พบผลลัพธ์ทั้งหมด 24 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1485/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องซ้ำในประเด็นที่ศาลวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการต้องห้ามตามกฎหมายล้มละลาย
ผู้บริหารของลูกหนี้ได้ยื่นคำร้องต่อศาลฎีกาซึ่งมีข้อความเหมือนกับคำร้องฉบับลงวันที่เดียวกันที่ยื่นต่อศาลล้มละลายกลาง โดยขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งยกเลิกการแต่งตั้งผู้ทำแผนและมีคำสั่งว่าแผนฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้เป็นโมฆะ และให้ยกเลิกแผนฟื้นฟูกิจการดังกล่าว โดยขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งบริษัท ท. เป็นผู้ทำแผนแทน ซึ่งศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเป็นคำสั่งคำร้องศาลฎีกาว่า "คดีนี้ศาลฎีกาได้มีคำพิพากษายืนเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว และประเด็นตามคำร้องได้มีการวินิจฉัยในคำพิพากษาดังกล่าวแล้ว ให้ยกคำร้อง..." การที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้บริหารของลูกหนี้ยื่นคำร้องต่อศาลล้มละลายกลางมีข้อความทำนองเดียวกับที่ยื่นต่อศาลฎีกาในวันเดียวกัน กับทั้งประเด็นเดียวกับที่มีการอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งเห็นชอบด้วยแผน อันเป็นการขอให้ศาลดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วนั้น จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7137/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเดิมที่เคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการรื้อฟ้อง ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้อง ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกให้ล้มละลายในคดีก่อน โดยอาศัยมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงิน แต่ ว. และจำเลยที่ 2 สามารถแสดงหลักฐานให้ศาลเห็นว่าตนมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ให้โจทก์ได้ ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด โจทก์กลับนำมูลหนี้เดิมมาฟ้อง ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกเป็นคดีแพ่งให้ชำระหนี้อีก ซึ่งศาลพิพากษาให้ ว. และจำเลยที่ 2 กับพวกชำระหนี้แก่โจทก์ หลังจากนั้นโจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งดังกล่าวมาฟ้องเป็นคดีนี้ จะเห็นได้ว่ามูลหนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องให้จัดการทรัพย์มรดกของ ว. และจำเลยที่ 2 ล้มละลายในคดีนี้ เป็นหนี้ที่สืบเนื่องมาจากมูลหนี้ตามตั๋วสัญญาใช้เงินที่โจทก์นำไปฟ้องให้ ว. และจำเลยที่ 2 ล้มละลายในคดีแรกมาแล้ว อันเป็นประเด็นอย่างเดียวกันว่า ว. และจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่ จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148วรรคหนึ่ง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3785/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมพิพากษาถึงที่สุดแล้ว การฟ้องใหม่โดยอ้างข้อตกลงใหม่จึงเป็นเรื่องที่เคยวินิจฉัยแล้ว
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ว่า โจทก์ทำสัญญาเช่าที่ดินพิพาทจากจำเลย ต่อมาจำเลยบอกเลิกสัญญาเช่าแล้วแต่โจทก์ไม่ยอมส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลย ศาลพิพากษาให้โจทก์และบริวารออกไปจากที่ดินพิพาทและส่งมอบที่ดินพิพาทคืนแก่จำเลยในสภาพเรียบร้อย คดีถึงที่สุด และอยู่ในระหว่างการบังคับคดี การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาท โดยอ้างว่าจำเลยยังมีสิทธิอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไปเนื่องจากโจทก์และจำเลยได้มีข้อตกลงการเช่าที่ดินพิพาทกันขึ้นมาใหม่โดยไม่มีกำหนดระยะเวลาการเช่าและไม่มีสัญญาเช่าระหว่างกันนั้น โจทก์มิได้ขอให้บังคับจำเลยตามข้อตกลงการเช่าที่ดินพิพาทที่โจทก์อ้างแต่อย่างใด เพียงแต่ขอให้ห้ามจำเลยเข้ามารบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทเท่านั้น จึงเห็นได้ว่าเป็นการที่โจทก์ยกข้ออ้างขึ้นมาเพื่อไม่ให้โจทก์ต้องถูกบังคับคดีในคดีก่อนนั่นเอง ข้อตกลงการเช่าใหม่ตามข้ออ้างของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องมาจากสัญญาเช่าในคดีก่อนซึ่งศาลได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าการบอกเลิกสัญญาเช่าที่ดินพิพาทของจำเลยเป็นการชอบแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทต่อไป ให้ขับไล่โจทก์พร้อมบริวารออกไปจากที่ดินพิพาท การที่โจทก์กลับมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ถือได้ว่าเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน จึงเป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2779/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำในคดีภาษี: การฟ้องเรียกหนี้เดิมที่ศาลเคยวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการขาดอำนาจฟ้อง
