คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยชี้ขาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1081/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำคดีแรงงาน: การยกฟ้องเนื่องจากฟ้องเคลือบคลุม ไม่ถือเป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ทำให้ฟ้องใหม่ได้
คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยจ่ายค่านายหน้า ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปี ค่าโล่ที่จำเลยสัญญาว่าจะมอบให้ และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม พร้อมทั้งออกหนังสือรับรองเกี่ยวกับการทำงานให้โจทก์ ระหว่างการพิจารณาจำเลยขอให้ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาข้อกฎหมายเบื้องต้นว่า คำฟ้องของโจทก์เคลือบคลุมหรือไม่ ศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยชี้ขาดว่า คำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีเป็นคำฟ้องที่เคลือบคลุม คงพิจารณาคดีต่อไปเฉพาะประเด็นเรื่องค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่ม อันเป็นการยกคำฟ้องของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีไปแล้ว เมื่อไม่ปรากฏว่ามีการอุทธรณ์คัดค้าน ข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าและค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีจึงเป็นอันยุติเพราะฟ้องเคลือบคลุมซึ่งเป็นกรณีที่ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นที่เป็นเนื้อหาแห่งคดี และไม่ได้อยู่ในกระบวนพิจารณาในคดีดังกล่าวต่อไปแล้ว การที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันในเวลาต่อมา โดยจำเลยยอมจ่ายเงินให้โจทก์ 36,000 บาท ซึ่งน้อยกว่าค่าโล่และค่าปรับเงินเดือนเพิ่มที่โจทก์ฟ้องเรียกให้จำเลยชำระเงิน 5,000 บาท และ 66,000 บาท รวมกันโดยไม่ระบุว่าค่าอะไร และไม่มีข้อความที่แสดงให้เห็นว่าการประนีประนอมยอมความดังกล่าวเป็นการกระทำเพื่อระงับข้อพิพาทในเรื่องค่านายหน้าที่ศาลยกฟ้องเพราะฟ้องเคลือบคลุมไปแล้วด้วยแต่อย่างใด แม้ศาลแรงงานกลางจะพิพากษาตามยอมไปแล้ว ก็ถือไม่ได้ว่าได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดเรื่องค่านายหน้าระหว่างโจทก์จำเลยไปแล้ว จึงไม่ต้องห้ามไม่ให้โจทก์นำค่านายหน้ามาฟ้องเป็นคดีนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2757/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีอาญา ม.157 ศาลวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว สิทธิฟ้องระงับ
ในคดีที่ราษฎรเป็นโจทก์ ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องโดยไม่นัดไต่สวนมูลฟ้อง หรือนัดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องโดยไม่ไต่สวนมูลฟ้อง หรือไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องก็ได้ทั้งสิ้น เพราะเป็นดุลพินิจในการดำเนินกระบวนพิจารณาให้คดีเสร็จสิ้นไปโดยเร็วและชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น เมื่อศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีพอที่จะวินิจฉัยชี้ขาดได้ และมีคำสั่งให้งดการไต่สวนมูลฟ้องและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาไป ย่อมมีอำนาจกระทำได้
คดีอาญาเรื่องก่อน โจทก์และจำเลยทั้งแปดเป็นคู่ความรายเดียวกับคดีนี้โดยโจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งแปดร่วมกระทำความผิดในข้อหาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เช่นเดียวกับคดีนี้ซึ่งคดีก่อนศาลชั้นต้นมีคำสั่งในชั้นตรวจคำฟ้องว่า "การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามคำฟ้องของโจทก์ ไม่ปรากฏว่าเป็นการไม่ชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต หรือเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์หรือผู้อื่นที่จะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 อย่างไรพิพากษายกฟ้อง" เท่ากับศาลชั้นต้นพิเคราะห์แล้วว่าการกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์ฟ้องไม่เป็นความผิด ซึ่งเป็นการยกฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ถือว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำและมีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องแล้ว โจทก์ฟ้องคดีนี้อีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(4)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: การฟ้องคดีใหม่ในประเด็นที่ศาลเคยวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้าม
คู่ความในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นคู่ความรายเดียวกัน ทั้งในคดีก่อนศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาให้จำเลย (โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ ถือได้ว่าศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้องในคดีนี้ว่าเป็นฉบับที่ถูกต้องแท้จริง จึงได้พิพากษาให้จำเลย(โจทก์คดีนี้) ชำระหนี้เงินกู้ตามสัญญากู้ยืมเงินฉบับที่โจทก์ฟ้อง อันเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีแล้ว การที่โจทก์ฟ้องคดีนี้โดยอ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินฉบับดังกล่าวเป็นสัญญากู้ยืมเงินปลอม จึงเป็นการฟ้องคดีที่ให้มีการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้อง หากประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้วในคดีก่อน
เดิมโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.และส. ล้มละลาย ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดว่าส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลงที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ห.และส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่าเมื่อยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก 6 แปลงแล้วเจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้เพียง 474,000 บาท ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมดและจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีล้มละลายเดิม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดถึงที่สุดแล้ว และไม่มีพยานหลักฐานใหม่
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148 (1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากประเด็นเคยถูกวินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
