คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยประเด็น

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 5 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง, การวินิจฉัยประเด็น, ค่าขึ้นศาล: ศาลฎีกาชี้ว่าเมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง คดีเสร็จสิ้น ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น และค่าขึ้นศาลต้องเป็นไปตามประเภทคดี
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์เพราะโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องโดยไม่วินิจฉัยประเด็นขึ้น ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน จำเลยอุทธรณ์และฎีกาขอให้วินิจฉัยในประเด็นข้ออื่นด้วย โดยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นอันเป็นการไม่ถูกต้อง เพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดี จำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ชั้นศาลละ 200 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1047/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องและผลกระทบต่อค่าขึ้นศาล: ศาลมีอำนาจวินิจฉัยประเด็นก่อนได้ หากวินิจฉัยแล้วมีผลคดีสิ้นสุด ไม่ต้องวินิจฉัยประเด็นอื่น
เมื่อศาลชั้นต้นเห็นสมควรที่จะหยิบยกประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อน ศาลชั้นต้นก็มีอำนาจกระทำเช่นนั้นได้ และได้วินิจฉัยประเด็นข้อใดแล้วมีผลให้คดีเสร็จไปแล้วก็ไม่จำต้องวินิจฉัยประเด็นข้ออื่นอีกเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลงคดีนี้ศาลชั้นต้นเห็นว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องตามที่จำเลยให้การต่อสู้และประเด็นข้อนี้ยุติไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเพราะโจทก์มิได้อุทธรณ์เท่ากับคำฟ้องของโจทก์เป็นคำฟ้องที่ไม่ชอบเนื่องจากเสนอเข้ามาโดยบุคคลที่ไม่มีอำนาจ ประเด็นต่าง ๆ ตามคำฟ้องที่ไม่ชอบย่อมเป็นอันตกไปทั้งสิ้นไม่อาจยกขึ้นวินิจฉัยได้อีก
จำเลยเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกามาอย่างคดีมีทุนทรัพย์ตามจำนวนที่โจทก์ฟ้องทั้ง ๆ ที่จำเลยเป็นฝ่ายชนะคดีในศาลชั้นต้นอันเป็นการไม่ถูกต้องเพราะประเด็นตามอุทธรณ์และฎีกาของจำเลยมิได้มีผลเกี่ยวกับทุนทรัพย์ในคดีจำเลยจึงต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์เพียงชั้นละ 200 บาท เท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4414/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ศาลฎีกาไม่ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เพราะเป็นการโต้แย้งการวินิจฉัยประเด็นคดี ไม่ใช่บทบัญญัติขัดรัฐธรรมนูญ
จำเลยยื่นคำร้องว่า ศาลฎีกามิได้วินิจฉัยประเด็นที่จำเลยฎีกาซึ่งเป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนอันคลาดเคลื่อนกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540มาตรา 6 จึงขอยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ตามคำร้องของจำเลยมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ จึงมิใช่กรณีที่ศาลจะต้องส่งความเห็นตามคำร้องของจำเลยเพื่อศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 มาตรา 264 ประกอบมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4606/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตอำนาจฟ้อง, อายุความจัดการมรดก, การจัดการมรดกกรณีผู้จัดการมรดกเสียชีวิต และการวินิจฉัยประเด็นตามฟ้อง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับมรดกตามพินัยกรรมอย่างไร โดยจำเลยทั้งสองซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกได้โต้แย้งสิทธิของโจทก์อย่างไร พร้อมทั้งมีคำขอบังคับ ซึ่งได้แสดงโดยแจ้งชัดถึงสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นตามป.วิ.พ.มาตรา 172 วรรคสองแล้ว การที่คำขอบังคับของโจทก์มิได้ระบุถึงข้อกำหนดห้ามโอนตามพินัยกรรมไว้ด้วยนั้น เป็นเรื่องที่จำเลยทั้งสองจะยอมรับหรือปฏิเสธข้ออ้างของโจทก์ซึ่งเป็นข้อเท็จจริงที่สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
