คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
วินิจฉัยอุทธรณ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 6 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 364/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานเอกสาร การส่งเอกสารก่อนสืบพยาน และการวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ไม่ครบถ้วน ศาลฎีกาพิพากษายืนตามศาลอุทธรณ์
บุคคลภายนอกส่งเอกสารตามคำสั่งเรียกต่อศาลก่อนวันสืบพยานนัดแรกเป็นเวลากว่า 1 เดือน ผู้ร้องมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวก่อนวันสืบพยานได้อยู่แล้ว ที่ผู้คัดค้านมิได้ส่งสำเนาเอกสารดังกล่าวให้แก่ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วัน นั้น จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ร้องแต่อย่างใด ที่ศาลล่างใช้ดุลพินิจรับฟังเอกสารเป็นพยานหลักฐานของผู้คัดค้านจึงชอบด้วยกฎหมาย บัญชีพยานผู้คัดค้านระบุพยานว่า "เอกสารเรื่องราวการจดทะเบียนนิติกรรมตลอดจนบันทึกข้อความ แผนที่หรือบันทึกถ้อยคำบุคคลใด ๆ หรือหนังสือโต้ตอบระหว่างหน่วยงานราชการหรือบุคคลหรือเอกสารทุกชนิดทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับโฉนดที่ดินเลขที่ 906ซึ่งเจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการได้จัดทำขึ้นและเก็บรักษาไว้ในแฟ้มเรื่องราวของโฉนดที่ดินฉบับดังกล่าวทั้งหมดทุกฉบับอยู่ที่เจ้าพนักงานที่ดินจังหวัดสมุทรปราการ ต่อมาผู้คัดค้านขอคำสั่งเรียกพยานเอกสาร "คำบันทึกของนายสินชัยสุทธิรัตนชัย ช่างแผนที่ได้บันทึกถ้อยคำของนายฮ่องเฮงแซ่จัง ฉบับลงวันที่ 9 ที่ทำการรังวัดทำแผนที่พิพาทที่ดินโฉนดเลขที่ 906 ฯ" ผู้คัดค้านจึงได้ระบุอ้างพยานเอกสารดังกล่าวโดยชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 88 วรรคสอง แล้ว ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า "ส่วนอุทธรณ์ข้ออื่น ๆ ของผู้ร้องไม่มีเหตุซึ่งทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลอุทธรณ์จึงไม่วินิจฉัยให้" ผู้ร้องฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์ควรจะหยิบยกอุทธรณ์ของผู้ร้องทุกข้อขึ้นวินิจฉัย ขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยอุทธรณ์ของผู้ร้องในส่วนที่ศาลอุทธรณ์ไม่ได้วินิจฉัยให้ด้วย ฎีกาของผู้ร้องมิได้บรรยายว่าคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยกฎหมายประการใดในข้อไหนเป็นฎีกาที่ไม่ได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่อ้างอิงขึ้นกล่าวให้ชัดแจ้ง จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 678/2514 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องกรณีอุทธรณ์ภาษี: การวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วถือว่ามีสิทธิฟ้องต่อศาลได้
โจทก์เห็นว่าโจทก์ไม่ต้องเสียภาษีการค้าเพิ่มตามที่เจ้าพนักงานแจ้งการประเมินได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้วอุทธรณ์ฉบับแรกคณะกรรมการฯ สั่งไม่รับเพราะยื่นไม่ถูกแบบ ฉบับหลังสั่งให้ยกอุทธรณ์เพราะยื่นเมื่อพ้นกำหนดเวลาแล้ว และในคำวินิจฉัยนี้ได้สั่งให้โจทก์นำเงินภาษีไปชำระตามจำนวนที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บด้วย ดังนี้ย่อมถือว่าคณะกรรมการฯ ได้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาแล้วโจทก์ย่อมฟ้องโต้เถียงว่าได้ยื่นอุทธรณ์ภายในกำหนดและการประเมินตลอดจนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ถูกต้อง ขอให้ศาลพิพากษาว่าคำวินิจฉัยของคณะกรรมการฯ ไม่ชอบ ให้เพิกถอนเสียได้ ไม่ใช่ว่าจะฟ้องได้แต่เพียงให้ศาลสั่งคณะกรรมการฯ ให้รับอุทธรณ์ไว้พิจารณาเท่านั้น
จำเลยให้การต่อสู้ว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและฟ้องเคลือบคลุมศาลชั้นต้นเพียงแต่ตรวจคำฟ้องและคำให้การแล้วสั่งงดการดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป แล้ววินิจฉัยว่าโจทก์ยังไม่มีสิทธิฟ้องพิพากษายกฟ้อง โจทก์จึงอุทธรณ์และจำเลยแก้อุทธรณ์โต้เถียงกันเรื่องอำนาจฟ้องเพียงประเด็นเดียวก่อน ครั้นศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์มีอำนาจฟ้อง และพิพากษาให้ศาลชั้นต้นดำเนินการพิจารณาสืบพยานไปตามประเด็นแล้วพิพากษาใหม่ ดังนี้ จำเลยจะยกเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อฎีกาขึ้นมาด้วยในชั้นนี้ไม่ได้เพราะยังไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 973-974/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจำกัดของผู้วินิจฉัยอุทธรณ์ภาษี: ห้ามวินิจฉัยประเด็นนอกเหนือการประเมินของเจ้าพนักงาน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 31 บัญญัติแต่เพียงว่า การอุทธรณ์ไม่เป็นการทุเลาการเสียภาษี ซึ่งหมายความว่าโจทก์ต้องชำระค่าภาษีทั้ง ๆ ที่อุทธรณ์แล้วเท่านั้น แต่ไม่มีข้อความใดแสดงว่าถ้าไม่เสียภาษีแล้วจะอุทธรณ์คำวินิจฉัยตามมาตรานี้ไม่ได้
การทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 34 นั้น ผู้ทำคำวินิจฉัยอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีในประเด็นอื่นนอกไปจากรายการที่เจ้าพนักงานประเมินเรียกเก็บหาได้ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13933/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขยายระยะเวลาอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและการวินิจฉัยอุทธรณ์ในคดีโทษหนัก
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2553 ต่อมาวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2553 จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์โดยไม่ปรากฏเหตุสุดวิสัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 23 ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยขยายระยะเวลาอุทธรณ์ถึงวันที่ 3 มีนาคม 2554 ย่อมเป็นการไม่ชอบ ทั้งอุทธรณ์ของจำเลยมิได้โต้แย้งหรือคัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้นโดยชัดแจ้ง เป็นอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 193 วรรคสอง ชอบที่ศาลชั้นต้นจะไม่รับอุทธรณ์จำเลย และส่งสำนวนให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เพราะเป็นคดีที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำคุกจำเลยตลอดชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 4 วินิจฉัยและพิพากษาให้ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ข้อที่ว่าจำเลยกระทำความผิดหรือไม่ จึงเป็นอันถึงที่สุดตาม ป.วิ.อ. มาตรา 245 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8273/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษี การยึดเอกสาร และการวินิจฉัยอุทธรณ์ซ้ำ ศาลแก้ไขการประเมินและเบี้ยปรับบางส่วน
การที่เจ้าพนักงานประเมินออกหมายเรียกให้โจทก์นำบัญชีและเอกสารต่างๆ ไปมอบให้เจ้าพนักงานประเมินโดยให้เวลาแก่โจทก์ในการปฏิบัติตามหมายเรียกดังกล่าวน้อยกว่า 7 วัน นับแต่วันส่งหมาย มีผลเพียงว่าโจทก์ไม่จำต้องปฏิบัติตามภายในระยะเวลาที่กำหนดในหมายเรียกนั้น และจะถือว่าโจทก์มีความผิดเพราะไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกไม่ได้เท่านั้น หาทำให้การออกหมายเรียก การตรวจสอบและการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสียไปทั้งหมดไม่
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาทบทวนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามคำอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากร แล้วมีคำวินิจฉัยชี้ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งคือยกคำอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรในกรณีที่เห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินถูกต้องชอบด้วยกฎหมายแล้วประการหนึ่ง ปลดภาษีตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามคำอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรในกรณีที่เห็นว่าผู้ต้องเสียภาษีอากรไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีหรือไม่มีภาษีต้องเสียประการหนึ่ง หรือให้แก้ไขการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินในกรณีที่เห็นว่าการประเมินมีข้อผิดพลาดหรือไม่ถูกต้องด้วยเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งอีกประการหนึ่ง ซึ่งกรณีหลังนี้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อาจแก้ไขโดยกำหนดจำนวนภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มใหม่ไปทีเดียว หรืออาจแก้ไขโดยให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินใหม่ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ก็ได้ หาใช่ว่าจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยกำหนดจำนวนภาษี เบี้ยปรับและเงินเพิ่มใหม่ให้เสร็จเด็ดขาดไปสถานเดียวไม่ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดให้เจ้าพนักงานประเมินทำการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ใหม่ด้วยวิธีคำนวณหากำไรสุทธิ เพราะเห็นว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินที่ประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของโจทก์ในอัตราร้อยละ 5 ของยอดรายรับก่อนหักรายจ่ายเป็นการไม่ถูกต้องจึงเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่ชอบด้วยกฎหมาย