การที่ศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้องในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็นแห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว หาใช่ว่าศาลยังมิได้รับฟังพยานหลักฐานและวินิจฉัยเนื้อหาในคำร้องขัดทรัพย์ไม่เมื่อศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องไม่มีสิทธิร้องขัดทรัพย์ ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ในคดีนี้ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันอีกไม่ได้เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 กรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1)เพราะตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 288ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์เหมือนคดีธรรมดาคำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำประเด็นเดียวกัน: ศาลห้ามฟ้องคดีที่มีประเด็นข้อพิพาทซ้ำกับคดีที่ศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นจำเลยเรียกเงินค่ามัดจำการเช่าอาคารจากโจทก์ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยได้ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแล้ว ไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้า ไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินมัดจำให้แก่จำเลย โจทก์อุทธรณ์ คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้จำเลยชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่ค้าง ค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถใช้อาคารที่ให้เช่า รวมทั้งค่าซ่อมอาคารที่จำเลยซ่อมไม่เสร็จ โดยยอมให้หักกลบลบหนี้กับเงินมัดจำที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์ ดังนี้ คดีนี้กับคดีก่อน โจทก์และจำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกัน ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยคดีนี้กับคดีก่อนก็เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่าจำเลยคดีนี้ไม่ได้ผิดสัญญา การที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 669/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีซ้ำหลังศาลสั่งไม่รับฟ้อง: ศาลยังมิได้วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นคดี จึงฟ้องใหม่ได้
โจทก์เคยนำคดีนี้มาฟ้องจำเลยต่อศาลแขวง ศาลแขวงมีคำสั่งว่า เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ซึ่งศาลแขวงไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา จึงให้เพิกถอนคำสั่งรับฟ้องของโจทก์และการดำเนินกระบวนพิจารณาทั้งหมด ตามป.วิ.พ.มาตรา 27 และมีคำสั่งใหม่ไม่รับฟ้องของโจทก์ จำหน่ายคดีออกจากสารบบความ คดีถึงที่สุด ดังนี้ศาลแขวงยังมิได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดประเด็นแห่งคดีเพียงแต่มีคำสั่งไม่รับฟ้องและจำหน่ายคดีเท่านั้น โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องใหม่ได้ไม่เป็นการฟ้องซ้ำ
ป.วิ.พ.มาตรา 148 (3) ให้อำนาจศาลในกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งยกฟ้องโจทก์แล้ว ถ้าโจทก์นำคดีไปฟ้องใหม่จะเป็นการฟ้องซ้ำเพื่อความยุติธรรมก็ให้ศาลมีอำนาจสั่งว่าไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีมาฟ้องใหม่หาใช่ว่าถ้าศาลไม่สั่งไว้แล้วจะเป็นการตัดสิทธิโจทก์ที่จะนำคดีซึ่งฟ้องใหม่ได้อยู่แล้วมาฟ้องใหม่ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3308/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: ประธานศาลฎีกาเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด
พระราชบัญญัติญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวพ.ศ.2534มาตรา12กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาดในปัญหาว่าคดีอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือไม่ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาไม่มีอำนาจวินิจฉัย เมื่อมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลชั้นต้นขึ้นมาสู่การพิจารณาของศาลฎีกาศาลฎีกาจึงส่งสำนวนไปให้ประธานศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2381/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจทนายความในการลงชื่อฟ้องแทนโจทก์ & การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้น & ประเด็นข้อพิพาทที่มิได้ว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์
โจทก์มอบอำนาจให้ น. ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับเช็คตามฟ้องทั้งสามฉบับ น. ผู้รับมอบอำนาจย่อมมีอำนาจตั้งทนายความเพื่อดำเนินกระบวนพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคสองเมื่อ น. แต่งตั้งให้ อ. เป็นทนายความและทนายความที่คู่ความได้ตั้งแต่งนี้ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62บัญญัติให้มีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาใดๆแทนคู่ความได้ตามที่เห็นสมควรซึ่งการยื่นฟ้องคดีต่อศาลก็เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาทนายความที่คู่ความตั้งแต่งจึงมีอำนาจลงชื่อในคำฟ้องได้และการลงชื่อในคำฟ้องของทนายความนี้หาได้มีบทบัญญัติให้ต้องมีข้อความในคำฟ้องว่าเป็นการลงชื่อแทนคู่ความหรือในฐานะทนายความแต่อย่างใด การที่คู่ความฝ่ายใดยกปัญหาข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายนั้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา24มิได้บัญญัติให้ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายเฉพาะในกรณีที่ศาลเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดนั้นเป็นคุณแก่คู่ความฝ่ายที่ยกข้อกฎหมายขึ้นอ้างและมีคำขอเท่านั้นแม้ศาลจะเห็นว่าการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไม่เป็นคุณแก่คู่ความตามที่มีคำขอศาลก็ย่อมมีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายไปในทางที่ไม่เป็นคุณแก่คู่ความนั้นได้ โจทก์เอาดอกเบี้ยเกินอัตรารวมไว้ในเช็คหรือไม่เป็นปัญหาข้อเท็จจริงแม้จำเลยจะให้การต่อสู้ไว้แต่ศาลชั้นต้นมิได้กำหนดเป็นประเด็นและมิได้ยกขึ้นวินิจฉัยจำเลยมิได้ยกปัญหานี้ขึ้นว่ากล่าวในชั้นอุทธรณ์ที่จำเลยฎีกาปัญหาข้อนี้ขึ้นมาจึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวมาในศาลอุทธรณ์เป็นการไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่ง
of 5