ฟ้องของกรมสรรพากรโจทก์ในคดีนี้มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีเดิมว่า จำเลยต้องรับผิดชำระภาษีการค้าพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มหรือไม่ ซึ่งในคดีเดิมที่จำเลยฟ้องโจทก์ศาลภาษีอากรกลางได้วินิจฉัยคดีถึงที่สุดมาแล้ว การที่โจทก์นำมูลหนี้เดียวกันมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้ชำระภาษีการค้าจำนวนเดียวกันพร้อมเงินเพิ่มอีกจึงเป็นฟ้องซ้ำ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีภาระจำยอมที่ศาลฎีกาวินิจฉัยแล้ว การฟ้องร้องประเด็นเดิมจึงเป็นฟ้องซ้ำตามกฎหมาย
โจทก์และจำเลยในคดีนี้ต่างเป็นจำเลยและโจทก์ในคดีก่อนจึงเป็นคู่ความเดียวกัน คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ให้เปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนที่ดินและใต้พื้นดินออกไปเสียจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ และปรับสภาพพื้นที่ให้เรียบตามเดิม โจทก์ให้การว่าจำเลยใช้ทางภาระจำยอมเดินเข้าออกกว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร ตลอดมาเกินกว่า 10 ปีแล้ว หากจำเลยจะมีสิทธิใช้ทางภาระจำยอมก็ไม่ควรกว้างเกิน 3 เมตร ลึก 30 เมตร สิทธิเรียกร้องภาระจำยอมในส่วนที่เกินกว่าความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงเป็นอันขาดอายุความ ขอให้ยกฟ้อง ประเด็นสำคัญแห่งคดีก่อนจึงมีว่า โจทก์ต้องเปิดทางภาระจำยอมให้มีความกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร ตามที่จดทะเบียนต่อเจ้านักงานที่ดินไว้หรือไม่ คดีถึงที่สุดแล้วโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่า เหตุที่จำเลยไม่สามารถใช้สิทธิได้เต็มตามภาระจำยอมที่ได้จดทะเบียนไว้ มิใช่เพราะจำเลยไม่ประสงค์จะใช้สิทธิเต็มตามภาระจำยอม ภาระจำยอมส่วนที่เกินความกว้าง 3 เมตร ลึก 30 เมตร จึงหาได้สิ้นไปไม่ พิพากษาให้โจทก์และบริวารเปิดทางภาระจำยอมและรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่มีอยู่บนพื้นดินและใต้ดินออกไปจากบริเวณภาระจำยอมให้มีขนาดกว้าง 8 เมตร ลึก 30 เมตร และปรับสภาพพื้นดินให้เรียบตามเดิม คำพิพากษาของศาลฎีกาดังกล่าวย่อมผูกพันคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145 วรรคหนึ่ง
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนและต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอันถึงที่สุดมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุว่านับแต่วันที่จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมเต็มตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ โดยจำเลยคงใช้ประโยชน์จากภาระจำยอม กว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร เท่านั้น เป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น และที่โจทก์อ้างเหตุอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ภาระจำยอม เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ติดกันอยู่ก่อนและมีทางอื่นเดินเข้าออกอีก 2 ทาง นั้น ก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำให้การในคดีก่อนแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
