พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระทางกฎหมาย: คณะบุคคลประกอบวิชาชีพได้ แม้มิได้ว่าความ
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) บัญญัติว่า "เงินได้จากวิชาชีพอิสระ คือ วิชากฎหมาย..." เห็นได้ว่า ป.รัษฎากร บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์ทั้งสองสำเร็จการศึกษาวิชากฎหมาย เงินได้รายพิพาทเป็นเงินได้ที่โจทก์ทั้งสองได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตามมาตรา 40 (6) หามีบทกฎหมายบัญญัติว่าการประกอบวิชาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8214/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (กฎหมาย) แม้ไม่ได้ว่าความหรือฟ้องร้อง ก็ถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(6) และคณะบุคคลก็ประกอบวิชาชีพได้
ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) บัญญัติให้เงินได้จากวิชากฎหมายเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระและเป็นเงินได้ประเภทหนึ่งต่างหากจากเงินได้ประเภทอื่น โจทก์สำเร็จการศึกษาวิชากฎหมายมีเงินได้ที่โจทก์ได้รับมาจากการเป็นที่ปรึกษากฎหมายจึงเป็นเงินได้ตาม 40 (6) หามีบทบัญญัติว่าการประกอบอาชีพกฎหมายจะต้องว่าความหรือฟ้องร้องคดีด้วยไม่ ทั้งไม่มีบทกฎหมายบัญญัติห้ามผู้ประกับวิชาชีพกฎหมายรวมกันเป็นคณะบุคคลประกอบวิชาชีพกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5345/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าตรวจรักษาทางการแพทย์ไม่ถือเป็นค่าจ้างตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม เนื่องจากเป็นรายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 5 บัญญัติว่า "ลูกจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร "นายจ้าง" หมายความว่า ผู้ซึ่งรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และ "ค่าจ้าง" หมายความว่า เงินทุกประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและเวลาทำงานปกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ และให้หมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้ในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร คำว่า ค่าจ้างตามพระราชบัญญัตินี้จึงมีสาระสำคัญ 3 ประการ คือ ประการแรก ค่าจ้างต้องเป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงาน ประการที่สอง เงินที่จ่ายดังกล่าวนายจ้างให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงาน และประการที่สาม ให้หมายความรวมถึง เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานด้วย
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเหมือนกับพนักงานอื่น ไม่ต้องลงเวลาทำงาน จะมาทำงานตามที่แพทย์สะดวกซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเอง สามารถหยุดงานได้โดยไม่ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลทราบล่วงหน้า หากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ก็ไม่ถือว่ามีความผิด การทำงานของแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ อีกทั้งเงินค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บจากผู้เข้ารับการรักษา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้กำหนดเองว่าเรียกจำนวนเท่าใด โจทก์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยแพทย์จะได้รับค่าตรวจตามจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตกลงกับโจทก์และโจทก์จะมอบให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาภายในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้สถานพยาบาลของโจทก์เป็นที่ตรวจรักษาตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษา จึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในส่วนของค่าแพทย์นั้นชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่า แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานเหมือนกับพนักงานอื่น ไม่ต้องลงเวลาทำงาน จะมาทำงานตามที่แพทย์สะดวกซึ่งแพทย์จะเป็นผู้กำหนดเอง