พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3665/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีตามวิธีปกติ vs. วิธีพิเศษ (มาตรา 49) ต้องตรวจสอบรายได้และรายจ่ายอย่างละเอียด
การที่เจ้าพนักงานประเมินจะประเมินภาษีโจทก์โดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินไม่สามารถทราบได้ว่าผู้มีเงินได้มีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใด หาใช่เพียงแต่เจ้าพนักงานประเมินเห็นว่าผู้มีเงินได้มิได้ยื่นรายการเงินได้หรือยื่นรายการเงินได้ต่ำกว่าจำนวนที่ควรต้องยื่นก็มีอำนาจกำหนดจำนวนเงินได้สุทธิตามอำนาจพิเศษที่กำหนดไว้ในมาตรา 49 โดยอนุมัติของอธิบดีกรมสรรพากรได้ทันทีไม่ เพราะจากตัวบทมาตรา 49 ที่ให้นำบทบัญญัติมาตรา 19 ถึง 26 มาใช้บังคับโดยอนุโลม ซึ่งหมายความว่า เจ้าพนักงานประเมินจะต้องทำการตรวจสอบไต่สวนโดยวิธีปกติตามอำนาจในมาตรา 19 และ 23 จนไม่อาจจะทราบได้ว่าผู้มีเงินได้นั้นมีรายได้และรายจ่ายที่แท้จริงเพียงใดแล้ว จึงชอบที่จะใช้อำนาจตามมาตรา 49 ได้ นอกจากนี้ขั้นตอนวิธีการตรวจสอบตามมาตรา 49 จะต้องตรวจสอบถึงมูลค่าทรัพย์สินสุทธิต้นปีและตรวจสอบหามูลค่าทรัพย์สินสุทธิปลายปี จากนั้นจะหาผลต่างระหว่างมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันต้นปีกับมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ณ วันสิ้นปีเดียวกันผลเพิ่มที่หาได้หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งทรัพย์สินสุทธิที่เพิ่มขึ้นให้นำมาบวกกับค่าใช้จ่ายที่ไม่เกี่ยวกับการหารายได้ แล้วหักด้วยเงินได้ที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณภาษี ผลลัพธ์เป็นเงินได้สุทธินำไปคำนวณกับอัตราภาษี ก็จะเป็นภาษีที่ต้องเสีย และการประเมินตามมาตรา 49 จะไม่มีการนำค่าใช้จ่ายมาหักออกแต่อย่างใด ส่วนการประเมินตามวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27 แห่ง ป.รัษฎากรนั้น เป็นวิธีการตรวจสอบไต่สวนหารายได้ของผู้มีเงินได้ที่ได้รับในรอบปีหรือที่เรียกว่าเงินได้พึงประเมินแล้วตรวจดูว่าเป็นเงินประเภทใดตามมาตรา 40 (1) ถึง (8) จากนั้นจึงหักด้วยค่าใช้จ่ายตามประเภทของเงินได้ตามมาตรา 43 ทวิ ถึงมาตรา 46 แล้วหักค่าลดหย่อนตามมาตรา 47 เหลือเท่าใด ถือเป็นเงินได้สุทธิที่จะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามบัญชีอัตราภาษี
คดีนี้หลังจากกรมสรรพากรจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการเสียภาษีของโจทก์แล้ว ได้มีการพิจารณาวิธีการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ว่าจะใช้วิธีคำนวณหาค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิตามมาตรา 49 หรือจะตรวจสอบโดยวิธีปกติ คณะทำงานได้ประชุมลงมติให้ใช้วิธีปกติในการตรวจสอบเพราะการตรวจสอบโดยวิธีหาค่าเพิ่มสุทธิจะมีอุปสรรค จากนั้นเจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจยอดเงินได้ที่โจทก์และภริยาได้แสดงไว้ในแบบ ภ.ง.ด.91 ประจำปี2531, 2532 และ ภ.ง.ด.90 ประจำปี 2533 แล้ว ปรากฏว่ามียอดเงินรายได้ต่ำกว่ายอดเงินที่ได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของ รสช.เป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นโดยได้ขอหลักฐานเพิ่มเติมจากหน่วยราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทที่ภริยาโจทก์และ ร. หลานชายของโจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นจากกระทรวงพาณิชย์ และขอหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากนามแฝงของภริยาโจทก์ทั้ง 6 บัญชี จากธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากแล้วคณะทำงานได้ขออนุมัติออกหมายเรียกโจทก์ พร้อมทั้งขอขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกต่ออธิบดีจำเลยตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงได้ออกหมายเรียกโจทก์มาชี้แจง สำหรับบัญชีเงินฝากในนามแฝงนั้นโจทก์และภริยาไม่เคยโต้แย้งว่าไม่ใช่บัญชีของโจทก์และภริยา