การที่โจทก์ซึ่งเป็นจำเลยคดีก่อนและต้องปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวอันถึงที่สุดมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์คดีก่อนเป็นคดีนี้ โดยอ้างเหตุว่านับแต่วันที่จดทะเบียนภาระจำยอมเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จำเลยแทบไม่ได้ใช้ประโยชน์จากภาระจำยอมเต็มตามสิทธิที่ได้จดทะเบียนภาระจำยอมต่อเจ้าพนักงานที่ดินไว้ โดยจำเลยคงใช้ประโยชน์จากภาระจำยอม กว้างเพียง 3 เมตร ลึก 30 เมตร เท่านั้น เป็นการอ้างเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลฎีกาได้วินิจฉัยไว้แล้วดังกล่าวข้างต้น และที่โจทก์อ้างเหตุอีกว่าจำเลยไม่มีความจำเป็นในการใช้ประโยชน์ภาระจำยอม เนื่องจากจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแปลงอื่นซึ่งอยู่ติดกันอยู่ก่อนและมีทางอื่นเดินเข้าออกอีก 2 ทาง นั้น ก็เป็นเหตุที่มีอยู่ในขณะที่โจทก์ยื่นคำให้การในคดีก่อนแล้ว ดังนั้น คดีนี้จึงมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับในคดีก่อน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3687/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องล้มละลายซ้ำ: ศาลยกฟ้อง เนื่องจากประเด็นหนี้สินล้นพ้นตัวเคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน
ในคดีล้มละลาย ศาลจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว ตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 14 ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ล้มละลายแต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลงที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนเมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน เป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกัน และเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คดีก่อน โจทก์นำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมมาฟ้องขอให้จำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ล้มละลายแต่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดข้อเท็จจริงว่า ส. ยังมีที่ดินอีก 11 แปลงที่โจทก์อาจยึดมาชำระหนี้ได้ คดียังฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับห้างหุ้นส่วนจำกัด ล. และ ส. ไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้จำเลยจึงไม่เป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว การที่โจทก์กลับนำมูลหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายอีกโดยอ้างว่า เมื่อได้ยึดที่ดินของ ส. ที่ปลอดจำนองทั้งหมดอีก6 แปลงแล้ว เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินราคาไว้ไม่พอชำระหนี้โจทก์ทั้งหมด และจำเลยไม่มีทรัพย์สินที่จะพึงยึดมาชำระหนี้ได้ก็เป็นเหตุดังที่เคยอ้างและศาลได้วินิจฉัยชี้ขาดไปแล้วในคดีก่อนเมื่อคู่ความในคดีก่อนกับคดีนี้เป็นคู่ความเดียวกัน เป็นมูลหนี้ตามคำพิพากษาเดียวกัน และเหตุที่อ้างว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวก็เป็นมูลเหตุเช่นเดียวกัน ซึ่งศาลได้พิพากษาคดีถึงที่สุดแล้วจึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคหนึ่งประกอบด้วยมาตรา 153 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 467/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสัญญาปลอมที่เคยถูกวินิจฉัยแล้วในคดีก่อน ห้ามฟ้องซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ที่ 1 ให้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ยืมเงินและให้โจทก์ที่ 2 รับผิดในฐานะผู้ค้ำประกันโจทก์ทั้งสองให้การต่อสู้คดีว่า ลายมือชื่อในสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันไม่ใช่ลายมือชื่อของโจทก์ทั้งสองแต่เป็นลายมือชื่อที่จำเลยทำปลอมขึ้นอันเป็นเอกสารปลอมทั้งฉบับ ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่าลายมือชื่อผู้กู้ในสัญญากู้ยืมเงินเป็นลายมือชื่อของโจทก์ที่ 1 และโจทก์ที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อผู้ค้ำประกันจริง ต่อมาโจทก์ทั้งสองฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ ขอให้ศาลพิพากษาว่าตามสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันระหว่างโจทก์ทั้งสองกับจำเลยไม่มีนิติสัมพันธ์ต่อกันและสัญญาทั้งสองฉบับเป็นโมฆะกรรม อันเป็นกรณีที่โจทก์อ้างว่าสัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันเป็นเอกสารปลอมบางส่วนก็ตาม แต่เมื่อประเด็นที่ต้องวินิจฉัยในคดีนี้กับคดีก่อนเป็นประเด็นเดียวกันว่า สัญญากู้ยืมเงินและสัญญาค้ำประกันทั้งสองฉบับเป็นสัญญาปลอมหรือไม่ ดังนี้การฟ้องของโจทก์ทั้งสองในคดีนี้จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันฟ้องของโจทก์ทั้งสองคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3503/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ประเด็นสิทธิครอบครองที่ดินที่เคยถูกวินิจฉัยแล้ว แม้เปลี่ยนรูปคดีก็ถือเป็นฟ้องซ้ำ
