พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1042/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานที่เกิดเหตุสำคัญ: การวินิจฉัยผิดพลาดของศาลแรงงานเกี่ยวกับสถานที่ทำร้ายร่างกายมีผลต่อสิทธิประโยชน์ของลูกจ้าง
ปรากฏตามรายงานกระบวนพิจารณาของศาลแรงงานว่า เหตุทำร้ายร่างกายที่ทำให้ ส.ลูกจ้างจำเลยได้รับบาดเจ็บ กระดูกใบหน้าด้านขวาและกระดูกข้อเท้าซ้ายแตกได้เกิดขึ้นขณะที่โจทก์และ ส.เดินออกจากบริษัทจำเลย ห่างจากรั้วและป้อมพนักงานรักษาความปลอดภัยประมาณ 5 เมตร ซึ่งอยู่นอกบริเวณบริษัทจำเลย ดังนี้ การที่ศาลแรงงานกลับวินิจฉัยว่า โจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.จนได้รับอันตรายสาหัสภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งขัดกับคำรับของคู่ความดังกล่าว จึงเป็นการมิชอบ
หนังสือเลิกจ้างและคำให้การจำเลยระบุว่า เหตุเกิดขณะ ส.จะเดินไปขึ้นรถรับส่งพนักงานที่จำเลยจัดไว้ให้ และโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ในสถานที่ที่จำเลยรับผิดชอบอยู่ มิใช่ภายในบริเวณบริษัทจำเลย การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุเกิดภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งไม่ตรงกับหนังสือเลิกจ้างและคำให้การดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน
เมื่อศาลฎีกาไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่มีความผิด กรณีทำร้ายร่างกาย ส.โจทก์จะมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งเป็นกรณีข้อเท็จจริงได้มาจากการที่ศาลแรงงานรับฟังมาโดยมิชอบและไม่พอแก่การวินิจฉัย โดยที่ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเองได้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องสถานที่เกิดเหตุว่าเกิดเหตุ ณ ที่ใด และอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือไม่ เสียใหม่ให้ถูกต้อง ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56 วรรคสอง
หนังสือเลิกจ้างและคำให้การจำเลยระบุว่า เหตุเกิดขณะ ส.จะเดินไปขึ้นรถรับส่งพนักงานที่จำเลยจัดไว้ให้ และโจทก์ทำร้ายร่างกาย ส.ในสถานที่ที่จำเลยรับผิดชอบอยู่ มิใช่ภายในบริเวณบริษัทจำเลย การที่ศาลแรงงานฟังข้อเท็จจริงว่าเหตุเกิดภายในบริเวณบริษัทจำเลย ซึ่งไม่ตรงกับหนังสือเลิกจ้างและคำให้การดังกล่าว จึงเป็นการไม่ชอบเช่นกัน
เมื่อศาลฎีกาไม่มีข้อเท็จจริงอันเป็นยุติตามคำพิพากษาศาลแรงงานที่จะนำมาวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ที่ว่า โจทก์ไม่มีความผิด กรณีทำร้ายร่างกาย ส.โจทก์จะมีสิทธิที่จะได้รับค่าชดเชย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรมตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งเป็นกรณีข้อเท็จจริงได้มาจากการที่ศาลแรงงานรับฟังมาโดยมิชอบและไม่พอแก่การวินิจฉัย โดยที่ศาลฎีกาไม่อาจวินิจฉัยข้อเท็จจริงเองได้ ศาลฎีกาจึงชอบที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลแรงงานวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นเรื่องสถานที่เกิดเหตุว่าเกิดเหตุ ณ ที่ใด และอยู่ในความรับผิดชอบของจำเลยหรือไม่ เสียใหม่ให้ถูกต้อง ตามป.วิ.พ.มาตรา 243 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 31, 56 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2888/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นผิดพลาด และอำนาจศาลอุทธรณ์ในการวินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์อุทธรณ์เฉพาะในปัญหาข้อกฎหมาย การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายดังกล่าว ศาลอุทธรณ์ต้องถือตามข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยจากพยานหลักฐานในสำนวนเว้นแต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นวินิจฉัยข้อเท็จจริงผิดต่อกฎหมาย ดังนี้ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 วินิจฉัยข้อเท็จจริงใหม่แทนข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้นจึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5939/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนสิทธิบัตรออกแบบผลิตภัณฑ์: ศาลฎีกายกคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เนื่องจากวินิจฉัยผิดหมวดกฎหมาย