แต่โจทก์ชี้แจงว่าบัญชีเงินฝากนามแฝง 6 บัญชี เป็นบัญชีกิจการร่วมค้าของภริยาโจทก์เพื่อจัดซื้อและพัฒนาที่ดิน ซึ่งเงินฝากเข้าบัญชีส่วนใหญ่เป็นเงินที่ผู้ร่วมลงทุนจ่ายให้ เหตุที่แยกออกเป็น 6 บัญชี เพื่อให้รู้ว่าเป็นเงินฝากของใคร เท่าใด แต่บุคคลที่โจทก์อ้างว่าได้นำเงินมาร่วมลงทุนไม่สามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่โจทก์อ้าง คณะทำงานจึงเห็นว่าเงินฝากดังกล่าวมิใช่เป็นเงินที่บุคคลอื่นฝากเข้าบัญชีเพื่อร่วมลงทุนซื้อที่ดิน ส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นจากการตรวจหลักฐานการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ปรากฏว่าภริยาโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ โดยระบุว่าชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว แต่โจทก์และภริยาพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้มาด้วยวิธีใด คณะทำงานจึงถือว่าเงินฝากในบัญชีนามแฝงและผลประโยชน์รวมทั้งหุ้นที่ได้รับในบริษัทดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ที่จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้เมื่อได้ยอดเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภริยาได้รับทั้งหมดในปีภาษีดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเป็นเงินได้สุทธิ นำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและประเมินให้โจทก์ชำระภาษี จึงถือได้ว่าวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินโจทก์เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27แห่ง ป.รัษฎากรโดยชอบแล้ว ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร
คดีนี้หลังจากกรมสรรพากรจำเลยมีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานตรวจสอบการเสียภาษีของโจทก์แล้ว ได้มีการพิจารณาวิธีการตรวจสอบการเสียภาษีอากรของโจทก์ว่าจะใช้วิธีคำนวณหาค่าเพิ่มทรัพย์สินสุทธิตามมาตรา 49 หรือจะตรวจสอบโดยวิธีปกติ คณะทำงานได้ประชุมลงมติให้ใช้วิธีปกติในการตรวจสอบเพราะการตรวจสอบโดยวิธีหาค่าเพิ่มสุทธิจะมีอุปสรรค จากนั้นเจ้าพนักงานของจำเลยได้ตรวจยอดเงินได้ที่โจทก์และภริยาได้แสดงไว้ในแบบ ภ.ง.ด.91 ประจำปี2531, 2532 และ ภ.ง.ด.90 ประจำปี 2533 แล้ว ปรากฏว่ามียอดเงินรายได้ต่ำกว่ายอดเงินที่ได้รับข้อมูลจากคณะกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินของ รสช.เป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการตรวจสอบเบื้องต้นโดยได้ขอหลักฐานเพิ่มเติมจากหน่วยราชการและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น ขอหลักฐานเกี่ยวกับบริษัทที่ภริยาโจทก์และ ร. หลานชายของโจทก์เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นจากกระทรวงพาณิชย์ และขอหลักฐานเกี่ยวกับบัญชีเงินฝากนามแฝงของภริยาโจทก์ทั้ง 6 บัญชี จากธนาคารที่มีบัญชีเงินฝากแล้วคณะทำงานได้ขออนุมัติออกหมายเรียกโจทก์ พร้อมทั้งขอขยายระยะเวลาการออกหมายเรียกต่ออธิบดีจำเลยตามขั้นตอนของกฎหมาย เมื่อได้รับอนุมัติแล้วจึงได้ออกหมายเรียกโจทก์มาชี้แจง สำหรับบัญชีเงินฝากในนามแฝงนั้นโจทก์และภริยาไม่เคยโต้แย้งว่าไม่ใช่บัญชีของโจทก์และภริยา แต่โจทก์ชี้แจงว่าบัญชีเงินฝากนามแฝง 6 บัญชี เป็นบัญชีกิจการร่วมค้าของภริยาโจทก์เพื่อจัดซื้อและพัฒนาที่ดิน ซึ่งเงินฝากเข้าบัญชีส่วนใหญ่เป็นเงินที่ผู้ร่วมลงทุนจ่ายให้ เหตุที่แยกออกเป็น 6 บัญชี เพื่อให้รู้ว่าเป็นเงินฝากของใคร เท่าใด แต่บุคคลที่โจทก์อ้างว่าได้นำเงินมาร่วมลงทุนไม่สามารถชี้แจงหรือให้ข้อมูลอย่างชัดแจ้งเกี่ยวกับการดำเนินกิจการตามที่โจทก์อ้าง คณะทำงานจึงเห็นว่าเงินฝากดังกล่าวมิใช่เป็นเงินที่บุคคลอื่นฝากเข้าบัญชีเพื่อร่วมลงทุนซื้อที่ดิน ส่วนการถือหุ้นในบริษัทนั้นจากการตรวจหลักฐานการถือหุ้นในบริษัทต่าง ๆ ปรากฏว่าภริยาโจทก์มีชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทต่าง ๆ โดยระบุว่าชำระเงินค่าหุ้นเต็มจำนวนแล้ว แต่โจทก์และภริยาพิสูจน์ไม่ได้ว่าเงินค่าหุ้นดังกล่าวได้มาด้วยวิธีใด คณะทำงานจึงถือว่าเงินฝากในบัญชีนามแฝงและผลประโยชน์รวมทั้งหุ้นที่ได้รับในบริษัทดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) แห่ง ป.