พบผลลัพธ์ทั้งหมด 90 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8314/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจับกุมและการฟ้องคดีเกินกำหนดตามวิธีพิจารณาความอาญา ทำให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
ในคดีอาญาจำเลยมีสิทธิที่จะให้การอย่างใดหรือไม่ให้การเลยก็ได้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบพยานก่อนให้เห็นว่าจำเลยเป็นผู้กระทำความผิด จำเลยไม่จำต้องยกประเด็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การก็มีสิทธิที่จะนำสืบในประเด็นนั้นๆ ได้ และมีอำนาจนำพยานเข้าสืบเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ของจำเลยได้โดยไม่จำต้องซักถามพยานโจทก์ในเรื่องที่จำเลยจะนำพยานหลักฐานเข้าสืบต่อไป
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง
การที่จำเลยเข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวน พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาและทำการสอบสวนจำเลยแล้วได้สั่งปล่อยจำเลยชั่วคราวโดยมีประกันในวันเดียวกันไปจนถึงวันฟ้อง ถือได้ว่าเป็นการจับกุมจำเลยในวันที่จำเลยเข้ามอบตัวแล้วตามป.อ. มาตรา 136 (เดิม) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น เมื่อคดีนี้มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท จึงอยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ.2520 มาตรา 2 และมาตรา 3 และพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 7 และมาตรา 9 พนักงานอัยการโจทก์ต้องฟ้องคดีต่อศาลภายในกำหนดสี่สิบแปดชั่วโมง หรือต้องมีการยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อขอผัดฟ้องครั้งแรกภายในสี่สิบแปดชั่วโมง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การค้นพบของกลางที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 102 ทำให้พยานหลักฐานไม่มีน้ำหนักเพียงพอ
การค้นพบธนบัตรของกลางในข้องปลาที่แขวนอยู่ข้างบ้านทิศตะวันออก นอกจากมิได้กระทำต่อหน้าจำเลยหรือสามีจำเลย ทั้งๆ ที่จำเลยก็ถูกจับและควบคุมตัวอยู่ที่หน้าบ้านนั้นเองแล้ว ยังได้ความว่าการพบธนบัตรในข้องปลาก็เป็นเรื่องที่ในชั้นแรกสิบตำรวจตรี พ. ค้นพบเพียงคนเดียวก่อน แล้วจึงเรียกกำนันที่เชิญมาเป็นพยานในการค้นมาดู หาใช่ว่าเป็นการค้นพบธนบัตรของกลางที่พบต่อหน้าบุคคลอื่นอย่างน้อยสองคนซึ่งเจ้าพนักงานได้ขอร้องมาเป็นพยานดังที่ ป.วิ.อ. มาตรา 102 ได้กำหนดหลักเกณฑ์ไว้ไม่ พยานหลักฐานโจทก์เกี่ยวกับการค้นพบธนบัตรของกลางซึ่งเจ้าพนักงานผู้ตรวจค้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด จึงไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่ศาลจะรับฟัง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8079/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้องคดี แม้มีการแก้ไขกฎหมายสารบัญญัติในภายหลัง
ขณะพิจารณาคดีในศาลชั้นต้น กฎหมายที่โจทก์ฟ้องว่ากระทำความผิดมีโทษขั้นต่ำตั้งแต่ 5 ปี ศาลชั้นต้นจึงต้องสืบพยานโจทก์ประกอบจนกว่าจะพอใจว่าจำเลยกระทำความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง แต่ในชั้นศาลอุทธรณ์กฎหมายได้แก้ไขใหม่เป็นจำคุกขั้นต่ำตั้งแต่ 4 ปี อันเป็นกรณีที่กฎหมายสารบัญญัติที่ใช้ในขณะกระทำความผิดแตกต่างกับกฎหมายที่ใช้ในภายหลังการกระทำความผิดซึ่ง ป.อ. มาตรา 3 บังคับให้ใช้กฎหมายในส่วนที่เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดไม่ว่าในทางใด แต่ในส่วนกฎหมายวิธีสบัญญัติมิได้มีบทบังคับเช่นนั้นด้วย ดังนั้น จึงต้องนำกฎหมายวิธีสบัญญัติที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยถูกฟ้องมาบังคับใช้แก่การพิจารณาคดีของจำเลยตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนความไม่ว่าจะเป็นการพิจารณาคดีในลำดับชั้นศาลใด เพื่อมิให้เกิดความลักลั่นในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีเดียวกัน ไม่ว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายในส่วนสารบัญญัติดังกล่าวในลำดับชั้นศาลใดก็ไม่มีผลกระทบถึงกระบวนพิจารณาคดีของจำเลย ศาลอุทธรณ์ภาค 5 จึงยังคงต้องฟังพยานโจทก์จนพอใจว่าจำเลยที่ 2 ได้ร่วมกระทำความผิดจริง จึงจะพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5940/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนในความผิดเดียวกัน ศาลยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)