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์โดยอาศัยบทบัญญัติในหมวด 2 แห่งพระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522แต่สิทธิบัตรพิพาทที่โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนเป็นสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวได้บัญญัติเรื่องการเพิกถอนสิทธิบัตรที่ออกไปโดยไม่ชอบไว้ในหมวด 3 เป็นบทกฎหมายต่างหมวดกันหลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าจะเพิกถอนสิทธิบัตรการประดิษฐ์กับสิทธิบัตรการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ได้ มีข้อบัญญัติแตกต่างกันหลายประการ คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ยังคลาดเคลื่อนไม่ตรงกับประเด็นตามที่โจทก์ฟ้อง ปัญหาดังกล่าวนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นกล่าวได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 142(5),246 และมาตรา 247 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 358/2477
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับอำนาจโอนที่ดิน ศาลฎีกาวินิจฉัยประเด็นผิดพลาด
ขายนาให้เขาไปแล้ว แล้วกลับไปแจ้งต่อเจ้าพนักงานว่าตนมีอำนาจโอนได้ขอแก้ทะเบียนโอนยกให้แก่ผู้อื่นอีกมีผิดฐานแจ้งความเท็จ วิธีพิจารณาอาชญาอย่างไรเรียกศาลล่างวินิจฉัยผิดประเด็นแลผิดวิธีพิจารณา อำนาจศาลฎีกา ประเด็นที่ศาลล่างยังไม่ได้วินิจฉัยขึ้นมา ศาลฎีกามีอำนาจวินิจฉัยแลพิพากษาเสียเองได้ ฎีกาอุทธรณ์ ปัญหากฎหมาย ข้อที่ศาลล่างวินิจฉัยผิดประเด็นหรือผิดต่อวิธีพิจารณาเป็นปัญหากฎหมายซึ่งคู่ความฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 19938/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีฟ้องซ้อน: การฟ้องคดีเดิมซ้ำ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยผิดพลาด ศาลฎีกาแก้
ปรากฏตามคำร้องสอดของผู้ร้องสอดทั้งสองว่า ผู้ร้องสอดทั้งสองต่างมีหน้าที่ร่วมกันและช่วยกันในการคุ้มครองดูแลรักษาที่สาธารณประโยชน์ป่าช้าหัวนาหว้า ทรัพย์สินอันเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน มิให้ผู้ใดกีดกันเอาไปเป็นอาณาประโยชน์แต่เฉพาะตัว การดำเนินการตามหน้าที่ดังกล่าวของผู้ร้องสอดคนใดคนหนึ่งย่อมผูกพันผู้ร้องสอดอีกคนหนึ่งตามที่มีหน้าที่ร่วมกัน ผลแห่งคำพิพากษาในคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 หมายเลขแดงที่ 1288/2549 ของศาลชั้นต้น ที่แม้จะปรากฏว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เพียงผู้เดียวเป็นโจทก์ฟ้องคดีก็ตาม แต่ย่อมมีผลผูกพันถึงผู้ร้องสอดที่ 1 ด้วยเช่นกัน
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 6329 ขอให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้ามาในที่ดินของโจทก์และเรียกค่าเสียหาย จำเลยทั้งสี่ขาดนัดยื่นคำให้การ ก่อนศาลจังหวัดอุดรธานีมีคำพิพากษา ผู้ร้องสอดทั้งสองยื่นคำร้องขอว่า ที่ดินพิพาทไม่ใช่ที่ดินของโจทก์ แต่เป็นส่วนหนึ่งของที่สาธารณประโยชน์ ขอให้ศาลพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์ ห้ามโจทก์เกี่ยวข้องอีกต่อไป ศาลจังหวัดอุดรธานียกคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสอง ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ ขณะที่คดีที่ผู้ร้องสอดทั้งสองอุทธรณ์ขอให้ศาลจังหวัดอุดรธานีรับคำร้องขอของผู้ร้องสอดทั้งสองไว้พิจารณาอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 4 ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยต่อศาลชั้นต้น เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ขอให้พิพากษาว่า