รัษฎากร ที่จะต้องนำมารวมคำนวณภาษีเงินได้เมื่อได้ยอดเงินได้พึงประเมินที่โจทก์และภริยาได้รับทั้งหมดในปีภาษีดังกล่าวแล้ว เจ้าพนักงานประเมินของจำเลยได้นำมาหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนเหลือเป็นเงินได้สุทธิ นำไปคำนวณภาษีเงินได้ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาและประเมินให้โจทก์ชำระภาษี จึงถือได้ว่าวิธีการตรวจสอบและประเมินภาษีเงินโจทก์เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีปกติตามมาตรา 19 ถึงมาตรา 27แห่ง ป.รัษฎากรโดยชอบแล้ว ไม่ใช่เป็นการตรวจสอบและประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 49 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5048/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดซื้อพัสดุโดยวิธีพิเศษที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ แต่ไม่เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นละเมิด
หนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมปีที่1เป็นหนังสือแบบฝึกหัดไม่จำต้องส่งให้กระทรวงศึกษาธิการตรวจเพราะไม่ได้เป็นหนังสืออยู่ในบังคับของกระทรวงศึกษาธิการแต่เป็นหนังสือประกอบการเรียนไม่เป็นหนังสือที่บังคับใช้ตามหลักสูตรจึงไม่จำเป็นต้องซื้อโดยเร่งด่วนและไม่จำเป็นต้องซื้อด้วยวิธีพิเศษแม้ฝ่ายจำเลยจะอ้างว่าในการจัดซื้อหนังสือรายนี้ได้มีการจัดตั้งกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯข้อที่25(4)ก็เป็นการกล่าวอ้างลอยๆโดยไม่มีพยานหลักฐานใดสนับสนุนทั้งตามบันทึกเสนอขอซื้อก็มีเพียงระบุตัวกรรมการตรวจรับพัสดุเท่านั้นหาได้มีการเสนอตั้งกรรมการจัดซื้อโดยวิธีพิเศษไม่ฟังไม่ได้ว่าได้มีการจัดตั้งกรรมการจัดซื้อดังที่ฝ่ายจำเลยอ้างการจัดซื้อหนังสือรายพิพาทจึงไม่ถูกต้องตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ผู้แทนสำนักพิมพ์ต่างๆเบิกความเกี่ยวกับราคาหนังสือพิพาทว่าเป็นราคาประเมินมีราคาไม่เท่ากันเอาเป็นที่แน่นอนไม่ได้และยังได้ความว่าในการจัดพิมพ์หนังสือรายพิพาทนี้ผู้พิมพ์ให้ค่าตอบแทนค่าลิขสิทธิ์แก่ผู้เขียนแตกต่างกันโดยภาคเอกชนให้ในอัตราสูงส่วนของทางราชการให้ในอัตราต่ำและเมื่อนำไปประกอบกับผู้แต่งเป็นผู้ทรงคุณวุฒิสูงเป็นที่น่าเชื่อถือมีจำหน่ายที่ร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัดเพียงแห่งเดียวย่อมทำให้ผู้ผลิตและจำหน่ายกำหนดราคาสูงกว่าราคาในท้องตลาดได้เพราะไม่มีคู่แข่งส่วนที่โจทก์อ้างว่าหนังสือพิพาทมีราคาเล่มละ9.49บาทซึ่งสำนักงานการประถมศึกษาฯซื้อในราคาเล่มละ30บาทเป็นราคาสูงกว่าความเป็นจริงก็เพียงอาศัยการประเมินราคาจากสำนักพิมพ์ต่างๆซึ่งไม่ได้พิมพ์หนังสือพิพาทที่เป็นหนังสือชนิดประเภทและคนแต่งคนเดียวกันที่จะนำมาเปรียบเทียบราคากันได้อีกทั้งผู้ขายได้เสนอขายหนังสือพิพาทไปยังจังหวัดต่างๆซึ่งก็ซื้อในราคาเดียวกันนี้จนทางราชการได้รับหนังสือและแจกจ่ายให้นักเรียนได้ใช้ประโยชน์สมความมุ่งหวังของทางราชการแล้วเมื่อไม่ปรากฎว่ามีการทุจริตกรณีจึงไม่เกิดความเสียหายแก่ทางราชการหรือโจทก์แต่อย่างใดดังนั้นแม้จำเลยที่5ถึงที่8จะดำเนินการซื้อหนังสือแบบทดสอบประเมินผลฉบับบูรณาการชั้นประถมปีที่1จากร้านสหกรณ์กลาโหมจำกัดไม่ถูกต้องตามระเบียบของทางราชการแต่ก็ไม่เกิดความเสียหายการกระทำของจำเลยที่5ถึงที่8จึงไม่เป็นละเมิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 402/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71(1) และการหักภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายออกจากภาษีที่ประเมิน