สำหรับเรื่องค่าใช้จ่ายในการแบ่งและโอนทรัพย์มรดกซึ่งกำหนดให้ บ.ทายาทผู้รับพินัยกรรมเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้น เมื่อปรากฏว่าได้มีการแบ่งแยกเสร็จเรียบร้อยก่อน บ.ถึงแก่กรรมและ บ.ได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการแบ่งแยกด้วยทั้งข้อกำหนดดังกล่าวนั้นเป็นเงื่อนไขในการรับมรดกเฉพาะตัวของ บ.ซึ่งจะมีผลต่อบ.และผู้รับมรดกแทนที่ อันเป็นทรัพย์มรดกคนละส่วนกับของโจทก์ จึงมิใช่ข้อขัดข้องที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกจะยกขึ้นอ้างว่าไม่สามารถโอนทรัพย์มรดกให้โจทก์ได้
แม้โจทก์จะมิได้ระบุข้อกำหนดห้ามโอนไว้ในฟ้องด้วยก็ไม่เป็นเหตุให้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เพราะเป็นเรื่องวิธีการโอนตามพินัยกรรมซึ่งในการโอนย่อมจะจดแจ้งเงื่อนไขตามพินัยกรรมนั้นได้ หาทำให้คำฟ้องนั้นเสียไปไม่ การที่ศาลอุทธรณ์กำหนดเงื่อนไขการโอนไว้ด้วย ก็ไม่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ
อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 1754 เป็นอายุความทั่วไปที่ทายาทเรียกเอาทรัพย์มรดก ส่วนมาตรา 1733 วรรคสอง เป็นอายุความเกี่ยวกับการจัดการมรดก คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกทรัพย์มรดกจากจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกจึงต้องใช้อายุความตาม มาตรา 1733 วรรคสอง หาใช่อายุความตามมาตรา 1754 ซึ่งอายุความเริ่มนับแต่การจัดการมรดกสิ้นสุดลงไม่
รายการแห่งคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 141 (3) เป็นการสรุปคำฟ้องและคำให้การของจำเลยเท่านั้น เพราะรายละเอียดปรากฏอยู่ในคำฟ้องและคำให้การแล้ว ซึ่งคำพิพากษาจะต้องมีคำวินิจฉัยของศาลในประเด็นแห่งคดี และเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยทั้งปวง และเมื่อศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยถึงข้อที่จำเลยอ้างว่าขาดหายไปจากคำให้การด้วยแล้ว จึงไม่ทำให้คำพิพากษาคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง
ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จำเลยที่ 1 ซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้จัดการมรดกรายนี้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ได้ถึงแก่ความตายลงกรณีจึงเป็นเหตุขัดข้องในการจัดการทรัพย์มรดก ดังนั้นเพื่อประโยชน์ในการจัดการทรัพย์มรดกเฉพาะรายพิพาทคดีนี้ ศาลฎีกาจึงตั้งให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3502/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยประเด็นแห่งคดี การงดสืบพยานที่ชอบด้วยกฎหมาย และการอุทธรณ์ที่ต้องห้าม
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง จึงมิใช่การวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งงดสืบพยานเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 226 เมื่อโจทก์มิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่ง โจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
เมื่อโจทก์อ้างว่าโจทก์มีสิทธิเข้าร่วมเดินรถ ตามประกาศของจำเลยลงวันที่ 11 มิถุนายน 2520 และจำเลยโต้แย้งว่าได้มีการแก้ไขระเบียบการ ตามประกาศลงวันที่ 16 มิถุนายน 2521 กำหนดให้เมื่อจำเลยตกลงรับรถเมล์เล็กเข้าวิ่งร่วมแล้ว จะต้องมีการทำสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรต่อกันอีกชั้นหนึ่งเพื่อกำหนดความรับผิดชอบซึ่งกันและกัน การที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า โจทก์ยังมิได้ปฏิบัติตามประกาศของจำเลยฉบับลงวันที่ 16 มิถุนายน 2521 จึงเป็นการวินิจฉัยในประเด็นแห่งคดีโดยตรง หาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นแต่ประการใดไม่ มิใช่พิจารณาแต่คำฟ้องเท่านั้นแต่ต้องพิจารณาคำให้การจำเลยและคำแถลงรับของคู่ความด้วย