สามารถหยุดงานได้โดยไม่ต้องแจ้งให้สถานพยาบาลทราบล่วงหน้า หากไม่มาปฏิบัติหน้าที่ก็ไม่ถือว่ามีความผิด การทำงานของแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์จึงไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ อีกทั้งเงินค่าตรวจรักษาที่เรียกเก็บจากผู้เข้ารับการรักษา แพทย์ผู้ตรวจจะเป็นผู้กำหนดเองว่าเรียกจำนวนเท่าใด โจทก์จะเป็นผู้เก็บรักษาไว้โดยแพทย์จะได้รับค่าตรวจตามจำนวนเปอร์เซนต์ที่ตกลงกับโจทก์และโจทก์จะมอบให้แพทย์ผู้ตรวจรักษาภายในวันที่ 1 ถึงวันที่ 5 ของเดือนถัดไป เงินดังกล่าวจึงเป็นเงินที่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ได้รับจากผู้เข้ารับการรักษาโดยใช้สถานพยาบาลของโจทก์เป็นที่ตรวจรักษาตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ ดังนั้น แม้เงินค่าตรวจรักษาจะเป็นเงินที่โจทก์จ่ายให้แก่แพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์เพื่อตอบแทนการทำงานตามหลักเกณฑ์ประการแรก แต่เงินดังกล่าวมีลักษณะเป็นเงินที่ผู้เข้ารับการรักษาจ่ายให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษา โดยแพทย์ใช้สถานที่ของสถานพยาบาลของโจทก์โดยไม่มีวันและเวลาทำงานปกติ และโจทก์รับเงินดังกล่าวไว้แทน แล้วจ่ายคืนให้แก่แพทย์ที่ตรวจรักษาในภายหลังโดยหักเงินไว้ส่วนหนึ่งตามสัญญาการให้ใช้สถานที่ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรมอิสระ เป็นเงินที่แพทย์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระ จึงมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเพื่อตอบแทนการทำงานหรือผลงานที่ลูกจ้างทำได้สำหรับระยะเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สอง และมิใช่เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างมิได้ทำงานตามหลักเกณฑ์ประการที่สาม เงินค่าตรวจรักษาจึงมิใช่ค่าจ้างที่โจทก์จะต้องจ่ายเงินสมทบเพิ่มแต่อย่างใด เมื่อเงินค่าตรวจรักษามิใช่ค่าจ้างแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่างโจทก์กับแพทย์ประจำสถานพยาบาลของโจทก์ในส่วนของเงินค่าตรวจรักษา จึงมิใช่ผู้ที่รับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้าง และมิใช่ผู้ซึ่งทำงานให้นายจ้างโดยได้รับค่าจ้างตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ที่ศาลแรงงานกลางพิพากษาให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยเฉพาะในส่วนที่วินิจฉัยให้โจทก์จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในส่วนของค่าแพทย์นั้นชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากวิชาชีพอิสระ (ทันตกรรม): เงินค่าบริการทั้งหมดเป็นเงินได้พึงประเมิน แม้โรงพยาบาลจะได้รับส่วนแบ่ง
โจทก์และจำเลยรับกันในชั้นชี้สองสถานว่า การที่โจทก์ให้การบริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันนั้นเป็นการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) อันเป็นการรับกันในปัญหาข้อกฎหมายซึ่งคู่ความไม่อาจรับกันได้ จะรับกันได้เฉพาะแต่ในปัญหาข้อเท็จจริงเท่านั้นตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยป.วิ.พ.มาตรา 84 และมาตรา 183 แต่หาทำให้กระบวนพิจารณาส่วนอื่นในการชี้สองสถานเป็นการไม่ชอบไปด้วยไม่
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
โจทก์เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะในสาขาทันตกรรมตาม พ.ร.บ.ควบคุมการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2479 มาตรา 4 ที่ใช้บังคับในขณะนั้น และคำว่า "วิชาชีพทันตกรรม"ตาม พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ.2537 มาตรา 4หมายความว่า วิชาชีพที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการตรวจการวินิจฉัย การบำบัดหรือการป้องกัน โรคฟัน โรคอวัยวะที่เกี่ยวกับฟัน โรคอวัยวะในช่องปาก โรคขากรรไกรและกระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกร รวมทั้งการกระทำทางศัลยกรรมและการกระทำใด ๆ ในการบำบัด บูรณะและฟื้นฟูสภาพของอวัยวะในช่องปาก กระดูกใบหน้าที่เกี่ยวเนื่องกับขากรรไกรและการทำฟันในช่องปาก ลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ จึงต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ตามที่โจทก์ได้ศึกษาและรับการฝึกอบรมมา การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคตามหลักวิชาชีพของโจทก์ ย่อมเป็นไปโดยอิสระภายใต้บทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.