โจทก์นำการกระทำของจำเลยซึ่งเป็นการกระทำเดียวกันมาแยกฟ้องเป็น 2 คดี โดยแยกผู้เสียหายออกเป็น 2 กุล่ม กลุ่มละคดี เมื่อศาลได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในการกระทำของจำเลยดังกล่าวซึ่งเป็นความผิดที่โจทก์ได้ฟ้องไว้ในคดีหนึ่งไปแล้ว สิทธินำคดีอาญามาฟ้องในคดีนี้ย่อมระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 670/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
คดีของจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จำเลยย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นรับรองว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาอันควรสู่ศาลสูงสุดและอนุญาตให้ฎีกา ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีหน้าที่พิจารณาเพียงว่า ข้อความที่ตัดสินนั้นเป็นปัญหาสำคัญอันควรสู่ศาลสูงสุดหรือไม่เท่านั้นตาม ป.วิ.อ. มาตรา 221 การที่ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าคดีไม่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงเป็นการสั่งคดีโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ถือว่าไม่ได้ปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยการพิจารณาคดี ศาลฎีกามีอำนาจที่จะหยิบยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการดังกล่าวของศาลชั้นต้นที่ไม่ชอบเสียได้ และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงและการนำบทบัญญัติมาใช้บังคับเมื่อไม่มีศาลแขวงในพื้นที่
ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญาที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาลถึงชื่อโจทก์ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐานและให้คู่ความลงชื่อไว้ ดังนั้น การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะและให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 157 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้องเมื่อคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการจึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรีตาม พ.ร.บ. ให้นำวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดฯ มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3469/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาในศาลแขวงที่ไม่มีศาลแขวง การปฏิบัติตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงฯ และ ป.วิ.อ.
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499 มาตรา 19 บัญญัติว่า ในคดีอาญา ที่อยู่ในอำนาจศาลแขวงที่จะพิจารณาพิพากษาได้ ผู้เสียหายหรือพนักงานอัยการจะฟ้องด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือก็ได้ แต่ถ้าจำเลยร้องขอหรือศาลเห็นสมควรจะสั่งให้ฟ้องเป็นหนังสือก็ได้ และการฟ้องด้วยวาจานั้น ให้โจทก์แจ้งต่อศาล ถึงชื่อโจทก์ ชื่อ ที่อยู่ และสัญชาติของจำเลย ฐานความผิด การกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำความผิด ข้อเท็จจริง และรายละเอียดเกี่ยวกับเวลา สถานที่ และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี และมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด โดยศาลเป็นผู้บันทึกใจความไว้เป็นหลักฐาน และให้คู่ความ ลงชื่อไว้ การฟ้องด้วยวาจาอันเป็นวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงจึงมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะ และให้ศาลเป็นผู้บันทึกคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน ส่วนบทบัญญัติของ ป.วิ.อ. มาตรา 158 (7) เป็นกรณีที่ฟ้องต้องทำเป็นหนังสือ และมีลายมือชื่อโจทก์ ผู้เรียง ผู้เขียน หรือพิมพ์ฟ้อง เมื่อข้อเท็จจริงตามสำนวนปรากฏว่าคดีนี้เกิดขึ้นในเขตศาลจังหวัดสระบุรีอันเป็นท้องที่ซึ่งยังมิได้มีศาลแขวงเปิดทำการ จึงย่อมนำวิธีพิจารณาความอาญาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยการจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัดสระบุรี ตามพระราชบัญญัติให้นำ วิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงมาใช้บังคับในศาลจังหวัด พ.