ที่ดินพิพาทคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินพิพาทในคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์ฟ้องจำเลย อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาถึงที่สุดว่า โจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมมีผลผูกพันโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความในคดีก่อนว่าโจทก์ไม่มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท แม้การที่โจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้โดยตั้งรูปคดีมาใหม่ว่าโจทก์มอบ ที่ดินพิพาทให้จำเลยทำกินต่างดอกเบี้ยและขอให้บังคับจำเลย ส่งมอบที่ดินพิพาทคืนโจทก์ ซึ่งแตกต่างกับรูปคดีของคดีก่อนซึ่งโจทก์อ้างว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทก็ตาม แต่ประเด็นสำคัญของคดีก็ยังคงเป็นอย่างเดียวกันคือโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทหรือไม่จึงเป็นการรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3147/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: คดีเดิมวินิจฉัยกรรมสิทธิ์ที่ดินแล้ว แม้คดีใหม่อ้างครอบครองปรปักษ์ก็ไม่ต่างกัน
คดีก่อนมีประเด็นว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา เป็นของโจทก์หรือจำเลย คู่ความตกลงท้ากันด้วยวิธีการรังวัดที่ดินพิพาทเป็นข้อแพ้ชนะคดีโดยไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นพิพาทและสืบพยาน ผลการรังวัดปรากฏว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยคดีนี้ซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อน กรณีย่อมถือว่าประเด็นพิพาทแห่งคดีที่ว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวาเป็นของโจทก์หรือจำเลยในคดีก่อนนั้นเป็นประเด็นโดยตรงได้รับการวินิจฉัยในคดีก่อนและคดีถึงที่สุดไปแล้ว การที่โจทก์คดีนี้ซึ่งเป็นจำเลยในคดีก่อนกลับมาฟ้องจำเลยซึ่งเป็นโจทก์ในคดีก่อนอีกว่า ที่ดินพิพาทเนื้อที่ 48 ตารางวา ในคดีก่อนเป็นของโจทก์ แม้คดีนี้โจทก์จะอ้างการครอบครองปรปักษ์มาด้วย ก็หาได้แตกต่างกับคดีก่อนที่อ้างว่าโจทก์ครอบครองเป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่อย่างใดไม่ และไม่ทำให้ประเด็นพิพาทที่ว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือจำเลยเปลี่ยนแปลงไป จึงเป็นกรณีคู่ความเดียวกันรื้อร้องฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 208/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำประเด็นเดิมที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยแล้ว ถือเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 144
คดีก่อนจำเลยฟ้องโจทก์ผู้ให้เช่าเป็นจำเลยเรียกเงินค่ามัดจำการเช่าอาคารจากโจทก์ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าจำเลยได้ซ่อมแซมทรัพย์สินที่เช่าตามสัญญาแล้วไม่ได้ค้างชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าไม่ได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินมัดจำให้แก่จำเลยโจทก์อุทธรณ์คดีอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์โจทก์จึงฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ขอให้จำเลยชำระค่าน้ำประปาและค่าไฟฟ้าที่ค้างค่าขาดประโยชน์ที่ไม่สามารถใช้อาคารที่ให้เช่ารวมทั้งค่าซ่อมอาคารที่จำเลยซ่อมไม่เสร็จโดยยอมให้หักกลบลบหนี้กับเงินมัดจำที่จำเลยวางไว้แก่โจทก์ดังนี้คดีนี้กับคดีก่อนโจทก์และจำเลยเป็นคู่ความรายเดียวกันประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยคดีนี้กับคดีก่อนก็เป็นประเด็นที่ต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าโจทก์หรือจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาเมื่อคดีดังกล่าวศาลชั้นต้นได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วว่าจำเลยคดีนี้ไม่ได้ผิดสัญญาการที่โจทก์ฟ้องจำเลยคดีนี้จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาอันเกี่ยวกับคดีหรือประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วอันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา144