คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วิทยุโทรทัศน์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 4 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1447/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจัดรายการวิทยุโทรทัศน์ไม่ใช่สัญญาเช่า แต่เป็นสัญญาให้บริการ
แม้โจทก์และจำเลยร่วมจะเรียกชื่อสัญญาพิพาทว่าเป็นสัญญาเช่าเวลาจัดรายการและโฆษณาสินค้า แต่รายละเอียดของสัญญาแสดงว่าโจทก์ไม่ได้ส่งมอบทรัพย์สินใดให้แก่จำเลยร่วมเพื่อให้จำเลยร่วมได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินใดเลย การจัดรายการและโฆษณาสินค้าของจำเลยร่วมตามที่ตกลงกับโจทก์ตามสัญญาแม้จำเลยร่วมจะให้ค่าตอบแทนเป็นเงินแก่โจทก์เพื่อการนั้น แต่ฝ่ายโจทก์ยังเป็นผู้ดำเนินการหรือบริการให้ทั้งสิ้น สัญญาพิพาทจึงมิใช่สัญญาเช่าทรัพย์หากแต่เป็นสัญญาที่ตกลงให้บริการการออกอากาศกระจายเสียงและแพร่ภาพทางสถานีวิทยุโทรทัศน์ของโจทก์ตามกำหนดเวลาที่ตกลงกันโดยมีค่าตอบแทน ซึ่งโจทก์เป็นผู้ค้ารับทำการงานดังกล่าวให้จำเลยร่วมเท่านั้น ดังนี้ การที่โจทก์เรียกเอาค่าตอบแทนการจัดรายการและโฆษณาสินค้าตามที่ตกลงไว้กับจำเลยร่วม จึงไม่ใช่เป็นการเรียกเอาค่าเช่าสังหาริมทรัพย์อันจะอยู่ภายในกำหนดอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/34 (6)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1078/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาการค้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ที่ขัดต่อกฎหมาย พ.ร.บ.วิทยุฯ ถือเป็นโมฆะ
ผู้มีสิทธิผูกขาดการค้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ตามกฎหมาย แต่ได้ทำสัญญาอนุญาตหรือมอบให้ผู้อื่นสั่งเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์เข้ามาจำหน่ายอีกต่อหนึ่งโดยเรียกเอาผลประโยชน์นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตั้งตัวแทน แต่เป็นการโอนอำนาจในการค้าดังกล่าวให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจทำการค้าไปทำการค้าอันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติวิทยุฯลฯ มาตรา 8 และมาตรา 20 สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาไม่ได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 28/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1070/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาอนุญาตค้าวิทยุโทรทัศน์ขัดกฎหมาย: การโอนอำนาจทำการค้าให้ผู้อื่นที่ไม่ได้รับอนุญาตเป็นโมฆะ
ผู้มีสิทธิผูกขาดการค้าเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์ตามกฎหมายแต่ได้ทำสัญญาอนุญาตหรือมอบให้ผู้อื่นสั่งเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์เข้ามาจำหน่ายอีกต่อหนึ่งโดยเรียกเอาผลประโยชน์นั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องตัวการตั้งตัวแทนแต่เป็นการโอนอำนาจในการค้าดังกล่าวให้ผู้ที่ไม่มีอำนาจทำการค้าไปทำการค้า อันเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติวิทยุฯ มาตรา 8 และมาตรา 20 สัญญานี้จึงมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย เป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 113 ฟ้องเรียกเงินตามสัญญาไม่ได้ (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 28/2507)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความสิทธิเรียกร้องค่าเช่าเวลาและภาษีมูลค่าเพิ่มจากการให้เช่าเวลาออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์
แม้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของโจทก์ มีกิจการคือการส่งหรือออกอากาศทางวิทยุโทรทัศน์ แต่การที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ให้เอกชนซึ่งเป็นผู้จัดรายการเช่าเวลาเพื่อออกอากาศรายการโดยมีค่าตอบแทนเป็นรายได้จากการเรียกเอาสินจ้างที่เรียกว่าค่าเช่าเวลา และเป็นปกติธุระที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ให้ผู้จัดรายการมากมายหลายรายเช่าเวลา เพื่อออกอากาศรายการที่ผู้จัดรายการแต่ละรายการนำเทปบันทึกรายการที่ตนรับผิดชอบในการผลิตมาส่งให้สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ออกอากาศให้ โดยสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เรียกเอาสินจ้างเป็นรายได้ ทั้งเมื่อพิจารณาระเบียบของโจทก์ว่าด้วยวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2536 แล้ว ไม่มีข้อห้ามหรือข้อจำกัดว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. ไม่สามารถหารายได้จากการดำเนินการหรือประกอบกิจการตามวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ หรือไม่สามารถให้เอกชนผู้จัดรายการเช่าเวลาที่ออกอากาศ แต่กลับมีข้อที่แสดงให้เห็นว่า สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. สามารถหารายได้ด้วยการเรียกเอาสินจ้างค่าเช่าเวลาจากการให้เอกชนซึ่งเป็นผู้จัดรายการเช่าเวลาเพื่อออกอากาศรายการได้ โดยมีข้อจำกัดเพียงว่าการกำหนดหรือปรับอัตราค่าเช่าเวลาจะต้องทำตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด ถือได้ว่าสถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เป็นผู้ประกอบธุรกิจในการส่งหรือออกอากาศรายการวิทยุโทรทัศน์ ซึ่ง ป.พ.พ. มาตรา 193/34 (7) บัญญัติให้สิทธิเรียกเอาสินจ้างที่สถานีวิทยุโทรทัศน์ ก. เรียกว่าค่าเช่าเวลา มีกำหนด 2 ปี โจทก์ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดอายุความแล้ว คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ทั้งเมื่อสิทธิเรียกร้องค่าเช่าเวลาและค่าเสียภาษีมูลค่าเพิ่มของโจทก์ซึ่งเป็นส่วนที่เป็นประธานขาดอายุความ สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยซึ่งเป็นส่วนอุปกรณ์ย่อมขาดอายุความด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/26