ที่ดินพิพาทเป็นที่สาธารณสมบัติของแผ่นดินและขอให้เพิกถอนโฉนดที่ดินเลขที่ 6329 ซึ่งเห็นได้ว่าคดีนี้ที่ผู้ร้องสอดทั้งสองร้องสอดเข้ามา และคดีที่ผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยดังกล่าวนั้น มีประเด็นพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า ที่พิพาทเป็นที่สาธารณประโยชน์อันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหรือไม่ จึงเป็นคดีเรื่องเดียวกัน การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 ยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีนี้ตามมาตรา 57 (1) ถือได้ว่าผู้ร้องสอดที่ 2 เป็นโจทก์ยื่นฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นจำเลยแล้ว แม้ศาลจังหวัดอุดรธานีจะสั่งยกคำร้องขอ แต่ผู้ร้องสอดที่ 2 ได้ยื่นอุทธรณ์และคดียังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณา การที่ผู้ร้องสอดที่ 2 นำคดีเรื่องเดียวกันมายื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งหมายเลขดำที่ 2263/2548 ของศาลชั้นต้นอีก จึงเป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1) การที่ศาลชั้นต้นสั่งรับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 ไว้พิจารณาจึงเป็นการไม่ชอบ และส่งผลพลอยทำให้กระบวนพิจารณาที่ดำเนินต่อมาในภายหลังจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเป็นคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 1288/2549 และศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิพากษายืนตามให้ยกฟ้องของผู้ร้องสอดที่ 2 และคดีถึงที่สุดไปแล้วนั้น พลอยไม่ชอบด้วยกฎหมายไปด้วย เสมือนหนึ่งไม่เคยมีการดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาคดีดังกล่าวมาก่อนเลย ดังนั้น การดำเนินคดีนี้จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหรือเป็นฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าวของผู้ร้องสอดที่ 2 อันจักต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 และมาตรา 148 แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2851/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีป่าไม้: ข้อผิดพลาดในการวินิจฉัยของกลาง, คำขอให้ขับไล่ออกจากพื้นที่ป่า, และการคืนของกลางให้เจ้าของ
ไม้มะพอกแปรรูปของกลาง แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 3 จะพิพากษายกฟ้องโจทก์ก็ต้องมีคำวินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางด้วยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 49 และมาตรา 186 (9) การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ไม่วินิจฉัยเกี่ยวกับของกลางดังกล่าวจึงไม่ชอบ ของกลางต้องคืนแก่เจ้าของ
คำขอให้สั่งให้จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวและปรากฏว่าจำเลยยึดถือหรือครอบครองที่ดินดังกล่าว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติตามฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวจึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225
คำขอให้สั่งให้จำเลยทั้งสามและบริวารออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติเป็นคำขอในวิธีการอุปกรณ์ของโทษตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติฯ มาตรา 31 วรรคสี่ ซึ่งศาลจะมีคำสั่งได้ต่อเมื่อศาลพิพากษาว่าจำเลยกระทำความผิดตามมาตราดังกล่าวและปรากฏว่าจำเลยยึดถือหรือครอบครองที่ดินดังกล่าว แต่คดีนี้ศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 และที่ 2 ในความผิดฐานบุกรุกยึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลชั้นต้นจึงไม่มีอำนาจสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติตามฟ้องได้ ที่ศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ออกจากเขตป่าสงวนแห่งชาติดังกล่าวจึงไม่ชอบเช่นกัน ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง ประกอบมาตรา 225