วิชาชีพทันตกรรม พ.ศ. 2537 รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย ดังนั้น การให้การบริการรักษาฟันของโจทก์ รวมทั้งคิดค่าบริการรักษาที่ได้กระทำในโรงพยาบาลฟันจึงเป็นการกระทำของโจทก์ในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ เมื่อโจทก์เป็นผู้ให้บริการรักษาฟันจนเป็นผลให้มีการจ่ายค่าบริการเพราะการนี้จำนวน 1,751,857.44 บาทไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทน ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระการประกอบโรคศิลปะของโจทก์โดยตรงการที่โรงพยาบาลฟันได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้หรือรับส่วนแบ่งจากยอดเงินดังกล่าวไปไม่มีผลเปลี่ยนแปลงให้เงินดังกล่าวอันเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระของโจทก์เป็นเงินได้ประเภทอื่น โจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนเงินรายรับส่วนที่โรงพยาบาลฟันรับไปจึงเป็นเงินได้พึงประเมินของโจทก์ ตาม ป.รัษฎากร มาตรา39 ด้วย
เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินว่า เงินได้ของโจทก์ร้อยละ50 เป็นเงินได้พึงประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) และให้โจทก์เสียภาษีเงินได้พร้อมเงินเพิ่ม แต่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยว่าเป็นเงินได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 40 (6) โดยต้องนำเงินได้ทั้งจำนวนมาคำนวณเสียภาษีคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกันกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ซึ่งโจทก์ได้รับจากค่าบริการของโจทก์จำนวน 875,928.72 บาท จากยอดเงิน 1,751,857.44 บาท ซึ่งโรงพยาบาลฟันรับส่วนต่างไปเป็นเงินได้ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40 (2) ดังนั้นการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์เสียภาษีจากยอดเงินได้ทั้งจำนวนเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิได้เอาเงินได้อื่นมาคำนวณเพื่อเรียกเก็บภาษี จึงมิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3193/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ (ทันตแพทย์) เงินได้ทั้งจำนวนเป็นเงินได้พึงประเมิน ต้องนำยอดรวมมาคำนวณภาษี
โจทก์ให้บริการรักษาฟันที่โรงพยาบาลฟันโดยมีข้อตกลงว่าโจทก์ในฐานะทันตแพทย์จะได้รับส่วนแบ่งในอัตราประมาณร้อยละ 50 ของค่าบริการรักษาที่โจทก์ปฏิบัติงานจริง เมื่อพิจารณาลักษณะของการประกอบวิชาชีพของโจทก์ที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ การวินิจฉัยเพื่อให้การบำบัดรักษาโรคย่อมเป็นไปโดยอิสระ รวมทั้งการคิดค่าบริการรักษาด้วย การให้การบริการรักษาฟันรวมทั้งการคิดค่าบริการของโจทก์จึงเป็นการกระทำในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ ไม่ว่าโจทก์จะเป็นผู้รับค่าบริการไว้เองหรือโรงพยาบาลฟันรับไว้แทนก็ตาม ย่อมเป็นประโยชน์อันสืบเนื่องมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระโดยตรงโจทก์จึงเป็นผู้มีเงินได้ทั้งจำนวนมิใช่มีเงินได้เฉพาะส่วนแบ่งที่โจทก์รับไว้เท่านั้นดังนั้นการหักค่าใช้จ่ายของโจทก์ในฐานะผู้มีเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระประกอบโรคศิลปะตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) และค่าลดหย่อนจึงต้องหักจากยอดเงินได้พึงประเมินค่ารักษาฟันทั้งจำนวน มิใช่จากส่วนแบ่งที่โจทก์ได้รับเท่านั้น
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กำหนดให้นำเงินได้ทั้งจำนวนของโจทก์มาคำนวณเสียภาษีตามมาตรา 40(6) อันแตกต่างจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ของโจทก์ร้อยละ 50 เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกัน จึงเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจให้กระทำได้
คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่กำหนดให้นำเงินได้ทั้งจำนวนของโจทก์มาคำนวณเสียภาษีตามมาตรา 40(6) อันแตกต่างจากที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ว่าเงินได้ของโจทก์ร้อยละ 50 เป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) เป็นการวินิจฉัยในประเด็นเดียวกัน จึงเป็นเพียงการคิดภาษีให้ถูกต้องตามกฎหมาย มิใช่เป็นการวินิจฉัยเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมในประเด็นข้ออื่น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจให้กระทำได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการตรวจรักษาพยาบาลที่ได้รับจากโรงพยาบาล ไม่ถือเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ
เงินค่าตรวจรักษาผู้ป่วยที่โจทก์นำมารักษาในโรงพยาบาลของผู้ว่าจ้าง การคิดค่าตรวจรักษาต้องไม่เกินอัตราที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และโจทก์ได้รับเฉพาะค่าตรวจรักษาเท่านั้น ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่ผู้ป่วยต้องชำระเช่นค่ายา ค่าพยาบาล ค่าห้อง ผู้ว่าจ้างเป็นผู้ได้รับทั้งสิ้น ทั้งโจทก์รับเงินค่าตรวจรักษาผู้ป่วยดังกล่าวจากผู้ว่าจ้างโดยตรง ซึ่งผู้ว่าจ้างได้หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้แล้ว จึงเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจ้างผู้ว่าจ้างตรวจรักษาอาการป่วยเจ็บ แล้วผู้ว่าจ้างมอบหมายให้โจทก์เป็นแพทย์ผู้ตรวจรักษาโดยให้ค่าตอบแทนคือค่าตรวจรักษาตามสัญญาว่าจ้างแพทย์ที่โจทก์ทำไว้กับผู้ว่าจ้าง ไม่ใช่เป็นกรณีผู้ว่าจ้างตกลงให้โจทก์เปิดคลินิกพิเศษนอกเวลาทำการปกติในโรงพยาบาลและโจทก์ได้รับเงินจากผู้ป่วยเอง เงินได้ดังกล่าวที่โจทก์ได้รับจึงเป็นเงินได้เนื่องจากการรับทำงานให้ผู้ว่าจ้าง หาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40 (6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2643/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการตรวจรักษาพยาบาลในโรงพยาบาล: จัดเป็นค่าตอบแทนจากนายจ้าง ไม่ใช่รายได้วิชาชีพอิสระ
เงินได้จากค่าตรวจรักษาผู้ป่วยที่โจทก์นำมารักษาในโรงพยาบาลของผู้ว่าจ้างแม้โจทก์จะได้รับค่าตรวจรักษาทั้งหมด แต่การคิดค่าตรวจรักษามิใช่ว่าโจทก์จะกำหนดเองเพียงใดก็ได้ หากแต่ต้องไม่เกินอัตราที่ผู้ว่าจ้างกำหนด และโจทก์ได้รับเฉพาะค่าตรวจรักษาเท่านั้น ทั้งโจทก์รับเงินได้ดังกล่าวจากผู้ว่าจ้างโดยตรงจึงเป็นกรณีที่ผู้ป่วยจ้างผู้ว่าจ้างตรวจรักษาแล้วผู้ว่าจ้างมอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ตรวจรักษาโดยให้ค่าตอบแทน โจทก์จึงได้เงินได้ดังกล่าวมาเนื่องจากการรับทำงานให้ผู้ว่าจ้างหาใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระอันเป็นเงินได้พึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 40(6) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2642/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรรายได้จากสัญญาต่างประเทศ: ค่าสิทธิ vs. วิชาชีพอิสระ (วิศวกรรม) และการหักภาษี
โจทก์ทำสัญญาตกลงจ่ายค่าตอบแทนเป็นค่าสิทธิในการใช้ชื่อและเครื่องหมายการค้าให้แก่บริษัท ซ. และโจทก์ยังได้ทำสัญญาจ่ายค่าตอบแทนการให้ความรู้ทางวิศวกรรมกับบริษัท น. โดยบริษัท ซ. และบริษัท น. มีสำนักงานบริษัทตั้งอยู่ที่ เวเว่ย์ ประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แห่งเดียวกันสัญญาที่โจทก์ทำกับบริษัททั้งสองดังกล่าวมีอายุสัญญาและมีรายละเอียดเริ่มต้นกับวันสิ้นสุดเหมือนกันทั้งมีเงื่อนไขว่าหากบริษัท น. เลิกสัญญากับโจทก์บริษัท ซ.