พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6975/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแก้ไขคำฟ้อง, อายุความ, การโต้แย้งคำสั่งศาล, และการดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ปรากฏในรายงานกระบวนพิจารณาเพียงว่าทนายจำเลยแถลงโต้แย้งคัดค้านเฉพาะคำสั่งที่อนุญาตตามคำร้องฉบับลงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2541 เท่านั้น ดังนั้น การที่ทนายจำเลยเพียงแต่จดแจ้งข้อโต้แย้งคัดค้านไว้ในคำร้องขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องของโจทก์ฉบับลงวันที่ 5 มกราคม 2542 ถือไม่ได้ว่าทนายจำเลยโต้แย้งคำสั่งศาลตาม ป.วิ.พ. มาตรา 26 และมาตรา 226 จำเลยจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องตามคำร้องฉบับดังกล่าว
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
ในส่วนที่โจทก์ขอแก้ไขเพิ่มเติมฟ้องว่าภายหลังจากแจ้งยกเลิกการเป็นสมาชิกบัตรแก่จำเลยแล้วจำเลยนำเงินมาชำระหนี้คืนโจทก์ระหว่างวันที่ 27 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2540 เป็นเงินจำนวน 54,200 บาท เป็นการเพิ่มเติมฟ้องในสาระสำคัญเกี่ยวกับประเด็นที่จำเลยในการต่อสู้ว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความ ซึ่งการชำระหนี้บางส่วนย่อมทำให้อายุความสะดุดหยุดลง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องโดยไม่ได้ส่งสำเนาคำร้องให้จำเลยทราบล่วงหน้าก่อนมีคำสั่งจึงเป็นการไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 181 (1) แต่อย่างไรก็ดี เมื่อจำเลยให้การว่าคดีขาดอายุความ แม้จะไม่มีการเพิ่มเติมฟ้องดังกล่าว ศาลก็สามารถหยิบยกเหตุที่ทำให้อายุความสะดุดหยุดลงโดยการชำระหนี้บางส่วนซึ่งปรากฏในทางพิจารณาแล้วขึ้นวินิจฉัยว่าคดีไม่ขาดอายุความได้ กรณีจึงไม่มีเหตุที่ศาลฎีกาจะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3450/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้ามลำดับศาลในคดีประกันตัวอาญา: การใช้มาตรา 223 ทวิ พ.ร.บ.วิธีพิจารณาความแพ่งโดยอนุโลมมิได้
ผู้ประกันยื่นอุทธรณ์ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าเมื่อสิทธิในการร้องขอให้บังคับคดีแก่ผู้ประกันสิ้นสุดแล้ว ศาลชั้นต้นต้องคืนหลักประกันแก่ผู้ประกันตนตาม ป.วิ.อ. มาตรา 118 เป็นกรณีพิจารณาเกี่ยวกับสัญญาประกันตัวจำเลยในคดีอาญา ซึ่งการใช้สิทธิอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.อ. ภาค 4 ลักษณะ 1 โดยมาตรา 193 วรรคหนึ่ง ได้บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า ให้อุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ ไม่มีบทบัญญัติมาตราใดอนุญาตให้คู่ความอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาได้ดังเช่นคดีแพ่ง จึงนำ ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ มาใช้บังคับโดยอนุโลมไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5622/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำคู่ความไม่สมบูรณ์ตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ศาลต้องให้แก้ไขก่อนพิพากษา
คำให้การของจำเลยไม่มีลายมือชื่อจำเลยหรือทนายจำเลยผู้ยื่นคำให้การ ไม่มีลายมือชื่อทนายจำเลยผู้เรียง และไม่มีลายมือชื่อผู้พิมพ์ เป็นคำคู่ความที่ไม่สมบูรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 67 (5) การที่ทนายจำเลยลงลายมือชื่อไว้ในช่องหมายเหตุท้ายคำให้การจำเลยแผ่นแรกที่มีข้อความระบุว่า "ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้ว" นั้น มิใช่เป็นการลงลายมือชื่อในคำคู่ความตามความหมายของมาตรา 67 (5) ศาลชั้นต้นรับคำให้การจำเลยฉบับดังกล่าวโดยไม่คืนไปให้จำเลยทำมาใหม่ หรือให้จำเลยแก้ไขข้อบกพร่องดังกล่าวเสียให้ถูกต้อง จึงเป็นกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบด้วยมาตรา 18 วรรคสอง การที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีไปโดยไม่ได้ดำเนินการแก้ไขข้อบกพร่องเสียก่อนจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2672/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อุทธรณ์ไม่ชอบด้วย กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ต้องวางค่าธรรมเนียมพร้อมอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขออนุญาตยื่นคำให้การและขอให้เรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วม การที่จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นขอให้ศาลอุทธรณ์เพิกถอนกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องขออนุญาตยื่นคำให้การของจำเลยและเรียกบุคคลภายนอกเข้ามาเป็นจำเลยร่วมแล้วสืบพยานต่อไปนั้น เท่ากับเป็นการขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายกคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์และให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาคดีใหม่ต่อไปนั่นเอง จำเลยจึงต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 ด้วย จำเลยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย ที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของจำเลยจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3545/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาตกเพราะยื่นหลังกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งแก้ไขใหม่ มีผลใช้บังคับกับคู่ความ แม้ศาลชั้นต้นพิพากษาตามยอมก่อน
แม้ศาลชั้นต้นจะมีคำพิพากษาตามยอมก่อนที่ ป.วิ.พ. มาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมจะมีผลใช้บังคับก็ตาม แต่จำเลยยื่นฎีกาเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2546 หลังจากบทบัญญัติมาตรา 309 ทวิ ที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่ อันเป็นกฎหมายวิธีสบัญญัติมีผลใช้บังคับแก่คู่ความแล้ว คดีของจำเลยจึงต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยลูกหนี้ตามพิพากษายื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีคำสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาด เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาแล้ว คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์จึงเป็นที่สุด จำเลยไม่มีสิทธิฎีกาคัดค้านคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ได้อีกต่อไป ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยมาจึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7489/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการวางเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง จำเป็นต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขก่อน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลย การที่จำเลยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น โดยขอให้ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้พิจารณาใหม่ ซึ่งจะทำให้คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่บังคับให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์เป็นอันเพิกถอนไปได้ ผลเท่ากับเป็นการอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้นอยู่ในตัว ดังนั้น จำเลยต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นมาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ โดยศาลชั้นต้นไม่จำต้องมีคำสั่งให้จำเลยปฏิบัติก่อน การที่จำเลยมิได้วางเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่โจทก์เช่นนี้ ในชั้นตรวจอุทธรณ์ศาลชั้นต้นชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย แต่เมื่อศาลชั้นต้นสั่งรับอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ก็ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์นั้นเสีย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 691/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนบัญชีระบุพยานที่ยื่นไม่ถูกต้องตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
การที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง และมาตรา 87(2) บัญญัติวางหลักเบื้องต้นของกฎหมายไว้ ก็เพื่อให้คู่ความแต่ละฝ่ายมีโอกาสทราบว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะอ้างพยานหลักฐานใดบ้าง ป้องกันไม่ให้เกิดการจู่โจมทางพยาน จึงเป็นบทบัญญัติที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมการที่จำเลยมิได้ปฏิบัติเช่นนั้นและศาลเห็นสมควร ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจสั่งเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคหนึ่ง แม้จะไม่มีคู่ความฝ่ายใดขอก็ตาม สำหรับกรณีที่คู่ความฝ่ายที่ต้องเสียหายเป็นผู้ยกขึ้นอ้าง จึงจะตกอยู่ในบังคับประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 27 วรรคสอง ดังนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 วรรคสองจึงไม่เกี่ยวกับกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เมื่อจำเลยทั้งสามยื่นบัญชีระบุพยานฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคหนึ่ง ทั้งจำเลยทั้งสามมิได้ดำเนินการแก้ไขข้อผิดหลงของจำเลยทั้งสามขอให้ศาลรับบัญชีระบุพยานตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสุดท้าย หรือขอให้ศาลสืบพยานหลักฐานจำเลยทั้งสามโดยฝ่าฝืนบทบัญญัติมาตรา 88 วรรคหนึ่ง ตามมาตรา 87(2) ศาลชั้นต้นชอบที่จะเพิกถอนการพิจารณาที่ผิดระเบียบได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 755/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีครอบครัวที่เกินทุนทรัพย์และขัดต่อกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ร่วมกันชำระค่าสินสอดแก่โจทก์ทั้งสามจำนวน 35,000 บาท พร้อมด้วยสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท หากคืนไม่ได้ให้ใช้ราคาแทนเป็นเงิน 5,300 บาทจำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ขอให้ยกฟ้อง ดังนั้น ทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์จึงมีเพียง 40,300 บาท ไม่เกิน 50,000 บาท ทั้งมิใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิแห่งสภาพบุคคลหรือสิทธิในครอบครัวคดีต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคหนึ่งที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 อุทธรณ์ว่า เงินจำนวน 35,000 บาท และสร้อยคอทองคำหนัก 1 บาท เป็นเพียงเงินค่าตอบแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยินยอมให้จำเลยที่ 3 ไปอยู่กินฉันสามีภริยากับโจทก์ที่ 3 มิใช่เป็นค่าสินสอด โจทก์ทั้งสามไม่อาจเรียกคืนได้นั้น เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 รับวินิจฉัยอุทธรณ์ในข้อนี้จึงเป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 242(1) และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 3 ฎีกาของโจทก์ทั้งสามจึงไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง แม้ผู้พิพากษาที่ได้นั่งพิจารณาคดีในศาลชั้นต้นจะรับรองให้ฎีกาในข้อเท็จจริงก็ตาม ศาลฎีกาไม่อาจพิจารณาให้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 585/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาไม่สามารถขอทุเลาการบังคับได้ตามมาตรา 231 ว.แพ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ใช้วิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาตามที่โจทก์ร้องขอต่อศาลชั้นต้น เป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติหรือดำเนินการก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี ส่วนการทุเลาการบังคับจะต้องเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดประเด็นแห่งคดีแล้ว คู่ความได้ขอให้ศาลสั่งอนุญาตให้ยังไม่ต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลนั้นไว้ก่อน คำว่า "คำสั่งของศาลชั้นต้น"ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 231 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งนั้น ย่อมหมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีมิได้หมายถึงคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับวิธีคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1671/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์เกินกว่าหนี้: การดำเนินการตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและการพิสูจน์การยึดทรัพย์ที่ถูกต้อง
กรณีที่จะเป็นการยึดอสังหาริมทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษานั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 304 บัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีจัดทำโดยนำหนังสือสำคัญสำหรับทรัพย์สินนั้นมาและฝากไว้ ณสถานที่ใด หรือแก่บุคคลใดตามที่เห็นสมควร และแจ้งการยึดนั้นให้ลูกหนี้ตามคำพิพากษาและเจ้าพนักงานที่ดินผู้มีหน้าที่ทราบ ให้เจ้าพนักงานที่ดินบันทึกการยึดไว้ในทะเบียนเมื่อโจทก์เพียงแถลงขอยึดทรัพย์ของจำเลยเพิ่มเพราะยังได้รับชำระหนี้ไม่ครบถ้วน แม้เจ้าพนักงานบังคับคดีจะสั่งอนุญาตแต่ก็มีเงื่อนไขว่าต้องไม่เกินยอดหนี้ ทั้งไม่ปรากฏว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีและเจ้าพนักงานที่ดินได้ดำเนินการเกี่ยวกับการยึดที่ดินของจำเลยตามวิธีการที่กฎหมายบัญญัติไว้ข้างต้น จึงไม่อาจวินิจฉัยได้ว่าเป็นการยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเกินกว่าที่พอจะชำระหนี้หรือไม่และต้องห้ามตามมาตรา 284 วรรคหนึ่ง หรือไม่ กรณีตามคำร้องของจำเลยยังไม่มีข้อโต้แย้งสิทธิเกิดขึ้น จำเลยจึงไม่อาจใช้สิทธิทางศาลโดยยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งห้ามโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดที่ดินของจำเลยได้