ป.รัษฎากร มาตรา 71 บัญญัติว่า "ในกรณีที่ (1) บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้หรือมิได้ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ หรือไม่นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า..." เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจทำการประเมินภาษีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71 (1) ได้เมื่อมีกรณีใดกรณีหนึ่งดังนี้ 1. ไม่ยื่นรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีตามที่ ป.รัษฎากรกำหนด 2. ไม่ทำบัญชีหรือทำไม่ครบตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 68 ทวิ แห่ง ป.รัษฎากร และ 3. ไม่นำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานอื่นมาให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวนตามมาตรา 19 หรือมาตรา 23 แห่ง ป.รัษฎากร สำหรับกรณีของโจทก์ได้ความว่า โจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคล (ภ.ง.ด.50) และรายการซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการคำนวณภาษีอื่น ภายในหนึ่งร้อยห้าสิบวันนับแต่วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีตามมาตรา 68 และมาตรา 69 แห่ง ป.รัษฎากร จึงต้องด้วยกรณีที่เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร นอกจากนี้ได้ความว่า เจ้าพนักงานประเมินได้ให้โอกาสโจทก์โดยหมายเรียกให้โจทก์ไปพบ และนำบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานไปให้เจ้าพนักงานประเมินทำการไต่สวน แต่โจทก์นำส่งบัญชี เอกสาร หรือหลักฐานให้ไต่สวนภายหลังที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินตามมาตรา 71 (1) แล้ว ทั้งที่โจทก์มีหน้าที่ต้องจัดทำบัญชีต่างๆ รวมถึงต้องเก็บเอกสารหลักฐานประกอบการทำบัญชีดังกล่าวไว้ให้พร้อมเพื่อการตรวจสอบอยู่แล้ว ถือได้ว่าเจ้าพนักงานประเมินได้ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์และปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมายและคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.78/2541 เรื่องขอบเขตการใช้อำนาจตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร แล้ว
การคิดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี วรรคแรก มิใช่ใช้เฉพาะกับการประเมินภาษีจากกำไรสุทธิโดยวิธีปกติตามมาตรา 65 เท่านั้น แต่ยังใช้กับการประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71 (1) ด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อรายรับที่โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร จึงต้องนำภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วนั้นมาหักออกจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โจทก์ต้องชำระตามการประเมินนี้ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการประเมินโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71 (1) หรือเป็นการประเมินโดยวิธีปกติตามมาตรา 65 หรือไม่ มิฉะนั้นจะเท่ากับโจทก์ถูกเรียกเก็บภาษีจากรายรับหรือรายได้เดียวกันซ้ำซ้อน
การคิดเงินเพิ่มตาม ป.รัษฎากร มาตรา 67 ตรี วรรคแรก มิใช่ใช้เฉพาะกับการประเมินภาษีจากกำไรสุทธิโดยวิธีปกติตามมาตรา 65 เท่านั้น แต่ยังใช้กับการประเมินภาษีโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71 (1) ด้วย การที่เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลและเงินเพิ่มนั้นชอบด้วยกฎหมายแล้ว
เมื่อรายรับที่โจทก์ถูกหักภาษีเงินได้นิติบุคคลไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งจำเลยที่ 1 แล้ว เป็นส่วนหนึ่งของรายรับที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลโจทก์ตามมาตรา 71 (1) แห่ง ป.รัษฎากร จึงต้องนำภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ถูกหักไว้ ณ ที่จ่ายและนำส่งแล้วนั้นมาหักออกจากภาษีเงินได้นิติบุคคลที่โจทก์ต้องชำระตามการประเมินนี้ด้วย โดยไม่ต้องคำนึงว่าจะเป็นการประเมินโดยวิธีพิเศษตามมาตรา 71 (1) หรือเป็นการประเมินโดยวิธีปกติตามมาตรา 65 หรือไม่ มิฉะนั้นจะเท่ากับโจทก์ถูกเรียกเก็บภาษีจากรายรับหรือรายได้เดียวกันซ้ำซ้อน