ก็มีสิทธิเลิกสัญญากับโจทก์เช่นเดียวกันและสัญญาทั้งสองฉบับยังระบุให้บริษัททั้งสองซึ่งเป็นสัญญากับโจทก์จัดหาและแนะนำกรรมวิธีการผลิตตำรับสูตรหรือความรู้อื่นที่เกี่ยวเนื่องกับผลิตภัณฑ์ของโจทก์โดยเฉพาะข้อตกลงซึ่งโจทก์ทำไว้กับบริษัท น. นั้นนอกจากบริษัท น. จะต้องให้ความช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคนิคทางวิศวกรรมแล้วยังต้องให้ข้อแนะนำวิธีในการผลิตแก่โจทก์ศึกษาและแนะนำวิธีการใช้กรรมวิธีใหม่และพัฒนาให้ดีขึ้นส่วนบริษัท ซ.ไม่ปรากฏว่าเคยให้ข้อแนะนำแก่โจทก์เกี่ยวกับเรื่องสูตรหรือกรรมวิธีการผลิตเลยแสดงว่าการผลิตของโจทก์อยู่ภายใต้เงื่อนไขและควบคุมของบริษัท น. เงินค่าตอบแทนที่บริษัท น. ได้รับจึงไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระประเภทวิศวกรรมตามความหมายของประมวลรัษฎากรมาตรา40(6)แต่เป็นเงินได้พึงประเมินประเภทค่าแห่งสิทธิตามมาตรา40(3) บริษัท น. เป็นบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศและมิได้ประกอบกิจการในประเทศไทยดังนั้นเงินได้ซึ่งบริษัท น.ได้รับจากโจทก์โจทก์ต้องหักภาษีแล้วนำส่งจำเลยตามประมวลรัษฎากรมาตรา70(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 665/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหักภาษี ณ ที่จ่ายจากสัญญาช่วยเหลือทางวิศวกรรมและใช้เครื่องหมายการค้า: เงินได้จากการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทน vs. วิชาชีพอิสระ
การที่โจทก์ทำสัญญากับบริษัทต่างประเทศไว้ 2 ประเภท คือสัญญาประเภทให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรม กับสัญญาประเภทให้ใช้เครื่องหมายการค้า โดยมีข้อสัญญาว่าเมื่อสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมเลิกกัน โจทก์ต้องส่งคำแนะนำและเอกสารต่าง ๆ อันเกี่ยวกับข้อมูลการผลิตอันถือเป็นความลับคืน โดยห้ามทำสำเนาไว้ และผลของการเลิกสัญญาดังกล่าวมีผลให้สัญญาให้ใช้เครื่องหมายการค้าเลิกกัน สิทธิของโจทก์ที่จะใช้เครื่องหมายการค้าย่อมหมดไปสัญญาให้ความช่วยเหลือทางด้านวิศวกรรมดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการให้ใช้สิทธิค่าตอบแทนสัญญาจึงเป็นเงินได้ตาม มาตรา 40 (3) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หาใช่เป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระตามมาตรา40 (6) ซึ่งต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายตามมาตรา 70 (4) แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าวไม่
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
โจทก์อุทธรณ์เพียงว่า เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการไม่ชอบและไม่ถูกต้องแล้ว จำเลยย่อมไม่มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มจากโจทก์ อุทธรณ์ของโจทก์มิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลภาษีอากรกลาง ที่วินิจฉัยประเด็นเกี่ยวกับเงินปันผลที่โจทก์จ่ายจากกำไรในรอบระยะเวลาบัญชีปี 2524 ที่โจทก์หักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ไม่ถูกต้องจึงต้องเสียเงินเพิ่มว่าไม่ถูกต้องไม่ชอบด้วยข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายอย่างไรจึงเป็นอุทธรณ์ไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษี•อากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4923/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินได้จากการรักษาผู้ป่วยนอกเวลาของแพทย์ประจำโรงพยาบาล ถือเป็นเงินได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ ตามมาตรา 40(6)
โจทก์ได้รับอนุญาตให้ประกอบโรคศิลปะเป็นแพทย์ประจำที่โรงพยาบาลล. ได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน และยังได้รับเงินจากการรักษาคนไข้ในโรงพยาบาล ล. นอกเวลาทำงานปกติ รายได้ในส่วนหลังจะต้องแบ่งเข้าโรงพยาบาล ล. ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 อย่างสูงไม่เกินร้อยละ 80จึงเป็นรายได้ที่โจทก์ได้รับจากคนไข้ ที่โจทก์รับมาทำการรักษาโดยโจทก์ใช้สถานที่ของโรงพยาบาล ล. มิใช่เงินที่โรงพยาบาลจ่ายให้เป็นเงินเดือนหรือค่าจ้างแก่โจทก์ ดังนี้ จึงเป็นเงินที่โจทก์ได้รับมาจากการประกอบวิชาชีพอิสระตาม ป.รัษฎากร มาตรา 40(6)มิใช่เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1).