ศ. 2520 มาตรา 3 ดังนั้นการที่โจทก์ฟ้องด้วยวาจา และศาลได้บันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้ โดยโจทก์และจำเลยได้ลงชื่อไว้แล้ว การฟ้องด้วยวาจาของโจทก์จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1305/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำบทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาใช้ในคดีอาญาเมื่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติไว้แล้ว
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 มีความหมายชัดแจ้งว่าจะนำบทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับในการพิจารณาคดีอาญาได้เฉพาะในกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาไม่ได้บัญญัติเกี่ยวกับวิธีพิจารณาข้อนั้น และให้นำมาใช้บังคับเพียงเท่าที่จะใช้บังคับได้ บทบัญญัติมาตรา 4 วรรคสอง และมาตรา 193/17 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ไม่ใช่บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งจึงนำมาใช้บังคับแก่การพิจารณาคดีอาญาไม่ได้ ทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญายังได้บัญญัติในมาตรา 185 วรรคหนึ่ง ว่า ถ้าศาลเห็นว่าคดีขาดอายุความแล้วให้ศาลยกฟ้องโจทก์ จึงเป็นกรณีที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาได้บัญญัติวิธีพิจารณาเกี่ยวกับอายุความไว้โดยเฉพาะ และไม่ใช่กรณีที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1299/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอให้นับโทษจำเลยต้องทำตามขั้นตอนที่กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญากำหนด โจทก์ขอภายหลังในคำแก้ฎีกาไม่ได้
การขอให้ศาลนับโทษจำเลยต่อจากคดีอื่น โจทก์จะต้องขอมาในคำขอท้ายฟ้องด้วย ถ้าจะขอภายหลังก็ต้องดำเนินการยื่นคำร้องขอก่อนมีคำพิพากษาศาลชั้นต้นตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 163 วรรคหนึ่ง โจทก์จะเพียงแต่ขอมาในคำแก้ฎีกาหาได้ไม่ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3507/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงโดยไม่ต้องเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และการพิจารณาเจตนาในการกระทำผิด
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงพ.ศ. 2499 กำหนดวิธีการดำเนินกระบวนพิจารณาไว้เป็นพิเศษนอกเหนือจากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาอันเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญาโดยทั่ว ๆ ไปการพิจารณาคดีของศาลแขวงจึงแตกต่างจากคดีอาญาอื่น โดยมาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว บัญญัติให้โจทก์ฟ้องด้วยวาจาได้และให้ศาลบันทึกใจความแห่งคำฟ้องไว้เป็นหลักฐาน การฟ้องคดีอาญาในศาลแขวงจึงไม่ต้องปฏิบัติเคร่งครัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 โดยเฉพาะในอนุมาตรา 5 ว่าด้วยรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการกระทำ เป็นหน้าที่ของศาลที่จะสอบถามรายละเอียดพอที่จำเลยจะเข้าใจข้อหาได้ดี
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษก็ตาม แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว
โจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาด้วยวาจาและศาลชั้นต้นได้บันทึกไว้ว่า โจทก์ฟ้องว่า จำเลยได้ช่วยเหลือ ช่วยซ่อนเร้น พ. ซึ่งเป็นผู้กระทำความผิดฐานขับรถประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายบาดเจ็บและทรัพย์สินเสียหายอันมิใช่ความผิดลหุโทษ โดยรับขึ้นรถยนต์บรรทุกที่จำเลยขับจากที่เกิดเหตุไปส่งยังที่อื่น ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 189 คำฟ้องดังกล่าวแม้จะไม่ได้บรรยายว่าจำเลยมีเจตนากระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องโทษก็ตาม แต่การที่จำเลยรับ พ. ขึ้นรถแล้วขับรถไปส่งยังที่อื่นเพื่อไม่ให้ พ. ถูกจับกุม ก็เป็นการแสดงให้เห็นแล้วว่าจำเลยกระทำเพื่อไม่ให้ พ. ต้องรับโทษ คำฟ้องโจทก์ชอบด้วยกฎหมายแล้ว