า จำเลยมีอาการโรคจิตอย่างร้ายแรงไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ และในวันทำสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งเป็นเวลาภายหลัง โจทก์ยื่นฟ้องเพียงเดือนเดียว จำเลยก็ไม่มีทนายความ ตามคำแก้อุทธรณ์และฎีกาโจทก์ก็ไม่ได้โต้เถียงว่ามิได้ปิดบังลอบพาจำเลยไปศาล ได้แต่โต้แย้งว่า ขณะทำสัญญาประนีประนอมยอมความ จำเลยมีความรู้สึกผิดชอบดีทุกประการ ซึ่งก็ขัดกับข้ออ้างที่โจทก์ยกขึ้นเป็นเหตุฟ้องหย่าดังกล่าว พฤติการณ์แห่งคดีมีเหตุผลให้รับฟังได้ว่า โจทก์ฟ้องแล้วใช้อุบายพาจำเลยซึ่งวิกลจริตไปทำสัญญาประนีประนอมยอมความจึงเป็นกรณีที่จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความไปเพราะถูกโจทก์ฉ้อฉลจำเลยมีสิทธิอุทธรณ์ขอให้เพิกถอนสัญญานั้นและคำพิพากษาตามยอมได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 138(1)
of 5