คำฟ้องโจทก์โต้เถียงคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์โดยตรงว่าไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะวินิจฉัยในประเด็นปัญหาที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เคยวินิจฉัยไว้แล้วในคำวินิจฉัยอุทธรณ์ครั้งแรก เมื่อคำให้การจำเลยไม่ได้โต้เถียงข้อเท็จจริงในส่วนนี้ ข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นข้อกฎหมายและเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะไม่ได้กล่าวข้อความนี้โดยชัดแจ้งในคำอุทธรณ์คัดค้านการประเมิน โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องปัญหานี้ได้
โจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินครั้งแรกว่า เจ้าพนักงานของจำเลยยึดเอกสารและบัญชีไปจากโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด เมื่อโจทก์ได้รับเอกสารและบัญชีคืนมาก็ได้รีบยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้นิติบุคคลทันที จึงขอให้งดเบี้ยปรับแก่โจทก์ คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ว่า โจทก์ไม่มีเจตนาไม่ยื่นแบบไม่ทันกำหนดเวลา แต่เมื่อมีการประเมินใหม่และโจทก์อุทธรณ์การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินครั้งหลัง คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับวินิจฉัยว่า โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการหลังจากพ้นกำหนด จึงถือว่าโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ในครั้งหลังเป็นการวินิจฉัยซ้ำในประเด็นปัญหาเดียวกันกับที่มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ในครั้งแรกไปแล้ว เมื่อประมวลรัษฎากรไม่มีบทบัญญัติให้คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจพิจารณาประเด็นปัญหาที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เคยมีคำวินิจฉัยไปแล้วในการประเมินรายเดียวกัน ทั้งไม่ปรากฏว่าคำวินิจฉัยอุทธรณ์ครั้งแรกวินิจฉัยประเด็นปัญหาไม่ตรงตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏคำวินิจฉัยอุทธรณ์ครั้งหลังในส่วนที่วินิจฉัยว่าโจทก์ไม่ยื่นแบบแสดงรายการภายในเวลาที่กฎหมายกำหนดจึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
หนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ที่พิพาทเป็นคำสั่งทางปกครองตาม พ.ร.บ. วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 มาตรา 5 ซึ่งอยู่ในบังคับต้องจัดให้มีเหตุผลตามที่บัญญัติในมาตรา 37 วรรคหนึ่ง เว้นแต่จะต้องด้วยกรณีตามมาตรา 37 วรรคสาม ปัญหาว่าคำสั่งทางปกครองฉบับใดได้รับยกเว้นไม่ต้องจัดให้มีเหตุผลตามบทบัญญัติดังกล่าวเป็นปัญหาข้อเท็จจริง และอาจแตกต่างกันไปแล้วแต่กรณี เมื่อคำฟ้องโจทก์ไม่ได้กล่าวบรรยายความข้อนี้ อุทธรณ์ข้อนี้ของโจทก์จึงไม่ใช่ข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบพ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 29.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3057/2566

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมอำพรางและเจตนาลวงในสัญญากู้ยืม ศาลอุทธรณ์ต้องวินิจฉัยอุทธรณ์ใหม่
คดีนี้โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระเงินตามสัญญาปล่อยเงินกู้ จำเลยให้การต่อสู้ว่าสัญญากู้ยืมเป็นการแสดงเจตนาลวง โจทก์จำเลยไม่มีเจตนากู้ยืมเงินกัน เป็นการอำพรางนิติกรรมที่โจทก์ให้เงินแก่จำเลยเพื่อไปซื้อยางก้อนถ้วยมาส่งให้แก่โจทก์ โดยจำเลยจะได้รับค่าตอบแทน ศาลชั้นต้นพิพากษาโดยวินิจฉัยว่าสัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เป็นการแสดงเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาดังกล่าว โดยเนื้อหาที่บรรยายมาในคำฟ้องอุทธรณ์เป็นการโต้แย้งการฟังข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น และเมื่ออ่านอุทธรณ์ทั้งฉบับโดยเฉพาะในหน้าที่ 14 และหน้าที่ 15 แล้วสามารถเข้าใจได้ว่าจำเลยโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่วินิจฉัยว่า สัญญากู้ยืมระหว่างโจทก์และจำเลยไม่เป็นการแสดงเจตนาลวงและนิติกรรมอำพราง อุทธรณ์จำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ชัดแจ้งชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่งแล้ว
อนึ่ง คดีนี้จำเลยฎีกาโดยเสียค่าขึ้นศาล 66,375 บาท แต่เมื่อศาลฎีกาย้อนสํานวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 4 พิจารณาพิพากษาใหม่ เช่นนี้ จำเลยชอบที่จะเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ 200 บาท จึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาส่วนที่เกิน 200 บาท แก่จำเลย